รับชมบน YouTube: https://youtu.be/eh8pxeGv_q8

ในโลกการลงทุนคริปโตฯ มีกลุ่มนักลงทุนที่เรียกตัวเองว่าเป็นสาย ล่า Airdrop” โดยเฉพาะกันด้วยนะ แล้ว Airdrop ที่ว่านื้คืออะไร ใช่อันเดียวกับที่อยู่ใน iPhone รึเปล่า มาหาคำตอบกันในคลิปนี้

Airdrop คืออะไร

  • Airdrop หมายถึงแผนการตลาดรูปแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมสำหรับผู้พัฒนาเหรียญคริปโตฯ ใหม่ ๆ ในการประชาสัมพันธ์เหรียญของตัวเองด้วยการแจกเหรียญ หรือพูดง่าย ๆ เลยก็คือการแจกเงิน
  • สังเกตได้ว่าเหรียญคริปโตฯ สักเหรียญ จะมีมูลค่าขึ้นมาได้ก็จำเป็นต้องอาศัยการถูกนำใช้แลกเปลี่ยน การ Airdrop จึงเป็นการกระตุ้นให้เกิดการนำเหรียญไปใช้แลกเปลี่ยนกันต่อไป
  • หรืออย่างน้อยที่สุดก็ทำให้ตัวเหรียญถูกพูดถึงหรือเป็นที่รู้จักมากขึ้น เท่านี้ก็นับว่าแผนการทำ Airdrop ของเหรียญนั้นประสบความสำเร็จไปแล้วขั้นหนึ่ง 

4 รูปแบบของการทำ Airdrop

  • 1. Standard airdrop เป็นการแจก Airdrop ในรูปแบบเบสิคสุด นั่นคือเราจะได้รับเหรียญเข้า Wallet ของเราฟรี ๆ เพียงแค่สมัครสมาชิกหรือลงทะเบียนในแพลตฟอร์มของผู้พัฒนาเหรียญ
  • 2. Bounty airdrop เป็นการแจกเหรียญที่อาจกำหนดให้เราต้องร่วมกิจกรรมอะไรนิด ๆ หน่อย ๆ เพื่อรับเหรียญ เช่น รีทวีตข้อมูลของโปรเจกต์เบื้องหลังเหรียญทาง Twitter, ลงทะเบียนรับข่าวสารของโปรเจกต์ผ่านอีเมล หรือเข้าร่วมสัมมนาที่จัดโดยเจ้าของโปรเจกต์เหรียญ
  • 3. Exclusive airdrop เป็นการแจกเหรียญเฉพาะกลุ่ม อาจให้เฉพาะผู้ที่สนับสนุนโปรเจกต์พัฒนาเหรียญมาตั้งแต่ช่วงแรก ๆ หรือมีปริมาณการซื้อขายเหรียญสูง ๆ
  • 4. Holder airdrop เป็นการแจกเหรียญสำหรับผู้ถือครองเหรียญตามระยะเวลาที่ได้กำหนด และไม่ว่าเรากำลังสนใจจะล่า Airdrop รูปแบบไหนอยู่ก็ตาม สิ่งแรกที่ต้องมีแน่ ๆ ก็คือ Crypto Wallet อย่างที่นิยมใช้กันก็เช่น Metamask

วิธีการตามล่าหา Airdrop

  • ก็คงต้องเริ่มจากมองหาทีมผู้ผลิตเหรียญใหม่ ๆ
  • ซึ่งแหล่ง Social media ที่มักถูกนำมาใช้ประชาสัมพันธ์โปรเจกต์เหรียญใหม่ ๆ ก็หนีไม่พ้น Twitter นั่นเอง
  • โดยอาจเริ่มต้นมองหาผ่าน #Airdrop แล้วตามไปศึกษาโปรเจกต์ของเหรียญที่สนใจผ่านเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มที่เป็นทางการอีกครั้งก็ได้  

สิ่งสำคัญมาก ๆ ที่ต้องระวัง

  • หลายครั้งที่การตามล่า Airdrop อาจนำเราไปสู่แก๊งต้มตุ๋นที่แค่จะหลอกเอาเงินลงทุนของเราไปเท่านั้น
  • ถึงกับมีชื่อเรียกเฉพาะของการต้มตุ๋นด้วยการหลอกแจก Airdrop นี้ว่า “Dusting attack” ซึ่งเป็นการแอบแฝงเหรียญอื่นจำนวนน้อย ๆ มาก ๆ จนเจ้าของบัญชีแทบไม่สังเกตเห็นเข้าใน Wallet ของเราพร้อมกับเหรียญที่ Airdrop
  • ทำให้แก๊งต้มตุ๋นสามารถติดตามการเคลื่อนไหวของธุรกรรมใน Wallet ของเรา นำไปสู่การระบุตัวตนและข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ ซึ่งก็อาจถูกนำข้อมูลไปขาย หรือนำไปใช้ก่ออาชญากรรมไซเบอร์รูปแบบอื่น ๆ ต่อไปได้
  • นอกจากนี้สิ่งที่ Community ของสายล่า Airdrop มักจะแนะนำให้ท่องจนขึ้นใจนั่นคือ DYOR หรือ Do Your Own Research
  • ต้องระลึกเสมอว่า เหรียญใหม่ ๆ ที่ถูกผลิตออกมาจะมีมูลค่าได้ก็ต้องอาศัยการแลกเปลี่ยน และการแลกเปลี่ยนจะเกิดขึ้นได้ยั่งยืนก็ต้องมีโปรเจกต์ที่ส่งเสริมการใช้เหรียญมารองรับ
  • ซึ่งถ้าหากว่าเหรียญที่เราสนใจอยู่ ดูไม่ได้มีแผนดำเนินงานของโปรเจกต์ที่ชัดเจนหรือน่าเชื่อถือเพียงพอ วันหนึ่งก็คงด้อยมูลค่าลง หรืออาจถูกเฉลยว่าเป็นเหรียญที่สร้างมาเพื่อปั่นราคาเฉย ๆ แล้วก็ทิ้งโปรเจกต์กันไปก็ได้

ประเด็นเกี่ยวกับภาษี

  • การที่เราได้รับ Airdrop มาฟรี ๆ แบบนี้ ในมุมมองของกฎหมายภาษีก็นับแล้วว่าเป็นเงินได้ประเภทที่ 8
  • ทำให้เราต้องนำมูลค่าของเหรียญ ณ  ขณะเวลาที่ได้รับเหรียญนั้นมารวมคำนวณในการยื่นภาษีบุคคลธรรมดาทั้งครึ่งปีและประจำปีกันด้วย

พบความสุดพิเศษสำหรับคุณได้ในทุกวัน ทั้งบทความให้ความรู้เกี่ยวกับกองทุนรวม หุ้น คริปโตฯ และการบริการ โปรโมชั่น ของรางวัลต่างๆ ที่คัดสรรมาเพื่อมอบให้กับสมาชิก FINNOMENA เท่านั้น
👉 สมัครสมาชิกเว็บไซต์ FINNOMENA https://finno.me/register-website


มือใหม่ห้ามพลาด! คอร์สเรียนพิเศษจาก FINNOMENA U "กองทุนรวม 101 สำหรับมือใหม่"