คนสูงอายุ คนเป็นโรคอ้วน และคนรายได้น้อย: เหยื่อของโควิด-19

งานวิจัยล่าสุดของผมชี้ให้เห็นถึงข้อสรุปเกี่ยวกับโควิด-19 ใน 4 ข้อหลัก ๆ

  • ข้อแรก โควิด-19 ส่งผลร้ายกับคนอายุ 54 ปีขึ้นไป ในขณะที่คนอายุน้อยกว่า 25 ปี เสียชีวิตเพียง 1,019 รายเท่านั้น
  • ข้อสอง ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีโรคแทรกซ้อนที่มาจาก 4 โรคหลัก ๆ
  • ข้อสาม คนที่เป็นโรคอ้วนมีความเสี่ยงที่สูงมาก และนโยบายภาครัฐยังไม่ได้ช่วยเหลือในส่วนนี้
  • ข้อสี่ นโยบายของภาครัฐส่งผลให้คน 150 ล้านคนเผชิญกับความยากจน

ข้อมูลทั้งหมดของงานวิจัยนี้นำมาจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้และสามารถตรวจสอบได้ผ่านลิ้งก์ที่แนบไว้ในเนื้อหา

โควิด-19 ส่งผลร้ายกับคนอายุ 54 ปีขึ้นไป ในขณะที่คนอายุน้อยกว่า 25 ปี เสียชีวิตเพียง 1,019 รายเท่านั้น

เริ่มจากข่าวดีกันก่อน จากข้อมูลตั้งแต่ปี 2020 คนอายุน้อยกว่า 25 ปี เสียชีวิตเพียง 1,019 เท่านั้น และคนที่เสียชีวิตในกลุ่มนี้คิดเป็นเพียง 0.2% ของผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ทั้งหมดในสหรัฐ

ในขณะที่ผู้เสียชีวิตอีก 39,888 รายมีอายุตั้ง 25-54 ปี จากข้อมูลทั้งหมดนี้จึงอาจสรุปได้ว่า 93% ของผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 มีอายุมากกว่า 55 ปี และ 58% เป็นผู้ที่มีอายุ 74 ปี ซึ่งข่าวดีก็คือโควิด-19 ไม่ได้พรากชีวิตคนหนุ่มสาว

คนสูงอายุ คนเป็นโรคอ้วน และคนรายได้น้อย: เหยื่อของโควิด-19

ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มีโรคแทรกซ้อนที่มาจาก 4 โรคหลัก ๆ

อ้างอิงจาก Oxford Dictionary คำว่า Comorbidity แปลว่า อาการป่วยเป็นโรคอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สองโรคขึ้นไป

ข้อมูลการเสียชีวิตจากกรมควบคุมโรค (CDC) เปิดเผยต้นเหตุของการเสียชีวิตเพิ่มเติมนอกเหนือจากโควิด-19 และเนื่องจากผู้คนสามารถมีอาการป่วยเพิ่มเติมได้มากกว่า 1 โรค ข้อมูลด้านล่างจึงไม่ได้บวกรวมกันเป็นสัดส่วน 100%

คนสูงอายุ คนเป็นโรคอ้วน และคนรายได้น้อย: เหยื่อของโควิด-19

นอกเหนือจากการป่วยเป็นโรคโควิด-19 แล้ว โรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคปอดอักเสบ ก็เป็นโรคแทรกซ้อนที่เกี่ยวเนื่องกับการเสียชีวิตจากโควิด-19 โดยคิดเป็นสัดส่วนถึง 46% จากที่มีมา

ที่เจอบ่อยสุดคือโรคทางเดินหายใจล้มเหลว คิดเป็นสัดส่วน 38% รองลงมาคือโรคความดันโลหิตสูงที่เกิดขึ้น 20%

และสุดท้าย โรคแทรกซ้อนอย่างโรคเบาหวานเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องกับการเสียชีวิต และคิดเป็นสัดส่วนที่ 16%

