แจ้งเตือน

​​​​อยากเกษียณแบบสุขใจ ควรเตรียมเงินไว้เท่าไรดี?

planet 46
​​​​อยากเกษียณแบบสุขใจ ควรเตรียมเงินไว้เท่าไรดี?

หลังจากที่เราทำงานมาอย่างขยันขันแข็ง แน่นอนว่าในวัยเกษียณเราก็ต้องการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข มีเงินเพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น รวมถึงค่าใช้จ่ายจิปาถะที่จะสร้างความสุขสำราญให้กับวัยเกษียณของเรา

บทความนี้จะขอพาทุกคนมาดูว่า เราควรเตรียมเงินไว้เท่าไร จึงจะสามารถใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างสุขใจด้วยไลฟ์สไตล์แบบที่เราต้องการ

​​​​อยากเกษียณแบบสุขใจ ควรเตรียมเงินไว้เท่าไรดี?

ใครที่ดูตารางด้านบนแล้วยังนึกไม่ออกว่าเราควรเตรียมเงินหลังเกษียณเท่าไร ลองมาดูตัวอย่างการคำนวณไปพร้อม ๆ กันได้เลย

ขั้นตอนที่ 1: คำนวณหา “ค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณ”

โดยส่วนใหญ่แล้ว ค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณจะลดลงอยู่ที่ประมาณ 70-80% ของค่าใช้จ่ายก่อนเกษียณ

ค่าใช้จ่ายปัจจุบัน x 0.70

ตัวอย่างเช่น     ค่าใช้จ่ายปัจจุบัน = 50,000 บาท

ดังนั้น ค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณ = 50,000 x 0.70 = 35,000 บาท

ขั้นตอนที่ 2: คำนวณหา “จำนวนเงินที่ควรมี ณ วันเกษียณ”

ค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณ x 12 (เดือน) x จำนวนปีที่คาดว่าจะใช้ชีวิตหลังเกษียณ

ตัวอย่างเช่น     ค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณ = 35,000 บาท
                         จำนวนปีที่คาดว่าจะใช้ชีวิตหลังเกษียณ = 20 ปี

ดังนั้น จำนวนเงินที่ควรมี ณ วันเกษียณ = 35,000 x 12 x 20 = 8,400,000 บาท

ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณ และจำนวนเงินที่ควรมี ณ วันเกษียณ ที่ได้มาจะเป็นจำนวนที่ยังไม่ได้ปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ

แถม!! วิธีการคำนวณหาจำนวนเงินที่ควรมี ณ วันเกษียณ ปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อ

ปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งภาวะเงินเฟ้อจะส่งผลให้ระดับราคาของสินค้าและบริการโดยทั่วไปในประเทศสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่มูลค่าของเงินลดลง จึงทำให้เราต้องใช้เงินจำนวนมากขึ้นในการซื้อสินค้าและบริการนั่นเอง ดังนั้นในการเก็บเงินหรือการลงทุนเราจึงควรคิดรวมอัตราเงินเฟ้อไว้ด้วย 

จำนวนเงินที่ควรมี ณ วันเกษียณ x [(1+อัตราเงินเฟ้อ)^(อายุที่จะเกษียณ – อายุปัจจุบัน)]

ตัวอย่างเช่น     จำนวนเงินที่ควรมี ณ วันเกษียณ = 8,400,000 บาท
                         อายุที่จะเกษียณ = 60 ปี
                         อายุปัจจุบัน = 30 ปี
                         อัตราเงินเฟ้อ = เพิ่มขึ้น 3% ต่อปี

ดังนั้น จำนวนเงินที่ควรมี ณ วันเกษียณ ที่ปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อแล้ว = 8,400,000 x [(1+3%)^(60-30)] = 20,389,004.76 บาท

อ่านเพิ่มเติม ไขข้อสงสัย… “เงินเฟ้อ” คืออะไร? “ภาวะเงินเฟ้อลดลง” แตกต่างกับ “เงินฝืด” อย่างไร?

อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่ต้องการใช้หลังเกษียณ ควรประเมินตามไลฟ์สไตล์ที่เราต้องการใช้หลังเกษียณ ซึ่งอาจจะประกอบไปด้วยค่าใช้จ่ายประเภทต่าง ๆ ได้แก่

  • ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการดำรงชีพ เช่น ค่าอาหาร ค่าของใช้ในบ้าน ค่าของใช้ส่วนตัว ฯลฯ
  • ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย เช่น ค่าเช่าบ้าน/คอนโด ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเทอร์เน็ต ฯลฯ
  • ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเดินทาง เช่น ค่าขนส่งสาธารณะ ค่าน้ำมัน ค่าเบี้ยประกันรถยนต์ ค่าซ่อมรถ ฯลฯ 
  • ค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ/ประกันชีวิต ค่าตรวจสุขภาพ ฯลฯ
  • ค่าใช้จ่ายเพื่อนันทนาการ เช่น ค่าใช้จ่ายสำหรับการท่องเที่ยว ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับความบันเทิง ฯลฯ

 

ซึ่งหลังจากเกษียณ เราจะนำเงินที่เก็บออมได้มาแบ่งใช้เป็นค่าใช้จ่ายรายเดือนเลย หรือจะต่อยอดด้วยการลงทุนเพื่อสร้าง Passive Income ไว้ใช้สบาย ๆ ก็ได้อีกเช่นกัน ซึ่งใครที่อยากต่อยอดด้วยการลงทุน Finnomena ก็มีแผนการลงทุนอย่าง “Finnomena Port GIF” พอร์ตการลงทุนที่เน้นการสร้างกระแสเงินสดสม่ำเสมอ ในรูปแบบของการจ่ายปันผล หรือ การรับซื้อคืนอัตโนมัติ (Auto Redeem) โดยคาดหวังกระแสเงินสดเฉลี่ยต่อปีที่ 3-5% (ไม่ใช่การการันตี) เหมาะสำหรับการสร้าง Passive Income ในวัยหลังเกษียณ

การวางแผนเกษียณเราควรเริ่มทำตั้งแต่เนิ่น ๆ อย่าชะล่าใจคิดว่าการวางแผนเกษียณเป็นเรื่องของคนสูงอายุ เพราะยิ่งเราเริ่มวางแผนเร็ว เราก็จะยิ่งได้เปรียบเพิ่มขึ้น ทั้งนี้จะได้เปรียบอย่างไร สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ ไม่รู้ไม่ไหว! 5 เหตุผล ทำไมเรื่องลงทุน “เริ่มเร็ว” ชนะ “เงินเยอะ”

และใครที่อยากมีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยคุณวางแผนเกษียณแบบตัวต่อตัว ให้คุณสามารถใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างสุขใจ ลองให้ “Finnomena Funds Goals Navigator” ช่วยคุณกับนวัตกรรมที่มาพร้อมกับบริการวางแผนลงทุนจัดพอร์ตระดับโลกหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่ทาง Finnomena Funds และ Franklin Templeton ร่วมมือกันพัฒนาและออกแบบ เพื่อตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์และเป้าหมายการลงทุน ไม่ว่าคุณจะมีเป้าหมายชีวิตกี่อย่าง Goals Navigator ก็พร้อมทำเป้าหมายเหล่านั้นให้เป็นจริงได้

https://finno.me/gnavi-web

— planet 46.


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”

Warren Buffett ลงทุนอย่างไรในช่วงสงคราม

Park Kathawut
Warren Buffett สงคราม

การลงทุนที่ยอดเยี่ยมในช่วงสงคราม
ไม่ใช่ทองคำ ไม่ใช่ Bitcoin และอย่าถือเงินสด
แต่จงซื้อหุ้นคุณภาพดีที่โดนเทขาย

(1)

ในช่วงความกังวลภาวะสงคราม หลายคนเลือกที่จะกอดเงินสดเอาไว้ หรือลงทุนในสินทรัพย์ที่เป็น Safe Haven อย่างเช่น ทองคำ หรือแม้แต่ Bitcoin 

แต่ความเชื่อนี้ตรงกันข้ามกับ Warren Buffett ที่บอกว่าการซื้อหุ้นที่ราคาร่วงลงมาต่างหาก คือการลงทุนที่ดีที่สุดในช่วงสงคราม

(2)

ในปี 2014 จุดเริ่มต้นสงครามรัสเซีย-ยูเครน Warren Buffett ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว CNBC โดยมีใจความสำคัญที่เตือนนักลงทุนว่าไม่ควรถือเงินสด แต่ให้ลงทุนต่อเนื่อง

ส่วนสินทรัพย์ที่ดีที่สุดในยามสงครามนั้นไม่ใช่ทั้งทองคำ และ Bitcoin แต่เป็นการสะสม “หุ้นคุณภาพดีที่ราคาตก” 

แม้ในช่วงสงครามราคาทองคำ น้ำมัน แม้กระทั่ง Bitcoin จะดูโดดเด่นมากในระยะสั้น แต่เป็นเพราะตัวเขาเน้นย้ำในหลักการลงทุนระยะยาว 

ดังนั้น หากเป็นหุ้นที่ดีแต่ราคาตกจากความกังวล เราก็แค่ซื้อเพิ่ม ซึ่งจังหวะนี้แหละเป็นโอกาสเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีไปอีก 50 ปีข้างหน้า

(3)

Warren Buffett เล่าว่าเห็นบทเรียนเรื่องนี้มาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 วิกฤตการณ์คิวบา และวิกฤตทางการเงินต่าง ๆ ซึ่งสุดท้ายตลาดหุุ้นสหรัฐฯ ฟื้นกลับมาได้อย่างแข็งแกร่งทุกครั้ง 

พร้อมย้ำว่าจงอย่าแทงสวนตลาดหุ้นสหรัฐฯ “Never bet against America”

(4)

เกร็ดข้อมูลเล็ก ๆ คือหุ้นตัวแรกของ Warren Buffett ซื้อในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ตอนปี 1942 ซึ่งตอนนั้นเขาอายุ 11 ขวบ 

ด้วยการนำเงินเก็บของตัวเองกับพี่สาว ซื้อหุ้น Cities Service บริษัทพลังงานในสหรัฐฯ เนื่องจากเห็นว่าปั๊มน้ำมันเจ้านี้มีลูกค้าเยอะดี น่าจะโตได้อีกมาก 

จึงใช้เงินเก็บ 120 ดอลลาร์ ซื้อหุ้น Cities Service ที่ราคา 38 ดอลลาร์ จำนวน 3 หุ้น เพียงไม่นานราคาหุ้นก็ตกไปที่ 27 ดอลลาร์ และเด้งขึ้นมาที่ 40 ดอลลาร์ เขาจึงตัดสินใจเทขายหุ้นทั้งหมด แต่หลังจากนั้นไม่นาน หุ้นก็พุ่งขึ้นไปเกือบ 200 ดอลลาร์ ถือเป็นบทเรียนการลงทุนบทเรียนการลงทุนแรก


แหล่งข้อมูลอ้างอิง: CNBC, Business Insider

Finnomena Funds Market Alert : หุ้นเอเชียทะยาน 2% จากความกังวลเกี่ยวกับสงครามที่ผ่อนคลายลง

