หากใครยังจำการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 1982 และ 1986 ได้
ทีมชาติบราซิลที่เป็นเต็งหนึ่ง ต้องร่วงตกรอบในรอบ 8 ทีมสุดท้าย ด้วยฝีมือของทีมอิตาลีและฝรั่งเศส ด้วยการเล่นเกมแบบอินดี้บุกแหลกสไตล์แซมบ้า โดยทรัพยากรผู้เล่นของทีมบราซิลนั้น มีแบบที่เหนือชั้นกว่าทั้งอิตาลีและฝรั่งเศสแบบทิ้งห่าง ทว่าการที่เล่นแบบเอาใจตัวเอง มิได้มุ่งเอาผลการแข่งขัน จึงทำให้ตกรอบแบบน่าเสียดาย
ย้อนมาดูเศรษฐกิจบราซิลในวันนี้ แทบไม่ต่างจากทีมชาติฟุตบอลบราซิลในยุค 80 จะเห็นได้ว่าประเทศบราซิลที่มีขนาดพื้นที่และประชากรที่ใหญ่ที่สุดของอเมริกาใต้นั้น อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้อย่างไรก็ไม่หมด ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำมันและก๊าซ สินค้าเกษตรไม่ว่าจะเป็นอ้อยและถั่วเหลืองที่ติดระดับท็อปของโลก ป่าอะเมซอน หรือแม้แต่เหมืองแร่ต่างๆ ทว่าเศรษฐกิจบราซิลก็ยังไม่สามารถที่จะพัฒนาไปได้ในระดับที่ดีอย่างที่ควรจะเป็น ลองมาย้อนดูกันว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
ก่อนอื่นต้องมาเข้าใจว่าบราซิลนั้น มีวัฒนธรรมที่ชอบความสบายๆ ไม่ได้มีวินัยอย่างเคร่งครัดในการทำอะไรก็ตาม หากสังเกตให้ดีจะเห็นได้จากทีมชาติฟุตบอลบราซิลจะออกมาทางอินดี้ ซึ่งแตกต่างจากทีมชาติเยอรมันที่มีระเบียบวินัยและความไม่ยอมแพ้ โดยคล้ายกับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ที่บราซิลมีปัญหาคอร์รัปชั่น อาชญากรรม ความขัดแย้งอย่างฝังลึกในทางการเมือง และการขาดความต่อเนื่องในการบริหารประเทศให้มีทิศทางการพัฒนาที่เป็นรูปแบบในระยะยาว
แจร์ บอร์ซาเนโร่ ประธานาธิบดีบราซิล ที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนเมื่อต้นปีนี้ หลังจากรัฐบาลชุดที่แล้วภายใต้การนำของอดีตผู้นำมิเชล เทเมอร์ ที่มีปัญหาคอร์รัปชั่นแบบโจ่งครึ่ม จนถูกโค่นอำนาจจากพลังประชาชน นายบอร์ซาเนโร่ เริ่มต้นเหมือนกับว่าจะเข้ามาเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ที่เข้าสู่การถดถอยตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว รวมถึงมีการโยกย้ายเงินทุนออกจากบราซิลของต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ด้วยการแต่งตั้งนายเปาโล กุยเดส นักเศรษฐศาสตร์ที่จบจากม.ชิคาโก ให้เป็น รมว.คลัง และ นายโรเบิร์ตโต คัมโปส เนโต้ ขึ้นเป็นผู้ว่าการธนาคารกลางบราซิล ทั้งนี้ นโยบายหลักที่ทั้งคู่ประกาศว่าจะทำ คือการลดภาระหนี้ของประเทศที่รัฐบาลต้องแบกรับจากภาระเงินประกันสังคม งบประมาณที่ต้องจ่ายให้กับหน่วยงานราชการ นอกจากนี้ จะแก้ปัญหาที่จีดีพีของบราซิลที่เติบโตต่ำมากจนถึงหดตัวในบางไตรมาส และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
ทว่าเมื่อนายบอร์ซาเนโร่ทำการบริหารประเทศผ่านไปเกือบ 1 ปี กลับพบว่าแทนที่จะมุ่งเน้นแก้ปัญหาเศรษฐกิจประเทศ นายบอร์ซาเนโร่กลับสร้างแต่เรื่องที่ถือว่าไม่เป็นผลดีต่อผลประโยชน์และภาพลักษณ์ของประเทศ
เริ่มตั้งแต่ช่วงต้นปี ที่ผู้นำบราซิลสนับสนุนการแก้กฎหมายให้ประชาชนสามารถมีอาวุธปืนอยู่ในครอบครองง่ายขึ้น โดยให้เหตุผลว่าเพื่อเป็นการป้องกันตัวของประชาชนที่ต้องประสบกับปัญหาอาชญากรรม ถัดมาช่วงกลางปี ก็ได้กล่าวเหน็บแนมภรรยาของนายเอมมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ว่ามีหน้าตาขี้เหร่ เพื่อตอบโต้กับการที่ผู้นำฝรั่งเศสโจมตีบราซิลว่าไม่ดูแลการเผาทำลายป่าอเมซอนได้ดีอย่างที่ควรจะเป็น ล่าสุด นายบอร์ซาเนโร่เพิ่งออกอาการเบรกแตกในการให้สัมภาษณ์สื่อผ่านโซเชียลมีเดีย
แม้รัฐบาลบราซิลจะสามารถผ่านกฎหมายบำนาญหรือ Pension Reform เมื่อเดือนที่แล้ว โดยสามารถลดภาระงบประมาณการคลังของรัฐบาลที่ต้องจ่ายให้กับกองทุนประกันสังคมถึงร้อยละ 60 ของงบประมาณประจำปีทั้งหมด ทว่ารายจ่ายที่ต้องจ่ายให้กับหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจก็ยังเป็นจุดถ่วงของภาระงบประมาณ ที่เริ่มเกิดการประท้วงต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจดังกล่าวในกรุงริโอ เดอ จาร์เนโร ในบางจุด
รูปที่ 1 อัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราเงินเฟ้อของบราซิล
รูปที่ 2: ค่าเงินริโอของบราซิลเทียบกับดอลลาร์
แม้ว่า นายเนโต้ ผู้ว่าแบงก์ชาติบราซิล ที่ได้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอย่างต่อเนื่องจากระดับร้อยละ 14 มาอยู่ที่ร้อยละ 5 จะสามารถลดค่าเงินเฮอัลให้อ่อนค่าลงมากว่าร้อยละ 40 ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา ดังรูปที่ 1 และ 2 ส่งผลให้จีดีพีบราซิลยังสามารถเติบโตเป็นบวก 1% ในปีนี้ และ 2% ในปีหน้า และเงินทุนต่างประเทศกลับมาไหลเข้าอีกครั้ง รวมถึงตลาดหุ้น Bovespa ขึ้นมาถึงร้อยละ 20 นับจากต้นปี ส่งผลให้จีดีพีบราซิลยังสามารถเติบโตเป็นบวก 1% ในปีนี้ และ 2% ในปีหน้า และเงินทุนต่างประเทศกลับมาไหลเข้าอีกครั้ง รวมถึงตลาดหุ้น Bovespa ขึ้นมาถึงร้อยละ 20 นับจากต้นปี
ทว่าเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐ ได้ประกาศเก็บ tariff เหล็กและอลูมิเนียมต่ออาร์เจนตินาและบราซิลเพิ่มแบบสายฟ้าแลบ ด้วยข้อหาทำค่าเงินอ่อนตัวเองอ่อนเกินทำเกษตรกรสหรัฐเสียประโยชน์
จะเห็นได้ว่านายบอร์ซาเนโร่ เสียเวลาไปกับเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องเกือบปี เมื่อทีมงานของเขาเริ่มที่จะมาถูกทางกับการแก้ปัญหาของเศรษฐกิจ ก็ดูเหมือนว่าอาจจะสายเกินไป เมื่อทรัมป์เริ่มที่จะหันหัวการเล่นงานจากจีน เบนเข็มเปลี่ยนเป้าหมายมาที่ประเทศที่เล็กกว่า เพื่อประวิงเวลากับศึกใหญ่กับจีนไปจนถึงจังหวะที่เหมาะสม
รูปที่ 3: ภาระหนี้ภาครัฐต่อจีดีพีของบราซิล
ซ้ำร้าย ศาลบราซิลยังตัดสินให้ปล่อยตัวอดีตประธานาธิบดีบราซิล ลูลาร์ ดา ซิลวา จากคดีคอร์รัปชั่น ที่ครองอำนาจกว่า 8 ปี ยิ่งจะทำให้การเลือกตั้งสภาท้องถิ่นทั่วประเทศในปีหน้า จะต้องพบกับพรรค PT หัวฝ่ายซ้ายของนายซิลวาเพิ่มเติมขึ้นมาอีก รวมถึงการปฏิรูประบบภาษีเพื่อลดภาระหนี้ของภาครัฐดังรูปที่ 3 ต้องชะลอออกไปเนื่องจากจะกระทบต่อคะแนนเสียงในการเลือกตั้งท้องถิ่นในปีหน้า
โดยภาพรวม แม้บราซิลดูแล้วมีทรัพยากรและศักยภาพการเติบโตอีกมาก ทว่าในปีหน้า ก็ยังถือว่ามีความเสี่ยงในแง่ของการลงทุนด้วยความเสี่ยงทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองที่มีสูงขึ้นครับ
MacroView
ที่มาบทความ: https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/648925
ตลาดหุ้นมักมีรอบตามเศรษฐกิจ ซึ่งมีทั้งขึ้นและลงสลับกันไป รอบหนึ่งอยู่ประมาณ 8-10 ปี โดยปกติรอบของหุ้นมักจะมาตอนเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวครับ ลงทุนนานๆ ผ่านวิกฤตซัก 1-2 รอบเดี๋ยวก็ชิน สิ่งที่นักลงทุนต้องทำคือการเตรียมความพร้อมครับ เพราะตลาดจะเล่นล่วงหน้าเศรษฐกิจจริงเสมอ เศรษฐกิจชะลอจริงหุ้นจะเริ่มฟื้นเพราะลงมาล่วงหน้าเป็นปีแล้ว ลองมาดูกันว่าถ้าเผชิญสภาวะตลาดหุ้นร่วง ควรรับมืออย่างไร?
