ถอดบทเรียน #เลือดข้นคนจาง ตอนที่ 1/4 “ทำไมธุรกิจครอบครัวจะล่มสลายในรุ่นที่ 4”

ละคร เลือดข้นคนจาง วงศ์ตระกูลจิระอนันต์ เป็นเจ้าของกิจการโรงแรมจิรานันตา เป็นวงศ์ตระกูลใหญ่ที่มั่งคั่ง รวมตัวกันได้เสมอในวาระสำคัญ เหมือนว่ารักใคร่กลมเกลียวกันดีทั้งรุ่นใหญ่และรุ่นเล็ก แต่แล้วความรักในวงศ์ตระกูลก็ถูกท้าทายด้วยการถูกยิงตายอย่างมีเงื่อนงำ ของพี่ชายคนโตที่ดูแลกิจการ  เกิดศึกมรดกเลือด…

คุณคิดว่าในชีวิตจริงจะเหมือนละคร หรือไม่ อย่างไร ?

บางครั้งละครก็สะท้อนชีวิตจริง จากรูป  เป็นสัดส่วนการถือหุ้นในธุรกิจครอบครัว และลูกศรคือการให้หุ้นจาก รุ่นสู่รุ่น

รุ่นที่ 2 (Gen2)

  • จะได้หุ้นของกิจการคือ ช1 และ ช2 ได้หุ้นคนละ 30%
  • ส่วน ญ1 และ ญ2 ได้หุ้นคนละ 15% โดยที่ ญ 3 จะได้หุ้นน้อยที่สุด

รุ่นที่ 3 (Gen3)

  • ช1 ให้หุ้น A , B , C คนละ 10%
  • ญ1 ให้หุ้น E  5% และ F 10%
  • ญ2 ให้หุ้น G  15%
  • ช2 ให้หุ้น H และ I คนละ 15%
  • ญ3 ให้หุ้น J และ K คนละ 5%

รุ่นที่ 4 (Gen4)

  • AA ได้รับหุ้นจาก A 5%
  • เนื่องจาก นาย เป็นหลานคนโปรด ของ H และ I ที่ไม่มีลูก จึงได้รับ 15% จาก H และ 15% จาก I
  • ส่วน นาย ก็เห็นหลานคนโปรดของ C และ F  จึงได้รับ 10% จาก C และ 10% จาก F

ดูจากกระจายหุ้นแล้วตอบคำถามผมว่า

ใครกันแน่ที่ควบคุมบริหารกิจการครอบครัว ?

ระหว่าง นาย AA เป็นรุ่นที่ 3 เป็น CEO เกิดจากพี่ชายคนโตของตระกูล แต่มีหุ้นเพียง 5%

หรือ นาย ก เป็นรุ่นที่ 3 เหมือนกัน เพิ่งจบออกมา วันๆไม่งาน ไม่ทำการอะไร แต่มีหุ้น 30%

อยู่มาวันหนึ่ง นาย ก ต้องการเงินปันผลจากกิจกการครอบครัวนำเงินไปซื้อรถหรู แต่นาย AA ไม่ยอม นาย ก ถือหุ้นใหญ่ มีหุ้น 30% ไปร่วมมือกับ นาย ข ที่มีหุ้น 20%
สั่งปลด นาย AA ออกจากตำแหน่ง CEO

นาย AA ไม่พอใจ ออกไปตั้ง บริษัท์มาแข่ง นำลูกค้า และ ลูกจ้างออกไปอยู่ บริษัทใหม่ของตัวเอง นำมาซื่งสาเหตุของการแตกคอกันในครอบครัว นำมาซึ่งความล่มสลายของธุรกิจครอบครัว

ละครสะท้อนชีวิตจริง!

ผลการสำรวจธุรกิจครอบครัว ของ Price Waterhouse ในปี พ.ศ.  2555 พบว่า ธุรกิจครอบครัวมีอัตราการอยู่รอดไปถึงรุ่นที่ 2 คิดเป็น 30% ของรุ่นที่ 1 อัตราการอยู่รอดของธุรกิจครอบครัวรุ่นที่ 3 และ 4 จะคิดเป็น 12% และร้อยละ 3% (ตามลำดับ)

เหตุผลของการเสื่อมถอยและล่มสลายของธุรกิจครอบครัว ตามทฤษฎี Buddenbrooks Syndrome กับวัฏจักรธุรกิจครอบครัว

  • ความมุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจลดลงตามรุ่น รุ่นที่ 1 และ รุ่นที่ 2 จะเต็มไปด้วยความมุ่งมั่น แต่เมื่อถึงรุ่นที่ 3 ความมุ่งมั่นจะลดน้อยลง
  • ความเป็นผู้ประกอบการไม่เหมือนรุ่นแรก รุ่นลูก รุ่นหลานของผู้ก่อตั้ง อาจจะไม่ชอบธุรกิจที่ครอบครัวทำอยู่ อาจจะชอบอาชีพอื่นมากกว่า
  • ความเปลี่ยนแปลงในปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจ การแข่งขันในทางธุรกิจมีตลอดเวลา ปัจจัยด้าน เทคโนโลยี ก็อาจจะทำให้การแข่งขันเปลี่ยนแปลงไปได้ รุ่นลูก หลาน จะต้องปรับตัวเพื่อรับการแข่งขัน ถ้าไม่สามารถปรับตัวได้ ธุรกิจครอบครัวก็ไม่อาจจะรอดได้

ดังนั้นการวางแผนส่งต่อสินทรัพย์ (Estate Planning)  หรือ เรียกสั้นๆว่า การวางแผนมรดก ไม่ใช่แค่ เจ้าของมรดกตาย โอนสินทรัพย์ไปยังลูกหลาน ถ้าเจ้าของสินทรัพย์เป็นเจ้าของกิจการ มีสิ่งที่ต้องให้คิดอย่างระมัดระวัง ยิ่งมีสินทรัพย์เยอะ ยิ่งต้องมีแผนจัดการ ให้ความสำคัญกับการส่งต่อสินทรัพย์ด้วย เพราะเมื่อเจ้าของสินทรัพย์ไม่จัดการ และ จากไปก่อนที่จะจัดการมรดกเลือด ย่อมเกิดขึ้นได้ อย่าให้เกิด เหมือนในละคร

*ข้อมูลบ้างส่วนอ้างอิงจาก ธุรกิจครอบครัว ของ กระทรวงอุตสาหกรรม TaxTank ของ อาจารย์ ชินภัทร วิสุทธิแพทย์

– WealthGuru –