Finnomena Funds

วันนี้ (24 เมษายน 2024) ภาพรวมตลาดหุ้นเอเชียฟื้นตัวสดใสหลังความกังวลต่อปัจจัยสงครามคลายตัว และผลประกอบการไตรมาส 1 ที่ทยอยประกาศในตลาดสหรัฐฯ และยุโรปยังมีทิศทางดีกว่าที่คาด นอกจากนั้นดัชนีหุ้นฮ่องกง Hang Seng (HSI) และดัชนี HSCEI หรือหุ้นจีน H-Share ปรับตัวขึ้นราว 2% ใกล้แตะระดับสูงสุดในรอบ 5 สัปดาห์ ได้รับแรงหนุนจากการที่ UBS และ Goldman Sachs มีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นจีนและฮ่องกงมากขึ้น 

Finnomena Funds มองการปรับฐานจากปัจจัยสงครามที่ผ่านมาเป็นโอกาสเข้าลงทุนหุ้นเพิ่ม สำหรับกองทุนหุ้นเอเชียแนะนำ UOBSA ที่ใช้ AI ร่วมกับผู้จัดการกองทุนในการคัดเลือกหุ้น สร้างผลตอบแทนโดดเด่นกว่ากองเอเชียอื่นๆ อย่างชัดเจน หากเป็นรายประเทศยังแนะนำสะสมหุ้นเวียดนามผ่านกองทุน PRINCIPAL VNEQ-A, หุ้นจีนผ่านกองทุน MEGA10CHINA-A และ ABCA-A สำหรับหุ้นจีน A Shares และกองทุนหุ้นเกาหลี SCBKEQTG

จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)

Mr.Messenger Call: ถึงเวลาลงทุนหุ้นเวียดนาม หลังดัชนีทำสัญญาณกลับตัว

Bank - The Trend Follower Investor
Mr.Messenger Call ถึงเวลาลงทุนหุ้นเวียดนาม

แนะนำเข้าซื้อกองทุนหุ้นเวียดนาม PRINCIPAL VNEQ-A ที่ดัชนี VN30 ไม่เกินระดับ 1,222 จุด หลังทำสัญญาณกลับตัวมาทดสอบรอบขาขึ้นครั้งใหม่

กราฟดัชนี VN30 (Timeframe Day)

Mr.Messenger Call ถึงเวลาลงทุนหุ้นเวียดนาม

Source: Tradingview as of 23/04/2024

ดัชนีตลาดหุ้นเวียดนาม (VN30) ทำสัญญาณกลับตัว หลังลงมาทดสอบ Fibonacci Retracement 61.80% ของรอบขาขึ้นที่กินเวลานับตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน 2023 ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับแนวรับบนเส้นค่าเฉลี่ย 100 วัน ที่ระดับ 1,192 จุด และสามารถมีแท่งกลับตัวได้ในวันจันทร์ที่ผ่านมา (22/04/2024) 

Mr.Messenger Call จึงแนะนำลงทุนในกองทุน PRINCIPAL VNEQ-A เป็นกองทุนที่ลงทุนหุ้นเวียดนามที่มีนโยบายการลงทุนแบบ Active ให้ผลการดำเนินงานเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับดัชนี VN30 ซึ่งมีค่า Correlation กับดัชนี VN30 ที่ 0.93 สะท้อนถึงการเคลื่อนไหวตามตลาดหุ้นเวียดนาม โดยมีคำแนะนำดังนี้

1. แนะนำเข้าลงทุนที่ดัชนี ไม่เกินระดับ 1,222 จุด (+1.2% จากระดับราคาวันที่ 23/04/2024) ซึ่งเป็นระดับราคาที่เราแนะนำให้พิจารณาชะลอการเข้าซื้อ (หยุดซื้อ) ภายใต้คำแนะนำ Mr.Messenger Call เนื่องจากทำให้ Risk/Reward ratio เข้าใกล้ระดับ 1:1

2. แนะนำ Take Profit หรือขายทำกำไร เมื่อดัชนีถึง 1,306 จุด (Upside 8.1% จากระดับราคาวันที่ 23/04/2024 และ +6.9% จากจุดหยุดเข้าซื้อ) ซึ่งเป็นระดับใกล้เคียงจุดสูงสุดเดิมในเดือนมีนาคม 2024

3. แนะนำ Limit Loss หรือตัดขาดทุนทันที เมื่อดัชนีปิดตลาดต่ำกว่า 1,138 จุดอย่างมีนัยยะ ซึ่งใกล้เคียงระดับ Fibonacci 38.2% (Downside -5.8% จากราคาวันที่ 23/04/2024 และ -6.9% จากจุดหยุดเข้าซื้อ) โดยเราอาจพิจารณาแนะนำ Trailing Stop ด้วยเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 20 วัน (20-day MA) ทั้งนี้ จะประเมินสถานการณ์และแจ้งให้ทราบอีกครั้ง

PRINCIPAL VNEQ-A

Mr.Messenger Call ถึงเวลาลงทุนหุ้นเวียดนาม

Source: Fund Fact Sheet ของกองทุน PRINCIPAL VNEQ-A as of 29/02/2024

PRINCIPAL VNEQ-A เป็นกองทุนความเสี่ยงสูง (ระดับ 6) มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือมีธุรกิจหลักในประเทศเวียดนามที่เชื่อว่ามีศักยภาพในการเติบโตในอนาคต รวมทั้งตราสารทุนอื่นใดที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องและ/หรือที่ได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ และ/หรือกองทุนรวม โดยปัจจุบันกองทุน PRINCIPAL VNEQ-A ไม่มีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน

ข้อมูล Correlation ของกับกองทุน PRINCIPAL VNEQ-A กับดัชนี VN30 

Mr.Messenger Call ถึงเวลาลงทุนหุ้นเวียดนาม

Source: Bloomberg as of 23/04/2024

นักลงทุนที่เหมาะกับคำแนะนำนี้ ระยะสั้นนี้ควร…

  1. เป็นนักลงทุนที่มีเงินสด หรือสภาพคล่องส่วนเกิน และรับความผันผวนได้สูง
  2. ใช้เงินลงทุนในสัดส่วนไม่เกิน 10% ของภาพรวมพอร์ตการลงทุนทั้งหมด
  3. นักลงทุนต้องยอมรับการ Limit Loss หรือ การตัดขาดทุนได้ทันที

ดู Fund Fact Sheet กองทุนแนะนำ

 

สามารถศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/ 
จัดทำโดยบลป.เดฟินิท สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ FINNOMENA FUNDS ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

สงครามแค่ชั่วคราว ตลาดผ่อนคลาย ได้เวลา Buy the Dip

Finnomena Funds
สงครามอิสราเอล-อิหร่าน

สรุปกลยุทธ์และมุมมองการลงทุนหลังเหตุการณ์ความตึงเครียดอิสราเอล-อิหร่าน กระทบแค่ในระยะสั้นหรือบานปลายต่อเนื่อง เป็นโอกาสหรือควรตื่นกลัวมากกว่ากัน และจังหวะนี้แนะนำลงทุนอะไร?

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกย่อตัวลงมาแรง อาทิ หุ้นสหรัฐฯ S&P500 -3.05% WoW หุ้นญี่ปุ่น (TOPIX) -4.83% WoW และหุ้นเวียดนาม (VN Index) -7.97% WoW สวนทางกับราคาน้ำมันที่พุ่งจากความกังวลภาวะสงคราม และทองคำที่ยืนระดับสูงในฐานะ Safe Haven โดยประเด็นกดดันหลัก ๆ มี 3 เรื่อง

  • หนึ่งคือ… Fed ส่งสัญญาณคงอัตราดอกเบี้ยยาวนานขึ้น
  • สองคือ… ความกังวล US Election ที่อาจเกิด Trade War สหรัฐฯ-จีนอีกรอบ
  • สามคือ… ความตึงเครียดจากเหตุการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลางระหว่างอิสราเอลและอิหร่าน

เหตุการณ์ความตึงเครียดอิสราเอล-อิหร่าน

สงครามอิสราเอล-อิหร่าน

Source: Finnomena Funds, TradingView  as of 22/04/2024

สำหรับประเด็นที่ถูกจับตามองมากที่สุดในตอนนี้ คือสงครามอิสราเอล-อิหร่าน

จุดเริ่มต้นมาจากช่วงต้นเดือนเมษายน 2024 ได้เกิดเหตุโจมตีสถานทูตอิหร่าน ในประเทศซีเรีย ซึ่งมีนายทหารระดับสูงและเจ้าหน้าที่อิหร่านเสียชีวิต 7 ราย และรัฐบาลอิหร่านยืนยันว่าเป็นการโจมตีจากอิสราเอล

กระทั่งวันที่ 12 เมษายน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ “โจ ไบเดน” ให้ข่าวว่าอิหร่านจะโจมตีอิสราเอลกลับอย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว

ช่วงกลางคืนของวันที่ 13 และ 14 เมษายน อิหร่านเริ่มปฏิบัติการโจมตีทางอากาศ โดยยิง โดรนและขีปนาวุธประมาณ 300 ลูก ไปยังพื้นที่เป้าหมายในอิสราเอล แต่อิสราเอลสามารถป้องกันได้ 99%

และเมื่อวันศุกร์ที่ 19 เมษายนที่ผ่านมา ก็มีกระแสข่าวว่าอิสราเอลเปิดศึกตอบโต้อิหร่านแล้ว หลังเกิดเสียงระเบิดในบริเวณสนามบินอิสฟาฮาน ก่อนที่ทางการอิหร่านจะออกมาระบุว่าเหตุการณ์ดังกล่าวน่าจะเป็นการโจมตีโดยผู้ปลุกปั่นมากกว่าฝีมืออิสราเอล และไม่มีแผนจะตอบโต้อิสราเอล

ทำให้เหมือนว่าล่าสุดท่าทีระหว่างอิสราเอลกับอิหร่าน เริ่มลดระดับความรุนแรงลงแล้ว จากสถานการณ์ที่เริ่มคลี่คลาย ไม่น่าจะเกิดการปะทุรุนแรงต่อเนื่อง

สงครามกับตลาดหุ้นมีความสัมพันธ์กันแค่ไหน?