ช่วงตลาดหุ้นร่วงๆ คนมักจะหนีไปหาสินทรัพย์ปลอดภัยพักเงินกันครับ เช่นเงินสด หรือตราสารหนี้ ที่ได้ผลตอบแทนไม่มากแต่ชัวร์ หรือบางคนก็จะไปหาทองคำที่วิ่งดีๆ ตอนคนกลัว เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่คนบอกต่อๆ กันมาว่าสามารถรักษามูลค่าได้ เราจะเห็นภาพว่าปีนี้ที่หุ้นเริ่มตกจากสารพัดความกลัว ตราสารหนี้ และทองคำให้ผลลตอบแทนที่ดี
ถ้าไม่อยากย้ายสินทรัพย์ เราอาจเลือกไปลงทุนหุ้นกลุ่มหลุมหลบภัย ที่เป็นสินค้าจำเป็น รายได้กำไรไม่ลดลงมาก เช่นกลุ่มสาธารณูปโภค กลุ่มโรงพยาบาล กลุ่มปัจจัยสี่ที่คนต้องกินต้องใช้ หรือหุ้นที่คล้ายๆ ตราสารหนี้เน้นเงินปันผล เช่น กลุ่มกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน หรือกองรีท (REITs) สำหรับตลาดหุ้นไทยปีนี้กลุ่มโรงไฟฟ้า และโรงพยาบาลหลายตัวที่กำไรเติบโตสามารถทำผลตอบแทนได้ดี ส่วนกองรีทราคาวิ่งแรงจนกองผลตอบแทนเงินปันผลเริ่มไม่จูงใจก็โดนเทลงมา
หลังจากหุ้นตกมาแรงๆ ใครใจกล้าๆ เก็บของดีไว้มักจะรวยครับ เหมาะกับคนเงินเย็นและใจเย็นดั่งน้ำแข็ง เพราะหุ้นจะโดนทิ้งลงมาเยอะเนื่องจากผลประกอบการลดลงด้วยกำลังซื้อที่ลดลง ความมั่นใจในการบริโภคหดหาย โดยปกติหุ้นที่เกี่ยวกับการบริโภคจะเริ่มฟื้นก่อน เช่น ค้าปลีก ท่องเที่ยว โรงแรม กลุ่มอสังหาริมทรัพย์จะเริ่มฟื้นตัว เพราะสินค้าคงเหลือค้างๆ เริ่มทยอยระบายหมดไป กลุ่มอุตสาหกรรมที่กำลังการผลิตลดลงจะเริ่มมีคำสั่งซื้อมามากขึ้น ต่อจากนั้นหุ้นพวกสินค้าโภคภัณฑ์ถึงจะตามมา เช่นกลุ่มปิโตรเคมี เหล็ก เริ่มฟื้นเพราะมีความต้องการมากขึ้น
จะเห็นว่าแต่ละช่วงเวลามักจะมีสินทรัพย์ที่ได้ประโยชน์เสมอ ถ้าเรามีหลักการที่เป็นแนวทางจะทำให้เราสามารถวางแผนการลงทุนได้ง่ายขึ้นครับ
InvestIdea
ติดตาม InvestIdea ได้ที่เพจ https://www.facebook.com/investidea.in.th/
**สนใจลงทุนในพอร์ต ASEAN Growth พอร์ตกองทุนรวมหุ้นอาเซียนและอสังหาฯ จาก Investidea สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/port/investidea/ หรือแบนเนอร์ข้างล่างครับ
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาสำนักข่าวชื่อดัง Bloomberg มีการรายงานถึงดีล IPO ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นสิงคโปร์ในรอบ 8 ปี ที่มีมูลค่าเริ่มแรกสูงถึง 3 แสนล้านบาท
ซึ่งก็ยังเป็นเจ้าพ่อ IPO ขาใหญ่คนเดิมในไทย อย่างเสี่ยเจริญ
หากพูดถึงเรื่อง IPO ในปีนี้ ถ้าไม่พูดถึงเสี่ยเจริญเจ้าของแบรนด์ดังอย่าง เบียร์ช้าง, หรือแม้แต่นํ้าเปล่าราคาหลักหน่วยที่เด็กอายุหลักหน่วยก็ซื้อได้อย่าง Crystal ก็คงจะไม่ได้
หลังดัน AWC (Asset World Corporation) เข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจนติดบนหน้าข่าวอยู่เป็นหลักเดือน ล่าสุดเมื่อเร็วๆนี้ มีข่าวของสุดยอดดีลแห่งตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ที่กำลังจะมีบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ บริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยักษ์ใหญ่ของประเทศไทยเข้าทำ ipo ด้วยมูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท ซึ่งนับเป็น IPO ที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2011 อีกทั้งยังมีมูลค่ามากกว่า IPO รวมในปู่ SET ตั้งแต่ เดือน ม.ค.- ต.ค. ที่ 64,500 ล้านบาท มากถึง 5 เท่า และหากไม่รวมสุดยอด ipo แห่งปีอย่าง AWC แล้ว ipo ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จะมีมูลค่ามากถึง 18 เท่าของ ipo เกือบทั้งปีของปู่ set เลยทีเดียว
พูดได้ว่าบริษัทเกิดใหม่ของเสี่ยเจริญเพียงบริษัทเดียวก็ออกตัวแรงแซงทั้งตลาดเกิดใหม่ของไทยในปีเดียว
แล้วอะไรที่ทำให้ บริษัทธุรกิจเบียร์เกิดใหม่นี้มีการประเมินมูลค่าในวันแรกที่เข้าตลาดสูงอย่างมาก เราอาจจะเทียบได้จากสินค้ายอดฮิตจากเสี่ยเจริญ
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าสินค้าอย่างเบียร์และนํ้าเป็นสินค้าทำเงินหลัก มีสัดส่วนรายได้ถึง 44.7% จากรายได้ทั้งหมด นอกจากนั้น ตามผลสำรวจของเครดิตวาระ Market Share เครื่องดื่มประเภทเบียร์ของ ThaiBev ในประเทศไทยนั้นอยู่ที่ราวๆ 40% ซึ่งหากเปรียบเทียบกับคู่แข่งสำคัญอย่าง สิงห์ คอปเปอร์เรชั่น แล้วนั้นก็ถือว่าทำได้ดี อีกทั้งในปี 2018 ThaiBev มีส่วนแบ่งในตลาดเบียร์อาเซียนสูงถึง 24% เลยทีเดียว ภายหลังที่ ThaiBev ทำการ takeover บริษัท ไซ่ง่อน เบียร์ แอลกอฮอล์ เบฟเวอเรจ คอร์เปอเรชั่น หรือ ซาเบโก (Sabeco)
การ IPO ครั้งนี้จึงเป็นที่น่าจับตามองว่า จะทำให้ธุรกิจโรงบ่มของ ThaiBev เติบโตก้าวกระโดดดังเช่น การ takeover บริษัท ซาเบโก (Sabeco) หรือไม่?
นอกจากนี้หากเทียบสัดส่วนกับรายได้ทั้งหมด เป็นไปได้ว่าเสี่ยเจริญอาจมองเห็นโอกาสจากสินค้าหลักของตน ดังนั้นเราอาจจะได้มีโอกาสเห็นการเทคโอเวอร์จากแบรนด์อื่นๆหรือสินค้าใหม่ๆในกลุ่มเบียร์ ซึ่งมีความเป็นไปได้สูง หากเทียบจากประวัติการ takeover ที่ทำไปแล้วถึง 120,000 ล้านบาท นอกจากนั้นในอนาคตเราอาจจะได้เห็นสุดยอดดีลยักษ์ใหญ่จากเสี่ยเจริญ ซึ่งอาจจะไม่ได้เป็นแค่การ takeover บริษัทอย่างเดียวอีกต่อไป แต่หากเป็นการ IPO บริษัท ที่แตกออกมาจากสินค้าหลักที่แข็งแกร่ง
โดยทั้งนี้ ตามรายงานคาดว่าการ IPO ครั้งนี้จะเกิดขึ้นในกลางปี 2563
ย่างเข้าเดือนสุดท้ายของปี แต่ตลาดหุ้นไทยเปิดวันทำการแรกของเดือน ก็ดูจะไม่สวยเอาเสียแล้วนะครับ โดยเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา SET Index ปิดตลาดลบไปถึง -21.06 จุด ปิดที่ 1,569.53 จุด ซึ่งนักวิเคราะห์ทางเทคนิคก็มองกันว่า นี่อาจจะเป็นการหลุดแนวรับจิตวิทยา 1,600 จุด แบบถาวร หรือเปล่า?
ไปดูว่าใครเป็นคนขาย ก็พบว่า นักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ขายสุทธิ – 2,351.52 ล้านบาท และเป็นนักลงทุนรายย่อยนี่เองที่ซื้อสุทธิไปสูงถึง -2,920.80 ล้านบาท อะไรทำให้ต่างชาติเลือกที่จะขายหุ้นไทย ณ ระดับดัชนีตรงนี้ และเวลานี้ เรามาดูพื้นฐานเศรษฐกิจไทยกันหน่อย
ก็คงต้องย้อนกลับไปเมื่อกลางเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา ที่ทางสภาพัฒน์ แถลงข่าว GDP ของไทยในไตรมาสที่ 3/2562 ขยายตัวได้อยู่ที่ 2.4% ซึ่งทำให้ 3 ไตรมาสรวมกันเฉลี่ยแล้วเศรษฐกิจไทยในปี 2562 เติบโตได้ 2.5% จากตัวเลขก็ต้องบอกว่า เราโตต่ำกว่ากรอบล่างที่นักเศรษฐศาสตร์และฝั่งรัฐบาลเองคาดการณ์กันไว้ตั้งแต่ต้นปีแล้ว ซึ่งเป็นผลทำให้ประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจในปีหน้าถูกปรับตัวลดลงด้วย ซึ่งข้อมูลชุดนี้ ตอนออกมาในช่วงเวลาดังกล่าว ตลาดหุ้นดูเหมือนจะไม่ได้ตอบรับในเชิงลบอะไร ทำให้เราก็ลืมกันไปเพราะมันมักจะมีข้อมูลชุดใหม่มาให้เราเสพทุกๆ วัน
จะบอกว่า เหตุผลที่ต่างชาติเริ่มกลับมาไม่ชอบหุ้นไทยอีกรอบ สาเหตุเป็นเพราะการเจรจาการค้าสหรัฐฯ-จีน ที่ยืดเยื้อ ก็ตอบไม่ได้เต็มปาก เพราะวันจันทร์ ตลาดหุ้นเอเชีย ก็ปิดเขียวกันถ้วนหน้า ดัชนีตลาดหุ้นสำคัญทั้งโลกไม่มีตลาดไหนปิดทำการต่ำกว่าราคาปิดเมื่อศุกร์เกิน -1% มีเพียงตลาดหุ้นไทยเท่านั้น เป็นเช่นนี้ ก็หมายถึงว่า เราอาจจะมีความเสี่ยงเฉพาะเกิดขึ้นแล้วสิ
ส่วนหนึ่งที่ทำให้เศรษฐกิจไทยดูจะเหนื่อย ก็คือ ค่าเงินบาท ซึ่งยังอยู่ในโซนแข็งค่าต่อเนื่อง อยู่ที่ 30.275 บาท/ดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งหากย้อนกลับไปเทียบค่าเงินบาทกับภูมิภาคในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ จะพบว่าค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นกว่า 7% ถือเป็นสกุลเงินที่แข็งค่ามากที่สุดในเอเชียไปเรียบร้อย ทำให้ภาคการส่งออกของไทย น่าจะกดดันไปอีกซักพัก อันเป็นผลมาจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงมาอย่างต่อเนื่อง (ส่งออกเราหดตัว แต่นำเข้าเราหดตัวมากกว่า)