ในขณะที่อีกงานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 ชี้ให้เห็นว่า โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และโรคเบาหวาน เป็นโรคและอาการแทรกซ้อนที่พบเจอบ่อยในผู้ป่วยโควิด-19

งานวิจัยยังเน้นย้ำว่าโรคมะเร็ง โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีความเกี่ยวเนื่องกับการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19 ท้ายที่สุดพวกเขาพบเจอว่าโรคไตเรื้อรังถือได้ว่าเป็นโรคแทรกซ้อนหลักที่นำไปสู่การเสียชีวิต

ทางด้าน กรมควบคุมโรค ก็ได้มีการอัปเดตแนวทางเกี่ยวกับโรคแทรกซ้อน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโรคความดันโลหิตสูงถือเป็นอาการแทรกซ้อนที่นำไปสู่การเสียชีวิตมากที่สุดที่ 47% ในขณะที่โรคไขมันในเลือดสูงคิดเป็นสัดส่วนที่ 29% ตามมาด้วยโรคเบาหวานที่ 28% และโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังคิดเป็นสัดส่วนที่ 16%

คนที่เป็นโรคอ้วนมีความเสี่ยงที่สูงมาก และนโยบายภาครัฐยังไม่ได้ช่วยเหลือในส่วนนี้

โรคอ้วน คืออะไร?

อ้างอิงจาก Wikipedia โรคอ้วนคืออาการทางการแพทย์ที่ไขมันสะสมส่วนเกินในร่างกายจนมีผลเชิงลบกับสุขภาพ ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับหลายโรคและอาการ โดยเฉพาะโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคมะเร็งบางชนิด และโรคข้อเข่าเสื่อม รวมถึงมีความเชื่อมโยงกับภาวะซึมเศร้าอีกด้วย นอกจากนั้นยังมีการวิจัยออกมายืนยันอีกว่าการควบคุมน้ำหนักหลังการไดเอทค่อนข้างหาได้ยาก

การไดเอทที่ดีสามารถทำได้โดยการลดการบริโภคอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่นอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง และเพิ่มการบริโภคใยอาหาร อย่างไรก็ตามได้มีการค้นพบว่าพลังงานในอาหารกับราคาอาหารมีความสัมพันธ์ในเชิงลบซึ่งกันและกัน

ประชากรที่มีรายได้ต่ำซึ่งมักอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีความอุดมสมบูรณ์ด้านอาหาร มีแนวโน้มที่จะบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลสูงและอาหารประเภท Junk food ที่มีคุณค่าทางอาหารต่ำ

โรคอ้วนเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตทั่วโลกซึ่งจริง ๆ แล้วสามารถป้องกันได้ โรคอ้วนมีอัตราที่สูงขึ้นในกลุ่มผู้ใหญ่และเด็ก

ในปี 2015 กลุ่มผู้ใหญ่จำนวน 600 ล้านคน (12%) และเด็กจำนวน 100 ล้านคนใน 195 ประเทศได้เผชิญกับโรคอ้วน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ได้ให้มุมมองว่าโรคอ้วนเป็นปัญหาสุขภาพอันใหญ่หลวงของศตวรรษที่ 21 นี้

โรคอ้วนกำลังคุกคาม 20% ของกลุ่มผู้ใหญ่ชาวอเมริกัน

แนวทางของโรคอ้วนจาก CDC ให้ความหมายดังนี้

  • น้ำหนักเกินมาตรฐาน: มีมวลรวมของร่างกาย (BMI) มากกว่า 25kg/mg2 แต่น้อยกว่า 30kg/m2
  • โรคอ้วน: BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 30 kg/m2 แต่น้อยกว่า 40 kg/m2
  • โรคอ้วนรุนแรง: BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 40 kg/m2