สงครามอิสราเอล-อิหร่าน

Source:  Investopedia as of 22/04/2024

คำถามคือแล้วเวลาเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบครั้งใหญ่ ๆ สถิติที่ผ่านมา ตลาดตอบรับเรื่องนี้แค่ไหน

จะเห็นว่าความไม่สงบจะกดดันตลาดเฉลี่ย 22 วัน และตลาดจะ Recover เฉลี่ย 47 วัน โดยค่าเฉลี่ยของ Drawdown อยู่ที่ -5.9%

สงครามอิสราเอล-อิหร่าน

Source: Finnomena Funds, TradingView as of 22/04/2024

ยิ่งถ้าเทียบกับเหตุการณ์ปีที่แล้ว ระหว่างอิสราเอล-ฮามาส ซึ่งกดดัน S&P500 ลงประมาณ 4-5% แต่ก็ฟื้นได้ภายใน 1 เดือน

จึงพอสรุปได้ว่าสงคราม การก่อการร้าย และความไม่สงบในรูปแบบต่าง ๆ มีผลกระทบต่อสินทรัพย์เสี่ยงในระยะสั้นเท่านั้น และมักจะเป็นโอกาสการลงทุนมากกว่าการตื่นกลัว

Finnomena Funds มองเป็นโอกาสซื้อ มากกว่าตื่นกลัว

มุมมองของทีมวิเคราะห์การลงทุน Finnomena Funds คาดสงครามระหว่างอิสราเอลกับอิหร่านมีผลกระทบต่อสินทรัพย์เสี่ยงในระยะสั้นเท่านั้น โดยจากการศึกษาเหตุการณ์ในอดีตบ่งชี้ว่า สงคราม การก่อการร้าย และความไม่สงบในรูปแบบต่าง ๆ มักจะเป็นโอกาสการลงทุนมากกว่าการตื่นกลัว นอกจากนั้นพัฒนาการของข่าวล่าสุดชี้ไปทิศทางการลดระดับความรุนแรง (de-escalation) อย่างเห็นได้ชัด

ประกอบกับการที่สถิติในอดีตบ่งชี้ว่าเมื่อเกิดสงครามหรือการก่อการร้าย ตลาดหุ้นสหรัฐฯ S&P 500 จะปรับตัวลง (total drawdown) โดยเฉลี่ยประมาณ 5% ทำจุดต่ำสุดเฉลี่ยใน 22 วัน และฟื้นตัวกลับมาก่อนเกิดเหตุการณ์ได้โดยเฉลี่ย 47 วัน อย่างไรก็ตาม สถิติในแต่ละครั้งมีช่วงของข้อมูลที่กว้าง เหตุการณ์แต่ละครั้งอาจมีความแตกต่างกันอย่างมีนัย แต่โดยภาพรวมตลาดปรับตัวลงไม่มากอย่างที่นักลงทุนส่วนมากกังวล และฟื้นตัวได้เร็ว

นอกจากนี้ การศึกษาผลตอบแทนของ S&P500 ในช่วงปี 1926-2013 ตลอดช่วงสงครามครั้งสำคัญ ๆ เช่น สงครามโลกครั้งที่ 2, สงครามเกาหลี, สงครามเวียดนาม และสงครามอ่าว เป็นต้น พบว่า S&P500 ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 11% ต่อปี เทียบกับผลตอบแทนตลอดช่วงที่ทำการศึกษาเฉลี่ย 10% ต่อปี ซึ่งผลการศึกษาเหล่านี้ชี้ชัดแล้วว่าสงครามกับผลตอบแทนดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ (น้ำหนักราว 60% ของดัชนีหุ้นโลก) อาจไม่ได้เป็นประเด็น โดยเฉพาะเมื่อมองข้ามความผันผวนในระยะสั้น

Finnomena Funds จึงมองว่าเหตุการณ์ความขัดแย้งล่าสุด และการปรับตัวลงของหุ้นในช่วงสงครามมักเป็นโอกาสซื้อมากกว่าตื่นกลัวต่อการลงทุน โดยเป็นจังหวะสะสมในสินทรัพย์เสี่ยง ด้วยกลยุทธ์ Buy the Dip

กองทุนที่แนะนำในจังหวะนี้ตามมุมมอง MEVT Call ทยอยสะสมระยะกลาง-ยาว คือ

กองทุนแนะนำตามมุมมอง Mr.Messenger Call จับจังหวะเก็งกำไรระยะสั้น ตามสัญญาณทางเทคนิค คือ

 

สามารถศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/


แหล่งอ้างอิง: Reuters, Investopedia, cfainstitute, Politico

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

Finnomena Funds Market Alert : หุ้นฮ่องกงทะยาน 2% หลังจีนประกาศ ดันฮ่องกงเป็นศูนย์กลางทางการเงินนานาชาติ

Finnomena Funds

วันนี้ (22 เมษายน 2024) ดัชนีหุ้นฮ่องกง Hang Seng (HSI) และดัชนี HSCEI หรือหุ้นจีน H-Share ปรับตัวขึ้นราว 2% หลังจากคณะกรรมการกำกับดูแลหลักทรัพย์แห่งประเทศจีนมีการเปิดเผยมาตรการกระตุ้นความร่วมมือระหว่างตลาดทุนบนแผ่นดินใหญ่ และเขตบริหารพิเศษฮ่องกงทางตอนใต้ของจีน เพื่อสนับสนุนให้ฮ่องกงเป็นศูนย์กลางทางการเงินระดับนานาชาติ โดยได้ประกาศสนับสนุนการจดทะเบียนของบริษัทชั้นนำของจีนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง และจะปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมสำหรับบริษัทเทคโนโลยีในการเสนอขายหุ้น IPO ตลอดจนการผ่อนคลายกฏเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นระหว่างเมืองและตลาดหลักทรัพย์บนจีนแผ่นดินใหญ่ 

ภายใต้มาตรการดังกล่าว กองทุน ETF จะถูกขยายขอบเขตให้กว้างขึ้น และครอบคลุมทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) นอกจากนี้คณะกรรมการฯ จะสนับสนุนการรวมหลักทรัพย์สกุลเงินหยวนสำหรับนักลงทุนแผ่นดินใหญ่ที่ซื้อในฮ่องกงอีกด้วย 

นอกจากนี้คณะกรรมการฯ จะทำงานร่วมกับคณะกรรมการกำกับดูแลหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของฮ่องกง ตลอดจนภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มความน่าดึงดูดของตลาด IPO และเพื่อกระตุ้นสภาพคล่อง

Finnomena Funds มองว่าความเชื่อมั่นต่อตลาดหุ้นจีนและตลาดหุ้นฮ่องกงจะเริ่มดีขึ้นจากมาตรรการกระตุ้มเพิ่มเติม และความพยายามออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับเมื่อพิจารณาถึงระดับ valuation ของดัชนี CSI 300 ที่มี 12-m forward PE ที่ 11.06  เท่า หรือ -0.8 S.D. ขณะที่ดัชนี Hang Seng มี 12-m forward  PE ที่ 7.98 เท่า หรือ -2 S.D. เมื่อเทียบค่าเฉลี่ยในรอบ 10 ปี และมีการปรับตัวลงมากที่สุดในรอบ 5 ปีและ 10 ปีตามลำดับ เรายังแนะนำทยอยสะสมในกองทุน K-CHINA-A และ ABCA-A สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงและยังมีสัดส่วนหุ้นจีนในพอร์ตไม่มาก

จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)

Mr.Messenger Call: Stop Loss หุ้นไทยขนาดกลางและขนาดเล็ก

Bank - The Trend Follower Investor
Stop Loss หุ้นไทย Mid Small Cap

เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2024 ที่ผ่านมา Mr.Messenger Call ได้แนะนำเข้าลงทุนในรูปแบบการเก็งกำไรระยะสั้นในดัชนี sSET ผ่านกองทุน ASP-SME-A ที่ลงทุนในหุ้นไทย Mid-Small Cap โดยตั้งจุด Stop Loss เมื่อดัชนี sSET ปิดตลาดต่ำกว่า 864 จุด

ซึ่งในวันที่ 19 เมษายน 2024 ที่ผ่านมา ดัชนี sSET ได้ปรับตัวลงมาปิดที่ต่ำกว่าระดับ 864 จุด โดยเป็นจุด Stop Loss ที่กำหนดไว้ 

จึงแนะนำให้ Stop Loss การลงทุนในกองทุน ASP-SME-A สำหรับนักลงทุนที่ลงทุนตามคำแนะนำ Mr.Messenger Call เพื่อรักษาวินัยและรักษาเงินต้นไว้เพื่อโอกาสในการเก็งกำไรครั้งถัดไป อย่างไรก็ดี นักลงทุนสามารถเข้าลงทุนตามคำแนะนำอื่น ๆ ของ Mr.Messenger  ได้ดังนี้

 

สามารถศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/ 
จัดทำโดยบลป.เดฟินิท สำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ FINNOMENA FUNDS ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

ดาวน์โหลดฟรี! Weekly Market Insight ฉบับล่าสุด

Finnomena Funds

Weekly Market Insight

ประจำสัปดาห์  22/04/2024 – 26/04/2024

พิเศษ! สำหรับสมาชิก FINNOMENA

THIS ISSUE
สรุปข่าวเศรษฐกิจรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

EYE ON THIS WEEK
ประเด็นน่าจับตามองในสัปดาห์นี้

MARKET
ภาพรวมตลาดและสินทรัพย์ที่น่าสนใจ

FINNOMENA PORT PERFORMANCE
ผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุน

ดาวน์โหลดฟรี “มุมมองการลงทุนประจำสัปดาห์”

กดที่นี่เพื่อดาวน์โหลดได้เลย

6 โหล มหัศจรรย์ (เทคนิคออมเงินอย่างเป็นระบบ)

Finspace
6 โหล มหัศจรรย์ (เทคนิคออมเงินอย่างเป็นระบบ)

หลายคนออมเงินก็จริง แต่ไม่เคยวางแผนทำอย่างระบบ เราเลยขอหยิบวิธีบริหารเงินแต่ละเดือนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นมาฝากกัน

กับเทคนิค JARS SYSTEM วิธีง่ายๆ ไม่จำเป็นต้องมีความรู้การเงินมากมาย เพียงแบ่งเงินออกเป็น 6 ส่วน โดยใช้โหลมาเป็นคอนเซ็ปต์ให้เข้าใจยิ่งขึ้น

6 โหล มหัศจรรย์ (เทคนิคออมเงินอย่างเป็นระบบ)
เทคนิคออมเงิน

โหลใบที่ 1 – ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน 55%

เป็นเงินก้อนหลักจำนวน 55% ของรายได้ ซึ่งใช้กับค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่ำน้ำ ค่าไฟ น้ำมันรถ ฯลฯ แน่นอนว่าส่วนนี้เป็นเงินที่ใช้แล้วหมดไป ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มเติม แต่ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต

โหลใบที่ 2 – ให้รางวัลตัวเอง 10%

เงินส่วนนี้ จะเป็นเงินเพื่อใช้ตามใจชอบ ถือเป็นรางวัลให้ตัวเอง เช่น ท่องเที่ยว เข้าร้านอาหารดีๆ ช้อปปิ้งของที่อยากได้

โหลใบที่ 3 – ออมเพื่อเกษียณ 10%

เป็นเงินออมระยะยาวสำหรับอนาคต และความมั่งคงยามเกษียณ จึงควรออมในรูปแบบที่ไม่เสี่ยงมาก เช่น เงินฝากดอกเบี้ยสูง สลากออมทรัพย์ กองทุนเพื่อการออม เบี้ยประกัน เป็นต้น

โหลใบที่ 4 – ลงทุนต่อยอด 10%

ควรแบ่งเงินบางส่วนมาสร้างความมั่งคั่งให้ตัวเองด้วย โดยการลงทุนมีหลายรูปแบบให้เลือกตามเป้าหมาย และความเสี่ยงที่รับได้

โหลใบที่ 5 – ให้ความรู้ตัวเอง 10%

อย่าลืมแบ่งเงินบางส่วนมาต่อยอดพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ

โหลใบที่ 6 – แบ่งปันผู้อื่น 5%

เพื่อแบ่งปันให้ผู้อื่น เช่น เงินบริจาคต่างๆ เงินเพื่อให้คนใกล้ชิดสำหรับ JARS SYSTEM เป็นเคล็ดลับการออมเงินของ T.Harv Eker ผู้เขียนหนังสือดัง “ถอดรหัสลับ สมองเงินล้าน” ซึ่งเราสามารถนำมาปรับใช้ให้เข้ากับไลฟ์สไตล์การเงินของตัวเองได้เลย

FinSpace

ที่มาบทความ: https://www.finspace.co/jar-system/

บลจ.ดาโอ: ขอนำเสนอโปรโมชั่นสำหรับผู้ลงทุนกองทุน RMF ระหว่างวันที่ 2 ม.ค. – 30 ธ.ค. 2567

Finnomena Editor
Promotion RMF  ปี 2567 ระหว่างวันที่ 2 มกราคม – 30 ธันวาคม 2567
กองทุน DAOL-GLOBALEQRMF และ DAOL-GOLDRMF
รวมถึงกองทุน RMF ที่เปิดเสนอขาย IPO ในปี 2567
 
 1.  โปรโมชั่นสำหรับผู้ลงทุน ยอดเงินลงทุนสะสมทุกๆ 50,000 บาท รับหน่วยลงทุนกองทุน DAOL-MONEY-R มูลค่า 100 บาท


คำเตือน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

บลจ.วรรณ : ส่งโปรโมชั่นสำหรับลูกค้าเพื่อเพิ่มโอกาสสร้างเงินออมในกองทุน RMF & SSF ในระหว่างวันที่ 3 ม.ค.-30 ธ.ค.67

Finnomena Editor

บลจ.วรรณ นำส่งโปรโมชั่นสำหรับลูกค้าเพื่อเพิ่มโอกาสสร้างเงินออมเตรียมความพร้อมวัยเกษียณ กับ

กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ที่ร่วมรายการผ่านผู้สนับสนุนการขายฯ ระหว่างวันที่ ม.ค.-30 ธ.ค.67

โดยมีรายละเอียดโปรโมชั่นดังนี้

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


คำเตือน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

จับตา Bitcoin Halving ครั้งที่ 4 รอบนี้มากี่โมง!?

