โปรดทราบ สำหรับลูกค้าฟินโนมีนาที่ลงทุนพอร์ท GAR และได้รับบทความนี้ แต่ยังไม่ได้รับอีเมลและ/หรือ Notification ในการแจ้งสัดส่วนเงินในการเข้าลงทุน อาจเกิดจาก

1) ท่านอยู่ระหว่างการทำรายการซื้อขายกองทุน ซึ่งทางฟินโนมีนาจะแจ้งเตือนอีกครั้งภายใน 1 สัปดาห์หลังจากการทำรายการซื้อขายเสร็จสิ้น
2) ท่านมีจำนวนเงินลงทุนต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่แนะนำ

หมายเหตุ หากท่านไม่ประสงค์ที่จะรอรับการแจ้งเตือน ท่านสามารถดูรายละเอียดของพอร์ทการลงทุนที่แนะนำผ่านทางเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นของฟินโนมีนาพร้อมปรับพอร์ทเข้าลงทุนได้ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID: @finnomenaport

เข้าสู่เดือนที่สองของปี 2018 เดือนที่ผ่านมานับว่าเป็นเดือนแห่งเริ่มต้นที่ดีของตลาดหุ้นทั่วโลกซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีก่อน (สามารถอ่านบทความของเดือนมกราคม 2561 ได้ที่ Extra Time Begins จากมุมมองรายปี FINNOMENA Outlook 2018 : Playing Extra Time

รูปที่ 1 ธีมการลงทุนของปี 2018: ที่มา FINNOMENA, INFINITI Global Investors

 

สำหรับสินทรัพย์โดยภาพรวมทั่วโลกตั้งแต่ต้นปี หุ้นยังคงเป็นสินทรัพย์ที่สร้างผลตอบแทนได้ดีต่อเนื่องจากปีทีแล้วเนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจที่ดีขึ้น นำโดยหุ้นกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ฝั่งเอเชีย และสินค้าโภคภัณฑ์เช่น ทองคำและน้ำมัน ก็ปรับตัวขึ้นตามทิศทางของค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่า แต่สินทรัพย์ที่น่าเป็นห่วงในปีนี้คือตราสารหนี้ที่ทำผลตอบแทนได้ไม่ดีนักจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น.

รูปที่ 2 ผลตอบแทนในสินทรัพย์ชนิดต่างๆ ตั้งแต่ต้นปี ณ วันที่ 30 ม.ค. 61: ที่มา Bloomberg

 

เมื่อพิจารณาถึงอัตราดอกเบี้ยระยะยาวของฝั่งสหรัฐ ตั้งแต่ต้นปี มีการปรับตัวสูงขึ้นจาก 2.40% เป็น 2.70% นับว่าเป็นการปรับตัวที่ค่อนข้างรุนแรง ทำให้ผู้ที่ถือตราสารหนี้ระยะกลางถึงยาวได้รับผลกระทบเชิงลบด้านการปรับลดมูลค่ายุติธรรมของตราสารหนี้ (Mark to Market) ทุกครั้งที่ดอกเบี้ยปรับตัวขึ้น ทำให้มีการขาดทุนในตราสารหนี้เกิดขึ้น

รูปที่ 3 อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปี และมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนตราสารหนี้สหรัฐฯ: ที่มา Bloomberg

 

เมื่อพิจารณาเศรษฐกิจประเทศไทย ตัวเลขเศรษฐกิจไทยโดยส่วนใหญ่มีแนวโน้มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ล่าสุดสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ปรับเป้าประมาณการ GDP ปี 2561 เติบโตที่ 4.2% จากเดิม 3.8% และถึงแม้ว่าตัวเลขต่างๆจะประกาศออกมาต่ำกว่าเดือนก่อน (MoM) แต่ก็ยังถือว่าเติบโตได้ดีเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว (YoY)

 

รูปที่ 4 ตัวเลขเศรษฐกิจไทย: ที่มา BOT, NESDB, FTI, MOC, Nikkei, IHS, Markit, Department of Tourism, Ministry of Tourism & Sport

 

ผลประกอบการของกลุ่มธนาคารไทยซึ่งประกาศออกมาต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาด ซึ่งเกิดจากการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญที่มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์คาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังจะเริ่มฟื้นตัว รวมถึงการลงทุนภาครัฐ และการบริโภคในประเทศจะยังช่วยหนุนเศรษฐกิจไทย เราจึงยังคงน้ำหนักการลงทุนในหุ้นไทยในสัดส่วนเดิม

รูปที่ 5 ผลประกอบการของหุ้นกลุ่มธนาคารไทย: ที่มา Bloomberg, INFINITI

 

