All Weather Strategy พฤศจิกายน 2019: ลดสัดส่วนหุ้นยุโรป เพิ่มสัดส่วนหุ้นญี่ปุ่น

รีวิว: หุ้นเป็นสินทรัพย์ที่ทำผลงานได้ดีที่สุดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา

ผลการดำเนินงาน: พอร์ต A Stotz All Weather Strategy มีผลการดำเนินงานในระดับเดียวกับตลาดหุ้นโลก

สัดส่วน: เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นญี่ปุ่น ไปที่ 25 % และลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นประเทศพัฒนาของยุโรปเหลือ 5%

มุมมองอนาคต: ความไม่แน่นอนยังคงอยู่ แต่อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ยังต่ำ และการเจรจาการค้า “ขั้นแรก” (Phase one) หนุนตลาดหุ้นในระยะสั้น

สรุป FVMR แต่ละภูมิภาค

รีวิว: การปรับสัดส่วนไปยังหุ้นประเทศพัฒนาแล้วในยุโรปของเราประสบผลสำเร็จ

  • การปรับสัดส่วนในเดือนกันยายน 2019 เราเพิ่มเป้าหมายการกระจายการลงทุนไปยังหุ้นของประเทศพัฒนาในยุโรป ไปที่ 25% จาก 5% ทำให้สัดส่วนการลงทุนในหุ้นของพอร์ตเพิ่มไปที่ 65% จาก 45%
  • การปรับสัดส่วนไปยังหุ้นประเทศพัฒนาแล้วในยุโรปของเราประสบผลสำเร็จ เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่ทำผลงานดีที่สุดเป็นอันดับสอง ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา

รีวิว: หุ้นญี่ปุ่นทำผลงานได้ดีที่สุด

  • ไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมายที่ Fed ลดอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ในเดือนกันยายน และลดอีกครั้งในระดับ 0.25% ในเดือนตุลาคม ส่งผลให้สินทรัพย์เสี่ยงกว่า เช่น หุ้น มีความน่าสนใจเชิงเปรียบเทียบมากขึ้น
  • หุ้นสหรัฐฯ ทำผลงานได้ดีที่สุดเป็นอันดับสาม
  • หุ้นญี่ปุ่นเป็นสินทรัพย์ที่ทำผลงานดีที่สุดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งได้รับผลดีจากการที่สหรัฐฯ และจีนใกล้บรรลุข้อตกลงการเจรจาการค้า “ขั้นแรก” (Phase one)

รีวิว: หุ้นเป็นสินทรัพย์ที่ทำผลงานได้ดีที่สุดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา

  • ความเป็นไปได้ที่ความตึงเครียดจะลดลงในประเด็นการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ทำให้ผลตอบแทนของสินทรัพย์หลบภัยอย่าง ทองคำ ไม่ค่อยดีเท่าไร
  • นอกจากผลตอบแทนที่ไม่ค่อยดีของทองคำแล้ว โลหะที่ใช้ในอุตสาหกรรมก็ลากผลตอบแทนของกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ลง ส่วนราคาน้ำมันยังคงทรงตัว
  • ในภาพรวมตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา หุ้นเป็นสินทรัพย์ที่ทำผลงานได้ดีที่สุด

ผลการดำเนินงาน: ตั้งแต่ก่อตั้ง กลยุทธ์ A Stotz All Weather มีผลการดำเนินงานในระดับเดียวกับตลาดหุ้นโลก

All Weather Strategy พฤศจิกายน 2019: ลดสัดส่วนหุ้นยุโรป เพิ่มสัดส่วนหุ้นญี่ปุ่น

รูปที่ 1: เปรียบเทียบผลตอบแทนระหว่าง A Stotz All Weather Strategy และ MSCI World
ข้อมูล ณ วันที่ 30 พ.ย. 2019 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)

ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

  • ตั้งแต่ก่อตั้งจนกระทั่งถึงเดือนกันยายน ปี 2019 กลยุทธ์ A Stotz All Weather มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้น 45% และเป็น 65 % ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
  • สัดส่วนการลงทุนในหุ้นที่ต่ำได้ประสบความสำเร็จ เพราะกลยุทธ์นี้ช่วยลด downside เมื่อเปรียบเทียบกับกลยุทธ์ที่ลงทุนในหุ้นเพียงอย่างเดียว

