Special Report เรียนรู้จากอดีต ตอนที่ 1: สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
รูปเป็นแผนที่ยุโรปแบ่งเป็น 2 ฝ่ายในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นำโดยเยอรมนีสีส้ม (Central Powers) สู้กับฝรั่งเศสและอังกฤษ (Allies)
Special Report เรียนรู้จากอดีต ตอนที่ 1: สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ไฮไลท์

  1. ก่อนสงครามใหญ่จะมี trade war, Sanction และสงครามตัวแทนเกิดขึ้นก่อน
  2. การเข้าสู่สงครามเต็มรูปแบบจะต้องใช้เงินมาก ซึ่งมักลงเอยด้วยการก่อหนี้มากเกินไป และเศรษฐกิจพัง
  3. ถ้าบีบมาเกินไปไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามเหลือทางออก สุดท้ายต้องลงเอยด้วยการเกิดสงครามใหญ่
  4. ยิ่งยืดเยื้อ เศรษฐกิจยิ่งแย่ ตลาดหุ้นแย่ตาม

เตะตัดขาก่อนรบจริง

สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นหลังจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจและกำลังทหารของเยอรมนี ซึ่งไปกระทบกับความมั่นคงของผู้นำเก่าอย่างอังกฤษและฝรั่งเศส โดยคล้ายกับทุกครั้งก่อนสงครามใหญ่จะปะทุ มักเริ่มจากการเตะตัดขา ขัดขวางทางเศรษฐกิจระหว่าง 2 ขั้ว เช่น การตั้งกำแพงภาษีหรือแบนการค้ากับประเทศฝั่งตรงข้าม หรือตัดช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนด้วยการลดการให้กู้ยืม
ลามไปถึงสงครามทางทหารในต่างประเทศหรือสงครามตัวแทน ซึ่งประเทศใหญ่มักยังไม่ส่งทหารเข้าสู้แต่จะเป็นการช่วยเหลือทางเงินทุนและอาวุธ พร้อมทั้งคว่ำบาตรฝ่ายตรงข้าม

รอการประทุ

หลังจากเตะตัดขากันไปมา มีการท้าทายกันมากขึ้นทั้งในด้านเศรษฐกิจและการทหาร ยิ่งเพิ่มความขัดแย้งระหว่างประเทศ จนกระทั่งเกิดการสังหารผู้นำของออสเตรียที่ทำให้มหาอำนาจ 2 ขั้วถูกดึงเข้าสู่สงครามจริง แบ่งเป็นค่ายเยอรมนี ชนกับค่ายอังกฤษกับฝรั่งเศส

รบยืดเยื้อ

ช่วงแรกฝ่ายเยอรมนีคาดว่าสงครามนี้จะชนะได้ง่ายเพราะกำลังทหารและเทคโนโลยีดีกว่า แต่ผิดคาดการรบยืดเยื้อ เงินทุนร่อยหรอต้องเริ่มขอกู้จากคนในประเทศ ซึ่งช่วงแรกก็ทำได้ง่ายๆ เพราะในสนามรบยังดูดี
แต่เมื่อผ่านไปช่วงปลายสงคราม ทหารเยอรมนีแพ้บ่อยขึ้นในหลายสนามรบ ทำให้การขอกู้ด้วยอัตราดอกเบี้ยเดิมเป็นไปอย่างยากลำบาก (เพราะคนเริ่มกังวลว่าเยอรมนีจะแพ้) และนั่นตามมาด้วยการแก้ปัญหาสุด Classic ด้วยการที่ธนาคารกลางพิมพ์เงินมาให้รัฐบาลกู้เองเลย
สุดท้ายทั้งรบแพ้และพิมพ์เงินเข้าระบบเยอะเกิน ทำให้เยอรมนีเข้าสู่ภาวะ Hyperinflation หรือเงินสกุลตอนนั้นแทบจะไร้ค่า เกิดภาวะความล้มเหลวทางเศรษฐกิจและการเมืองตามมา เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในยุคมืดที่สงครามฝากไว้ให้