ถ้าจะต้องลุ้นอะไรในระยะสั้น ซึ่งอาจเป็นสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และฟื้นความเชื่อมั่นได้บ้าง ก็เห็นจะเป็นตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพ.ย. ซึ่งนักวิเคราะห์คาดกันว่าอาจกระเตื้องขึ้นเล็กน้อย ขณะที่เงินเฟ้อซึ่งต่ำและหลุดกรอบล่างของแบงก์ชาติ ก็อาจเปิดโอกาสให้แบงก์ชาติพิจารณาถึงทางเลือกในการลดดอกเบี้ยนโยบายลงได้อีก แต่โดยส่วนตัวมองว่า ที่ดอกเบี้ยนโยบายระดับ 1.25% ตรงนี้ น่าจะลงไม่ได้แล้ว เพราะเป็นจุดที่ต่ำสุดในประวัติศาสตร์ หากลดลงมากกว่านี้ อาจจะเป็นการส่งสัญญาณไม่ดีต่อตลาดและลดความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจลงไปมากกว่าจะเป็นผลบวกครับ สรุปคือ เศรษฐกิจไทยตอนนี้ หวังมาตรการกระตุ้นจากนโยบายการเงินลำบาก คงต้องมาจากนโยบายการคลังเป็นหลักครับ
ซึ่งหากไปดูฟากการเมือง ปรากฏการณ์สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝั่งรัฐบาลแพ้โหวตให้กับฝ่ายค้าน ด้วยคะแนนเสียง 236 ต่อ 231 เสียง เมื่อวันที่ 27 พ.ย. ที่ผ่านมา ก็แสดงให้เห็นถึงภาพรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ ซึ่งการแพ้ในสภาของฝั่งรัฐบาลเคยเกิดขึ้นมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ทำให้นักลงทุนมองว่า ยิ่งใกล้จะโหวตเสียงเรื่องงบประมาณปีหน้า แล้วเจอความอ่อนไหวแบบนี้ เครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจมีโอกาสจะสตาร์ทช้ากว่าที่ควรจะเป็นหรือไม่ เราคงต้องมาตามดูกัน
ไปดูสถิติตลาดหุ้นไทยในเดือนธ.ค. 5 ปีย้อนหลังที่ผ่านมากัน ก็พบว่า ไม่ใช่เดือนที่ดีของหุ้นไทยเท่าไหร่นัก เพราะนับตั้งแต่ปี 2014 – 2018 เป็นต้นมา เดือนธ.ค. SET Index ให้ผลตอบแทนเป็นบวกได้แค่ 2 ปี คือ ปี 2016 และปี 2017 โดยบวกได้ 2.17% และ 3.32% ตามลำดับ ในขณะที่ปี 2014 (-6.04%), 2015 (-5.27%) และปี 2018 ปีที่แล้ว (-4.75%) ปรับตัวลง และเป็นการปรับตัวลงเฉลี่ยถึง 5.35% ทีเดียว เห็นสถิตินี้ กับบรรยากาศเศรษฐกิจและการเมืองในช่วงนี้ คุณอาจจะรู้สึกเสียวนะครับ แต่มีมุมดีๆ ให้ดูอีกมุม
อย่างแรกเลย ยังไงเสีย จะมีเงินจากการลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษี เข้าไปลงทุนใน LTF & RMF แน่ๆ ในช่วงเดือนธ.ค. นี้ ยิ่ง LTF เชื่อว่า ปีนี้ จะมียอดลงทุนเยอะเป็นพิเศษ เพราะได้รับสิทธิเป็นปีสุดท้ายแล้ว ดังนั้น ขาลง หรือ Downside Risk ของตลาดหุ้นไทย ไม่น่าจะเยอะมาก
อย่างที่สอง ลองย้อนกลับไปดูสถิติย้อนหลังกันอีกที พบว่า เดือนม.ค. นับตั้งแต่ปี 2015 จนถึง 2019 ปีนี้ ดัชนี SET Index กลับมาบวกได้แรงๆ ทุกปีเลย ตามนี้ครับ 2015 (+5.58%), 2016 (+1.01%), 2017 (+2.23%), 2018 (+4.17%) และปี 2019 (+4.98%) หรือบวกเฉลี่ย +3.6% ทีเดียว โอกาสซื้อ อาจจะอยู่แถวๆ นี้นะครับ ลองพิจารณากันดูดีๆ
Mr.Messenger
หลังราคาทองคำปรับตัวขึ้นไปแตะระดับ 1,550 ดอลลาร์ต่อออนซ์ จากนั้นกลับตัวลดลงมาที่ระดับ 1,460 ดอลลาร์ต่อออนซ์ คำถามที่เกิดขึ้นในใจใครหลายคนในตอนนี้ นั่นคือ แนวโน้มราคาจะมีทิศทางอย่างไรต่อ? ประจวบเหมาะกับรายงาน Gold Demand Trends ไตรมาสที่ 3 ของปี 2019 จาก WORLD GOLD COUNCIL ออกมาพอดี (อ่านต้นฉบับได้ ที่นี่) ซึ่งจะนำรายงานดังกล่าวมาเพื่อประกอบการพิจารณาแนวโน้มราคาทองคำในช่วงเวลาต่อจากนี้
รูปที่ 1 ปริมาณความต้องการ (Demand) ทองคำทั่วโลกแต่ละรูปแบบของไตรมาสที่ 3 ปี 2018 และไตรมาสที่ 3 ปี 2019
Source : World Gold Council as of 24/11/2019
ภาพรวมพบว่าความต้องการ (Demand) ทั่วโลกในไตรมาสที่ 3 อยู่ที่ 1,107.9 ตัน ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ประมาณ 1.34% (QoQ) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2018 ที่ 2.66% (YoY) ส่วนการผลิต (Supply) เพิ่มขึ้น 4% (YoY) มาที่ 1,222.3 ตัน และยังเพิ่มขึ้นจาก 1,186.7 ตัน เมื่อไตรมาสที่ 2
รูปที่ 2 ปริมาณการผลิต (Supply) ทองคำแต่ละรูปแบบของไตรมาสที่ 3 ปี 2018 และไตรมาสที่ 3 ปี 2019
Source : World Gold Council as of 24/11/2019
สิ่งแรกที่เห็นจากภาพรวมนอกจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นแล้ว คือ ตลอดไตรมาสที่ 3 ซึ่งราคาทองคำปรับตัวขึ้นมา 12% ทำให้การผลิตทองคำสูงกว่าความต้องการ จึงไม่แปลกที่ช่วงปลายไตรมาส 3 ราคาทองคำจะเริ่มย่อตัวลง
โดยความต้องการ (Demand) สามารถแบ่งย่อยได้เป็น 4 ส่วนย่อย โดยแต่ละส่วนจะมีปัจจัยที่กระทบและความเคลื่อนไหวที่แตกต่างกันอย่างมาก จุดนี้เป็นจุดที่จะชวนมานั่งดูรายละเอียด ทำความเข้าใจ และสรุปแนวโน้มราคาไปด้วยกันครับ
รูปที่ 3 ปริมาณความต้องการ (Demand) ทองคำในรูปแบบ Jewelry ของไตรมาสที่ 3 ปี 2018 และไตรมาสที่ 3 ปี 2019
Source : World Gold Councilas of 24/11/2019
Demand ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2010 โดยลดลงถึง 16% (YoY) ซึ่งในภาคส่วนนี้ประเทศอินเดียและจีนเป็นผู้บริโภคหลัก แต่การบริโภคจากทั้ง 2 ประเทศนี้กลับลดลงอย่างชัดเจน (จากรูปที่ 3) โดยความกังวลการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั้งภายในและทั่วโลก ทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อทองคำเพื่อบริโภคสินค้าที่จำเป็นกว่า
รูปที่ 4 ความต้องการ (Demand) ทองคำในรูปแบบ Jewelry ลดลงต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2010
Source : World Gold Council as of 24/11/2019
อีกส่วนเนื่องจากราคาทองคำโลกที่สูงขึ้นและค่าเงินอ่อนค่า ราคาทองคำจึงยิ่งสูงขึ้นเมื่อคำนวณเป็นราคาทองในสกุลเงินท้องถิ่น ส่วนนี้มีผลให้ผู้บริโภคขายทองคำที่ถืออยู่ออกมาหรือชะลอการซื้อเพิ่ม นอกจากนี้ผู้บริโภคที่เป็นคนรุ่นใหม่ในประเทศจีนหันไปเลือกใช้เงินไปกับการซื้อประสบการณ์มากกว่าทองคำ จริงๆ แล้วก็เห็นชัดมากสำหรับแนวโน้มนี้ เช่น วัยรุ่นนิยมซื้อสินค้าเสื้อผ้าแบรนด์เนมมากกว่าสร้อยคอทองคำ
ความกังวลและความเสี่ยงการเมืองระดับประเทศเป็นปัจจัยหนุนความต้องการ (Demand) ของภาคส่วนนี้ ไตรมาสที่ 3 ตลาดการเงินโลกเผชิญกับประเด็นการค้าและ Brexit หนุนความต้องการเพิ่มขึ้น 110% (YoY)
รูปที่ 5 ปริมาณความต้องการ (Demand) ทองคำในรูปแบบ Investment ของไตรมาสที่ 3 ปี 2018 และไตรมาสที่ 3 ปี 2019
Source : World Gold Council as of 24/11/2019
ดูจากรูปที่ 5 แล้วจะพบว่าความต้องการมาจาก ETF เพียงส่วนเดียว มากไปกว่านั้นความต้องการที่เข้ามาทาง ETF มาจากภูมิภาคอเมริกาเหนือประมาณ 70% นอกจากนี้ นโยบายการเงินเชิงผ่อนคลายยังหนุนความต้องการทองคำจากอเมริกาเหนือเช่นกัน ความต้องการอีกส่วนมาจากประเทศอังกฤษและเยอรมนีที่มีประเด็น Brexit และความกังวลภาวะเศรษฐกิจตามลำดับ
รูปที่ 6 ปริมาณครองทองคำที่ถือครองโดย ETF ทั่วโลก I Source : Bloomberg as of 26/11/2019
ล่าสุดหลังปริมาณทองคำที่ถือครองโดย ETF ทั่วโลกไปแตะระดับสูงสุดเมื่อเดือนตุลาคม ก็เริ่มปรับตัวลดลงเช่นเดียวกับราคาทองคำที่ย่อตัวลงมา เนื่องจากความกังวลต่อประเด็นการค้าลดลงตลอดเดือนพฤศจิกายน
รูปที่ 7 ปริมาณความต้องการ (Demand) ทองคำในรูปแบบ Bar and coin ตั้งแต่ต้นปีถึงสิ้นไตรมาสที่ 3
Source : World Gold Council as of 24/11/2019
ส่วนประเทศจีนและอินเดียจะไม่นิยมถือครองทองคำผ่าน ETF แต่จะซื้อเป็น Bar and coin เพื่อการลงทุน และความต้องการก็ลดลงไปอย่างชัดเจน โดยผู้บริโภคในจีนถูกกดดันด้วยความกังวลด้านเศรษฐกิจ ส่วนราคาทองคำในสกุลเงินรูปีของอินเดียที่สูงขึ้นมามากและตลาดหุ้น (BSE SENSEX) ที่กลับมาคึกคักในปีนี้ เป็น 2 ปัจจัยกดดันความต้องการจากประเทศอินเดีย
รูปที่ 8 ปริมาณความต้องการ (Demand) ทองคำจากธนาคารกลางของไตรมาสที่ 3 ปี 2018 และไตรมาสที่ 3 ปี 2019
Source : World Gold Council as of 24/11/2019
แรงซื้อจากธนาคารกลางอยู่ที่ 224.4 ตัน (+47%, YoY) เมื่อไตรมาสที่ 2 ของปี ขณะที่แรงซื้อในไตรมาสที่ 3 กลับมาที่ 156.2 ตัน ลดลง 38% (YoY) ถือว่าเป็นไตรมาสที่มีแรงซื้อจากธนาคารกลางในระดับปานกลาง แต่เนื่องจากไตรมาส 3 เมื่อปี 2018 เป็นไตรมาสที่มีแรงซื้อเข้ามามากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2010 จึงสร้างฐานที่สูงมาก จึงไม่ใช่เรื่องน่าตกใจที่แรงซื้อลดลงถึง 38% (YoY)
