buffett-code-pearl-harbor-to-tesla

หนึ่งในการค้นพบที่สำคัญที่สุดในโลกของมนุษยชาติ คือการค้นพบ “นํ้ามัน”

นํ้ามันถูกค้นพบขึ้นมาหลายพันปีที่แล้วแต่ไม่ได้ถูกนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมอย่างเช่นทุกวันนี้

ในอดีตผู้คนใช้นํ้ามันในการทาหลังคาบ้านเพื่อกันฝน,ทาขวานเพื่อกันสนิมหรือใช้เพื่อจุดตะเกียงเท่านั้น

ดังนั้นการที่คนจะทำสงครามหรือแก่งแย่งกันเพื่อให้ได้นํ้ามันคงเป็นเรื่องที่น่าตลกในยุคสมัยนั้น

คนจะทำสงครามกันเพื่อแย่ง ทาส, แผ่นดิน, ทอง หรือแม้แต่พริกไทย แต่ไม่ใช่นํ้ามันแน่ๆ

มนุษย์ไม่เคยใช้นํ้ามันจริงๆจังๆจนมากถึงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม หรือ Industrial Revolution

ในช่วงศตวรรษที่ 18 เริ่มมีคนนำนํ้ามันมากลั่นเป็นสารต่างๆเช่น เคโรซีน พาราฟิน แนฟตาและนํ้ามันหล่อลื่นอื่นๆ ธุรกิจขุดเจาะและกลั่นนํ้ามันเริ่มกระจายไปทั่วโลกและเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น

จุดสำคัญจริงๆที่ทำให้นํ้ามันมีความสำคัญคือการคิดค้นเครื่องยนต์ (Internal Combustion Engine) ซึ่งใช้เชื้อเพลิงหลักคือนํ้ามัน

หลังจากการคิดค้นเครื่องยนต์ นํ้ามันที่เคยมีใช้กันอย่างล้นเหลือก็ถูกใช้จนหมดอย่างรวดเร็ว เกิดกระแสรวยจากการขุดนํ้ามันไปทั่วอเมริกาทำให้คนเริ่มค้นหาบ่อนํ้ามันและตั้งบริษัทขุดเจาะกันอย่างจริงจัง

หนึ่งในคนที่รํ่ารวยมาจากนํ้ามันในยุคนั้นคือ John D. Rockfeller ผู้ซึ่งครั้งหนึ่งเคยควบคุมกำลังการกลั่นนํ้ามันในสหรัฐฯถึง 90%

ปริมาณการผลิตนํ้ามันที่ 2,000 บาร์เรลในปี 1859 เพิ่มสูงถึง 126 ล้านบาร์เรลในปี 1906

ในปี 1914 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ผู้ทรงอำนาจและผู้นำประเทศทั้งหลายเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของนํ้ามันมากขึ้นไปอีก

จากเรือที่เคยใช้หัวจักรไอนํ้าเปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์ที่ใช้นํ้ามันเป็นเชื้อเพลิง รวมไปถึงรถถัง และเครื่องบิน ถ้าไม่มีนํ้ามันเครื่องจักรสงครามเหล่านี้ก็ไม่ต่างอะไรกับเศษเหล็กดีๆนี่เอง

หลังจากนั้นไม่นานถ่านหินที่เคยเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญที่สุดในโลก

ก็สูญเสียสถานะความสำคัญให้กับนํ้ามันในช่วงปีศตวรรษที่ 20

จากที่ถ่านหินเคยมีสัดส่วนถึง 50% ของการใช้พลังงานในช่วงศตวรรษที่ 19

ลดลงมาเหลือแค่ 20% ส่วนนํ้ามันเป็นสัดส่วนถึง 60% ในศตวรรษที่ 20

สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นอีกครั้งที่นํ้ามันกลายเป็นส่วนสำคัญที่จะชี้เป็นชี้ตายการแพ้หรือชนะของสงคราม

ญี่ปุ่นถูกควํ่าบาตรการซื้อขายนํ้ามันกับสหรัฐฯในสมัยประธานาธิปดี Roosevelt

หากไม่มีนํ้ามันกองทัพญี่ปุ่นจะอ่อนแอลงไม่สามารถทำสงครามยืดเยื้อได้

ญี่ปุ่นจึงตัดสินใจโจมตีสหรัฐด้วยยุทธวิธี “คามิคาเซ่” เกิดเป็นเหตุการณ์ Pearl Harbor

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1960 OPEC ได้ถือกำเนิดขึ้นจากการรวมตัวกันของประเทศผู้ส่งออกนํ้ามันดิบ

โดยในตอนแรกมี 5 ประเทศคือ Venezuala, Iran, Iraq, Saudi Arabia และ Kuwait

ปัจจุบัน OPEC มีสมาชิก 14 ประเทศ เป็นเจ้าของ 44% ของการผลิตนํ้ามันของโลก และ 70% ของแหล่งนํ้ามันดิบสำรองของโลก