มาดูกันที่ฝั่งเศรษฐกิจสหรัฐฯ เศรษฐกิจยังคงฟื้นตัว พร้อมดัชนีหุ้นที่ทำ new high จากผลประกอบการที่ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์และนโยบายการปฏิรูปภาษี อย่างไรก็ตาม เรายังคงหลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้นสหรัฐฯโดยภาพรวมเนื่องจาก valuation ที่แพงเมื่อเทียบกับการเติบโตและมีความเสี่ยงจากปัจจัยการเมืองภายในสหรัฐฯและข้อพิพาทกับเกาหลีเหนือ

 

รูปที่ 6 ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ: ที่มา Bloomberg, BEA และ ISM

 

นอกจากนี้ มีเหตุการณ์สำคัญซึ่งเกิดขึ้นในเดือนที่ผ่านมาคือ รัฐบาลสหรัฐฯ ปิดทำการชั่วคราวในวันศุกร์ที่ 19 ม.ค. เนื่องจากการผ่านร่างกฎหมายต่างๆ รวมถึงงบประมาณรัฐฯ ได้เสียงสนับสนุนจาก สว.เพียง 50 เสียงซึ่งไม่ถึง 2 ใน 3 ของทั้งหมด เนื่องจาก สว.พรรคเดโมแครตส่วนใหญ่คัดค้านทำให้หน่วยงานรัฐบาลกลางบางแห่งต้องปิดทำการ

และสภา ส.ส. และ ส.ว. ต้องกลับมาโหวตผ่านร่างกฎหมายงบประมาณชั่วคราววันจันทร์ที่ 22 ม.ค. ซึ่งช่วยให้รัฐบาลสหรัฐมีงบประมาณในการบริหารประเทศจนถึงวันที่ 8 ก.พ. นี้ อาจเป็นอีกความเสี่ยงที่สำคัญสำหรับตลาดทุนฝั่งสหรัฐในปีนี้

 

เมื่อดูผลประกอบการฝั่งสหรัฐฯที่เริ่มประกาศออกมา พบว่าธุรกิจกลุ่มการเงินส่วนใหญ่ประกาศผลการดำเนินงานออกมาสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ และยังเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น นโยบายการปฏิรูปภาษีของสหรัฐฯ และการแก้ไขกฏระเบียบในภาคการเงิน เราจึงยังคงน้ำหนักในกลุ่มนี้

 

รูปที่ 7 ผลประกอบการของหุ้นกลุ่มการเงินสหรัฐฯ เปรียบเทียบกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์: ที่มา Bloomberg, INFINITI

สำหรับเศรษฐกิจจีน โดยภาพรวมยังเติบโตได้ดีโดยเฉพาะตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 4 ที่เติบโตถึง 6.8% มากกว่าที่ตลาดคาดการณ์และทั้งปี 2017 ที่ผ่านมาเติบโต 6.9% ขณะที่ตัวเลขส่งออกเติบโตสูงถึง 10.9% เรายังคงน้ำหนักการลงทุนในหุ้นจีนต่อเนื่องจากโมเมนตัมการเติบโตที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียน

รูปที่ 8 ตัวเลขเศรษฐกิจจีน: ที่มา Bloomberg, Caixin, และ IHS Markit

 

ตลาดหุ้นเกิดใหม่ยังมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นได้อีก ถึงแม้ว่าดัชนีในสกุลเงินท้องถิ่นจะปรับตัวทำจุดสูงสุดใหม่ไปแล้ว แต่หากเราดูในสกุลเงินดอลลาร์จะเห็นว่ายังมี Upside อยู่อีกมาก

รูปที่ 9 กราฟดัชนีตลาดหุ้นบราซิลและรัสเซีย โดยเปรียบเทียบในหน่วยสกุลเงินท้องถิ่นและสกุลเงินดอลลาร์: ที่มา Bloomberg

 

หุ้นเกาหลีมีแนวโน้มการเติบโตที่น่าสนใจนำโดยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่มีสัดส่วนสูงถึงระดับ 30-40% โดยปี 2018 นี้มีแนวโน้มการเติบของกำไรในระดับราว 14% นำโดยกลุ่มเทคโนโลยีที่มีการเติบโตของการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ได้ดีต่อเนื่อง ในขณะที่ยังเป็นหนึ่งในตลาดหุ้นที่ถูกที่สุดในโลกด้วย valuation ที่ forward P/E ราว 10 เท่า เท่านั้น ตลาดหุ้นเกาหลียังเป็นหนึ่งในตลาดที่มีการปฏิรูปในด้านธรรมาภิบาลมาต่อเนื่อง โดยเฉพาะที่ระยะหลังที่บริษัทจดทะเบียนมีแนวโน้มจ่ายเงินปันผลออกมาสูงขึ้น ทำให้หุ้นเกาหลีมีแนวโน้มที่จะมี ROE จะสูงขึ้น และมีความน่าสนใจในแง่ของการปลดล็อคมูลค่าเพื่อให้สามารถไปเทรดในระดับ valuation ที่สูงขึ้นได้

