เมื่อ Leading Indicators เริ่มส่งสัญญาณบางอย่าง

หลังจากปัจจัยลบเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดของ FED และประเด็นเรื่องสงครามการค้าผ่านพ้นไป ขณะที่ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนทั่วโลกก็ออกมาเติบโตได้ดีอย่างที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งทางทีม FINNOMENA Investment Team ได้ติดตามสภาวะเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด และได้มีการวิเคราะห์ปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วย โดยหนึ่งในปัจจัยที่ทีมงานติดตามมาตลอดคือ Leading Indicator หรือ ปัจจัยที่บ่งชี้ภาวะเศรษฐกิจและตลาดล่วงหน้า

จากการประชุม FINNOMENA Investment Team ล่าสุด มีมุมมองว่า มีปัจจัยชี้นำเศรษฐกิจบางตัวเริ่มส่งสัญญาณเตือนว่าเศรษฐกิจน่าจะใกล้ถึงจุดสูงสุดแล้ว

ปัจจัย 4 อย่างนี้มีอะไรบ้าง มาดูกันในบทความนี้ครับ

1. PMI (Purchasing Manager Index) 

PMI (Purchasing Manager Index) หรือ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ โดยปกติแล้วค่า PMI ที่มากกว่า 50 แสดงว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มเติบโตได้ดี แต่ถ้าน้อยกว่า 50 ลงมาแปลว่าเศรษฐกิจเริ่มมีสัญญาณชะลอตัว ซึ่งตัวเลข PMI นี้สามารถใช้เป็นตัวเลขที่ชี้นำเศรษฐกิจได้อย่างดีตัวหนึ่ง เพราะมีการเก็บข้อมูลกิจกรรมทางธุรกิจจริง ๆ มาจากบริษัทต่าง ๆ เช่น ถ้ามียอดสั่งซื้อหรือสินค้าคงคลังเพิ่มสูงขึ้น หมายความว่าบริษัทเห็นแนวโน้มว่าสามารถขายสินค้าได้เพิ่มขึ้น หรือว่ามีคำสั่งซื้อล่วงหน้าเข้ามามากขึ้น นั่นเอง

ตัวเลขนี้จะทำจากาการสอบถามข้อมูลต่างๆ เช่น มูลค่าการสั่งซื้อ, ราคาวัตถุดิบ, สินค้าคงคลัง รวมถึงข้อมูลอื่นๆของผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในประเทศต่างๆ เป็นประจำทุกเดือน จากนั้นก็จะทำการสรุปโดยนักเศรษฐศาสตร์ของ สถาบันที่จัดทำ ซึ่งสถาบันที่จัดทำ ได้แก่ Markit ที่ดูแลในส่วนของยุโรปและทั่วโลก, ISM ดูแลในส่วนของอเมริกา และ Caixin ดูแลในประเทศจีน PMI โดยจะแบ่งออกเป็น PMI ภาคการผลิต (Manufacturing PMI) และ PMI ภาคบริการ (Service PMI)

ตัวเลขที่จัดเก็บเพื่อประเมิน Manufacturing PMI ได้แก่

  • การผลิต
  • ผลผลิต
  • คำสั่งซื้อสินค้าใหม่
  • คำสั่งซื้อสินค้าส่งออกใหม่
  • งานที่มีคำสั่งซื้อแล้วแต่ยังไม่ได้ดำเนินการ
  • ราคาผลผลิต
  • ราคาวัตถุดิบ
  • เวลาส่งมอบของผู้ผลิตวัตถุดิบ
  • สต็อกสินค้าสำเร็จรูป
  • ปริมาณวัตถุดิบที่ซื้อ
  • สต็อกวัตถุดิบที่ซื้อ