รูปที่ 9 ปริมาณความต้องการ (Demand) ทองคำของธนาคารกลางตั้งแต่ต้นปีถึงสิ้นไตรมาสที่ 3
Source : World Gold Council as of 24/11/2019
หากนับตั้งแต่ต้นปีจนถึงสิ้นไตรมาสที่ 3 แรงซื้อสุทธิจากธนาคารกลางทั่วโลกเพิ่มขึ้น 12% จากช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปีก่อน
โดยธนาคารกลางที่มียอดซื้อสุทธิจะเป็นธนาคารกลางในกลุ่มประเทศที่ต้องการกระจายทุนสำรองระหว่างประเทศออกจากค่าเงินดอลลาร์ อย่าง จีน รัสเซีย และตุรกี อย่างไรก็ตาม ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาเป็นเดือนที่ธนาคารกลางจีนไม่ได้ซื้อเพิ่มเป็นเดือนแรกหลังซื้อเพิ่มมาตลอด 10 เดือน
รูปที่ 10 ปริมาณการถือครองทองคำในทุนสำรองของประเทศจีน I Source : Bloomberg as of 27/11/2019
รูปที่ 11 ปริมาณความต้องการ (Demand) ทองคำจากอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของไตรมาสที่ 3 ปี 2018 และไตรมาสที่ 3 ปี 2019
Source : World Gold Council as of 24/11/2019
ความต้องการ (Demand) จากภาคอุตสาหกรรมลดลงในอัตราใกล้เคียงกับไตรมาส 2 ที่ -4% (YoY) โดยความต้องการเพื่อผลิตหลอดไฟ LED และชิปกลุ่ม Memory ซึ่งผู้ผลิตรายใหญ่ คือ Samsung และ Micron เผชิญกับปีที่ความต้องการชิปลดลง อย่างไรก็ตามความต้องการได้ลดลงในอัตราเท่าเดิม นอกจากนี้เริ่มมีสัญญาณเชิงบวกในอุตสาหกรรม Smartphone และชิป ดังนั้นความต้องการทองคำในส่วนนี้ไม่น่าจะลดลงในอัตราที่สูงขึ้น หรือในแง่ดีก็จะได้เห็นความต้องการมีแนวโน้มฟื้นตัว
ในขณะเดียวกัน มีความต้องการทองคำจากอุตสาหกรรมผลิดอุปกรณ์ไร้สายที่ต้องใช้ในอุปกรณ์ 5G ซึ่งความต้องการเพิ่มขึ้น 30-40% (YoY) โดยสอดคล้องกับผลประกอบการบริษัทในกลุ่มผู้ผลิตชิปกลุ่มนี้ อาทิเช่น Taiwan Semiconductor
หากพิจารณาภาพรวมแล้วพบว่าแนวโน้มความต้องการทองคำจากภาคส่วนนี้มีแนวโน้มที่ดีขึ้น จากภาพรวมเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว และความต้องการจากกลุ่ม 5G ที่กำลังเพิ่มขึ้นตามเทรนด์เทคโนโลยีในปีหน้า ซึ่งสะท้อนผ่านผลประกอบการบริษัทออกมาแล้ว
รูปที่ 12 ปริมาณการผลิต (Supply) ทองคำแต่ละช่องทางของไตรมาสที่ 3 ปี 2018 และไตรมาสที่ 3 ปี 2019
Source : World Gold Council as of 24/11/2019
ด้วยราคาทองคำที่เพิ่มขึ้นทำให้การผลิตเพิ่มขึ้นตามมา โดยไตรมาสที่ 3 เพิ่มขึ้น 4% (YoY) อย่างไรก็ตาม การผลิตที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่กลับมาจากการ Recycle ที่เพิ่มขึ้นถึง 10% (YoY) ซึ่งเป็นแนวโน้มเช่นเดียวกับไตรมาสก่อน ส่วนการผลิตจากเหมืองกลับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยที่ 1% (YoY) ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกเนื่องจากการเพิ่มกำลังการผลิตจากเหมืองแร่ไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้ในทันทีเหมือนกับโรงงาน Recycle ที่มี Capacity เหลืออยู่ ทำให้เพิ่มกำลังการผลิตได้ในทันที
รูปที่ 13 ปริมาณการผลิตทองคำในรูปแบบ Recycle นับตั้งแต่ปี 2014 ถึงไตรมาสที่ 3 ปี 2019
Source : World Gold Council as of 24/11/2019
ผ่านมาทั้งหมดสำหรับ 5 ปัจจัย Demand – Supply เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของราคาทองคำแล้ว พบว่าแม้แรงหนุนจากความเสี่ยงการเมืองระหว่างประเทศ ความกังวลต่อภาพรวมเศรษฐกิจ แต่การผ่อนคลายนโยบายการเงินที่พร้อมหนุนความน่าสนใจของทองคำ
อย่างไรก็ตาม ความไม่สงบของการเมืองระหว่างประเทศ ความกังวลด้านเศรษฐกิจ ค่าเงินที่อ่อนค่า อีกทั้งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจไม่ได้เกิดขึ้นและจางหายไปได้รวดเร็วเหมือนความกังวล จึงยังคงแรงกดดันต่อความต้องการทองคำที่เป็นรูปแบบ Physical ผ่านกลุ่ม Jewelry และการลงทุนผ่าน Bar and coin ซึ่งประเทศทางฝั่งเอเชียนิยมครอบครองในรูปแบบนี้
ดังนั้นแนวโน้มราคาทองคำอาจไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างที่เป็นมาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าราคาจะลดลงในทันที เพราะตราบใดที่ยังมีชายที่ชื่อว่า ทรัมป์ เมื่อนั้นความไม่แน่นอนยังเกิดขึ้นได้เสมอ นักลงทุนจึงควรมีสัดส่วนลงทุนในทองคำที่ระดับ 10-20% ของพอร์ตการลงทุน
CrisisMan
ติดตาม CrisisMan ได้ที่เพจ https://www.facebook.com/MrCrisisman/
ข้อมูลอ้างอิง
https://www.gold.org/goldhub/research/gold-demand-trends/gold-demand-trends-q3-2019
คำเตือน
ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
พิเศษ!! คุณสามารถติดตามราคาทองคำแบบ Real-Time ได้แล้ววันนี้ที่ FINNOMENA MONEY ผ่านแอปพลิเคชั่น LINE
https://finno.me/money
ประกาศอย่างเป็นทางการเรียบร้อยสำหรับกองทุนกองใหม่ที่จะมาแทน LTF ในปีหน้า ที่ใช้ชื่อว่า “SSF”
*LTF ยังคงให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในปี 2562 นี้ แต่ในปี 2563 เป็นต้นไปจะไม่สามารถนำมาลดหย่อนได้
ทองคำคือสินทรัพย์ยอดนิยมที่เป็นความฝันของคนไทยทั้ง 70 ล้านคน อย่างไรก็ตามคนไทยส่วนใหญ่ยังซื้อ-ขายทองโดยไม่มีหลักการ ทำให้ขาดทุนและเสียโอกาสไปมากมาย วันนี้จะมาขอแบ่งปันเทคนิคของนักลงทุนหลายๆ ท่านที่มีการลงทุนในทองคำ
1. โดยเฉลี่ยของทุกๆ ปี ทองคำมักจะราคาขึ้นช่วงต้นเดือนมกราคมและต้นเดือนกรกฏาคม และมักจะราคาลงช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์-ต้นเดือนมีนาคม ดังนั้นถ้าใครคิดจะซื้อทองช่วงที่ดีที่สุดคือเดือนกรกฎาคมและมกราคม นอกจากนั้นราคาทองคำยังไม่ค่อยลงต่ำกว่าราคาของเดือนมกราคมดังนั้นถ้าปีไหนราคาทองตกลงมาเท่าราคาของเดือนมกราคม โอกาสที่คุณจะซื้อทองแล้วขาดทุนมีน้อยมาก (ข้อมูลจาก BundesBank)
2. ราคาทองสมาคมไม่ได้ Update ตลอดเวลา อัพเดทเป็นช่วงๆ ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงสำหรับคนที่กำลังจะซื้อหรือขายทองคำ พลาดราคาไปชั่วโมงเดียวมีโอกาสขาดทุนหลายหมื่นได้ ตามปริมาณการซื้อ เยอะ-น้อยต่างกันไป ใครอยากดูราคาทองคำ Update ตลอดเวลาตอนนี้ LINE เขามีให้ดูแล้วที่หน้า FINNOMENA MONEY ครับ (https://finno.me/money) ติดตามไว้ก่อนซื้อ-ขายทองจะได้ไม่ต้องขาดทุน
3. ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่ใช้ในการลงทุนช่วงตลาดผันผวนที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าสินทรัพย์อย่างพันธบัตรรัฐบาลและใกล้เคียงกับหุ้นในระยะยาวเลยทีเดียว ถ้าถือทองคำ 10-20 ปีจะมีโอกาสได้ผลตอบแทนต่อปี 8-10% เลยทีเดียว
4. ถ้าเงินถึงควรซื้อทองแบบเป็นแท่งมากกว่าแบบที่แปรรูปเป็นเครื่องประดับแล้ว เรียกกันในวงการว่าทองรูปพรรณ การซื้อทองคำแท่งจะโดนค่ากำเหน็จในการแปรรูปที่ต่ำกว่า นอกจากนั้นการเก็บเป็นแท่งยังเก็บง่ายกว่ามากด้วย ด้วยเหตุนี้ทองคำจึงออกมาเป็นรูปแบบของแท่งที่สามารถตั้งซ้อนๆ กันได้
5. ยิ่งซื้อทองที่มีมูลค่าสูงยิ่งมีค่ากำเหน็จต่ำลง แต่ก็มีข้อเสียคือ แบ่งขายลำบาก, หาคนซื้อต่อได้ยาก และมีโอกาสเจอของปลอมสูงขึ้น เนื่องจากคนที่ทำทองปลอมก็มักจะทำออกมาเป็นแท่งขนาดใหญ่เพื่อให้ได้มูลค่ามากๆ นั่นเอง นอกจากนั้นการขายทองแท่งใหญ่ๆ ยังจำเป็นต้องมีการตรวจสอบก่อนซื้อ และแน่นอนตามมาด้วยค่าตรวจสอบ
6. เอาทองคำไทยไปขายต่างประเทศกดราคา เพราะไม่ได้มาตรฐานตามบ้านเขา ทองไทยบริสุทธิ์ 96.5% ทองต่างประเทศบริสุทธิ์ 99.99% ที่สำคัญถ้าอยากนำไปขายต่างประเทศต้องเป็นแบรนด์ที่ได้รับการรองรับจาก LBMA หรือสมาคมตลาดทองคำแห่งลอนดอน
7. กฎเหล็กในการซื้อ-ขายทองคือซื้อที่ไหนควรขายที่นั่นเพื่อไม่ให้เจอปัญหาการกดราคา
8. ตามหลักการแล้วทองคำแท่งเป็นสินค้าที่ “ต้องห้าม” ในการนำออกไปขายต่างประเทศ แต่ก็มีการนำออกไปกันบ้าง โดยถ้าอยากขายทองในต่างประเทศ ที่ที่ขายง่ายที่สุดคือ China Town ของแต่ละประเทศนั่นเองครับ