ทำไมต้องรวมกันเป็น OPEC? จุดประสงค์บอกว่ารวมกันเพื่อเจรจากันในกลุ่มและสร้างเสถียรภาพให้กับราคานํ้ามันและให้ผลตอบแทนต่อการลงทุนที่ดีต่อประเทศในกลุ่มสมาชิก

พูดเป็นภาษาชาวบ้านคือการปรึกษากันเพื่อผลิตนํ้ามันออกมาในอัตราส่วนที่เหมาะสม ให้ได้ราคาดีๆ เพราะถ้ามีประเทศไหนประเทศหนึ่งที่มีนํ้ามันบ้าคลั่งผลิตออกมาเยอะๆในเวลาหนึ่งก็จะทำให้นํ้ามันราคาลงและไม่เป็นผลดีต่อผู้ค้านํ้ามันทั้งหมด

ดังนั้นฮั้วกันไว้ก็จะเป็นการดีต่อทุกฝ่ายราคานํ้ามันจะได้สูงๆขึ้นไปเรื่อยๆ ดีกับทุกประเทศ (ที่มีนํ้ามันนะ)

แต่สุดท้ายแล้ว OPEC ก็ทะเลาะกันเองเช่นตอนสงคราม Iraq บุก Kuwait ในปี 1990

ส่งราคานํ้ามันจาก $21 ดอลลาร์/บาร์เรล ไปสูงถึง $48 ดอลลาร์/บาร์เรล

ราคานํ้ามันที่ขึ้นขนาดนี้เดือดร้อนถึงใครมากสุด? เดือนร้อนถึงพี่สหรัฐฯนี่เอง

เพราะแม้สหรัฐฯจะเป็นประเทศที่ผลิตนํ้ามันได้มากแต่ก็เป็นประเทศที่บริโภคนํ้ามันมากเช่นกัน

ในช่วงปี 1990-2000 กว่า 30% ของการใช้นํ้ามันของโลกอยู่ที่สหรัฐฯ

ดังนั้นนํ้ามันจึงสำคัญมากๆ เราจะเห็นว่าสหรัฐฯชอบเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสงครามประเทศตะวันออกกลางเสมอ

ส่วนหนึ่งก็เพราะเรื่องนํ้ามันนี่แหละครับ

ตอนที่ราคานํ้ามันขึ้นสูงๆอีกครั้งก็ตอนเศรษฐกิจจีนโตแรงๆ

คนเริ่มกลัวนํ้ามันหมดโลกจากการลดลงของ Reserve

ตะวันออกกลางก็ยังทะเลาะกันไม่เลิก

เลยส่งนํ้ามันให้ขึ้นไปจุดสูงสุดที่ $147 ในปี 2008

หลังจากนั้นเกิด Sub Prime Crisis ก็ลดลงมา

พอเศรษฐกิจเริ่มฟื้นราคานํ้ามันก็กลับมาขึ้นใหม่อีกครั้งแต่รอบนี้สถานการณ์เริ่มเปลี่ยนไป

เมื่อสหรัฐฯสามารถคิดค้นวิธีใหม่ที่จะกลั่นนํ้ามันออกมาจากหิน(Shale Oil)ได้

ทำให้ความจำเป็นที่จะต้องพึ่งนํ้ามันจากตะวันออกกลางลดลง

แต่ต้นทุนในการผลิตยังถือว่าสูงมากที่ 75-80 ดอลลาร์/บาร์เรล

ดังนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่ราคานํ้ามันสูงสหรัฐฯสามารถกลั่นนํ้ามันมาใช้ด้วยวิธีนี้ได้

ซึ่งสุดท้ายก็ทำจริง ในช่วงปี 2011-2013 กำลังการผลิตนํ้ามันของสหรัฐเพิ่มขึ้นถึง 50%

ฝั่ง OPEC เองก็ไม่ยอมลดกำลังการผลิตด้วยเหตุผลที่ว่าไม่อยากสูญเสีย Market share ในการขายนํ้ามันให้กับสหรัฐฯ

และๆ OPEC ก็รู้ว่าถ้านํ้ามันราคาถูก พวกที่ผลิตนํ้ามันจาก Shale Oil (หลักๆก็มาจากสหรัฐฯเนี่ยแหละ) จะต้องเจ๊งแน่ๆเพราะต้นทุนสูงมาก

ดังนั้น Move นี้ของ OPEC คือการพยายามฆ่า Shale Oil ให้ตายด้วยการยอมปล่อยให้ราคานํ้ามันถูกลงซักระยะนึง

พอตายหมดแล้วค่อยขึ้นราคาใหม่ ชีวิตมันจะง่ายขนาดนี้เลยเหรอ?