รูปที่ 10 ตารางแสดงอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญของดัชนีหุ้นเกาหลี: ที่มา Bloomberg

 

เมื่อพิจารณาด้านเทคนิคัล ตลาดหุ้นเกาหลีเพิ่งปรับตัวขึ้นอยู่ในเทรนด์ขาขึ้นรอบใหญ่และเพิ่งปรับตัวขึ้นทำ All-time high พร้อมผลประกอบการที่ทำจุดสูงสุดใหม่ สำหรับความเสี่ยงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์กับเกาหลีเหนือ เราเห็นการเจรจากันระหว่างเกาหลีใต้และเกาหลีเหนือรวมถึงสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้น ทำให้มองว่าเป็นสัญญาณว่าสถานการณ์เริ่มคลี่คลายไปในเชิงบวกมากขึ้น

รูปที่ 11 กราฟดัชนีหุ้นเกาหลี (KOSPI Index) : ที่มา Bloomberg

 

เมื่อพิจารณาการลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากผลตอบแทนจากเงินปันผลเริ่มปรับตัวลดลง จากเดือนที่แนะนำเข้าซื้ออยู่ที่ 5.5-6% ซึ่งปรับตัวต่ำลงเนื่องจากราคาปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ดอกเบี้ยพันธบัตร 10 ปีของไทยและสิงคโปร์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ความน่าสนใจของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ลดลง นอกจากนี้ จากวันที่เริ่มต้นแนะนำจนถึงปัจจุบัน กองทุนให้ผลตอบแทนถึงประมาณ 9% แล้ว เราจึงแนะนำขายทำกำไรและหาโอกาสในการลงทุนที่น่าสนใจกว่า

รูปที่ 12 อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรอายุ 10 ปีของไทยและสิงคโปร์ : ที่มา Bloomberg

 

มาดูกันที่ฝั่งญี่ปุ่น ตัวเลขเศรษฐกิจของญี่ปุ่นโดยรวมยังฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง ในขณะที่หุ้นญี่ปุ่นฟื้นตัว หลังตัวเลขเศรษฐกิจทั้งด้านเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามเราไม่ได้แนะนำลงทุนในหุ้นญี่ปุ่นเนื่องจากมองว่าตลาดเกิดใหม่และยุโรปมีการเติบโตที่น่าสนใจกว่า

รูปที่ 13 ตัวเลขเศรษฐกิจญี่ปุ่น: ที่มา Bloomberg, Nikkei และ IHS Markit

 

ตัวเลขเศรษฐกิจของยุโรปยังคงอยู่ในช่วงการฟื้นตัว จากตัวเลข PMI ที่ขยายตัวต่อเนื่องอย่างชัดเจน และตัวเลข GDP ที่มีการเติบโตสูงสุดในรอบ 5 ปี เรายังคงน้ำหนักการลงทุนในยุโรปต่อเนื่องตามเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวและนโยบายการเงินที่เอื้อต่อการลงทุน

 

รูปที่ 14 ตัวเลขเศรษฐกิจยุโรป: ที่มา Bloomberg และ IHS Markit

 

ทั้งนี้เรามองว่ายังคงมีความเสี่ยงที่ต้องระมัดระวังในปีนี้คือ ความเสี่ยงจากการที่ธนาคารกลางต่างๆจะดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัวเร็วเกินไป เช่น การขึ้นดอกเบี้ย การลดขนาดงบดุลของเฟด อาจดึงสภาพคล่องออกจากระบบอย่างฉับพลัน และความเสี่ยงทางด้านการเมืองสหรัฐฯ เช่น การถอดถอนทรัมป์ออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี และการปิดทำการของรัฐฯ (Government shutdown)

รูปที่ 15 ความเสี่ยงต่างๆ ที่ต้องระมัดระวัง : ที่มา Bloomberg, INFINITI

 