ย้อนอดีตเทียบปัจจุบัน

ถ้าลองเปลี่ยนชื่อประเทศจะคล้ายกับเหตุการณ์ในตอนนี้ระหว่างยูเครน-รัสเซีย (เพราะคนยังมีความคิดแบบเดิม) โดยตั้งแต่ปี 2014 มีการพยายามเตะตัดขารัสเซียมาตลอด เริ่มด้วยการโค่นล้มรัฐบาลยูเครนเดิมที่มีแนวคิดฝักใฝ่รัสเซีย (ตะวันตกสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง) ทำให้ Putin ต้องสั่งยึดดินแดนไครเมียเดิมซึ่งมีฐานทัพตั้งอยู่ แต่แลกมาด้วยการถูกคว่ำบาตรครั้งแรกจากโลกตะวันตก
ปัญหาการยืดเยื้อสงครามในยูเครนเป็นเรื่องที่ BottomLiner กังวล เพราะประวัติศาสตร์บอกเราแล้วว่ายื่งยืดเยื้อ ผู้เล่นหน้าใหม่จะถูกดึงเข้าสนามรบเพิ่มขึ้น การคว่ำบาตรฝ่ายตรงข้ามจะรุนแรงขึ้น (ลดพึ่งพากัน ต่อไปก็ไม่ไว้หน้า) เงินจะถูกใช้กับสงครามมากขึ้นจนค่าของเงินเสื่อมหนัก และเศรษฐกิจจะพังกันทุกฝ่าย
โดยถ้ามองข้ามเรื่องเศรษฐกิจชะลอตัว (เพราะเกิดขึ้นแน่) ไปดูท่าทีของมหาอำนาจ จะเห็นว่าฝั่งตะวันตกขุด Sanction แทบทุกอย่างที่นึกได้ขึ้นมาใช้ ทั้งการยึดทรัพย์สินของรัฐบาลและคนรัสเซีย ตัดการเข้าถึงแหล่งเงินทุนด้วยการเตะออกจากตลาดหุ้น และแบนไม่ให้ค้าขาย
ทั้งหมดเป็นการบีบให้รัสเซียต้องตอบโต้ทางใดทางหนึ่ง เพื่อรักษาฐานอำนาจ โดยตัวเลือกของรัสเซียที่พอจะชนได้ดูแล้วมีเพียงกำลังทหาร (เศรษฐกิจเล็กเกินไปจะชนตะวันตก) ซึ่งถ้า Putin เลือกใช้วิธีนี้ตอบโต้ก็น่ากลัวไม่น้อย เช่น การขยายความขัดแย้งเข้าสู่ประเทศดินแดนติดกันอย่าง Estonia, Latvia, Lithuania (กลุ่ม NATO) หรือการทำให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในยูเครนระเบิด หรือเลวร้ายที่สุดคือการใช้อาวุธนิวเคลียร์ในสงคราม
ยิ่งยืดเยื้อเศรษฐกิจมีแต่จะเสียหาย โดยเฉพาะราคา commodity ที่เป็นเหมือนวัตถุดิบต้นน้ำของการผลิตต่างขึ้นราคาแหลก ซึ่งเมื่อถึงระดับหนึ่งกำลังบริโภคจะแบกต้นทุนไม่ไหวมีแนวโน้มจะเกิดเศรษฐกิจชะลอตัวอีกครั้ง ทางด้านเงินเฟ้อมีแนวโน้มจะเร่งตัวขึ้น ยิ่งทำให้ Fed ตัดสินใจยากขึ้นไปอีก เพราะจะขึ้นดอกเบี้ยก็ทำร้ายเศรษฐกิจ แต่ถ้าไม่ขึ้นเงินเฟ้อก็ไปต่อ

BottomLiner

ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/bottomlinerglobal/posts/5499842230030866