Finnomena Editor
Bitcoin Halving

อีกเพียงไม่ถึง 12 ชั่วโมง หรือช่วงประมาณตี 5 ของวันที่ 20 เมษายนนี้ กำลังจะเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Bitcoin Halving ครั้งที่ 4 ในประวัติศาสตร์

Bitcoin Halving คือการที่รางวัลบล็อกจากการขุดบิทคอยน์จะลดลงครึ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นกลไกที่ก่อให้เกิดความสมดุล ด้วยการยืดระยะเวลาการขุดให้ยาวนานออกไปและยากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากจำนวนบิทคอยน์ในระบบมีอยู่อย่างจำกัดที่ 21 ล้านเหรียญ

ปกติแล้วบล็อกธุรกรรมของบิทคอยน์จะเกิดขึ้นใหม่ทุก 10 นาที หากใครสามารถทำการตรวจสอบและยืนยันธุรกรรม (Proof-of-Work) ได้ก่อนนักขุดคนอื่น ๆ ก็จะได้ส่วนแบ่งของ Block Reward ไป

Bitcoin Halving

นับตั้งแต่ที่บิทคอยน์เกิดขึ้นมาบนโลกนี้ ได้เกิด Halving แล้ว 3 ครั้ง

Bitcoin Halving

  • ครั้งที่ 1 ปี 2012 รางวัลลดลงจาก 50 เหรียญ เป็น 25 เหรียญ: หนึ่งปีหลังเกิด Halving ราคาบิทคอยน์พุ่งขึ้น +8,069%
  • ครั้งที่ 2 ปี 2016 ลดลงจาก 25 เป็น 12.5 เหรียญ: หนึ่งปีหลังเกิด Halving ราคาบิทคอยน์พุ่งขึ้น +284%
  • ครั้งที่ 3 ปี 2020 ลดลงจาก 12.5 เป็น 6.25 เหรียญ: หนึ่งปีหลังเกิด Halving ราคาบิทคอยน์พุ่งขึ้น +538%

สำหรับครั้งที่ 4 นี้ รางวัลจะลดลงจาก 6.25 เป็น 3.125 เหรียญ ซึ่งหลายคนเก็งว่าปรากฏการณ์นี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้ราคาพุ่งสูงขึ้นอย่ามีนัยสำคัญ แต่ก็มีอีกฝ่ายเชื่อว่าอาจจะเกิด Sell on Fact หลังราคาได้ทะยานขึ้นไปแรงแล้วก่อนหน้านี้

ปัจจุบัน BTC อยู่ที่ระดับ 64,000 เหรียญ ปรับเพิ่มขึ้น +46.75% จากต้นปี และ +125.01% จากปีก่อน


แหล่งข้อมูล: Techopedia Bitkub

Finnomena Funds Market Alert : ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวลงแรง หลังอิสราเอลตอบโต้กลับอิหร่าน

Finnomena Funds

วันนี้ (19 เมษายน 2024) ดัชนีหุ้นเกาหลีใต้ (KOSPI) ดัชนีหุ้นญี่ปุ่น (TOPIX) ดัชนีหุ้นจีน (CSI 300) ดัชนีหุ้นไทย (SET Index) และดัชนีหุ้นเวียดนาม (VN30 Index) ปรับตัวลงแรงกว่า 2.28%,  2.78%, 0.88%, 1.55% และ 1.06% ตามลำดับ หลังจากแหล่งข่าวท้องถิ่นรายงานว่า อิสราเอลได้มีการโจมตีกลับอิหร่าน ทำให้เกิดเหตุระเบิดในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ทั่วโลกมีความผันผวนสูง นอกจากนี้เหตุการณ์ดังกล่าวยังส่งผลให้ราคาน้ำมัน และทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 3.0% และ 0.5% ตามลำดับ 

พร้อมกันนั้น เจ้าหน้าที่เฟดหลายราย เช่น นางลอเรตตา เมสเตอร์ ประธานเฟดสาขาคลีฟแลนด์,  นายจอห์น วิลเลียมส์ ประธานเฟดสาขานิวยอร์ก, และนายราฟาเอล บอสติก ประธานเฟดสาขาแอตแลนตา ต่างออกมาส่งสัญญาณตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงไปอีกระยะเวลาหนึ่ง เนื่องจากเงินเฟ้ออาจใช้เวลานานกว่าที่คาดในการลดระดับสู่กรอบ 2% ซึ่งเป็นกรอบเป้าหมายที่เฟดต้องการ

นอกจากนี้ฝั่งประเทศญี่ปุ่นได้มีการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อ ซึ่งประกาศออกมาต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาด โดยตัวเลขดังกล่าวปรับตัวลดลงจาก 2.8% ในเดือนกุมภาพันธ์ สู่ระดับ 2.7% ในเดือนมีนาคม ประกอบกับการมีรายงานว่าสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ตกลงที่จะร่วมปรึกษากันอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เนื่องจากค่าเงินเยน และค่าเงินวอนอ่อนค่าลงอย่างมีนัยในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งอาจปูทางไปสู่การแทรกแซงตลาดเงินได้

Finnomena Funds มองว่าตลาดหุ้นเอเชียได้รับแรงกดดันจากปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะปัจจัยความตึงเครียดจากสถานการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลางที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น รวมทั้งเจ้าหน้าที่ Fed ที่ส่งสัญญาณตรึงอัตราดอกเบี้ยนานกว่าที่คาด อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นเอเชียยังมีปัจจัยหนุนภายในที่ดีจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดย Finnomena Funds แนะนำใช้จังหวะย่อดังกล่าวเป็นโอกาสในการเข้าสะสมกองทุน UOBSA ซึ่งกองทุน UOBSA มีความโดดเด่นการใช้ AI เข้าเลือกหุ้นรายตัว

จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)

อิสราเอล ตอบโต้ อิหร่าน ตอนนี้เรารู้อะไรแล้วบ้าง?

Finnomena Editor

– ล่าสุด CNN รายงานว่าได้รับข้อมูลจากทางการสหรัฐฯ ว่าอิสราเอลเริ่มต้นการโจมตี “ในอิหร่าน”

– มีข้อมูลเพิ่มเติมจาก FARS news สำนักข่าวของอิหร่านว่า ได้ยินเสียงระเบิดหลายครั้งใกล้ฐานทัพทหารในเมือง Isfahan ซึ่งเป็นสถานที่จอดเครื่องบินขับไล่

– รายงานถึงการระเบิดเกิดขึ้นไม่กี่ชั่วโมงหลังจาก รมว.ต่างประเทศ ของอิหร่านกล่าวกับ CNN ว่าหากอิสราเอลดำเนินการทางการทหารต่ออิหร่านต่อไป จะโต้ตอบอย่างฉับพลันทันใดในระดับสูงสุด

– ก่อนหน้านั้น ในช่วงสุดสัปดาห์ก่อน อิหร่านทำการโจมตีทางอากาศในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนต่ออิสราเอล (ซึ่งส่วนใหญ่ถูกสกัดกั้นไว้ได้) โดยนายกรัฐมนตรีอิสราเอลแถลงว่า อิสราเอลจะตัดสินใจด้วยตนเองในการโต้ตอบการโจมตีของอิหร่าน

– การโจมตีทางอากาศดังกล่าวจากฝั่งอิหร่าน เกิดขึ้นหลังจากมีการโจมตีกลุ่มอาคารด้านการทูตของอิหร่านในซีเรีย ซึ่งหลายสื่อรายงานว่าน่าจะเป็นการโจมตีของทางอิสราเอล

อ้างอิง

Goals Navigator คืออะไร? นวัตกรรมวางแผนการลงทุนระดับโลก ตอบโจทย์ทุกเป้าหมายชีวิต

Finnomena
Goals Navigator คืออะไร? นวัตกรรมวางแผนการลงทุนระดับโลก ตอบโจทย์ทุกเป้าหมายชีวิต

เชื่อว่าทุกคนมีเป้าหมายชีวิตที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็น การเรียนต่อ การแต่งงาน หรือการเกษียณ แต่สิ่งที่เหมือนกันคือความพยายามในการทำให้เป้าหมายเหล่านี้สำเร็จลุล่วงไปได้ แล้วจะดีสักแค่ไหนหากมีนวัตกรรมดี ๆ ที่จะช่วยให้แต่ละเป้าหมายชีวิตของเราเป็นเรื่องง่ายขึ้น?

Finnomena Funds เล็งเห็นและเข้าใจถึงความสำคัญของทุกเป้าหมายชีวิต จึงพัฒนานวัตกรรมที่จะช่วยให้คุณไปสู่เป้าหมายชีวิตได้เร็วและง่ายยิ่งขึ้น อย่าง “Finnomena Funds Goals Navigator” ที่จะแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกันในบทความนี้

Goals Navigator คืออะไร? นวัตกรรมวางแผนการลงทุนระดับโลก ตอบโจทย์ทุกเป้าหมายชีวิต

Finnomena Funds Goals Navigator คืออะไร?

Finnomena Goals Navigator คือนวัตกรรมที่มาพร้อมกับบริการวางแผนลงทุนจัดพอร์ตระดับโลกหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่ทาง Finnomena Funds และ Franklin Templeton ได้ร่วมมือกันพัฒนาและออกแบบเพื่อตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์และเป้าหมายการลงทุน โดยเน้นสร้างแผนการลงทุนที่เหมาะสมกับความเสี่ยงและเป้าหมายของนักลงทุนแต่ละช่วงเวลา รวมทั้งคำนึงถึงสภาวะตลาด ณ ช่วงเวลานั้น ๆ ซึ่งจะช่วยให้เป้าหมายชีวิตของคุณสำเร็จได้ในทุกสถานการณ์ โดยสามารถวางแผนเป้าหมายทุกช่วงชีวิตได้ครบจบในที่เดียว

Goals Navigator จะช่วยคุณได้อย่างไร?