และจากการวิจัยของ CDC เมื่อเร็ว ๆ นี้ ก็ชี้ให้เห็นว่าในทุก ๆ รัฐนั้น มีสัดส่วนผู้ใหญ่ชาวอเมริกันที่เป็นโรคอ้วนมากกว่า 20%

การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญของความเสี่ยงโรคอ้วน

กรมควบคุมโรคได้จัดทำระบบประเมินความเสี่ยงจากพฤติกรรมที่ทำการสำรวจผ่านโทรศัพท์จากคนกว่า 400,000 คนจาก 50 รัฐในสหรัฐในทุก ๆ ปี และได้ผลลัพธ์ออกมาว่า 34% ของคนที่ไม่จบการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยนั้นเป็นโรคอ้วน ซึ่งมากกว่าคนที่จบการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยที่มีสัดส่วนที่ 25%

แนวทางเกี่ยวกับการใช้คำว่าโรคอ้วนสำหรับชาวอเมริกัน

กรมควบคุมโรคได้ให้คำแนะนำไว้ดังนี้

  • ให้ใช้คำว่า “ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคอ้วน” หรือ “20% ของเด็กอายุ 12-19 ปีเป็นโรคอ้วน”
  • และไม่ใช้คำว่า “คนอ้วน” หรือ “20% เป็นเด็กอ้วน”

แนวทางดังกล่าวมาจาก แนวทางของสื่อเกี่ยวกับโรคอ้วน ที่แนะนำให้ใช้คำอย่างระมัดระวังเกี่ยวกับการพูดถึงเรื่องน้ำหนักเพราะอาจทำให้คนเหล่านี้รู้สึกแย่และอาจทำให้คนที่รับสารมีความเข้าใจผิด และไม่ใช้คำขยายความที่เป็นการดูถูกเวลากล่าวถึงบุคคลที่มีน้ำหนักเยอะ หรือการใช้ภาษาที่นำไปสู่ความเข้าใจแบบผิด ๆ

ไม่นานมานี้ รัฐได้รับรู้ถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างโรคอ้วนกับโควิด-19

เมื่อเดือนกรกฎาคม 2020 รัฐบาลอังกฤษได้เปิดเผยรายงานว่าคนที่มีค่า BMI ในช่วง 35-40 จะมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 เพิ่มขึ้น 40% และคนที่มีค่า BMI มากกว่า 40 จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 90% หากเทียบกับคนที่ไม่เป็นโรคอ้วน

ในขณะที่ข้อมูลจากกลุ่มผู้ป่วยหนักชี้ให้เห็นว่า 7.9% ของผู้ที่มีอาการป่วยรุนแรงมีค่า BMI มากกว่า 40 เทียบกับคนทั่วไปที่ 2.9%

คนมากกว่า 2 ใน 3 (ประมาณ 63%) ในอังกฤษเป็นโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน และมีช่วงอายุระหว่าง 55 ถึง 74 ปี อาศัยอยู่ในพื้นที่นอกเมือง นอกจากนั้นคนผิวสี คนเอเชียและคนจากชนชาติอื่น ๆ ก็ได้รับผลกระทบที่รุนแรงกว่า

นอกจากนั้นยังมีข้อมูลจากสหรัฐฯ ในเดือน สิงหาคม 2020 ผ่านบทวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่าคนที่เป็นโรคอ้วนมีโอกาสมากกว่าคนปกติถึง 113% ที่จะต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล และ 74% มีแนวโน้มที่ต้องเข้ารักษาใน ICU ในขณะที่อีก 48% มีแนวโน้มที่จะเสียชีวิต

อิตาลีเป็นสัญญาณเตือนเกี่ยวกับความร้ายแรงของโควิด-19

ข้อมูลจากวิกิพีเดีย เปิดเผยว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในอิตาลีเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2020 ทำให้เกิดการเสียชีวิตครั้งแรกในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ก่อนเชื้อจะแพร่กระจายไปทั่วภูมิภาคภายในต้นเดือนมีนาคม สะท้อนให้เห็นถึงความรวดเร็วในการแพร่ระบาด