ผลการดำเนินงาน: หุ้นของประเทศพัฒนาในยุโรป และสหรัฐฯ มีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง ตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา

All Weather Strategy พฤศจิกายน 2019: ลดสัดส่วนหุ้นยุโรป เพิ่มสัดส่วนหุ้นญี่ปุ่น

รูปที่ 2: รูปเปรียบเทียบผลตอบแทน A Stotz All Weather Strategy กับสินทรัพย์อื่น ๆ
ข้อมูล ณ วันที่ 30 พ.ย. 2019 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)

ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

  • A Stotz All Weather Strategy: มีผลการดำเนินงานที่ต่ำกว่าหุ้นโลกที่ 3.9%
  • หุ้นของประเทศพัฒนาแล้วในยุโรป: ฟื้นตัวขึ้นมาจนเกือบแตะระดับสูงที่สุด (ATH)
  • หุ้นสหรัฐฯ: ขึ้นไปแตะระดับสูงสุดใหม่ตลอดเดือนพฤศจิกายน
  • ทองคำ: ความมั่นใจในหุ้นกลับมาอีกครั้ง ส่งผลเสียต่อสินทรัพย์หลบภัย

ผลการดำเนินงาน: ความผันผวนของกลยุทธ์ A Stotz All Weather มากกว่าครึ่งหนึ่งของความผันผวนตลาดหุ้นโลกเพียงเล็กน้อย

All Weather Strategy พฤศจิกายน 2019: ลดสัดส่วนหุ้นยุโรป เพิ่มสัดส่วนหุ้นญี่ปุ่น

รูปที่ 3: ความผันผวนของแต่ละสินทรัพย์
ข้อมูล ณ วันที่ 30 พ.ย. 2019 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)

ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

  • ความผันผวนของ พอร์ต A Stotz All Weather Strategy คิดเป็นประมาณ 60 % ของความผันผวนหุ้นโลก
  • มีสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ที่ 25% ของเงินลงทุน จนถึงในเดือนกันยายน ปี 2019 ช่วยทำให้กลยุทธ์การลงทุนมีความผันผวนต่ำ
  • จากการที่ทองคำไม่มีความสัมพันธ์กับหุ้น ช่วยลดความผันผวนของพอร์ต A Stotz All Weather Strategy ลงไปอย่างมาก

ผลการดำเนินงาน: ปรับตัวลงน้อยกว่าในช่วงเวลาเดียวที่ตลาดหุ้นโลกปรับตัวลง

All Weather Strategy พฤศจิกายน 2019: ลดสัดส่วนหุ้นยุโรป เพิ่มสัดส่วนหุ้นญี่ปุ่น

รูปที่ 4: ผลดำเนินงานของ 10 วันที่แย่ที่สุดของหุ้นโลก เทียบกับ A Stotz All Weather Strategy
ข้อมูล ณ วันที่ 30 พ.ย. 2019 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)

ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

  • ลักษณะที่โดดเด่นของ พอร์ต A Stotz All Weather Strategy คือ ตั้งเป้าให้ปรับตัวลงน้อยกว่า ในช่วงเวลาเดียวกับที่ตลาดหุ้นโลกปรับตัวลง
  • นับตั้งแต่ก่อตั้งพอร์ต เมื่อดูข้อมูลของ 10 วันที่ตลาดหุ้นมีผลตอบแทนย่ำแย่ที่สุด พบว่าผลตอบแทนของ A Stotz All Weather Strategy ปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาดหุ้นโลกทั้ง 10 วัน
  • ส่วนใหญ่เป็นผลจากการมีสัดส่วนลงในหุ้นที่ต่ำ

ผลการดำเนินงาน: โดยส่วนใหญ่แล้ว พอร์ต A Stotz All Weather Strategy สามารถทำผลงานเหนือกว่าในช่วงเวลาที่หุ้นโลกได้รับผลกระทบจากการปรับตัวลงที่หนักมาก