Success-Driven

Goals Navigator ให้ความสำคัญกับความสำเร็จในการบรรลุเป้าหมายการลงทุน (Success-Driven) มากกว่าผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ผันผวนตามสภาวะตลาด (Return-driven) โดยระบบจะคำนวณและแนะนำการจัดสรรเงินลงทุน รวมถึงระยะเวลาลงทุน และแผนการลงทุนที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลาให้อย่างชาญฉลาด ด้วยมุมมองการลงทุนระดับโลก

Multi-Goal

เพราะเรารู้ว่าการลงทุนในชีวิตจริงมีหลายเป้าหมาย ทั้งเกษียณสุข ส่งลูกเรียนต่อ ดูแลพ่อแม่ เที่ยวรอบโลก ฯลฯ Goals Navigator จะช่วยให้คุณวางแผนเป้าหมายทุกช่วงชีวิตได้ครบจบในที่เดียว

Multi-Priority

Goals Navigator จะกำหนดความสำคัญของแต่ละเป้าหมาย โดยแบ่งประเภทของเป้าหมายออกเป็น 4 แบบ ได้แก่ Need, Want, Wish และ Dream เพื่อจัดสรรเงินลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพได้สูงสุดและตอบโจทย์ชีวิตจริง

Lifetime Service

มีการติดตามและบริหารพอร์ตอย่างใกล้ชิด สามารถตรวจสอบได้ว่าแต่ละเป้าหมายเข้าใกล้ความสำเร็จมากน้อยเพียงใด สรุปภาพรวมมาในรูปแบบของ Life Path เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย พร้อมปรับเปลี่ยนแผนการลงทุนเพื่อให้รองรับกับสถานการณ์ทางการเงิน ไลฟ์สไตล์ และเป้าหมายที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลาของชีวิต

ดูแลคุณอย่างใกล้ชิดด้วยเทคโนโลยีระดับโลกและทีมที่ปรึกษาการลงทุนมากประสบการณ์

Goals Navigator แตกต่างด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีระดับโลกในการสร้างโมเดลพอร์ตและวางแผนทางการเงินจากงานวิจัยที่จดสิทธิบัตรและได้รับรางวัลระดับโลกพัฒนาโดย Franklin Templeton ร่วมกับ Finnomena Funds ในการคัดเลือกกองทุนรวม 

พร้อมดูแลคุณอย่างใกล้ชิดโดยผู้แนะนำการลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. รวมถึงผ่านการอบรมเพื่อแนะนำการใช้งาน Goals Navigator

สรุปความปังของ Finnomena Funds Goals Navigator

  • นวัตกรรมวางแผนลงทุนจัดพอร์ตระดับโลกที่จะช่วยให้ทุกเป้าหมายของคุณสำเร็จได้ในทุกสถานการณ์
  • ดูแลคุณอย่างใกล้ชิดโดยทีมที่ปรึกษาการลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต.
  • ใช้เงินลงทุนเพียง 500,000 บาท ก็สามารถเข้าถึงบริการวางแผนการลงทุนระดับโลกได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

“Finnomena Funds Goals Navigator” นวัตกรรมวางแผนการลงทุนจัดพอร์ตระดับโลก ตอบโจทย์ทุกเป้าหมายชีวิต ร่วมเคียงข้างคุณจนถึงฝัน
👉 ลงทะเบียนรับบริการ คลิก >> https://finno.me/gnavi-web


คำเตือน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำควรเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”

KAsset Global Perspective Portfolio ปรับพอร์ตเดือน เม.ย. 2024 : ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์รับไตรมาสสอง

บลจ.กสิกรไทย
KAsset Global Perspective Portfolio

การปรับพอร์ตในไตรมาสที่สอง

KASSET: GLOBAL PERSPECTIVE PORTFOLIO

ที่มา: บลจ. กสิกรไทย วันที่ได้รับเอกสาร: วันที่ 11 เมษายน 2024

กลยุทธ์การลงทุนในส่วนของ Core Port เพื่อลงทุนระยะยาว

ตราสารหนี้ Overweight

• กรอบตราสารหนี้ไทย สิบปี พันธบัตรรัฐบาล อยู่ที่ 2.30 – 2.70% คาดว่า ธปท. จะลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในครึ่งปีหลัง
• สําหรับตราสารหนี้ไทย ระยะยาว แนะนําสะสม K-FIXEDPLUS
• กรอบตราสารหนี้สหรัฐฯ สิบปีพันธบัตรรัฐบาล อยูีที่ 3.5 -4.25% แนะนําทยอยสะสมกอง K-GDBOND

ตราสารทุน Overweight

• แนะนําทยอยลงทุนในประเทศที่การเติบโตแข็งแกร่ง K-USA, K-INDIA
• ทยอยเข้าลงทุน เพื่อกระจายความเสี่ยงใน K-JPX, K-EUX
• Downside risk จํากัด แนะนํากองทุน K-CHX, K-STAR, K-VALUE

สินทรัพย์ทางเลือก Neutral

• แนะนําลงทุนใน K-GOLD 3% ในพอร์ตเพื่อกระจายความเสี่ยง
• มีมุมมองเชิงบวกต่อ REITS แนะนํา K-PROPI

ดู Fund Fact Sheet กองทุนที่เพิ่มน้ำหนัก/ปรับเข้า

กลยุทธ์การลงทุน ในส่วนของ Satellite Port ปรับพอร์ตในไตรมาสสอง

Return Seeking เพื่อหาผลตอบแทนเพิ่มเติมในระยะสั้น

• มีการปรับขาย K-GTECH เนื่องจากให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างดีมาตั้งแต่ต้นปี มองว่าจะเข้ารอบย่อ จากการที่ตลาด repricing ใหม่ เรื่องการลดดอกเบี้ยของเฟด
• ซื้อ K-SF เป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น มองว่าบอนด์ยิลด์ไทย น่าจะยังเป็นขาลง และจะให้ผลตอบแทนที่ดีเมื่อ ธปท ลดดอกเบี้ย

Diversifier เพื่อกระจายความเสี่ยงจาก Core Portfolio

K-GHEALTH คงเดิม แนะนําเข้าลงทุน หรือทยอยสะสม เพื่อกระจายความเสี่ยงได้
K-HIT คงเดิม แนะนําเข้าลงทุน หรือทยอยสะสม เพื่อกระจายความเสี่ยงได้

ดู Fund Fact Sheet กองทุนที่เพิ่มน้ำหนัก/ปรับเข้า

KAsset Global Perspective Portfolio

KAsset Global Perspective Portfolio

ที่มา: บลจ. กสิกรไทย วันที่ได้รับเอกสาร: วันที่ 11 เมษายน 2024

คำเตือน: ผลตอบแทนในอดีตไม่สามารถบอกได้ถึงผลตอบแทนในอนาคต

สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน KAsset Global Perspective Portfolio สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >> แอปฯ FINNOMENA
ผ่านคอมพิวเตอร์ >>  เว็บไซต์ FINNOMENA สำหรับลูกค้าที่สนใจลงทุนใน KAsset Global Perspective Portfolio คลิกที่นี่เพื่อสร้างแผนการลงทุน


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด มหาชน หรือ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299 | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

 

Finnomena Funds Market Alert : หุ้นไทยปรับตัวลง 2% จากความกังวลเรื่องความไม่สงบในฝั่งตะวันออกกลาง

Finnomena Funds

วันนี้ (17 เมษายน 2024) ดัชนีหุ้นไทย (SET Index) ปรับตัวลงราว 2% หลังจากวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา โดยการปรับตัวลงดังกล่าวสะท้อนความกังวลของนักลงทุนต่อสถานการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลางที่ยังขยายความรุนแรงต่อเนื่อง ประกอบกับตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ประกาศออกมาสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาด ส่งผลให้ เจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ออกมาส่งสัญญาณตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงไปอีกระยะเวลาหนึ่ง ทำให้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจใช้เวลานานกว่าที่คาดเอาไว้ ปัจจัยดังกล่าวมีผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ รุ่นอายุ 10 ปีปรับตัวขึ้น แตะระดับ 4.6% และทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่ามากขึ้นเมื่อเทียบกับเงินในสกุลอื่น ๆ ทั่วโลก 

ในฝั่งแรงกดดันในประเทศไทย ปัจจัยที่มีโอกาสสร้างความผันผวนกับตลาดในระยะสั้นมาจากการที่หุ้นไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลจ่ายเงินปันผล โดยหุ้นขนาดใหญ่หลายตัวโดยเฉพาะหุ้นกลุ่มธนาคาร จะมีการออกเครื่องหมาย XD ซึ่งอาจทำให้เกิดแรงขายในระยะสั้นๆ ได้

Finnomena Funds มองว่าตลาดหุ้นไทยได้รับแรงกดดันจากภายนอก โดยเฉพาะปัจจัยความตึงเครียดในสถานการณ์ตะวันออกกลางที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในวันหยุดสงกรานต์ และ Fed ที่ส่งสัญญาณตรึงอัตราดอกเบี้ยนานกว่าที่คาด อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยหนุนชดเชยจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคในประเทศที่ฟื้นตัว และ Valuation ยังอยู่ในระดับถูกกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี ที่มี forward 12m PE ที่ 14 เท่า หรือ – 0.9 S.D. แนะนำ selective buy หุ้นไทย โดยแนะนำกองทุน ASP-SME ที่เป็นกองทุน Active และมีกลยุทธ์คัดเลือกหุ้นที่มีปัจจัยหนุนเฉพาะตัว

จัดทำโดยบลป. เดฟินิทสำหรับบลน. ฟินโนมีนา (Finnomena Funds)

เศรษฐกิจร้อน นโยบายการเงินก็ร้อน สงครามยิ่งร้อน

DR.JITIPOL PUKSAMATANAN
เศรษฐกิจร้อน นโยบายการเงินก็ร้อน สงครามยิ่งร้อน

ความผันผวนจากเศรษฐกิจ นโยบายการเงิน และสงคราม กำลังทำให้ตลาดการเงินปั่นป่วน

บอนด์ยีลด์สหรัฐฯ อายุ 10 ปี พุ่งขึ้นถึง 4.5% สูงที่สุดนับตั้งแต่ พ.ย. ปีก่อน ราคาน้ำมัน WTI เพิ่มขึ้นไม่หยุดจนแตะ 85 ดอลลาร์/บาร์เรล คิดเป็นการปรับตัวขึ้นแล้วกว่า 20% จากต้นปี พร้อมกับราคาทองคำที่ทำจุดสูงสุดใหม่ต่อเนื่องทั้งในรูปเงินบาทและดอลลาร์

ความผันผวนเหล่านี้จะส่งผลกระทบกับการลงทุนทั่วโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นักลงทุนจึงต้องรู้ให้ทัน ว่าประเด็นไหนส่งผลอย่างไร คาดว่าจะอยู่กับเรานานแค่ไหน และนำไปสู่การลงทุนอะไร

ประเด็นแรก “การฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรม” ทำให้ยีลด์ปรับตัวขึ้นพร้อมกับราคาน้ำมันดิบ ไม่ได้กดดันการลงทุนโดยตรง แต่ทำให้เกิดการเปลี่ยน Sector ผู้นำได้