การล็อกดาวน์อาจหมายถึงการออกกำลังกายที่ลดลงและการบริโภคอาหารที่ให้พลังงานสูงมากขึ้น

มีข้อมูลจากบทวิจัยหนึ่งที่เปิดเผยถึงผลกระทบของการที่ห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงักว่าส่งผลให้การเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพลดลงไปด้วย จึงทำให้เกิดการทำอาหารแปรรูปจำนวนมาก ซึ่งให้พลังงานและมีไขมันอิ่มตัว โซเดียม และน้ำตาลในระดับที่สูง

อาหารแปรรูปมีผลโดยตรงกับการเกิดโรคอ้วนและส่งผลเสียต่อสุขภาพ แต่ด้วยราคาที่ถูกทำให้กลุ่มคนรายได้น้อยต้องรับประทานอาหารในรูปแบบนี้

การล็อกดาวน์ยังทำให้ปริมาณการเดินและออกกำลังกายลดลงในกลุ่มผู้ใหญ่และส่งผลให้เกิดโรคอ้วน ซึ่งการใช้พลังงานที่ลดลงและการบริโภคที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น

แย่ไปกว่านั้น ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ยังชี้ด้วยว่าโรคอ้วนอาจทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลงคล้ายคลึงกับการที่ความเสี่ยงในการติดเชื้อมากขึ้น

นโยบายกักตัวส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นราว ๆ 7 กิโลกรัม

ข้อมูลวิจัยล่าสุดชี้ให้เห็นว่า นโยบายการกักตัวของสหรัฐฯ ส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 0.27 กิโลกรัม ในทุก ๆ 10 วัน โดยไม่คำนึงถึงพื้นที่อยู่อาศัยและโรคแทรกซ้อน ซึ่งหมายถึงน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น 0.7 กิโลกรัมต่อเดือน และนโยบายนี้อาจทำให้ชาวอเมริกันมีน้ำหนักเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 7 กิโลกรัม และยังมีการวิจัยเพิ่มเติมอีกว่าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นในส่วนนี้มีแนวโน้มที่จะเป็นไปอย่างถาวร

โรคอ้วนน่ากลัวกว่าที่คิด

มีงานวิจัยหนึ่งบ่งชี้ว่าคนจำนวน 2.8 ล้านคนทั่วโลกเสียชีวิตจากการที่มีน้ำหนักมากในทุก ๆ ปี ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของอาการหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเบาหวาน

ในประเทศที่คนมีน้ำหนักเยอะเหนือค่าเฉลี่ย สัดส่วนผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ต่อคนหนึ่งล้านคนนั้นสูงกว่าถึง 10 เท่า

เราค้นหาข้อมูลผ่าน WHO และ วิกิพิเดีย เพื่อหาความเกี่ยวเนื่องของโรคอ้วนและโควิด-19 โดยแบ่งกลุ่มประเทศออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มที่มีผู้ป่วยโรคอ้วนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย โดยกลุ่มที่มีน้ำหนักน้อยที่สุดคือเวียดนาม บังกลาเทศ กัมพูชา อินเดีย เนปาล และ ญี่ปุ่น

และ กลุ่มที่มีผู้ป่วยโรคอ้วนสูงกว่าค่าเฉลี่ย โดยกลุ่มที่มีน้ำหนักมากที่สุดคือสหรัฐ จอร์แดน ซาอุดิอาระเบีย ตุรกี และ อียิปต์)

ซึ่งข้อมูลจากตารางด้านล่างได้แสดงให้เห็นว่าประเทศที่คนมีน้ำหนักเยอะกว่าค่าเฉลี่ยนั้นมีสัดส่วนผู้ป่วยต่อประชากร 1 ล้านคนสูงกว่า 9 เท่า และมีจำนวนผู้เสียชีวิตสูงกว่า 10 เท่า

