รับชมบน YouTube คลิก

หลายคนอาจจะเข้าใจการจัดพอร์ตคลาดเคลื่อนไป เช่น เข้าใจไปว่าการจัดพอร์ตคือการทำให้พอร์ตมีหลักทรัพย์จำนวนมาก ๆ หรือมีกองทุนจำนวนมาก ๆ ยิ่งมากยิ่งดี ยิ่งช่วยลดความเสี่ยง จริง ๆ แล้วก็ไม่เสมอไป คลิปนี้ก็เลยจะมาแชร์ ทริคเด็ด ๆ ในการจัดพอร์ตกองทุนให้รุ่งทุกสถานการณ์กัน

1. แยก 1 เป้าหมายต่อ 1 พอร์ต

  • แต่ละคนมีเป้าหมายการเงินที่หลากหลาย ซึ่งแต่ละเป้าหมายก็มีกรอบเวลา ความสำคัญ ความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่เท่ากัน สิ่งเหล่านี้มีผลกับการตัดสินใจว่าพอร์ตการลงทุนของเราควรจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร
  • เป้าหมายระยะสั้น และมีความสำคัญสูง: พอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมก็อาจเน้นสินทรัพย์ที่มีลักษณะให้ผลตอบแทนแบบ Fixed Income มีสภาพคล่องสูง ความผันผวนต่ำ อย่างกองทุนรวมตลาดเงิน หรือตราสารหนี้ระยะสั้น เป็นต้น
  • เป้าหมายระยะยาว ใช้เงินตอนเกษียณ: หน้าตาของพอร์ตการลงทุนก็อาจเน้นที่หลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นได้ เพื่อให้คาดหวังผลตอบแทนที่เพียงพอกับเป้าหมายเมื่อชดเชยกับอัตราเงินเฟ้อ

2. อย่าถือสินทรัพย์ประเภทเดียว หรืออุตสาหกรรมเดียว โดยเฉพาะพอร์ตลงทุนระยะยาว

  • ไม่มีสินทรัพย์ไหนให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดตลอดเวลา การที่ในพอร์ตของเรามีสินทรัพย์เพียงประเภทเดียว ในขาขึ้นคงไม่เป็นไร แต่ขาลงเมื่อไหร่สูญทั้งพอร์ตแบบนี้ก็คงจะไม่ดี
  • เพื่อไม่ให้เราพลาดช่วงที่ดีที่สุดของสินทรัพย์ลงทุน หรือแบกรับช่วงที่แย่ที่สุดของสินทรัพย์การลงทุน ในพอร์ตก็ไม่ควรจะมีแค่สินทรัพย์เดียว หรืออุตสาหกรรมเดียว

3. เพิ่มสินทรัพย์ที่มี Negative/Zero Correlation เข้าไปในพอร์ต

  • ควรให้ความสำคัญกับสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่เป็นลบ หรือเป็น ระหว่างกัน
  • แต่ละประเภทสินทรัพย์ที่เลือกเข้ามาในพอร์ต ควรมีทิศทางต่อสถานการณ์ตลาดที่ตรงข้ามกัน หรือไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างกัน ตัวอย่างเช่น ตลาดหุ้นกับทองคำ เป็นต้น 

4. อย่ามองแค่อัตราผลตอบแทน แต่ให้ดูความคุ้มค่าความเสี่ยง

  • การทำ Asset Allocation จะไม่ใช่วิธีที่ทำให้ได้รับผลตอบแทนที่สูงที่สุด แต่จะเป็นวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยง เพื่อที่จะทำให้พอร์ตการลงทุนมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับความเสี่ยงมากที่สุด
  • พอร์ตการลงทุนที่มี Performance ดีที่สุด ไม่ได้วัดจากอัตราผลตอบแทนคาดหวังเพียงอย่างเดียว แต่ควรดูความเสี่ยง และความคุ้มค่าต่อความเสี่ยง (Sharpe Ratio) ด้วย

5. Review และ Rebalance พอร์ตทุกปี

  • ต้อง Review และ Rebalance พอร์ตอย่างน้อยปีละครั้ง เพราะอย่างอัตราผลตอบแทนคาดหวัง ความผันผวน ค่า Sharpe ratio, Correlation ก็ไม่ได้คงที่เสมอ
  • ต้องทบทวนว่า พอร์ตการลงทุนที่เราได้จัดไว้ ยังมี Performance ที่ดีพอสำหรับเป้าหมายการเงินของเราอยู่หรือไม่ ถ้าไม่ดีจะได้ปรับสัดส่วนพอร์ต หรือคัดเลือกกองทุนกันใหม่
  • ถ้าดีอยู่แล้วก็จะได้พิจารณา Rebalance พอร์ต หรือการควบคุมสัดส่วนของพอร์ตให้เป็นไปตามสัดส่วนเดิมที่กำหนดไว้อยู่เสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงการรับความเสี่ยงการลงทุนที่สูงกว่าที่ตัวเองจะรับได้

มือใหม่ห้ามพลาด! คอร์สเรียนพิเศษจาก FINNOMENA U "กองทุนรวม 101 สำหรับมือใหม่"