ผมมองว่าประเด็นนี้แค่กำลังเริ่มต้นเพราะดัชนีภาคอุตสาหกรรมในสหรัฐฯ และจีนพึ่งกลับมาขยายตัวเป็นเดือนแรก กำลังซื้อสินค้าโภคภัณฑ์จึงมีโอกาสไปต่อ หนุนให้ยีลด์ทยอยปรับตัวขึ้นได้อีก

แต่ที่การฟื้นตัวครั้งนี้ดูจะไม่บวกหรือลบกับหุ้นมาก ผมมองว่ามาจากสัดส่วนภาคอุตสาหกรรมที่ต่ำ และมุมมองว่าราคาพลังงานในรอบนี้จะไม่เพิ่มแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ อีกทั้งการปรับตัวขึ้นของยีลด์ก็เป็นไปอย่างช้า ๆ ทำให้ตลาดมีเวลาเปลี่ยนจากกลุ่ม Defensives มาเป็น Cyclicals โดยไม่กระทบดัชนีหลัก

ประเด็นที่สอง “นโยบายการเงินเข้มงวด” แต่ไม่ได้ทำให้ภาวะการเงินตึงตัว

ดัชนีชี้วัดที่ผมใช้คือ National Financial Conditions Index (NFCI) ของ Fed Chicago ล่าสุด NFCI ชี้ว่าภาวะการเงินของสหรัฐผ่อนคลายลงแม้ยีลด์จะปรับตัวขึ้น เหตุผลหลักมาจากระดับหนี้ของภาคเอกชนและครัวเรือนที่ลดลง พร้อมกับธ.พานิชย์ผ่อนคลายเกณฑ์การกู้ยืมลงอย่างต่อเนื่อง

ในมุมมองของผม ยีลด์ที่สูงขึ้นจากเหตุผลว่าเฟดอาจไม่ลดดอกเบี้ย จึงมีโอกาสสูงขึ้นได้อีก แต่จะกดดันทองคำหรือตลาดหุ้นเมื่อไหร่ อาจอยู่ที่ความสูงของ Real yield  ในอดีตจุดที่ต้องระวังคือ 2.5-3.0% ขึ้นไป หรือจากความคาดหวังเงินเฟ้อปัจจุบันที่ 2.4% ยีลด์ 10 ปีที่ต้องกลัวก็คือ 4.9%

ประเด็นสุดท้าย “ความเสี่ยงสงคราม” ที่หนุนราคาน้ำมันและทองคำให้ปรับตัวขึ้นในช่วงนี้

ความสัมพันธ์ระหว่างตลาดการเงินกับสงคราม ปรกติมักเป็นความเสี่ยงระยะสั้น แต่จะส่งผลระยะยาวแค่ไหนอยู่ที่ 3 คำถาม ประกอบด้วย

(1) สงครามสร้างความเสียหายต่อการผลิตหรือกำลังการบริโภคหรือไม่

ปัจจุบันคำตอบคือ ยังไม่เห็น

(2) สงครามทำให้มุมมองต่อราคาน้ำมันระยะยาวปรับตัวขึ้นหรือไม่

ตอนนี้ถ้าวัดจาก 3-year forward price ของน้ำมันดิบที่ 67 ดอลลาร์/บาร์เรล ยีงต่ำกว่า spot price คำตอบก็คือ ไม่

และ (3) สงครามกระทบนโยบายการเงินระยะยาวหรือไม่ ผมเชื่อว่าทุกธนาคารกลางคงตอบเหมือนกันว่า ไม่ จนกว่าจะเห็นคำตอบข้อ 1 หรือ 2 เปลี่ยนไป

เมื่อคำตอบทั้งสามข้อคือ “ไม่” เราจึงไม่ควรกังวลหรือเก็งกำไรกับความเสี่ยงสงครามมากเกินไป ส่วนในระยะยาว ผมเชื่อว่า

ตลาดกำลังเปลี่ยนมุมมอง ความขัดแย้งในตะวันออกกลางเป็นความเสี่ยงวงกว้าง ราคาน้ำมันอาจลดลงช้า เมื่อเกิดขึ้นพร้อมกับการลงทุนเพื่อเปลี่ยนโครงสร้างด้านพลังงานในช่วงนี้จะทำให้เงินเฟ้ออยู่กับเศรษฐกิจนานกว่าปรกติ

จากมุมมองเหล่านี้ นักลงทุนไทยควรปรับการลงทุนอย่างไร

(1) การลงทุนบนราคาน้ำมันดิบหรือทองคำโดยตรง ดีกว่าหุ้นพลังงานหรือเหมืองแร่ในระยะสั้น แต่เมื่อภาคอุตสาหกรรมฟื้น Energy และ Materials จะกลับมาดีกว่าใน 3-6 เดือน

จากความผันผวนในอดีตตั้งแต่ปี 1990 ราคาสินค้าโภคภัณฑ์สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลง (R-Square) ของหุ้นที่เกี่ยวข้องกับพลังงานได้เพียง 0.3-0.4 แต่ถ้าเศรษฐกิจเป็นขาขึ้นรอบใหม่จริง ราคาหุ้น Cyclicals ที่ปัจจุบันมี Valuation ถูก จะมีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้สูงไม่แพ้กัน 

(2) สำหรับตลาดหุ้นไทย แม้จะมีสัดส่วนหุ้นในกลุ่มพลังงานมาก แต่ในช่วงหลังดัชนีมักไม่สามารถปรับตัวขึ้นได้ในช่วงที่ราคาน้ำมันแพง

ความสัมพันธ์ (Correlation) ของหุ้นไทยกับราคาน้ำมันดิบปัจจุบันลดลงเหลือเพียง 0.1 ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2018 จากประเด็นเศรษฐกิจในประเทศ และทิศทางตลาดหุ้นโลก ถ้าจะลงทุนเลือกรายบริษัทที่เกี่ยวข้องจะดีกว่าซื้อทั้งตลาด

(3) เมื่อการปรับตัวขึ้นของยีลด์และราคาน้ำมันดิบไม่กระตุกบอนด์ยีลด์ไทย เงินบาทอาจเป็นจุดอ่อนที่ต้องระวัง

ย้อนกลับไปตั้งแต่ต้นปี เป็นหนึ่งในไม่กี่ครั้งที่ราคาน้ำมันขาขึ้นและยีลด์สหรัฐฯ อายุ 10 ปี ที่สูงขึ้น 32bps สวนทางกับยีลด์ไทยอายุ 10 ปี ที่ปรับตัวลงจาก 2.7% มาเหลือเพียง 2.5% สะท้อนว่าแนวโน้มเศรษฐกิจโลกไม่ได้ทำให้ภาพการลงทุนในประเทศคึกคักขึ้นเลย ยิ่งถ้านักลงทุนต่างชาติมองว่าการลดดอกเบี้ยของธปท.จะเกิดขึ้นแน่ ไม่ว่าตลาดจะเข้าสู่โหมดปิดรับความเสี่ยง (Risk Off) ด้วยสาเหตุไหนในอนาคต เงินบาทก็มีโอกาสอ่อนค่าลงได้อีก

วางกลยุทธ์รับมือความผันผวนในตลาดการเงินช่วงนี้ให้ดีนะครับ

เศรษฐกิจร้อน นโยบายการเงินก็ร้อน สงครามยิ่งร้อน

แนวโน้มความผันผวนในตลาดการเงินปัจจุบัน และผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับราคาสินทรัพย์เสี่ยง, ที่มาของข้อมูล: Bloomberg
ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์

5 วิธีออมเงิน สไตล์คนขี้เกียจ

Finspace
5 วิธีออมเงิน สไตล์คนขี้เกียจ

การออมเงิน อาจไม่ใช่เรื่องยากสำหรับใครหลาย ๆ คน แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับคนขี้เกียจอย่างเรา จะให้บันทึกรายรับ รายจ่ายก็ไม่อยากที่จะหยิบสมุดขึ้นมาจด ไม่ต้องถามถึงเรื่องวางแผนการเงินเลยขี้เกียจคิด!!

แต่ไม่เป็นไรเพราะวันนี้เราจะมาพาคุณไปรู้จัก 5 วิธีออมเงิน ที่ทำได้ง่าย ๆ ถึงแม้ว่าจะขี้เกียจก็ตาม

วิธีที่ 1 เก็บเศษเหรียญใส่ถ้วยตามจุดต่าง ๆ

5 วิธีออมเงิน สไตล์คนขี้เกียจ

เมื่อพูดถึงความขี้เกียจที่หลาย ๆ คนคงเป็นกันอยู่บ่อย ๆ เรามักจะเผลอวางเศษเหรียญไว้ตามที่ต่าง ๆ เพราะขี้เกียจนำไปใส่กระปุก จนเผลอทำหายอยู่บ่อย ๆ หากนับดี ๆ ก็หายไปหลายร้อยอยู่เหมือนกัน

งั้นมาลองวิธีนี้ดูไหม ให้คุณหาถ้วยหรือกระปุกขนาดกลาง ๆ มาวางไว้ตามจุดที่เรามักจะวางเศษเหรียญไว้เช่น หน้าประตูบ้าน, โต๊ะเครื่องแป้ง, หน้าตะกร้าผ้า หรือแม้กระทั่งในห้องน้ำ ทีนี้เหรียญที่มักจะเจอในกระเป๋าก็จะไม่สูญหายอีกต่อไปและที่สำคัญ! อย่าลืมนำเศษเหรียญเหล่านั้นไปฝากธนาคารทุก ๆ สิ้นเดือนด้วยนะ

วิธีที่ 2 ทำบัญชีสำหรับการออมเงินโดยเฉพาะ

5 วิธีออมเงิน สไตล์คนขี้เกียจ

คุณคงคุ้นเคยกับคำว่า “ออมก่อนใช้” แต่อาจจะยังพบปัญหาที่ว่า เป็นคนเก็บเงินไม่อยู่จะทำยังไงดี? เริ่มต้นง่ายนิดเดียว เพียงแค่คุณทำการเปิดบัญชีใหม่และไม่สมัครบัตรเดบิตไว้สำหรับกดเงินสด เพื่อที่จะได้มีอุปสรรคเยอะขึ้นในเวลาที่ต้องการนำเงินออกมาใช้

แต่วิธีนี้ต้องมีวินัยและซื่อสัตย์กับตัวเองนะ อย่าไปแอบโอนเงินกลับมาหรือแอบกดเงินออกมาแบบไม่ใช้บัตรด้วยนะจ๊ะ ไม่งั้นก็คงจะเก็บเงินก้อนได้ยากไม่ถึงเป้าหมายเสียที

วิธีที่ 3 ตัดเงินออมจากบัญชีอัตโนมัติ

5 วิธีออมเงิน สไตล์คนขี้เกียจ

ข้อนี้เป็นข้อที่ทำง่ายที่สุด ซึ่งก็คือ การตัดเงินในบัญชีอัตโนมัติโดยที่เราไม่ต้องไปทำเรื่องที่บริษัทหรือธนาคารเลยก็สามารถออมเงินได้ทุกเดือนกันแล้ว แต่บางข้ออาจไม่เหมาะกับคนที่ขี้เกียจศึกษาเท่าไหร่

บัญชีเงินฝากประจำ ที่บังคับให้เราฝากเงินด้วยจำนวนเงินกันทุกเดือน ผ่านการตัดบัญชีอัตโนมัติ ซึ่งจะได้ดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ปกติเล็กน้อย ส่วนมากมีกำหนดระยะเวลา เช่น 24-36 เดือน