สำหรับคำแนะนำพอร์ตการลงทุนแบบ Global Absolute Return Portfolio ของ FINNOMENA ซึ่งเป็นคำแนะนำการลงทุนแบบ Absolute Return ซึ่งมีความยืดหยุ่นต่อการปรับเปลี่ยนพอร์ตตามมุมมองภาวะตลาด มีเป้าหมายผลตอบแทนการลงทุนต่อปีประมาณ 8 – 10% ซึ่งต่ำกว่าผลตอบแทนระยะยาวของตลาดหุ้นเล็กน้อย และมีเป้าหมายความผันผวนของพอร์ตในระดับที่ต่ำกว่าตลาดหุ้นจากการกระจายการลงทุน โดยกลยุทธ์นี้จะพยายามลดความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญในยามที่พื้นฐานการลงทุนไม่ดี ทั้งนี้สำหรับเดือนกุมภาพันธ์ 2018 เราแนะนำสัดส่วนการจัดพอร์ตดังนี้

 

รูปที่ 16 Global Absolute Return Portfolio Model เดือน ก.พ. 61: ที่มา INFINITI, FINNOMENA

 

สำหรับสถานการณ์ปัจจุบัน เรายังคงมุมมองเชิงบวกด้านปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่ความผันผวนที่ปรับตัวขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่หลังวิกฤตยูโรโซน อาจเป็นความเสี่ยงที่ทำให้มีการ Trigger ตัวระบบเทรด หรือกองทุนที่มีการควมคุมความเสี่ยงให้มีการขายสินทรัพย์เสี่ยงออกมาได้อีก ซึ่งยังประเมินผลกระทบได้ค่อนข้างยาก อย่างไรก็ตามเราให้ความสำคัญกับการปกป้องเงินต้นมาเป็นอันดับแรก เราจึงแนะนำให้มีการลดสัดส่วนการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงลง ณ ปัจจุบัน เพื่อควบคุมความเสี่ยงพอร์ตโดยเราเชื่อว่าปี 2018 น่าจะยังเป็นปีที่ดีต่อพอร์ตการลงทุน Global Absolute Return

โปรดทราบ สำหรับลูกค้าฟินโนมีนาที่ลงทุนพอร์ท GAR และได้รับบทความนี้ แต่ยังไม่ได้รับอีเมลและ/หรือ Notification ในการแจ้งสัดส่วนเงินในการเข้าลงทุน อาจเกิดจาก

1) ท่านอยู่ระหว่างการทำรายการซื้อขายกองทุน ซึ่งทางฟินโนมีนาจะแจ้งเตือนอีกครั้งภายใน 1 สัปดาห์หลังจากการทำรายการซื้อขายเสร็จสิ้น
2) ท่านมีจำนวนเงินลงทุนต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่แนะนำ

หมายเหตุ หากท่านไม่ประสงค์ที่จะรอรับการแจ้งเตือน ท่านสามารถดูรายละเอียดของพอร์ทการลงทุนที่แนะนำผ่านทางเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นของฟินโนมีนาพร้อมปรับพอร์ทเข้าลงทุนได้ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID: @finnomenaport

 

นอกเหนือจากพอร์ต Global Absolute Return ทาง INFINITI Global Investors ได้ออกพอร์ตการลงทุนประเภทใหม่ “FINNOMENA TOP5” ซึ่งเป็นพอร์ตที่เหมาะสำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงมาก มีความรู้ ความเข้าใจในตลาดทุน สามารถรับความผันผวนสูงได้ รับการปรับพอร์ตแบบฉับไวและการตัดขาดทุน (Cut Loss Policy) ได้ โดยต้องการผลตอบแทนสูงคล้ายการลงทุนในหุ้น เป็นการจัดพอร์ตแบบกระจายการลงทุนผ่านกองทุนหลากหลายสินทรัพย์ทั่วโลก เน้นคัดเลือกกองทุนรวมที่เหมาะสมกับสภาวะตลาดในแต่ละช่วงเวลา สูงสุดไม่เกิน 5 กอง ปรับพอร์ตตามภาวะตลาดอย่างใกล้ชิด

รูปที่ 17 TOP5 เดือน ก.พ. 61: ที่มา INFINITI, FINNOMENA

โดยเราแนะนำการขายทำกำไรกองทุนหุ้นไทยใหญ่ 20% เพื่อเข้ากองทุนหุ้นเกาหลี 20% และทำกำไรหุ้นกลุ่มการเงินสหรัฐฯและหุ้นกลุ่มประเทศเกิดใหม่เพื่อเข้าลงทุนในทองคำ 10% และพักไว้ในตราสารหนี้ระยะสั้น 30% อย่างไรก็ตามจังหวะในการแนะนำเข้าลงทุนโปรดติดต่อ Investment Advisor เพื่อประกอบการตัดสินใจ

FundTalk รายงาน