9. ทองลงทุนเป็นทองคำดิจิตอลได้แล้ว คล้ายๆ กับการซื้อ-ขายสัญญาส่งมอบทองคำ ค่าธรรมเนียมถูกกว่าค่ากำเหน็จเยอะ ทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและลง แถมยังมั่นใจได้ว่าเป็นทองคำแท้ๆ แน่นอน
FINNOMENA Admin
พิเศษ!! คุณสามารถติดตามราคาทองคำแบบ Real-Time ได้แล้ววันนี้ที่ FINNOMENA MONEY ผ่านแอปพลิเคชั่น LINE
https://finno.me/money
ตอน “สงครามการค้าระอุ หลังทรัมป์ลงนามร่างกฎหมายสนับสนุนฮ่องกง”
ติดตามบทความ FINNOMENA Weekly Market Insight
ทุกสัปดาห์ได้ที่ LINE ID : @FINNOMENA
หรือ FINNOMENA YOUTUBE : https://www.youtube.com/playlist?list=PLhZeb_wAvs-eAO-7uCAPL3qdafeXYhu7f
หุ้นที่มีราคาวิ่งขึ้นหวือหวาร้อนแรงมาก ๆ ในช่วงเวลาอันสั้นนั้น เกือบทั้งหมดต่างก็มักจะมี “Story” หรือเรื่องราวที่น่าตื่นเต้น ฟังแล้วก็จะรู้สึกประทับใจ คนที่ “ไร้เดียงสา” หรือแม้แต่คนที่คิดว่ามีประสบการณ์มาเพียงพอก็อาจจะยัง “เคลิ้ม” จนต้อง “เสพ” หรือดื่มด่ำกับเรื่องราวดังกล่าวและคิดว่ามันเป็นเรื่องจริง เป็นความฝันที่จะกลายมาเป็นความจริงและชีวิตของตนก็จะมีแต่ความสุข แต่สำหรับผมเองแล้ว ประสบการณ์ที่พานพบมาต่อเนื่องยาวนานบอกผมว่า เรื่องราวความเป็นจริงที่ตามมานั้น ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้เป็นไปตามสตอรี่ที่สร้างหรือวาดภาพขึ้นมา มันเป็นแค่ “Fairy Tale” หรือ “เทพนิยาย” ในตลาดหุ้นที่มีการเขียนขึ้นมาอย่างดีสุดยอดที่ทำให้คนอ่านเกิด “จินตนาการ” หรือ “ฝันไป” กับเรื่องราว “สุดวิเศษ” เหล่านั้นชั่วขณะ อาจจะคล้าย ๆ กับผู้หญิงจำนวนมากที่อ่านเทพนิยายเรื่องซินเดอร์เรลล่าแล้วฝันว่าตนเองจะเป็นเหมือนซินเดอร์เรลล่าที่จะได้แต่งงานกับเจ้าชายทั้ง ๆ ที่ในชีวิตจริงนั้นแทบจะไม่เกิดขึ้นเลย ลองมาดูกันว่าในช่วงเร็ว ๆ นี้เรามี “เทพนิยาย” เรื่องอะไรบ้าง
เทพนิยายเรื่องแรกและน่าจะเป็นเรื่องที่สร้างจินตนาการได้สุดยอดมีคนติดตามกันมากและเคลิบเคลิ้มไปทั้งตลาดก็คือการที่หุ้นขนาดเล็ก-กลางที่อยู่ในกลุ่มผู้บริโภคที่มียี่ห้อโดดเด่นหรือมีแนวทางการขายแบบใหม่และพุ่งเป้าสู่ “ตลาดโลก” หรือนักท่องเที่ยวชาวจีนซึ่งเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จะเติบโตแบบก้าวกระโดดและอาจจะกลายเป็น “ผู้เล่นระดับโลก” ดังนั้น ราคาหุ้นก็สามารถวิ่งขึ้นไปได้เป็นหลาย ๆ เท่าหรือเป็นสิบเท่าได้ในระยะเวลาไม่กี่ปี Market Cap. ระดับแสนล้านบาทก็ไม่ถือว่าแพง
ความเป็นจริงก็คือ หลังจากการเติบโตอย่างรวดเร็วไม่เกิน 2-3 ปี กำไรก็เริ่มสะดุด แผนการหรือโครงการที่จะขยายธุรกิจประสบอุปสรรคไม่เป็นไปตามคาด กำไรถดถอยลงเนื่องจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น สิ่งที่พูดไว้ถูกดัดแปลงหรือปรับใหม่ บางกรณี “สตอรี่ใหม่” ก็ตามมา แต่ความน่าเชื่อถือก็หมดไป ราคาหุ้นตกลงมาอย่างหนักเหลือเท่ากับราคาก่อนที่จะขึ้นไปหรือต่ำกว่า หลายคน “ตื่นจากความฝัน”
เทพนิยายต่อมาเป็นเรื่อง “ความฝันแห่งภาคตะวันออก” หรือเขตเศรษฐกิจ EEC ของรัฐบาล ว่ามันจะทำให้เกิดการลงทุนและการใช้พื้นที่โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ในภูมิภาคตะวันออกหลายจังหวัดในระยะเวลาอันสั้นไม่กี่ปี ความเป็นจริงดูเหมือนว่าจะมาช้ากว่าที่คิดมากหรือบางทีมันอาจจะไม่มาเลยก็ได้โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึง Supply หรือคู่แข่งทั้งเก่าและใหม่ที่อาจจะเริ่มสร้างกำลังการผลิตหรือนิคมอุตสาหกรรมเพิ่ม ราคาหุ้นที่เกี่ยวข้องกับ EEC บางตัวก็มีการปรับขึ้นไปบ้างในตอนแรก ๆ ของการรณรงค์ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ดูเหมือนว่าหุ้นในกลุ่มที่จะได้ประโยชน์จาก EEC แทบจะไม่ไปไหน จำนวนมากตกลงมาด้วยซ้ำ ถ้าจะพูดไป เทพนิยายเรื่องนี้ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นที่นิยมมากเท่าที่คิดตั้งแต่แรก ๆ ด้วยซ้ำ
เรื่องของการสร้างสาธารณูปโภคของรัฐนั้นน่าจะเป็น Fairy Tale มานานพอสมควร “เราจะมีโครงการใหม่ ๆ เป็นแสน ๆ ล้านบาท” รถไฟ สนามบิน ท่าเรือ รถไฟฟ้าในเมืองและระหว่างเมือง เป็นต้น ดังนั้นธุรกิจเช่นรับเหมาก่อสร้างและโครงการที่เกี่ยวข้องจะได้ประโยชน์มหาศาล อย่างไรเสียรับเหมารายใหญ่ ๆ ก็จะต้องได้งานมากมายจนทำไม่ไหวและจะได้กำไรดีเพราะงานมากไม่ต้องแข่งขันด้านราคามาก ในช่วงแรกก็ดูเหมือนว่าหุ้นบางบริษัทก็ปรับตัวขึ้น อย่างไรก็ตาม เวลาผ่านไปโดยที่โครงการเกิดช้ากว่าที่คิด เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ บริษัทรับเหมาจากต่างชาติเข้ามาแข่ง งานในมือที่คิดว่าจะมากขึ้นเรื่อย ๆ นั้นกลับน้อยลง ราคาหุ้นตกต่ำลง และคนที่เคยเล่านิทานเรื่องนี้ก็หายหน้าจากไป
เรื่องของเมกาเทรนด์นั้นก็น่าจะเป็น “เทพนิยาย” เหมือนกัน เช่น คนไทยแก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเรื่องที่เกี่ยวกับสุขภาพโดยเฉพาะโรงพยาบาลจะได้ประโยชน์ ดังนั้น หุ้นของโรงพยาบาลทุกรูปแบบรวมถึงที่เกี่ยวกับฟันก็วิ่งขึ้นไปหรือมีคนสนใจเข้าไปลงทุนกันมาก ค่า PE ดูเหมือนจะสูงลิ่วระดับ 30-40 เท่าขึ้นไปกันเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อเวลาผ่านมาจนถึงวันนี้ดูเหมือนว่าการเติบโตของยอดขายและกำไรของโรงพยาบาลก็ไม่ได้ดูโดดเด่น โรงพยาบาลที่เคยเป็นสุดยอดและแข่งขันได้ในระดับสากลมีลูกค้าต่างชาติจำนวนมากกลับไม่เติบโตหรือโตน้อย คำแก้ตัวนั้นมีหลายอย่างรวมถึงค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลท้องถิ่นเองก็ไม่ได้ดูดีอะไรนักในแง่ของผลประกอบการ อย่างมากที่เห็นก็คือ โรงพยาบาลก็โตพอ ๆ กับเศรษฐกิจหรือดีกว่าก็เพียงเล็กน้อย หุ้นโรงพยาบาลที่เคยร้อนแรงตอนนี้ก็นิ่งหรือบางตัวก็ลงมาแรงพอสมควร
โรงแรมที่เคยเป็นหุ้นกลุ่มยอดนิยมเหมือนกันเนื่องจากมันก็อยู่ใน “เมกาเทรนด์” หลังจากที่คนจีนเริ่มออกมาเที่ยวต่างประเทศโดยเฉพาะเมืองไทยเมื่อซัก 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเองก็ดูเหมือนว่าจะโดดเด่นขึ้นกลายเป็นประเทศหรือเมืองที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลกในระดับสูง “เทพนิยาย” เรื่องการท่องเที่ยวและโรงแรมถูกแต่งขึ้นและนักลงทุนต่างก็เคลิบเคลิ้มว่ามันคือธุรกิจที่สุดยอดและจะเติบโตไปอีกมาก หุ้นโรงแรมวิ่งขึ้นไปแรงและสูงมาก บางตัวกลายเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” ที่มีมูลค่าตลาดของหุ้นมหาศาล แต่ดูเหมือนว่าการเติบโตที่รวดเร็วนั้นก็ชะลอลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ น่าจะมีโรงแรมใหม่ ๆ เปิดขึ้นมากไม่ต้องพูดถึง “ที่พัก” จากแอร์บีเอ็นบีและอพาร์ตเม้นต์ที่เพิ่มขึ้นมาไม่หยุดหย่อนที่ทำให้กำไรของบริษัทจดทะเบียนไม่ได้โตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
หุ้นกลุ่มผู้ขายสินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศในยามที่เศรษฐกิจค่อนข้างซบเซาเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำลงในช่วงนี้ต่างก็ได้รับการแนะนำว่าจะได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและดังนั้นก็เป็นหุ้นกลุ่มที่ควรซื้อลงทุน แต่นี่ก็น่าจะเป็นเทพนิยายอีกเช่นกัน เพราะตัวเลขยอดขายของบริษัทจดทะเบียนกลุ่มค้าปลีกแทบจะไม่เติบโตเลย เหตุผลก็ชัดเจน ตัวเลขเม็ดเงินที่ใช้นั้นเทียบไม่ได้กับตัวเลขรวมของการใช้จ่ายปกติที่เป็นอยู่
Fairy Tale ไม่ใช่มีเฉพาะตลาดหุ้นไทย ในตลาดหุ้นอเมริกาเองนั้นก็มี และที่เล่ากันเป็นประจำทุกครั้งที่ตลาดร้อนแรงและบริษัทจดทะเบียนขยายตัวโดยการเข้าควบรวมกิจการบริษัทอื่น ๆ เป็นจำนวนมากเพราะคาดหวังว่าจะทำให้บริษัทเติบโตและมีกำไรเพิ่มขึ้นรวดเร็ว แต่ “เทพนิยาย” เรื่องนี้ก็มักไม่เป็นจริง เพราะหลังจากนั้น ธุรกิจที่ซื้อมาก็มักจะ “เน่า” ผู้บริหารที่เข้ามาใหม่ก็ต้องขายกิจการทิ้ง ซึ่งทำให้วอเร็น บัฟเฟตต์ พูดเปรียบเปรยว่ามันเหมือนเทพนิยายเรื่อง “เจ้าชายกบ” ที่เป็นเรื่องของเจ้าหญิงที่จูบเจ้าชายที่ถูกแม่มดสาบให้เป็นกบแล้วเจ้าชายก็ฟื้นกลับขึ้นมา บัฟเฟตตบอกว่าเจ้าหญิงก็คล้ายกับผู้บริหารที่คิดว่าตนเองสามารถมองหากบหรือกิจการเน่าที่ถูกสาบแล้วฟื้นมันขึ้นมาได้ แต่ในชีวิตจริง มันไม่มี จูบกบกี่ตัวมันก็ยังเป็นกบอยู่นั่นเองไม่เป็นเจ้าชายอย่างที่หวัง