ลงทุนในกองทุนรวมและทำ DCA* ด้วยการตัดเงินผ่านบัญชีอัตโนมัติ ซึ่งคุณต้องคิดพิจารณาให้ดีว่าคุณรับความเสี่ยงในการซื้อกองทุนแต่ละกองนั้นได้มากน้อยแค่ไหน หากรับความเสี่ยงได้น้อยก็ควรเลือกลงทุนในกองที่มีความเสี่ยงต่ำ ดังนั้น ก่อนที่จะเริ่มต้นออมวิธีนี้ก็ควรที่จะสลัดความขี้เกียจออกไปแล้วศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนที่จะลงทุน

บัญชีออมหุ้น เป็นการตัดบัญชีอัตโนมัติทุกเดือนแล้วซื้อหุ้นสะสมตามจำนวนเงินที่ผู้ออมกำหนด เพื่อสร้างวินัยในการออม และลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ โดยในแต่ละบริษัทที่ให้บริการก็อาจจะมีเงื่อนไขที่แต่ต่างกันไป แต่วิธีนี้ค่อนข้างจะมีความเสี่ยงที่สูงกว่าวิธีอื่น ๆ อยู่สักหน่อย ดังนั้น ก่อนที่จะเริ่มต้นลงทุน หรือออมเงินด้วยวิธีนี้ก็ควรที่จะสลัดความขี้เกียจออกไปแล้วศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนที่จะลงทุน

หมายเหตุ: DCA หรือ Dollar Cost Averaging คือการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยในทุกเดือนโดยไม่สนว่าราคาจะถูกหรือแพง

วิธีที่ 4 ดอกเบี้ยทบต้น

5 วิธีออมเงิน สไตล์คนขี้เกียจ

เป็นการออมในบัญชีที่มีการคิดแบบดอกเบี้ยทบต้น คือ เมื่อนำเงินไปฝากจนครบ 1 ปี เงินต้นจะถูกคิดรวมกับดอกเบี้ยและกลายเป็นเงินต้นในปีถัด ๆ ไป

ยกตัวอย่าง

A ฝากเงินไว้ที่ธนาคาร 10,000 บาท โดยมีอัตราดอกเบี้ย 5% (10,000×5% = 500) เมื่อครบ 1 ปี A จะมีเงิน 10,500 บาท (10,000+500= 10,500) โดยเงินจำนวณ 10,500 บาทนี้จะกลายเป็นเงินต้นของปีถัดไป 

ที่มา: https://www.set.or.th/set/financialplanning/glossary.do?contentId=17

วิธีที่ 5 ดอกเบี้ยแบบขั้นบันได

5 วิธีออมเงิน สไตล์คนขี้เกียจ

การฝากเงินที่บัญชีมีการคิดดอกเบี้ยแบบขั้นบันได โดยธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ยให้เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาและเงื่อนไขที่กำหนด โดยจะไม่ให้ถอนก่อนกำหนดและไม่คิดดอกเบี้ยรวมเป็นเงินต้นในรอบถัดไป

ยกตัวอย่าง

วันที่ 1 มกราคม ฝากเงิน 100,000 บาท ได้รับอัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได 12 เดือน โดยธนาคารจ่ายดอกเบี้ยสำหรับเดือนที่ 1 – 4 ในอัตรา 2% เดือนที่ 5 – 8 ในอัตรา 2.5% เดือนที่ 9 – 11 ในอัตรา 3% และเดือนสุดท้ายในอัตรา 3.5% โดยมีเงื่อนไขว่า หากถอนเงินก่อนกำหนดจะได้รับดอกเบี้ยเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ โดยจะคำนวณดอกเบี้ยที่ได้รับ ดังนี้ (อยู่ในภาพ)

  • ดอกเบี้ยรับเดือนที่ 1 – 4 (100,000 x 2% x 120 วัน) / 365 = 657.53 บาท
  • ดอกเบี้ยรับเดือนที่ 5 – 8 (100,000 x 2.5% x 123 วัน) / 365 = 842.47 บาท
  • ดอกเบี้ยรับเดือนที่ 9 – 11 (100,000 x 3% x 91 วัน) / 365 = 747.95 บาท
  • ดอกเบี้ยรับเดือนที่ 12 (100,000 x 3.5% x 31 วัน) / 365 = 297.26 บาท

 

ดังนั้นจะได้รับดอกเบี้ยทั้งสื้น 2,545.21 บาท (657.53 + 842.47 + 747.95 + 297.26) หรือได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารจ่ายจริง (Effective Interest Rate) คือ 2.54% นั่นเอง

ที่มา: https://www.set.or.th/set/financialplanning/glossary.do?contentId=17

หวังว่าวิธีที่ยกตัวอย่างมาจะมีประโยชน์กับใครหลาย ๆ คน แต่สุดท้ายแล้วไม่ว่าเราจะขี้เกียจยังไงก็ควรที่จะวางแผนการเงินและเก็บออมเงินอย่างสม่ำเสมอ และหากคุณเลือกที่จะลงทุนแล้วล่ะก็อย่าลืม! ที่จะศึกษาหาข้อมูลความรู้ให้ดีก่อนเริ่มที่จะลงทุนนะค

FinSpace

ที่มาบทความ: https://www.finspace.co/5-step-to-easy-saving-money/

Passive Income คืออะไร?: รวมสุดยอดไอเดียสร้าง Passive Income ผ่านการลงทุน

Finnomena

“หากคุณไม่พบวิธีที่สามารถทำเงินได้ในระหว่างที่คุณหลับ คุณจะต้องทำงานไปจนกระทั่งวันที่คุณตาย”
– วอร์เรน บัฟเฟตต์

หลาย ๆ คน ไม่ว่าจะเป็นคนที่เพิ่งเรียนจบมาใหม่หรือคนที่ทำงานมาสักพักแล้ว คงมีความต้องการในการมีรายรับแบบที่เรียกว่า “Passive Income” กันแน่ ๆ บทความนี้ Finnomena Admin จึงขอมาแชร์สุดยอดไอเดียในการสร้าง Passive Income ผ่านการลงทุนกัน

แต่ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่าว่า “Passive Income” คืออะไร แตกต่างจาก Active Income อย่างไร?

Passive Income คืออะไร?

Passive Income คือ รายได้มาจากการที่เราลงแรงไปในตอนแรก แต่ยังคงได้รายได้นั้นกลับมาอย่างต่อเนื่องแม้งานจะเสร็จสิ้นไปแล้วก็ตาม กล่าวคือ เป็นเงินที่สามารถสร้างกระแสเงินสดหรือรายรับกลับมาอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง

ซึ่งจะตรงข้ามกับ “Active Income” ที่เป็นรายได้ที่ได้รับจากการให้บริการ ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของ ค่าจ้าง เงินเดือน ค่าคอมมิชชั่น ทิป หรือกล่าวง่าย ๆ คือเป็นรายได้ที่มาจากการทำงาน การประกอบอาชีพนั่นเอง

เปรียบเทียบ Active Income และ Passive Income

อย่างที่บอกไปว่า “Active Income” มีความหมายตรงกันข้ามกับ “Passive Income” ซึ่งบางคนอาจจะยังไม่ค่อยเห็นภาพสักเท่าไรว่ารายได้ทั้งสองประเภทนี้นั้นต่างกันอย่างไร เราจึงขอทำตารางเปรียบเทียบยกตัวอย่างให้ทุกคนได้เห็นภาพกันชัดมากขึ้น

Active Income Passive Income
งานที่ปรึกษาคิดค่าบริการรายชั่วโมง สร้างคอร์สออนไลน์ให้คนซื้อได้
รับงานเขียนแบบฟรีแลนซ์ เขียนหนังสือ หรือ เขียน E-Book
รับจ้างถ่ายรูปและคิดค่าคอมมิชชั่น ขายภาพถ่ายผ่าน Getty Images
ขับรถสามล้อรับส่งผู้โดยสาร ให้เช่าพื้นที่โฆษณาหลังรถสามล้อ

สร้าง Passive Income ผ่านการลงทุนอย่างไรดี?

การสร้าง Passive Income อย่างแรกต้องทำความรู้จักสินทรัพย์แต่ละประเภทก่อน เนื่องจากประเภทสินทรัพย์ที่แตกต่างกันมักมีผลตอบแทน และความเสี่ยงที่แตกต่างกัน ยิ่งสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่สูง ความเสี่ยงก็จะสูงตามไปด้วย ดังนั้น ควรศึกษาถึงรายละเอียดของแต่ละสินทรัพย์ให้เข้าใจ และเลือกสินทรัพย์ที่เหมาะสมกับเป้าหมายรวมถึงความเสี่ยงของตัวเอง

สูตรที่ใช้หาเงินลงทุนในการสร้าง Passive Income

Passive Income ที่ต้องการต่อปี / อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี (%)

** ทั้งนี้ สูตรด้านบนเป็นสูตรการคำนวณหาเงินลงทุนแบบคร่าว ๆ เท่านั้น ซึ่งจะยังไม่รวมปัจจัยอื่น เช่น เงินเฟ้อ หรือความเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์

สุดยอดไอเดียสร้าง Passive Income ผ่านการลงทุน

การสร้าง Passive Income ผ่านการลงทุนนั่นมีมากมายหลายวิธี ในบทความนี้ Finnomena Admin ขอยกตัวอย่างการสร้าง Passive Income ผ่านการลงทุนใน 6 ช่องทาง ดังนี้ครับ

1. ฝากเงินในธนาคาร

การฝากเงินในบัญชีธนาคารถือเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการสร้าง Passive Income แต่อัตราผลตอบแทนก็ค่อนข้างต่ำ แม้ว่าปัจจุบันมีบัญชีเงินฝากแบบดิจิทัลที่อัตราดอกเบี้ยจะสูงกว่าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์นิดหน่อย โดยอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ประมาณ 1.10% – 2.00% อย่างไรก็ตาม ยังมีเรื่องสำคัญอย่างเงินเฟ้อที่ต้องนำมาพิจารณาประกอบด้วย ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่เงินเฟ้อจะมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น ดอกเบี้ยจากการฝากเงินในธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ อาจไม่สามารถชนะเงินเฟ้อได้เมื่อเวลาผ่านไป

สร้าง Passive income เดือนละ 50,000 บาท ด้วยการฝากเงินในธนาคาร

การฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 0.50% ต่อปี

ตัวอย่าง นำเงินไปฝากไว้ในบัญชีออมทรัพย์ ผลตอบแทนเฉลี่ย 0.50% ต่อปี อยากมี Passive Income 50,000 บาท/เดือน หรือ 600,000 บาท/ปี 

▶︎ จำนวนเงินต้นที่ต้องมีอยู่ในบัญชีออมทรัพย์ เท่ากับ 120,000,000 บาท

2. ซื้อประกันออมทรัพย์ หรือ ประกันสะสมทรัพย์

ประกันสะสมทรัพย์ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการฝึกวินัยการออมระยะยาว ที่นอกจากจะได้รับผลตอบแทนจากเงินคืนแล้ว ยังได้รับการคุ้มครองชีวิตด้วย เรียกได้ว่ามาแบบแพ็คคู่ โดยส่วนของการออมทรัพย์ ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินคืนเมื่อสัญญาประกันครบกำหนด ซึ่งระยะเวลาก็จะมีทั้งระยะสั้น ระยะกลาง ไปจนถึงระยะยาว ให้ผู้เอาประกันภัยได้เลือกซื้อตามเป้าหมายที่เหมาะสมกับตัวเอง