คำตอบก็คือไม่น่าใช่

อย่างที่เรารู้กันว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับพลังงานเยอะมาก

หนึ่งในนั้นคือการพัฒนาอย่างรวดเร็วของรถยนต์ไฟฟ้า

ประมาณ 45% ของนํ้ามันทั้งหมดในโลกถูกใช้ไปกับรถยนต์ และรถยนต์กำลังจะเปลี่ยนไปใช้ไฟฟ้าแทนแล้ว

เศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างจีนวางแผนที่จะเห็นการเติบโตในอุตสาหกรรมรถยนต์ทั้งหมดมาจากรถยนต์ไฟฟ้า

อินเดียวางแผนที่จะขายแต่เฉพาะรถไฟฟ้าเท่านั้นภายในปี 2030

แม้แต่เยอรมันเองที่ผลิตรถยนต์ใช้นํ้ามันเยอะๆก็ยังวางแผนที่จะแบนรถยนต์นํ้ามันให้ได้ภายในปี 2030 เช่นกัน

ผู้เชี่ยวชาญได้ประเมินไว้ว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะเติบโตจากจำนวน 1.2 ล้านคันเป็น 450 ล้านคันในปี 2035

IEA (International Energy Agency) มีการประมาณการไว้ว่าในอีก 25 ปีข้างหน้าหากเกิดการใช้งานรถไฟฟ้าในระดับนี้จริง

รวมถึงการเปลี่ยนแปลงระบบขนส่งสาธารณะไปใช้ระบบของ UBER หรือรถยนต์อัตโนมัติอย่าง Google และ Tesla ซึ่งทำให้มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงขึ้น จะต้องทำให้ความต้องการนํ้ามันลดลงจากประมาณ 104 ล้านบาร์เรลต่อวันเหลืออยู่ที่ 87 ล้านบาร์เรล/วัน

นอกจากนั้นถ้าคนและอุตสาหกรรมเริ่มหันไปใช้พลังงานทดแทนอย่างแผง Solar ที่มีประสิทธิภาพสูงและราคาถูกลงเรื่อยๆ

หรือเทคโนโลยี Bio Fuel ที่ก็เริ่มมีการผลิตที่สูงขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน

ด้วย 2 ปัจจัยนี้ IEA ได้ประมาณการต้องการจะยิ่งลดลงไปอีกเหลือแค่ 74 ล้านบาร์เรล/วัน

ความต้องการใช้นํ้ามันจะลดจาก 104 ล้านบาร์เรลเหลือแค่ 74 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลงประมาณ 28%

อย่างไรก็ตามประมาณการใช้นํ้ามันที่ IEA ประเมินไว้เป็นของปี 2040

ตอนนี้ราคานํ้ามันอยู่ที่ประมาณ 50 ดอลลาร์/บาร์เรล

ผมคงไม่มีความรู้มากพอที่จะคำนวณได้ว่าราคาในอนาคตจะเป็นเท่าไหร่

แต่พอจะบอกได้ว่าบริษัทนํ้ามันใหญ่ๆคงต้องปรับตัวพอสมควร

และการที่ราคานํ้ามันจะขึ้นแรงๆแบบในปี 2008 นั้นคงมีโอกาสน้อยมาก

บทความของ Bloomberg ได้ให้ข้อมูลไว้ว่าสมัยที่โรงไฟฟ้าสหรัฐฯเปลี่ยนไปใช้แก๊สแทนถ่านหิน

ตอนนั้นทำให้บริษัทถ่านหินล้มละลายไปถึง 50 บริษัท รอบนี้จะล้มไปกี่บริษัทก็อยู่ที่ว่าจะปรับตัวกันมั้ย?

และต้องปรับเร็วแค่ไหนไม่มีใครบอกได้

แต่สิ่งที่ทุกคนรู้ๆอยู่แล้วก็คือ บริษัทที่เป็นผู้นำรถไฟฟ้าอย่าง Tesla พัฒนาไปเร็วมากๆ

ถ้าบริษัทนํ้ามันจะปรับตัวก็คงต้องปรับให้เร็วกว่าพัฒนาการของ Tesla และ Elon Musk ล่ะมั้ง? (ถ้าปรับตามเค้าทันนะ ^^;)

Source:

http://www.salon.com/2013/12/05/oil_led_to_pearl_harbor/

http://www.geohelp.net/world.html

https://en.wikipedia.org/wiki/History_of_the_petroleum_industry

https://medium.com/@dalarossa/oil-crisis-explained-in-3-minutes-60c252fa96f7

https://www.bloomberg.com/graphics/2017-oil-projections/

ที่มาบทความ : http://buffettcode.com/จุดจบนํ้ามันแพง