All Weather Strategy พฤศจิกายน 2019: ลดสัดส่วนหุ้นยุโรป เพิ่มสัดส่วนหุ้นญี่ปุ่น

รูปที่ 5: ผลดำเนินงานของหุ้นโลก เทียบกับ A Stotz All Weather Strategy
ข้อมูล ณ วันที่ 30 พ.ย. 2019 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)

ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

  • ผลการดำเนินงานที่เอาชนะหุ้นโลกได้ดีที่สุดของ พอร์ต A Stotz All Weather Strategy อยู่ในเดือน พฤษภาคม และ เดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ตลาดหุ้นโลกปรับตัวลงมากที่สุด
  • ทองคำและตราสารหนี้ ทำหน้าที่ในการป้องกันความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพใน 2 เดือนที่กล่าวมา

สัดส่วน: เพิ่มการลงทุนในญี่ปุ่นเป็น 25 % และปรับลดสัดส่วนของหุ้นประเทศพัฒนาในยุโรปเหลือ 5%

All Weather Strategy พฤศจิกายน 2019: ลดสัดส่วนหุ้นยุโรป เพิ่มสัดส่วนหุ้นญี่ปุ่น

รูปที่ 6: ตารางแสดงสัดส่วนการลงทุนใหม่ของพอร์ต A Stotz All Weather Strategy
ข้อมูล ณ วันที่ 4 พ.ย. 2019 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)

  • หุ้นสหรัฐฯ ยังคงมูลค่าที่สูง แต่ยังทำจุดสูงสุดอย่างต่อเนื่อง
  • หุ้นญี่ปุ่นเริ่มส่งสัญญาณความแข็งแกร่งให้เห็นบ้างแล้ว
  • ทองคำทำหน้าที่ป้องกันความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ หากความตึงเครียดประเด็นการค้าแย่ลง

มุมมองในอนาคต: ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะยังหยุดการลดอัตราดอกเบี้ยต่อ การที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำสนับสนุนผลตอบแทนที่แข็งแกร่งของหุ้น

  • ประเด็นหนี้รัฐบาลสหรัฐฯ และค่าเงิน

เป็นปัจจัยบวกต่อทองคำ แต่เป็นความเสี่ยงต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ

  • คาดว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในสหรัฐฯ จะยังไม่เกิดขึ้นจนถึงปีหน้า

มุมมองของตลาดคาดว่ามีความเป็นไปได้ถึง 95% ที่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนธันวาคม และประมาณ 50% คาดว่าจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือนกันยายน 2020

  • ซึ่งอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ที่ลดลงจะหนุนสินทรัพย์เสี่ยงกว่าอย่างหุ้นในระยะสั้น

มุมมองอนาคต: สงครามการค้าและความไม่สงบจะยังคงดำเนินต่อไป

  • สงครามการค้าของสหรัฐฯ และจีนน่าจะบรรลุข้อตกลงขั้นแรก โดยประเด็นดังกล่าว จะส่งผลให้มีเงินลงทุนไหลกลับไปยังสินทรัพย์เสี่ยงกว่าอย่างหุ้น และสนับสนุนให้หุ้นมีผลการดำเนินงานที่ดี
  • มันไม่มีประโยชน์ที่สหรัฐฯ จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนของฮ่องกงและเรื่องประชาธิปไตย เนื่องจากประเด็นดังกล่าวส่งผลเชิงลบต่อการเจรจาการค้า
  • ขณะที่การเจรจาการค้าขั้นแรกช่วยหนุนการเปิดรับความเสี่ยงที่มากขึ้น แต่ในระยะกลาง ความไม่แน่นอนยังคงอยู่

มุมมองอนาคต: ความตึงเครียดประเด็นการค้าและความไม่สงบ ส่งผลเชิงลบต่อมุมมองการเติบโตของเศรษฐกิจโลกและหุ้น