ในตลาดหุ้นไทยเองนั้น หุ้นกลุ่มที่ถูกอ้างว่าเป็น “หุ้นโตเร็ว” ที่มักเป็นกลุ่มที่มีรายได้และกำไรโตเร็วในช่วงเร็ว ๆ นี้ ก็มักเป็น “เทพนิยาย” ที่เป็นเรื่องของจินตนาการ เพราะมันมักจะโตเร็วเฉพาะในช่วงเวลานั้นและเกิดขึ้นเพราะสถานการณ์เอื้ออำนวย ไม่ใช่เรื่องของการโตจากพื้นฐานของบริษัทและเมกาเทรนด์ แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป การเติบโตเร็วก็หยุดลง กลายเป็นเติบโตธรรมดาหรือโตช้า บางบริษัทลดลงด้วยซ้ำ ดังนั้น ราคาของหุ้นที่วิ่งขึ้นไปมากเพราะคนฟังนิยายเชื่อและแห่กันมาซื้อก็จะตกลงมาอย่างแรงเหมือนกับนางฟ้าตกสวรรค์เพราะคนต่างก็แห่ขายหุ้นทิ้ง
ในฐานะที่เป็น Value Investor การฟังเรื่องราวต่าง ๆ ของบริษัทจดทะเบียนหรือเรื่องเกี่ยวกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในตลาดหุ้น เราจะต้องระมัดระวังว่ามันเป็นเรื่องที่มีความเป็นจริงสูงหรือเป็น “เทพนิยาย” ที่มีเนื้อเรื่องน่าประทับใจแต่เป็นเรื่องของจินตนาการที่มีโอกาสเป็นไปได้น้อย เพราะถ้าเราวิเคราะห์ผิด โอกาสที่จะเสียหายก็จะสูง
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ที่มาบทความ: https://portal.settrade.com/blog/nivate/2019/12/02/2245
“ปรัชญาการบริหารธุรกิจแบบญี่ปุ่น ที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตอย่างต่อเนื่อง และยืนหยัดฝ่าทุกมรสุมได้ยาวนาน”
Financial Book Podcast รายการที่จะมานำเสนอไอเดีย มุมมอง แง่คิดต่างๆ จาก “หนังสือที่นักลงทุนควรอ่าน” ดำเนินรายการโดย พี่แบงค์ Mr.Messenger และ เพชร รตะ โพอุทัย
ติดตาม FINNOMENA PODCAST
App Spotify
https://finno.me/spotify
App Google podcasts
https://finno.me/googlepodcast
Apple podcast
https://finno.me/applepodcast
App Soundcloud
https://finno.me/soundcloud
Podbean
https://finno.me/podbean
Youtube
https://finno.me/youtubepodcast
หลังจากวิกฤตซับไพร์มและวิกฤตยูโรผ่านมา 10 ปี ต้องยอมรับว่าประสิทธิภาพของนโยบายการเงินของบรรดาธนาคารกลางต่างๆ เริ่มลดลง ไม่ว่าจะเป็นการดื้อยาของระบบเศรษฐกิจเองและอัตราดอกเบี้ยของเส้นโค้งอัตราดอกเบี้ยในประเทศต่างๆ ที่ใกล้ระดับศูนย์เข้าไปทุกที
นาทีนี้ หลายประเทศจึงหันเล็งมาที่นโยบายการคลังเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจแทน อย่างไรก็ดี อย่างที่ทราบกันว่า หลายประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป ค่อนข้างที่จะมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อหนี้ของภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะใช้อัตราส่วนหนี้ต่อจีดีพีของประเทศเป็นเครื่องชี้วัดว่าประเทศนั้น สมควรจะกระตุ้นเศรษฐกิจต่อหรือไม่ จึงทำให้ไม่ได้รับความนิยม รวมถึงประสิทธิภาพในการใช้นโยบายการคลังไม่ได้เป็นไปได้ด้วยดีอย่างที่ควรจะเป็น
ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ชั้นครู อย่างพอล และ คริสติน่า โรเมอร์ ได้เขียนบทความงานวิจัยที่พิสูจน์ว่าประเทศที่มีอัตราส่วนหนี้ต่อจีดีพีต่ำ จะสามารถทนทานต่อวิกฤตเศรษฐกิจได้ดีกว่าประเทศที่มีอัตราส่วนดังกล่าวต่ำ สาเหตุหลักมิใช่ว่าประเทศที่มีหนี้เยอะ แล้วจะไม่สามารถกระตุ้นผ่านนโยบายการคลังด้วยเหตุผลในทางเศรษฐศาสตร์ ทว่าส่วนหลักมาจากเหตุผลจากผู้มีอำนาจในการตัดสินเชิงนโยบายของประเทศเหล่านี้ ตัดสินใจไม่ทำการกระตุ้นผ่านนโยบายการคลังมากกว่า
มูลเหตุจูงใจของการไม่กระตุ้นผ่านนโยบายการคลังของพวกเขาเหล่านั้น มีอยู่หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นความยากในทางการเมืองที่จะผ่านการกระตุ้นด้วยนโยบายการคลัง การที่สหภาพยุโรป (อียู) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เยอรมัน มีการตั้งธงไว้ก่อนบนสมมติฐานที่ว่าต้องใช้นโยบายรัดเข็มขัด (Austerity) เป็นหลักแรกๆ ในการบริหารเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ หรือแม้แต่หลักวิชาการเศรษฐศาสตร์เอง ที่มองนโยบายการเงินในเชิงที่บวกกว่านโยบายการคลัง โดยเฉพาะในมิติของผลข้างเคียงต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจในอนาคต
ในช่วงปีนี้ มีแนวคิดจากกูรูทางเศรษฐกิจหลายท่าน ไม่ว่าจะเป็น โอลิเวียร์ แบลงชาร์ด อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของไอเอ็มเอฟ ที่วิเคราะห์ว่าภายใต้บรรยากาศอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมากในขณะนี้ แทบจะไม่ต้องกังวลว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของรัฐบาลจะสูงว่าอัตราการเติบโตของหนี้ภาครัฐ อันเป็นเงื่อนไขของความไม่ยั่งยืนของการก่อหนี้ภาครัฐ หรือ ลอว์เรนซ์ ซัมเมอร์ส อดีตรัฐมนตรีคลังสหรัฐ ที่ประเมินว่าเศรษฐกิจโลก ณ นาทีนี้ ถือว่าติดหล่มของภาวะเศรษฐกิจหยุดนิ่งแบบลากยาว หรือ Secular Stagnation โดยเขาแนะนำว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางต้องติดลบถึง 4% เพื่อที่จะลากดึงเศรษฐกิจโลกกลับมาสู่ภาวะปกติ ด้วยความไม่เห็นพ้องของธนาคารกลางสหรัฐในปัจจุบันที่ยืนยันว่าจะไม่ยอมใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบ หนทางเดียวที่ทำได้ในตอนนี้ คือ การใช้นโยบายการคลังในการกระตุ้นเท่านั้น
อย่างไรก็ดี ความยากลำบากในการใช้นโยบายการคลังแก้ปัญหาเศรษฐกิจ คือ กว่าจะผ่านสภาออกมาได้ มาตรการกระตุ้นนี้ก็ถูกลดทอนลงทั้งในแง่ของมูลค่าการกระตุ้น และ ความล่าช้าของเวลาในการดำเนินนโยบายได้จริง
ที่เป็นกระแสมากขึ้นเมื่อเดือนที่แล้ว คือเริ่มมีการพูดถึงสิ่งที่เรียกกันว่า Sahm’s Rule ที่ถือว่าเป็นนโยบายการคลังประเภท Automatic Stabilizer หรือการใช้นโยบายการคลังแบบที่จะเข้าโหมดผ่อนคลาย ผ่านการลดภาษีและเพิ่มงบภาครัฐ ในทันทีที่เห็นว่าสัญญาเศรษฐกิจจะชะลอตัวกว่าเดิม โดยการการช่วยเหลือประชาชนผ่านการกระตุ้นงบภาครัฐ มักจะทำผ่านช่องทางต่างๆ อาทิ ‘การโอนเงิน’ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลประโยชน์ในยามว่างงาน ‘safety-net’ program หรือการสนับสนุนทางการเงินต่อการดำรงชีพขั้นต่ำ ผ่าน แสตมป์อาหาร เงินโอนสู่ผู้ยากไร้ และเงินช่วยเหลือต่อผู้พิการ
ทั้งนี้ Sahm’s Rule มาจากนักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟด ที่มีนามว่า เคลาเดีย ซาห์ม โดยเธอได้เสนอให้ใช้ส่วนต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของอัตราการว่างงานย้อนหลัง 3 เดือน ลบด้วยอัตราการว่างงานเฉลี่ย 12 เดือนย้อนหลัง ดังรูปโดยหากส่วนต่างนี้เกิน 0.5 หมายความว่าต้องมีการใช้นโยบายการคลังแบบผ่อนคลายช่วยเศรษฐกิจ ผ่านการกระตุ้นของงบภาครัฐผ่านช่องทางต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น โดยจะเห็นได้ว่า Sahm’s Rule สามารถคาดการณ์วิกฤตดอตคอมปี 2001 และ วิกฤตซับไพร์มปี 2018 ได้แม่นยำ
จากการวิเคราะห์ พบว่าหากใช้ Sahm’s Rule ในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจสหรัฐหลังวิกฤตซับไพร์ม จะทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สามารถดำเนินไปได้ด้วยดีกว่าที่ผ่านมา เนื่องจากหากใช้กฎดังกล่าว จะทำให้ชาวสหรัฐจะกล้าใช้จ่ายเมื่อมีรายได้มากขึ้นกว่าที่ผ่านมา
โดยล่าสุด ตัวเลขสถิติของ Sahm’s Rule ได้กลายเป็นดัชนีที่ไว้คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่อยู่ในข้อมูล FRED ของเฟดสาขาเซนต์หลุยส์ โดยได้นำมาเป็นส่วนหนึ่งของรายงานเศรษฐกิจสหรัฐที่นำมาเผยแพร่ในเว็บไซต์ของเฟดทุกเดือนแล้ว จะเห็นได้ว่าแนวโน้มของการแจกเงินจากภาครัฐมีอยู่ทั่วโลกในปี 2020 ครับ
MacroView
ที่มาบทความ: https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/648836
ปีนี้โครงการ LINE ScaleUp มีสตาร์ตอัพเข้าร่วมทั้งหมด 6 เจ้า ซึ่งเป็นบริษัทที่ผ่านการคัดเลือกเข้ามาแล้ว เรามาทำความรู้จักพวกเขากันเลยว่าทำอะไรกัน และมีจุดเด่นอย่างไรบ้าง?