ส่วนอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่าไม่มากหากเทียบกับจำนวนผู้ป่วยนั้นอาจมีผลมาจากประเทศที่คนน้ำหนักต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมีจำนวนผู้ป่วยโรคอ้วนที่น้อย

คนสูงอายุ คนเป็นโรคอ้วน และคนรายได้น้อย: เหยื่อของโควิด-19

มีงานวิจัยอีกมากมายชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างโรคอ้วนและผู้เสียชีวิตจากโควิด-19

อย่าเพิ่งเชื่อคำพูดของผม งานวิจัยล่าสุดจาก World Obesity Federation เองก็พบว่าอัตราการเสียชีวิตจากโควิด-19 ในประเทศที่มีคนที่เป็นโรคอ้วนเกินครึ่งก็สูงกว่า 10 เท่าเช่นเดียวกัน จากข้อมูลการเสียชีวิตในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 ทั้งหมด 2.5 ล้านคน มี 2.2 ล้านคนมาจากประเทศที่ประชากรเกินครึ่งมีน้ำหนักเกิน (มีค่า BMI ที่เกิน 25)

ในรายงานยังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างอัตราการเสียชีวิตกับคนที่มีน้ำหนักมาก และยังพบด้วยว่าประเทศที่มีสัดส่วนคนน้ำหนักเกินน้อยกว่า 40% มีอัตราการเสียชีวิตที่ต่ำ ส่วนประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงนั้น ก็ไม่มีประเทศไหนเลยที่มีสัดส่วนคนน้ำหนักเกินน้อยกว่า 50%

อีกทั้งยังเน้นย้ำว่า 68% ของชาวอเมริกันเป็นผู้ที่มีน้ำหนักเกิน เทียบกับประเทศเวียดนามที่มีสัดส่วน 18%

รายงานจากเดือนพฤศจิกายน 2020 ที่มีแหล่งข้อมูลมาจาก 22 บทความที่ได้รับการตรวจสอบเกี่ยวกับความเชื่อมโยงของการเสียชีวิตกับโรคอ้วน ก็สรุปให้เห็นว่าการเป็นผู้ป่วยโรคอ้วนนั้นเพิ่มความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญกับการเสียชีวิตจากโควิด-19 และบทวิจัยยังแนะนำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคอ้วนได้รับการรักษาที่เข้มข้นกว่าคนปกติอีกด้วย

ทำไมคนอ้วนถึงมีความเสี่ยงจากโควิด-19 มากกว่าปกติ?

หนึ่งในงานวิจัยล่าสุด เปิดเผยถึงเหตุผลที่ผู้ป่วยโรคอ้วนมีความเสี่ยงจากโควิด-19:

  1. โรคอ้วนส่งผลให้แผลหายช้าและทำให้เกิดการติดเชื้อจากโควิด-19
  2. ภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยโรคอ้วนนั้นถูกลดทอน
  3. ไขมันส่วนเกินรบกวนโครงสร้างและการรวมตัวของเนื้อเยื่อน้ำเหลือง
  4. การต่อต้านอินซูลินส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน
  5. การต่อต้านเลปตินส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน
  6. การที่ ACE 2 ในผู้ป่วยโรคอ้วนผิดเพี้ยนอาจทำให้โรคโควิด-19 รุนแรงขึ้น
  7. การเกิดภาวะเลือดแข็งตัวหรือลิ่มเลือดอุดตันที่เกี่ยวเนื่องกับโควิด-19