  • ประธานาธิบดีทรัมป์ เพิ่งประกาศมาตรการที่สามารถเพิ่มความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และฝรั่งเศส อาร์เจนตินา และบราซิล
  • ความเสี่ยงในเรื่องความไม่สงบของตะวันออกกลางเพิ่มขึ้น หลังเกิดการโจมตีอุตสาหกรรมน้ำมันในซาอุดิอาระเบีย และการบุกซีเรียของตุรกี
  • สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมถึงปัจจัยเรื่องความไม่สงบทางการเมือง เป็นผลเชิงลบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในอนาคต ทองคำยังคงเป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ

มุมมองอนาคต: มีเป้าหมายการกระจายการลงทุนไปยัง สหรัฐฯ และญี่ปุ่น 25 %

  • ในไตรมาส 3 ปี 2019 หลายบริษัทในสหรัฐฯ มีกำไรเกินคาด สามารถแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่มากขึ้น และเรายังคงเป้าสัดส่วนลงทุนไว้ที่ 25%
  • ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเริ่มแสดงให้เห็นถึงแนวโน้ม ซึ่งหนุนด้วยความตึงเครียดในประเด็นสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนที่ลดลง เราเพิ่มจึงสัดส่วนการลงทุน ไปที่ 25% จาก 5% 

มุมมองอนาคต: ตลาดหุ้นญี่ปุ่นมีมุมมองที่ดีขึ้น

  • ญี่ปุ่นมียังคงมีมูลค่าเชิงเปรียบที่น่าสนใจ อาจส่งผลให้มีเงินลงทุนไหลเข้ามากขึ้นและหนุนให้ตลาดปรับตัวขึ้นไปได้อีก
  • มุมมองของนักลงทุนที่ดีขึ้นเกิดขึ้นจาก: การจัดโอลิมปิก โตเกียวในปี 2020 / คาดหวังที่จะเปิดตัว premium board ในตลาดหุ้นโตเกียว สร้างดัชนีที่มีสภาพคล่อง

สรุป FVMR แต่ละภูมิภาค

All Weather Strategy พฤศจิกายน 2019: ลดสัดส่วนหุ้นยุโรป เพิ่มสัดส่วนหุ้นญี่ปุ่น

รูปที่ 7: สรุป FVMR หุ้นแต่ละกลุ่มประเทศ ข้อมูล ณ วันที่ 29 พ.ย. 2019
(ที่มา: A.Stotz Investment Research, Thomson Reuters)

พื้นฐาน (Fundamentals): หุ้นสหรัฐฯ มีผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ROE (Return on Equity) สูงที่สุด

มูลค่า (Valuations): ตลาดกำลังพัฒนา และญี่ปุ่นมีการซื้อขายกันที่อัตราส่วนราคาต่อกำไร (P/E ratio) ต่ำที่สุด

แนวโน้ม (Momentum): ราคาอยู่ในช่วงปานกลาง และสามารถกลับมาทำกำไรในปี 2020

ความเสี่ยง: กลุ่มเอเซียแปซิฟิคมีอัตราหนี้สินต่อทุน (gearing) ต่ำที่สุด

สรุป รีวิวพอร์ต All Weather Strategy ประจำเดือนพฤศจิกายน 2019

พอร์ต A Stotz All Weather Strategy มีผลการดำเนินงานในระดับเดียวกับตลาดหุ้นโลก แต่มีความผันผวนต่ำกว่า

– โดยเป็นผลจากสัดส่วนการลงทุนที่สูงมากในทองคำและตราสารหนี้

เพิ่มการลงทุนในหุ้นญี่ปุ่นเป็น 25% และลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นของประเทศพัฒนาแล้วในยุโรปเหลือ 5%

– มุมมองที่ดีขึ้นและมูลค่าที่น่าสนใจอาจหนุนให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นไปต่อ

Andrew Stotz

**สนใจลงทุนพอร์ต All Weather Strategy พอร์ตกองทุนรวมจัดโดย Andrew Stotz ซึ่งจะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาว ในขณะที่ลดความรุนแรงของการขาดทุนในช่วงภาวะตลาดขาลง หากสนใจดูข้อมูลและลงทุนในพอร์ตนี้ สามารถคลิกที่นี่ https://www.finnomena.com/port/andrew/ หรือแบนเนอร์ข้างล่างได้เลยครับ


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน  | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้