ติดตามแต่ละบริษัทได้ที่
http://www.chococard.co.th
https://www.claimdi.com/
https://www.finnomena.com
https://www.gowabi.com
https://seekster.co/
https://www.tellscore.com
ติดตามโครงการ LINE ScaleUp ได้ที่
https://scaleup.line.me
หนึ่งในข่าวใหญ่ที่ทั่วโลก และชาวไทยจับตากันมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ช่วงกลางปีก็คือ การชุมนุมใหญ่ในฮ่องกง ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากความไม่ไว้วางใจของชาวฮ่องกงต่อรัฐบาล และระบบยุติธรรมของจีน ที่มีท่าทีว่าอยากให้ฮ่องกงนั้นกลับเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของจีนแบบ 100% ก่อนกำหนด ที่ล่าสุดนั้นทวีความร้อนแรง ทั้งจากในฟากฝั่งสหรัฐฯ ที่ผ่านกฏหมายสนับสนุนประชาธิปไตยในฮ่องกง และในฝั่งจีนที่สวนกลับมาชนิดไม่ไว้หน้า แล้วเหตุการณ์ดังกล่าวนั้น มีความเป็นมา และจะเป็นไปอย่างไร เชิญติดตามอ่านได้เลย
เดิมทีนั้นฮ่องกงเป็นส่วนหนึ่งของจีนโดยชอบธรรม ก่อนที่อังกฤษจะทำสัญญาเช่าปกครองฮ่องกงนานถึง 99 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2441 ส่งผลให้รูปแบบการปกครองของฮ่องกงต่างจากประเทศจีน แผ่นดินใหญ่โดยสิ้นเชิง โดยในส่วนของฮ่องกงนั้นระบอบการปกครองจะอยู่ในรูปแบบของประชาธิปไตย และมีระบอบการค้าแบบทุนนิยมเสรี ส่งผลให้เศรษฐกิจของฮ่องกงเติบโตกลายเป็นเมืองท่าและศูนย์กลางทางการเงินของจีนอย่างรวดเร็ว ซึ่งก็ส่งผลดีไปยังประเทศจีนด้วย ในฐานะตลาดการเงินและการลงทุนที่เปิดกว้างสำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการลงทุน และสำหรับบริษัทในจีนที่ต้องการระดมทุน ก็สามารถที่จะเข้ามาจดทะเบียนระดมทุนในตลาดฮ่องกงได้อย่างสะดวกง่ายดายกว่าในจีนแผ่นดินใหญ่ ก่อนที่ฮ่องกงจะกลับเข้าสู่อ้อมอกของจีนแผ่นดินใหญ่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2540 ที่สัญญาเช่าฮ่องกงนั้นหมดลง
เมื่อถึงเวลาดังกล่าว ทางการอังกฤษก็ดำเนินการส่งมอบฮ่องกงกลับมาสู่อ้อมอกของจีนแผ่นดินใหญ่อีกครั้ง ด้วยเงื่อนไขที่ว่า จะต้องให้ฮ่องกงนั้นอยู่ในสถานะของ “เขตปกครองตนเอง” ไปอีก 50 ปี เพื่อให้ค่อยๆ มีการเปลี่ยนถ่ายระบบ ระเบียบ และความเคยชินของผู้คนต่างๆ ให้เรียบร้อย ไร้รอยต่อ
รูปที่ 1 GDP Hong Kong Vs China GDP As of 28/11/2019 l Source : Bloomberg
ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีนั้นทางการจีนได้ดำเนินตามคำมั่นสัญญาอย่างหนักแน่น ด้วยการให้สิทธิ์ฮ่องกงปกครองตนเองอย่างอิสระ เนื่องจากสถานะความเป็นเมืองท่าทั้งในเชิงกายภาพ และในเชิงตลาดทุน ส่งผลให้ขนาดของ GDP ของฮ่องกงนั้นเคยสูงสุดถึง 27% ของประเทศจีนทั้งประเทศเลยทีเดียว
เมื่อเวลาผ่านไป ทางการจีนก็เริ่มผ่อนคลายกฏระเบียบการค้าและการลงทุนในประเทศจีนให้มีความทันสมัยมากขึ้น ผลักดันให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจในหัวเมืองใหญ่ๆ อย่าง ปักกิ่ง เสิ่นเจิ้น เซี่ยงไฮ้ กวางเจา และอื่นๆ ส่งผลให้เศรษฐกิจฮ่องกงนั้นลดความสำคัญต่อจีนลงมาเรื่อยๆ เหลือไม่ถึง 3% ของ GDP จีนเท่านั้นในที่สุด
เมื่อเป็นดังนั้นแล้ว ทางการจีนจึงค่อยๆ ขยับ ค่อยๆ กระชับอำนาจเข้าหาฮ่องกงไปทุกที เช่น…
กรณีอัตลักษณ์ของความเป็นฮ่องกงนั้น ยังเป็นอีกส่วนที่ชาวฮ่องกงกังวลเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะประเด็นด้านภาษา ที่ทางฮ่องกงนั้นมีการใช้ภาษากวางตุ้งเป็นภาษาหลัก แต่ทางการจีนนั้นมีความพยายามที่จะให้จีนทั่วประเทศ รวมไปถึงชาวฮ่องกง หันมาใช้ภาษาจีนกลางร่วมกันแทนเพื่อความเป็นเอกภาพ เช่น ในปี 2553 นั้นทางการจีนได้มีนโยบายให้สถานีโทรทัศน์ที่นำเสนอรายการเป็นภาษากวางตุ้งเปลี่ยนมาใช้ภาษาจีนกลางแทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงรายการ Prime Time หรือ ช่วงเวลาที่มีผู้ชมมากที่สุด ซึ่งชาวฮ่องกงได้ออกมาประท้วงในเรื่องนี้หลายพันคน ก่อนที่โครงการดังกล่าวจะยุติลง
รูปที่ 2 Hong Kong-Zhuhai-Macau Bridge l Source : Vox
นอกจากนี้ ยังมีกรณีการสร้างสะพานเชื่อมระหว่างฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า ซึ่งเป็นสะพานข้ามทะเลที่ยาวที่สุดในโลกถึง 55 กิโลเมตร ซึ่งมีจุดประสงค์ในการเชื่อมโยงระหว่างจีน และฮ่องกงเข้าด้วยกัน เพื่อให้การขนส่งสินค้า และการเดินทางสะดวกและประหยัดเวลามากยิ่งขึ้น จากเดิมที่ต้องใช้เวลาเดินเรือถึง 4 ชม. เหลือเพียง 30 นาทีเท่านั้น ซึ่งในส่วนนี้ถือเป็นการขยายศักยภาพทางการค้าของทั้งจีนและฮ่องกงเอง แต่อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ยังคงมองว่า ท่าทีดังกล่าวนั้น เป็นความพยายามลดบทบาททางเศรษฐกิจของฮ่องกง และแสดงให้เห็นถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางกายภาพระหว่างจีนและฮ่องกงที่มากขึ้นเรื่อยๆ
ไหนจะกรณีของบุคคลผู้หายตัวไปเป็นระยะเวลาสั้นๆ หลายราย ก่อนที่จะพบว่าถูกดำเนินคดีในฮ่องกงอย่างกรณีของ กุ้ย หมินไห่ คนขายหนังสือพิมพ์ที่ขายหนังสือวิพากษ์วิจารณ์จีนจำนวนมากที่หายตัวอย่างไร้ร่องรอยขณะอยู่ในประเทศไทย ก่อนจะปรากฏตัวอยู่ที่ประเทศจีนพร้อมคลิปสารภาพผิด และรับโทษจำคุก 2 ปีในกรณีอุบัติเหตุทางรถยนต์เป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต, หวัง ปิ่งจาง ผู้ก่อตั้งพรรคประชาธิปไตยจีน ที่หายตัว ก่อนจะถูกศาลจีนพิพากษาจำคุกเช่นเดียวกัน หรือแม้กระทั่งนาย เผิง หมิง ที่พยายามต่อต้านการปกครองแบบพรรคเดียวของจีน ก่อนจะถูกนำตัวมาพิจารณาคดีและถูกพิพากษาตัดสินว่าผิดฐานครอบครองสกุลเงินปลอม ทำให้ถูกจำคุกตลอดชีวิตและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในเรือนจำโดยปราศจากการสืบสวนต่อ
รูปที่ 3 GINI Coefficient Index l Source : IMF
เมื่อประกอบกับความเหลือมล้ำของรายได้และความมั่งคั่งที่มากขึ้น ซึ่งสะท้อนผ่านทาง Net Gini Coefficient และสะท้อนออกทางภาวะการขาดแคลนที่อยู่อาศัย ส่งผลให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ในฮ่องกงนั้นอยู่ในระดับที่สูงจนไม่อาจฝันถึง นี่เป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายของผู้บริหาร ที่มาจากการเลือกของทางการจีน
รูปที่ 4 สภาพที่พักในฮ่องกง l Source : National Geographic
ดังนั้น เมื่อมีการนำเสนอร่างกฏหมายการส่งผู้ร้ายข้ามแดนเข้าสภา ก็กลายเป็นประกายไฟที่จุดกระแสการชุมนุมขึ้นมาอย่างรวดเร็ว เพราะท้ายที่สุดแล้วนั้นชาวฮ่องกงมองว่าหากกฏหมายฉบับนี้ผ่านสภาไปได้ อาจหมายถึงจุดจบแห่งสิทธิและเสรีภาพของชาวฮ่องกงในอนาคต ฮ่องกงนั้นจะต้องส่งตัว “ผู้ร้าย” ในสายตาจีนกลับไปดำเนินคดีที่จีน ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ กรณีของผู้ต้องหาคดีการเมือง ซึ่งทางการจีนนั้นมีประวัติไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่นัก รวมไปถึงกรณีความเหลื่อมล้ำ ที่ชาวฮ่องกงมองว่าท้ายที่สุดแล้วนั้นผู้บริหารฮ่องกงที่มาจากจีนทำเพื่อปักกิ่งมากกว่าชาวฮ่องกง
เมื่อสถานการณ์การชุมนุมทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทางการจีนยังคงสงวนท่าทีต่อไป มีเพียงการเคลื่อนไหวตามแนวชายแดนเล็กๆ น้อยๆ เช่น การเคลื่อนกำลังทหารเข้าสู่ Shenzhen Bay Sports Center ในเมืองเซินเจิ้น ซึ่งห่างจากพรมแดนฮ่องกงเพียงไม่กี่กิโลเมตร โดยมีการประเมินกันว่าหากจำเป็นต้องย้ายกำลังพลเข้าสู่ฮ่องกงนั้น จะใช้เวลาเพียง 10 นาที แต่อย่างไรก็ตามทางการจีนยังปฏิเสธว่ามิใช่การเตรียมกองกำลังเพื่อเข้าปราบปรามแต่อย่างใด แต่ถึงอย่างนั้นก็มีรายงานข่าวระบุว่า หากชาวฮ่องกงคนใดต้องการเดินทางเข้าประเทศจีน จะต้องถูกตรวจสอบว่ามีส่วนร่วมกับการชุมนุมประท้วงหรือไม่ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามเอาผิดผู้ชุมนุมในฮ่องกงของจีนได้เป็นอย่างดี
ทางด้านสหรัฐฯ นั้นก็มีการขยับเช่นกัน ด้วยการผ่านร่างกฏหมายหนุนประชาธิปไตยฮ่องกง ซึ่งมีเนื้อหาในการให้อำนาจการคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนต้องรับผิดชอบในการทำลายเสรีภาพขั้นพื้นฐานและการปกครองตนเองในฮ่องกง พร้อมยังกำหนดให้มีการทบทวนการให้สิทธิพิเศษทางการค้ากับฮ่องกง โดยการพิจารณาถึงอำนาจในการปกครองตนเองของฮ่องกงว่าได้รับจากจีนอย่างเพียงพอหรือไม่
แน่นอนว่าทางการจีนนั้นไม่พอใจอย่างยิ่ง โดยมีการส่งสัญญาณเตือนสหรัฐฯ และนานาชาติในเรื่องนี้เป็นระยะๆ ผ่านทางแถลงการณ์ของกระทรวงต่างประเทศ ทั้งในการกล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องภายในประเทศ รวมไปถึง ครั้งล่าสุด เช้าวานนี้ (28/11/2019) ที่กระทรวงการต่างประเทศจีนออกมาระบุถึงสหรัฐฯ โดยตรงว่า “เราขอแนะนำให้สหรัฐฯ ไม่ดำเนินการใดๆ โดยพลการ ไม่เช่นนั้นแล้วจีนจะตอบโต้อย่างเด็ดขาด ซึ่งสหรัฐฯ นั้นจะต้องเป็นผู้รับผลของการกระทำนั้นทั้งหมด” ซึ่งในประเด็นนี้ ยังคงเป็นที่น่าจับตาว่าจะส่งผลต่อการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่กำลังดูเหมือนว่าเป็นไปได้ด้วยดีหรือไม่
เมื่อสถานการณ์เดินหน้าต่อไป ภายใต้ความรุนแรงที่มากขึ้นเรื่อยๆ จากการต่อต้านกฏหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งถูกถอนออกจากสภาเป็นที่เรียบร้อย กลายมาเป็นประเด็นเรื่องการเรียกร้องอำนาจในการปกครองตนเองของชาวฮ่องกงในที่สุด สาเหตุที่เหตุการณ์นี้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จริงๆ แล้ว อาจเป็นเพราะทางการจีนเสียเอง
รูปที่ 5 Categorical Ethnic identity 1997 – 2019 l Source : The University of Hong Kong