นโยบายการตอบสนองของรัฐผลักดันให้คน 150 ล้านคนเผชิญกับความยากจน

รัฐบาลทั่วโลกได้ใช้มาตรการล็อกดาวน์ในการควบคุมโควิด-19 ซึ่งส่งผลทั้งทางด้านสุขภาพและเศรษฐกิจกับคนนับล้าน คนรวยรวยขึ้น นักการเมืองเก็บภาษีตามปกติ ในขณะที่คนชนชั้นกลางและกลางถึงสูงยังมีความเป็นอยู่ที่ค่อนข้างดี บางคนในกลุ่มนี้ได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ซึ่งช่วยสนับสนุนสินทรัพย์อย่างหุ้นและตราสารหนี้

คนเกือบ 150 ล้านคนกำลังเผชิญกับความยากจน

ในเดือน ตุลาคม 2020  World Bank’s biennial Poverty and Shared Prosperity Report ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการล็อกดาวน์ที่คาดการณ์ว่าจะส่งผลให้คนจำนวนราว ๆ 100 ล้านคน เผชิญกับความยากจนอย่างหนัก (มีรายได้น้อยกว่า $1.9 ต่อวัน) ในปี 2020 และอาจมีคนอีก 50 ล้านคนที่จะเผชิญกับภาวะดังกล่าวในปี 2021

คน 67 ล้านคนกำลังตกไปอยู่ในสถานะ ยากจนในขณะที่คนจีนอีก 28 ล้านคน กำลังตกอยู่ในสถานะ รายได้ต่ำ

การวิจัยจาก Pew Research Center study ผลจากการล็อกดาวน์ของโควิด-19 ส่งผลให้คน 67 ล้านคนในอินเดียที่มีรายได้ปานกลางกลายเป็นกลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำและตกอยู่ในสถานะ “ยากจน” หรือมีรายได้น้อยกว่า $2 ต่อวัน และยังมีการประมาณการอีกว่าคนจำนวน 28 ล้านคนในจีนที่มีรายได้ปานกลาง-สูงกลายเป็นกลุ่มคนที่รายได้ต่ำ ซึ่งหมายความว่าคนกลุ่มนี้มีรายได้ $2-$10 ต่อวัน

นอกจากนั้นเด็กอีกจำนวน 142 ล้านคนกำลังอยู่ในบ้านที่มีฐานะยากจน

การรายงานของ UNICEF เปิดเผยถึงการประมาณการในกรณีแย่ที่สุดของผลกระทบของการล็อกดาวน์ ว่าอาจส่งผลให้เด็กจำนวน 142 ล้านคน ที่อยู่ในบ้านที่มีฐานะยากจนเผชิญกับความลำบาก

11% ของผู้ใหญ่ในสหรัฐ บอกว่าในบางครั้งหรือหลาย ๆ ครั้ง รายได้ของเขาไม่เพียงพอสำหรับการซื้ออาหาร

ข้อมูลจาก Household Pulse Survey เมื่อเดือน มีนาคม 2021 ในสหรัฐเปิดเผยว่ากลุ่มผู้ใหญ่ในสหรัฐจำนวน 22 ล้านคนหรือคิดเป็น 11% ของผู้ใหญ่ทั้งหมด พูดว่าครอบครัวของพวกเขาในบางครั้งไม่มีรายได้เพียงพอสำหรับซื้ออาหารในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2019 ที่ 3.4% ของผู้ใหญ่ทั้งหมด หรือกล่าวได้ว่าสัดส่วนนี้เพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า

Andrew Stotz

ที่มาบทความ: https://becomeabetterinvestor.net/covid-19-disproportionately-hurts-the-elderly-obese-and-poor/


**All Weather Strategy พอร์ตกองทุนรวมจัดโดย Andrew Stotz ซึ่งจะช่วยให้เราได้ผลตอบแทนจากหุ้นในระยะยาว ในขณะที่ลดความรุนแรงของการขาดทุนในช่วงภาวะตลาดขาลง หากสนใจสร้างแผนการลงทุน สามารถคลิกที่นี่ https://www.finnomena.com/guruport-andrew-all-weather-create/ หรือแบนเนอร์ข้างล่างได้เลยครับ