ตัวเลขที่จัดเก็บเพื่อประเมิน Service PMI

  • การจ้างงาน
  • การบริการ
  • ปริมาณการให้บริการ
  • คำขอใช้บริการใหม่
  • งานที่มีคำขอใช้บริการแล้วแต่ ยังไม่ได้ดำเนินการ
  • ราคาค่าบริการ
  • ราคาวัตถุดิบ
  • การจ้างงาน
  • การให้บริการที่คาดการณ์

ที่มา: Bloomberg

จะเห็นได้ว่าตัวเลข PMI ถึงจะยังมากกว่า 50 อยู่แต่มีแนวโน้มปรับลดลง ในหลาย ๆ ประเทศ โดยเฉพาะยุโรป กับ อเมริกา ส่งสัญญาณถึงมุมมองทางเศรษฐกิจที่อาจจะชะลอตัวลงในระยะต่อไป ซึ่งหากเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวก็จะส่งผลต่อผลประกอบการของบริษัทในระยะถัดไป

2. Yield Spread

Yield Spread หรือ ผลต่างของผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี กับ พันธบัตร 2 ปี ถ้า Indicator ตัวนี้ออกมามีค่าต่ำใกล้กับ 0% หรือว่าติดลบ (Inverted Yield Curve) จะสะท้อนให้เห็นว่านักลงทุนมีมุมมองไม่ดีต่อเศรษฐกิจในระยะยาว เพราะว่าปกติ yield ของพันธบัตรระยะยาวจะสูงกว่าระยะสั้น แต่การที่นักลงทุนไม่มั่นใจในเศรษฐกิจจะส่งผลให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนพันธบัตรระยะยาวมากขึ้น ส่งผลให้ Yield Spread จึงติดลบ และส่วนมากเมื่อมีสัญญาณเตือนใน Indicator นี้ สิ่งที่ตามมาคือการ Recession ของเศรษฐกิจหรือการเกิด Crisis ตามมา แล้ว yield Spread ตอนนี้อยู่ที่เท่าไหร่ มาดูจากการาฟนี้กันครับ

ค่า Yield Spread ตอนนี้อยู่ที 0.45% ปรับลดจาก 1.23 % ที่ต้นปี 2017 และตามกราฟ มีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ อาจจะเป็นสัญญาณบอกว่า เศรษฐกิจใกล้ปรับตัวลงแล้วก็ได้

3. South Korea Exports 

ที่มา: Bloomberg

South Korea Exports (ตัวเลขการส่งออกของประเทศเกาหลีใต้)  ทุกครั้ง ที่ South Korea Export ปรับตัวลดลง ในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา มักจะมีการปรับตัวลงของ ดัชนี MSCI ด้วย และตอนนี้ ตัวเลข South Korea Export ปรับตัวลงมาแล้วขณะที่ MSCI All Country World Index ยังไม่ปรับตัวลงตาม แสดงว่าเป็นสัญญาณ Divergent ของตลาดหุ้น หรือเปล่า

4. นักลงทุนรายย่อย US ถือเงินสดมากขึ้น

นักลงทุนรายย่อยในอเมริกา เพิ่มการถือครองเงินสดมากขึ้นสู่ระดับ 16.6 เป็นสัญญาณอย่างหนึ่งที่แสดงว่านักลงทุนมีความมั่นใจในตลาดทุนลดลง ถึงได้เพิ่มการถือครองเงินสด ถือเป็นอีก Indicator หนึ่งที่อาจจะบอกถึงอารมณ์ตลาดและมุมมองเศรษฐกิจจากนักลงทุนเอง

อย่างไรก็ตามจาก Leading Indicator ทั้ง 4 ตัว ทำให้ทีม FFINNOMENA Investment Team อยู่ระหว่างพิจารณาคำแนะนำคัดเลือกสินทรัพย์การลงทุน ในทุก Model การลงทุนของ FINNOMENA PORT ซึ่งจะออกมาเป็นอย่างไรนั้นทางทีมงานจะมา Update ให้ทราบกันต่อไปนะครับ

FINNOMENA Investment Team รายงาน