หากพิจารณาดัชนีอัตลักษณ์จีน-ฮ่องกง นับตั้งแต่ปี 1997 จะพบว่า ในยามที่จีนนั้นมีการปกครองดูแลอยู่ห่างๆ ให้อำนาจฮ่องกงบริหารตนเองอย่างเต็มที่ จะพบว่าชาวฮ่องกงนั้นมีความรู้สึก “แปลกแยก” หรือ “ไม่ใช่คนจีน” น้อยลงเรื่อยๆ ผ่านทางการระบุอัตลักษณ์ของตนว่าเป็นชาวจีน นั่นแปลว่าจำนวนชาวฮ่องกง ที่ระบุตนว่าเป็นชาวจีนนั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในปี 2007 และ 2008 ที่ทางการจีนเริ่มกระชับอำนาจเป็นครั้งแรกด้วยการปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงระบบการเลือกตั้ง ทั้งในส่วนของผู้บริหารสูงสุดเกาะฮ่องกง และสภานิติบัญญติ ทำให้ภาวะความแปลกแยกเริ่มต้นขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าวิธีการที่นุ่มนวลนั้น ช่วย “กลืน” ชาติได้ดีกว่า
นอกจากนั้นแล้ว ในแง่ของข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว และความต้องการเงินทุนจากต่างชาติของจีนที่ยังมีอยู่ เมื่อประกอบกับสถานการณ์สงครามการค้าที่ยังคุกรุ่น ซึ่งอาจส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว และกดดันภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศจีน การเลือกใช้ความรุนแรงอาจไม่ใช่ทางที่เหมาะนัก สำหรับสถานะ “พี่ใหญ่” ที่ทางการจีนกำลังพยายามตั้งตัวขึ้นมาแทนที่สหรัฐฯ และไม่เหมาะอย่างยิ่ง สำหรับประเทศที่มีการปกครองแบบจีนที่ยังคงต้องใช้ความเด็ดขาดในการควบคุมประชาชน คู่ไปกับการใช้ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจจูงใจประชาชนให้รักและสนับสนุนการปกครองระบอบนี้ต่อไปนานๆ
แต่ถึงอย่างนั้น ก็มิใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะท้ายที่สุดแล้ว ฝั่งของผู้ชุมนุมเองนั้น อาจกล่าวได้ว่าอยู่ในจุดที่ไม่อาจถอยหลังได้อีกต่อไป เนื่องจากระดับความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีผู้คนเป็นจำนวนมากมีแนวโน้มจะถูกดำเนินคดีหากการชุมนุมจบลง ประกอบกับแรงผลักดันที่เต็มเปี่ยมในครั้งนี้ที่ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมยังคงปักหลักประท้วงอยู่ต่อไป
เมื่อประกอบกับท่าทีแข็งขืนของรัฐบาลปักกิ่งเอง ที่ทราบดีว่าหนึ่งในทางออกที่จะปลดชนวนความรุนแรงนี้ก็คือ การปลด หรือ สั่งให้นางแครี ลัม ผู้บริหารเกาะฮ่องกงคนปัจจุบันลาออก เพื่อบรรเทาอารมณ์ของผู้ชุมนุม แต่ก็เลือกที่จะไม่ทำ อย่างน้อยก็เพื่อส่งสัญญาณให้ผู้ชุมนุมได้ทราบว่า ไม่มีการชุมนุมใดที่จะกดดันทางการจีนได้
ทำให้ท้ายที่สุดแล้วนั้น กรณีเทียนอันเหมิน มีโอกาสเกิดขึ้นได้ไม่มาก แต่สถานการณ์กลายเป็นการแข่งขันจ้องตากันระหว่างผู้ชุมนุมกับรัฐบาลปักกิ่ง ขึ้นอยู่กับว่าฝ่ายใดจะอดทนมากกว่ากัน ซึ่งเป็นการตัดสินแพ้ชนะเพียงเสี้ยววินาทีที่กะพริบตา หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพลาดท่า หมดความอดทนย่อมหมายถึงความพ่ายแพ้ หากแต่ในการแข่งนี้ผู้ชุมนุมต้องผจญกับแก๊สน้ำตาไปด้วยเท่านั้นเอง
AKN Blog
ติดตาม AKN Blog ได้ที่ https://www.facebook.com/aknblog
Sources :
https://www.hkupop.hku.hk/english/popexpress/ethnic/eidentity/halfyr/eid_half_chart.html
https://www.chula.ac.th/cuinside/22382/
https://ngthai.com/cultures/3227/life-inside-hong-kongs-coffin-house/
https://www.posttoday.com/world/597724
https://www.vox.com/world/2018/10/22/18010254/chain-bridge-hong-kong-macau-zhuhai
https://www.hkupop.hku.hk/english/popexpress/ethnic/
https://www.taiwannews.com.tw/en/news/3734105
https://www.silpa-mag.com/culture/article_37172
ดูผ่าน Facebook:
https://www.facebook.com/finnomena/posts/1089840018028301
ดูผ่าน Youtube:
https://www.youtube.com/watch?v=zCGCCe2M50k
ข่าวเด่นประจำสัปดาห์
ติดตาม FINNOMENA LIVE ย้อนหลังตอนอื่นๆ ได้ที่ : https://www.youtube.com/playlist?list=PLhZeb_wAvs-fjJYWNYb3PzXjIVFZDJwTl
PART 1 : https://tv.line.me/v/10726903
PART 2 : https://tv.line.me/v/10726905
แขกรับเชิญ EP ที่ 3 ของ “พาไปฟินนน” เป็นถึงระดับซุปเปอร์สตาร์ (สายฮา) “ตั๊ก บริบูรณ์” ที่มาพร้อมกับ ภรรยา “เอลซี่” และลูกสาวสุดน่ารัก “น้องบีลีฟ” พวกเขาจะมาพูดคุยเรื่องการเก็บเงิน การทำงาน และการวางแผนครอบครัว พ่อแม่ลูกจะฟินนนแค่ไหน หรือใครจะฟินนนที่สุด ติดตามได้ใน EP นี้เลยจ้า
พาไปฟินนน คือรายการที่ทำให้เรื่องการเก็บเงิน และการลงทุน เป็นเรื่องสนุกสุดฟินนน พร้อมแขกรับเชิญตัวพ่อ และตัวแม่ ขวัญใจชาวเน็ตทั่วภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พาไปฟินโดยพิธีกรอดีตนักร้องนำจากวงดนตรีขวัญใจวัยรุ่นยุค 90’s
นักแสดง : เพชร รตะ โพอุทัย(เพชร รตะ โพอุทัย)
ประเภท : Variety, Talkshow
ประเภท : รายการบันเทิง
สถานี : FINNOMENA
กดติดตามช่อง (ปุ่มแฟน) เพื่อแจ้งเตือนตอนล่าสุดได้ก่อนใคร
https://tv.line.me/papaifinnn
ฮ่องกง เปิดเผยว่า จำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเยือนฮ่องกงในไตรมาส 3 ของปี 2562 ลดลงมากสุดในรอบ 16 ปี เนื่องจากปัญหาความไม่สงบในฮ่องกงที่ยังคงไม่ยุติ
อีก 30 ปีเราจะอยู่ในปี 2050 …
รูปที่ 1 : ประมาณการอัตราการเติบโตของ GDP ของกลุ่มประเทศ E7
ที่มา : The Long View, How will the global economic order change by 2050
ข้อมูลประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2017
รูปที่ 2 : ประมาณการอัตราการเติบโตเฉลี่ยของ GDP แต่ละประเทศ ในปี 2016-2050
ที่มา : The Long View, How will the global economic order change by 2050
ข้อมูลประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2017
ถ้าคุณต้องการผลตอบแทนมากกว่าค่าเฉลี่ย คุณก็ควรจะต้องลงทุนในสินทรัพย์ที่เติบโตมากกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งจากข้อมูลการเติบโตของเศรษฐกิจข้างต้นเป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่า หุ้นเอเชียในอีก 30 ปีข้างหน้าต้องไม่ธรรมดา มีโอกาสมากที่จะให้ผลตอบแทนมากกว่าค่าเฉลี่ย
สิ่งที่เป็นหลักฐานชั้นดีว่าทวีปเอเชียกำลังเติบโตสู่มหาอำนาจไม่ได้มีเพียงตัวเลขประชากร แต่คือตัวเลขเชิงสถิติต่างๆ ในทุกๆ อุตสาหกรรม ยํ้าอีกครั้งว่า ทุกอุตสาหกรรม !!!
บริษัทที่ปรึกษาระดับโลกอย่าง Mckinsey ได้มีการเก็บข้อมูลและสรุปเป็นบทวิจัยตัวเลขในเชิงสถิติต่างๆ ออกมาเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ตัวเลขหลายอย่างบ่งบอกว่าเอเชียกำลังเติบโต
รูปที่ 3 : สรุปการเติบโตในเชิงเศรษฐกิจและการค้าของทวีปเอเชีย
ที่มา : The Future of Asia: Asian flows and networks are defining the next phase of globalization.
ข้อมูลประจำเดือนกันยายน 2019
ด้วยบทสรุปชิ้นนี้ ทำให้พอจะสรุปได้ว่าไม่ว่าจะเป็นมุมเรื่องการค้า การศึกษา หรือนวัตกรรม เอเชียไม่เพียงแต่จะมีอนาคตที่สดใสรออยู่แต่ยังมีปัจจุบันที่แข็งแกร่งและเติบโตอย่างชัดเจน บริษัทในเอเชียโดยเฉพาะจีนหลายบริษัทเองก็เริ่มขึ้นมาติดอันดับ top 100 ของโลก ซึ่งคาดว่าในอนาคตจะมีบริษัทของประเทศอื่นๆ ขึ้นตามขึ้นมา
รูปที่ 4 : อันดับบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ที่มา : Statista.com
ข้อมูล ณ วันที่ 12 สิงหาคม 2019
ในชีวิตของคนจะมีโอกาสดีๆ ที่เปลี่ยนชีวิตได้เพียงไม่กี่ครั้ง อย่างยุคที่สหรัฐฯ สร้างชาติในยุค 1960 และยุคหลังปฏิวัติวัฒนธรรมของจีนหลังปี 1979 มาจนถึงปัจจุบัน ใครทำงาน ทำธุรกิจ หรือลงทุนในยุคนั้น คงจำกันได้ว่าการได้อยู่ในช่วงของเศรษฐกิจเติบโตมันมีความสุขแค่ไหน และการอยู่ในช่วงที่เศรษฐกิจฝืดเคืองมันทรมานอย่างไร
แต่การเป็นนักลงทุนมีข้อดีคือ คุณสามารถเลือกลงทุนในเศรษฐกิจเติบโต และหลีกเลี่ยงการลงทุนในประเทศที่เศรษฐกิจฝืดเคืองหรือดูมีแนวโน้มไม่ดีได้ การเป็นนักลงทุนในประเทศไทย ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องหาโอกาสจากประเทศไทยเพียงอย่างเดียว จงตกปลาในที่ที่มีปลา ที่ไหนมีโอกาสให้ผลตอบแทนดี เราควรเอาเงินของเราไปไว้ที่นั่น
FINNOMENA Investment Team
การเติบโตของเอเชียครั้งนี้จะเปรียบเสมือนรถไฟเที่ยวสุดท้ายของนักลงทุนหลายๆ ท่านหรือไม่? อยู่ที่ว่าแต่ละท่านคิดอย่างไร? และมีการลงมือ Take Action เพื่อคว้าโอกาสไว้หรือเปล่า ซึ่งหลายๆ ครั้งถูกการคว้าโอกาสของแต่ละคน ถูกจำกัดด้วยประสบการณ์และเวลาในการศึกษาการลงทุน สำหรับคนที่ไม่มีเวลาเลือกลงทุนหุ้นและกองทุนด้วยตนเองแผนการลงทุน BIC Asia ex-Japan จะเป็นแผนการลงทุนที่เหมาะมากสำหรับคนที่เชื่อว่าในอีก 30 ปีข้างหน้าจะเป็นยุคของคนเอเชีย ! ใครสนใจ สามารถกรอกรายละเอียดเพื่อรับบริการได้ที่นี่ https://www.finnomena.com/bic-asia-ex-jap
หมายเหตุ: บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งจากบทความ ลงทุนอะไรดี? ถ้าอีก 30 ปีเอเชียจะใหญ่ที่สุดในโลก: เกาะกระแสการลงทุนหลัก…การเติบโตของทวีปเอเชีย ด้วย BIC Asia ex-Japan สามารถอ่านบทความเต็มๆ ได้ ที่นี่
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน
ปธน.ทรัมป์ได้ลงนามบังคับใช้กฎหมาย “Hong Kong Human Rights and Democracy Act” ซึ่งจะคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนต้องรับผิดชอบในการทำลายเสรีภาพขั้นพื้นฐานและการปกครองตนเองในฮ่องกง
ที่มา : https://www.facebook.com/MrMessengerDiary/photos/a.10152056776520926/10157533773195926/
กลุ่มธุรกิจ “แอลวีเอ็มเอช” (LVMH ) เจ้าของแบรนด์หรูฝรั่งเศสใกล้บรรลุการเจรจาซื้อกิจการ “ทิฟฟานี่ แอนด์ โค.” (Tiffany & Co.) บริษัทเครื่องประดับหรูสัญชาติอเมริกัน ด้วยมูลค่าราว 16,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