สำหรับผลตอบแทน IRR ของประกันสะสมทรัพย์ (บางแผน) ก็จะมากกว่าเงินฝากขึ้นมานิดหน่อย โดยผลตอบแทนที่ได้มานั้นไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งจะต่างกับการฝากเงินในบัญชีธนาคารที่จะต้องเสียภาษี 15% หากดอกเบี้ยที่ได้รับนั้นเกิน 20,000 บาท นอกจากนี้ ประกันสะสมทรัพย์ยังสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาทอีกด้วย

สร้าง Passive income เดือนละ 50,000 บาท ด้วยการซื้อประกันสะสมทรัพย์

การซื้อประกันสะสมทรัพย์ ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 2% – 3% ต่อปี

ตัวอย่าง นำเงินไปซื้อประกันสะสมทรัพย์ ผลตอบแทนเฉลี่ย 2% ต่อปี ต้องการมี Passive Income 50,000 บาท/เดือน หรือ 600,000 บาท/ปี

▶︎ จำนวนเงินต้นหรือเงินลงทุนที่เราต้องมี เท่ากับ 30,000,000 บาท

3. ลงทุนในตราสารหนี้ หรือ กองทุนรวมตราสารหนี้

ตราสารหนี้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการสร้างกระแสเงินสดอย่างต่อเนื่อง และยังให้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่มากกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก ซึ่งมีให้เราเลือกลงทุนทั้งพันธบัตรที่ออกโดยภาครัฐ และตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชน โดยจะได้รับผลตอบแทนในรูปของ “ดอกเบี้ย” อย่างไรก็ตาม การลงทุนในหุ้นกู้เอกชนจะมีความเสี่ยงมากกว่าพันธบัตรรัฐบาล เนื่องจากมีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้สูงกว่า ดังนั้นควรศึกษาถึงบริษัทที่เราจะไปซื้อหุ้นกู้ก่อนเสมอว่ามีพื้นฐานบริษัทมั่นคง และมีความสามารถในการชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยคืนเราในวันครบกำหนดอายุตราสารหรือไม่

ทั้งนี้ การลงทุนในตราสารหนี้สามารถลงทุนผ่านกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งเงินลงทุนเริ่มต้นก็จะต่ำกว่าการลงทุนในตราสารหนี้โดยตรง และสภาพคล่องก็สูงกว่าด้วย

สร้าง Passive income เดือนละ 50,000 บาท ด้วยการลงทุนในตราสารหนี้

การลงทุนในตราสารหนี้ หรือ กองทุนรวมตราสารหนี้ ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 2% – 5% ต่อปี

ตัวอย่าง นำเงินไปลงทุนในตราสารหนี้ หรือ กองทุนรวมตราสารหนี้ ผลตอบแทนเฉลี่ย 3% ต่อปี อยากมี Passive Income 50,000 บาท/เดือน หรือ 600,000 บาท/ปี 

▶︎ จำนวนเงินต้นหรือเงินลงทุนที่เราต้องมี เท่ากับ 20,000,000 บาท

และอีกหนึ่งการลงทุนรูปแบบใหม่ที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกันกับหุ้นกู้คือ “หุ้นกู้ Crowdfunding” โดยเป็นการระดมทุนจากนักลงทุนหรือบุคคลทั่วไปในจำนวนเงินไม่มาก แต่มาจากหลาย ๆ คนรวมกันจนกลายเป็นเงินก้อนใหญ่ผ่านเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เป็นตัวกลาง เพื่อนำไปใช้วัตถุประสงค์ต่าง ๆ เช่น การต่อยอดธุรกิจ นำไปเป็นกระแสเงินสดหรือเงินทุนหมุนเวียนธุรกิจ ฯลฯ

สามารถแบ่งการระดมทุนออกได้เป็น 4 รูปแบบ ได้แก่ การบริจาค การสะสมแต้ม การให้กู้ยืม และหลักทรัพย์ โดยหุ้นกู้ Crowdfunding มีระยะเวลาถือครองค่อนข้างสั้น จึงทำให้มีสภาพคล่องสูงกว่าหุ้นกู้ทั่วไปบางฉบับ ส่วนผลตอบแทนที่เราจะได้รับในฐานะผู้ให้กู้ จะอยู่ในรูปแบบเดียวกันกับหุ้นกู้ทั่วไปคือดอกเบี้ยคงที่ แต่ผลตอบแทนของหุ้นกู้ Crowdfunding อาจจะสูงขึ้นมาอีกหน่อยอยู่ที่ประมาณ 4-15% ต่อปี

4. ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือ กองทุนอสังหาริมทรัพย์

การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เป็นอีกหนึ่งทางเลือกการลงทุนที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็น การซื้อบ้าน คอนโด ทาวน์โฮม เพื่อปล่อยเช่า ซึ่งเจ้าของกรรมสิทธิ์อสังหาฯ ก็จะได้รับผลตอบแทนในรูปของ “ค่าเช่า” ที่ส่วนใหญ่จะทำสัญญาจ่ายกันเป็นรายเดือน นั่นหมายความว่า หากเราลงทุนซื้ออสังหาฯ แล้วมีคนเช่า เราก็จะได้รับกระแสเงินสดต่อเนื่องในทุก ๆ เดือน

แต่แน่นอนว่าการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ทางตรงอย่างการซื้อบ้านซื้อคอนโดจะต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม เราสามารถลงทุนในอสังหาฯ ผ่านกองทุนอสังหาริมทรัพย์แทนได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น Property Fund, Real Estate Investment Trust (REITs) และ Infrastructure Fund (IFF) ที่มีนโยบายลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน

สร้าง Passive income เดือนละ 50,000 บาท ด้วยการลงทุนในอสังหาฯ

การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 6% – 10% ต่อปี

ตัวอย่าง นำเงินไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ผลตอบแทนเฉลี่ย 6% ต่อปี ต้องการมี Passive Income 50,000 บาท/เดือน หรือ 600,000 บาท/ปี

▶︎ จำนวนเงินต้นหรือเงินลงทุนที่เราต้องมี เท่ากับ 10,000,000 บาท

5. ลงทุนในหุ้น หรือ กองทุนรวมหุ้น

หากพูดถึงหุ้น แน่นอนว่าแทบไม่มีใครที่ไม่รู้จักสินทรัพย์นี้ เพราะหุ้นเป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่อยู่คู่ตลาดทุนมาอย่างยาวนาน ซึ่งนอกจากผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นที่เราจะได้รับในรูปของ “ส่วนต่างราคา” (Capital Gain) หรือเรียกง่าย ๆ ว่า “กำไร” แล้ว เรายังสามารถคาดหวัง Passive Income จาก “เงินปันผล” (Dividend) ได้อีกด้วย ทั้งนี้ ควรเลือกลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแรง มีนโยบายจ่ายเงินปันผลอย่างต่อเนื่อง และเป็นหุ้นที่มีอัตราเงินปันผลตอบแทนเฉลี่ย (Average Dividend Yield) ไม่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในกลุ่มอุตสาหกรรมนั้น ๆ ด้วย เพื่อสร้างกระแสเงินสดจากการลงทุนได้อย่างสม่ำเสมอ

และหากใครที่ไม่ต้องการลงทุนในหุ้นรายตัว หรือยังไม่มีความชำนาญในการลงทุนหุ้นรายตัว ก็สามารถลงทุนผ่านกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นได้เช่นเดียวกัน ซึ่งไม่ใช่แค่หุ้นในประเทศ กองทุนรวมยังทำให้เราสามารถลงทุนในหุ้นต่างประเทศได้ด้วยเงินลงทุนขั้นต่ำเพียง 1 บาทเท่านั้น นอกจากนี้ยังสามารถเลือกลงทุนได้ว่าจะลงทุนในกองทุนชนิดสะสมมูลค่า (ไม่มีนโยบายจ่ายปันผล) หรือกองทุนชนิดจ่ายเงินปันผลเพื่อสร้างกระแสเงินสดอย่างสม่ำเสมออีกด้วย

สร้าง Passive income เดือนละ 50,000 บาท ด้วยการลงทุนในหุ้น

การลงทุนในหุ้น หรือ กองทุนรวมหุ้น ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 8%-12% ต่อปี

ตัวอย่าง นำเงินไปลงทุนในหุ้น หรือ กองทุนรวมหุ้น ผลตอบแทนเฉลี่ย 10% ต่อปี ต้องการมี Passive Income 50,000 บาท/เดือน หรือ 600,000 บาท/ปี

▶︎ จำนวนเงินต้นหรือเงินลงทุนที่เราต้องมี เท่ากับ 6,000,000 บาท

6. ลงทุนในคริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency)

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสินทรัพย์ที่เป็นกระแสมาแรงที่สุดในปีนี้คงจะหนีไม่พ้น “คริปโทเคอร์เรนซี” (Cryptocurrency) หรือ “สกุลเงินดิจิทัล” อย่างแน่นอน  การลงทุนในคริปโทเคอร์เรนซีไม่เพียงแต่สามารถทำกำไรจากการซื้อขายเหรียญต่าง ๆ เท่านั้น แต่เรายังสร้าง Passive Income ผ่านการลงทุนในคริปโทฯ ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น การลงทุนในเหรียญที่ทำงานบน Proof-of-Stake (PoS), การให้กู้ยืมเหรียญคริปโทฯ แบบ Peer-to-Peer (P2P Lending) หรือการฝากเหรียญคริปโทฯ เพื่อรับดอกเบี้ย ฯลฯ

ทั้งนี้ การลงทุนในคริปโทเคอร์เรนซีมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง ดังนั้น เราควรศึกษาถึงรายละเอียดของสินทรัพย์ และวิธีการลงทุนให้ดีก่อนลงทุนเสมอ รวมถึงแพลตฟอร์มที่เราจะไปใช้บริการด้วยว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ 

อย่างไรก็ตาม การลงทุนในสินทรัพย์ในประเภทใดประเภทหนึ่งเพียงอย่างเดียว อาจมีความเสี่ยงและความผันผวนระหว่างการลงทุนได้ ดังนั้นเราควรศึกษาเรื่องการจัดพอร์ตการลงทุนควบคู่ไปกับการลงทุน ด้วยการกระจายเงินลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น ตราสารหนี้ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมหุ้น หรือแม้แต่คริปโทเคอร์เรนซี โดยสิ่งสำคัญที่สุด คือ “การดูแลสินทรัพย์ที่เราลงทุนอย่างสม่ำเสมอ” เพื่อสร้าง Passive Income ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งนอกจากการสร้าง Passive Income ผ่านการลงทุนสินทรัพย์ทางการเงินตามที่กล่าวไปด้านบนแล้ว เรายังสามารถสร้าง Passive Income ได้ด้วยการสร้างสรรค์ผลงานของตัวเองเช่นกัน เช่น การเขียนหนังสือหรือการเขียน E-Book การทำเพลง การถ่ายภาพ ฯลฯ ซึ่งจะได้ Passive Income ในรูปแบบของ “ค่าลิขสิทธิ์” นั่นเอง หากใครมีความเชี่ยวชาญหรือมีความสนใจในการสร้างสรรค์ผลงานเหล่านี้ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการสร้าง Passive Income ที่น่าสนใจ

Finnomena Admin

อ้างอิง


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299