รับชมบน YouTube: https://youtu.be/GlCucUWd7H0

บางคนบอกว่าเมื่อลงทุน Bitcoin แล้วชีวิตของคุณจะเปลี่ยนไป แต่ว่าจริง ๆ แล้วการค้นพบ Blockchain ต่างหากที่ทำให้โลกของเราเปลี่ยนไป วันนี้เรามาพูดคุยกันให้มากขึ้นเกี่ยวกับเทคโนโลยี Blockchain ที่ทำให้หลายสิ่งที่เคยเป็นไม่ได้กลับเป็นไปได้ ในคลิปนี้กัน

 

ผลผลิตของ Blockchain

  • Bitcoin หรือ Cryptocurrency ไม่ใช่ผลผลิตเดียวที่ Blockchain สามารถสรรค์สร้างให้กับโลกใบนี้ได้
  • แท้ที่จริงแล้วทุกกิจกรรมที่อาศัยการบันทึกข้อมูลอย่างปลอดภัย โปร่งใส และไร้ตัวกลาง ก็ล้วนใช้ประโยชน์จาก Blockchain ได้ทั้งสิ้น
  • ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมทางการเงินโดยไม่ต้องรอธนาคารเปิดทำการ, การพิสูจน์ว่าแบรนด์เนมที่ส่งต่อกันมาเป็นของแท้, การขอประวัติสุขภาพโดยไม่ต้องทำเอกสารส่งทีละโรงพยาบาล ไปจนถึงการลงคะแนนเลือกตั้ง
  • จะเห็นได้ว่า Blockchain สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางมาก ๆ 

 

Blockchain สุดยอดเทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูล

  • สาเหตุที่ทำให้ Blockchain ได้รับการยกย่องในฐานะเทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลที่ทรงพลังขนาดนี้ นั่นเป็นเพราะการมีกลไกจัดเก็บข้อมูลที่ไม่เหมือนใคร
  • นั่นคือการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบของบล็อก และบล็อกที่ถูกสร้างขึ้นใหม่จะเชื่อมต่อกับบล็อกที่ถูกสร้างขึ้นในลำดับก่อนหน้า กลายเป็นสายโซ่เส้นยาวเรียงกันไปเรื่อย ๆ
  • ทำให้มองเห็นลำดับเวลาของการบันทึกข้อมูลและทำให้ไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไข ลบ หรือทำลายข้อมูลที่ถูกบันทึกสำเร็จแล้วได้
  • อีกคุณสมบัติสำคัญของ Blockchain คือการไม่พึ่งพาตัวกลางในการยืนยันความถูกต้องของข้อมูล
  • แต่จะใช้วิธีกระจายศูนย์ หรือการใช้เครือข่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างคอมพิวเตอร์ เชื่อมเข้ากับ Blockchain แล้วช่วยกันประมวลผลการทำธุรกรรมที่เกิดขึ้นใน Blockchain
  • เราเรียกกลไกที่เกิดขึ้นนี้ว่า “Proof-of-work” ซึ่งทำให้ Blockchain ไม่ถูกผูกขาดเข้ากับคนใดคนหนึ่งหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง เกิดเป็นความน่าเชื่อถือและยังประหยัดค่าธรรมเนียม
  • ส่วนผู้ที่ทำหน้าที่ซัพพอร์ตการทำงานของ Blockchain ก็จะได้รับ Cryptocurrency เป็นการตอบแทน กลายเป็นกิจกรรมที่หลาย ๆ คนเรียกกันว่า “การขุดเหมืองคริปโต” 

 

กลไกของ Blockchain ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

  • หากมองว่าการขุดเหมืองคริปโตเป็นกิจกรรมที่ใช้พลังงานมหาศาล ขัดต่อจิตสำนึกอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ปัจจุบันก็มีการคิดค้นกลไกทางเลือก เรียกว่า “Proof-of-stake”
  • โดยผู้ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ร่วมประมวลผลธุรกรรมใน Blockchain จะต้อง Stake หรือวางเหรียญค้ำประกันเอาไว้ในระบบก่อน
  • ด้วยวิธีการนี้จะทำให้เกิดการกระจายศูนย์เหมือนกัน แต่ใช้พลังงานน้อยกว่า เพราะไม่ต้องเร่งใช้คอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่อง
  • อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ว่า Proof-of-work” หรือ “Proof-of-stake” ดีกว่ากัน ก็ยังคงเป็นประเด็นที่เถียงกันไม่จบและยังคงต้องรอพิสูจน์ผ่านการใช้งานจริงต่อไป
  • ตัวอย่างของ Blockchain ที่ใช้กลไก Proof-of-work เช่น Bitcoin Blockchain ส่วน Ethereum ก็กำลังมีแผนแปลี่ยนจากกลไก Proof-of-work ไปเป็น Proof-of-stake เร็ว ๆ นี้

 

พบความสุดพิเศษสำหรับคุณได้ในทุกวัน ทั้งบทความให้ความรู้เกี่ยวกับกองทุนรวม หุ้น คริปโตฯ และการบริการ โปรโมชั่น ของรางวัลต่างๆ ที่คัดสรรมาเพื่อมอบให้กับสมาชิก FINNOMENA เท่านั้น
👉 สมัครสมาชิกเว็บไซต์ FINNOMENA https://finno.me/register-website


มือใหม่ห้ามพลาด! คอร์สเรียนพิเศษจาก FINNOMENA U "กองทุนรวม 101 สำหรับมือใหม่"