รับชมบน YouTube: https://youtu.be/uBOe-V4Zxlg

ใครเคยสงสัยกันบ้างว่า ทำไมเข้าไปดูราคา NAV ของกองทุนรวมแล้ว บางกองขึ้นว่าเป็นข้อมูลอัปเดตเมื่อวาน บางกองอัปเดตเมื่อ 2 วันก่อน บางกองอัปเดตช้าไป 5 วันเลยก็มี ทำไมการอัปเดตข้อมูลกองทุนถึงช้าและแต่ละกองก็อัปเดตไม่เท่ากันแบบนี้ แล้วถ้าเราซื้อกองทุนวันนี้ มันจะได้ราคา NAV ของวันไหนกันแน่ มาหาคำตอบกันได้ในคลิปนี้

การทำงานของ NAV โดยทั่วไป

  • ข้อมูลที่จะแสดงให้เห็นเป็นข้อมูลในอดีต เป็นเรื่องปกติของกองทุนรวม จะไม่เหมือนเวลาเราซื้อขายสินทรัพย์การลงทุนอื่น ๆ อย่าง หุ้น ที่จะแสดงราคาซื้อขายแบบ Real-time ได้เลย
  • สำหรับกองทุนรวมนั้นจะเป็นไปในลักษณะทำรายการก่อน รู้ราคาทีหลัง เพราะรูปแบบการดำเนินงานของกองทุนจะต้องรอรวบรวมรายการธุรกรรมจากผู้ลงทุนทั้งหมด ณ สิ้นวันทำการก่อน แล้วจึงสรุปมูลค่าสินทรัพย์สุทธิและจำนวนหน่วยลงทุนของกองทุน เรียบร้อยแล้วถึงจะได้รู้ว่าราคา NAV ต่อหน่วยของวันที่ทำธุรกรรมไปนั้นเป็นเท่าไหร่
  • ทำให้ราคา NAV ของกองทุนที่เราเห็นขณะทำธุรกรรมจะเป็นข้อมูลในอดีตย้อนหลังไปอย่างน้อย วันทำการเสมอ

NAV กองทุนต่างประเทศ

  • หากเป็นกองทุนต่างประเทศ ก็อาจแสดงข้อมูลที่อัปเดตได้ช้ากว่านั้น เพราะ Time Zone ที่แตกต่างกัน หากกองทุนต่างประเทศนั้นลงทุนในประเทศโซนยุโรปหรืออเมริกา กว่าจะรอตลาดบ้านเค้าเปิดและปิดเพื่อสรุปข้อมูลราคา NAV ก็อาจใช้เวลาข้ามวัน ข้อมูลกองทุนที่อัปเดตล่าสุดจึงอาจจะเป็นข้อมูลในอดีตย้อนไปประมาณ วันทำการ
  • นอกจากนี้ก็ต้องนึกถึงวันหยุดทำการของตลาดหลักทรัพย์แต่ละประเทศที่แตกต่างกันด้วย อย่างเช่น จะซื้อกองทุนจีนวันนี้ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ไทยเปิดให้ทำรายการได้ แต่วันเดียวกันนั้นดันตรงกับช่วงวันหยุดยาวของประเทศจีน กว่าจะรอตลาดจีนเปิดและปิดอีกทีเพื่อสรุปมูลค่า NAV ต่อหน่วยได้ ก็อาจต้องรอข้ามสัปดาห์เป็นเรื่องปกติเช่นกัน

ระยะเวลาในการจ่ายเงินค่าขายคืนที่แตกต่างกันไปของแต่ละกองทุน

  • กองทุนรวมตราสารหนี้ในประเทศจะกำหนดระยะเวลาเป็น วันหลังทำรายการ หรือที่เรียกว่า T+1
  • กองทุนรวมหุ้นในประเทศจะเป็น T+2
  • ส่วนกองทุนรวมต่างประเทศก็อาจใช้เวลา T+3 จนถึง T+5 ขึ้นอยู่กับ Time Zone ของประเทศกองทุนปลายทาง
  • เราสามารถเข้าไปดูระยะเวลารับเงินของแต่ละกองทุนได้จาก Fund fact sheet ของกองทุนรวมที่สนใจได้เลย 

การทำรายการซื้อหรือขาย (Cut-off time) ที่แตกต่างกันไปของแต่ละกองทุน

  • ส่วนมากจะกำหนดไว้ว่าทำรายการได้ตั้งแต่ 8:30 – 15:30 ของแต่ละวันทำการ แปลว่าหากทำรายการเข้ามาตอน 16:00 ก็นับว่าทำรายการในวันนั้นไม่ทัน กลายเป็นการตั้ง Order รอทำรายการในวันทำการถัดไป
  • หากเป็นการทำรายการซื้อขายผ่านโบรกเกอร์ หรือนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ไม่ใช่การทำรายการผ่าน บลจ. ของกองทุนนั้น ๆ โดยตรง ก็ต้องเผื่อเวลามากขึ้นอีก
  • อย่างเช่นการทำรายการซื้อขายกองทุนผ่าน FINNOMENA หากเป็นกองทุนที่จดทะเบียนในไทยก็แนะนำให้ทำรายการภายใน 14:00 ของวันทำการ หากเป็นกองต่างประเทศจะมีบางกองที่กำหนดให้ต้องทำรายการภายใน 11:00 แต่บางกองก็ขยายให้ถึง 14:00 เหมือนกัน
  • ส่วนนี้หากกลัวว่าจะสับสนหรือจำไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เพราะในแอปฯ ของ FINNOMENA จะแสดงรายละเอียดส่วนนี้เอาไว้ให้ด้วยว่ากองทุนที่สนใจนั้นกำหนด Cut-off time เป็นกี่โมง 

สรุปประเด็นเรื่อง NAV

  • ข้อมูล NAV ต่อหน่วยของกองทุนรวมจะเป็นข้อมูลในอดีตเสมอ เพราะรูปแบบการดำเนินงานของกองทุนรวมจะต้องรอสรุปข้อมูลตอนสิ้นวันทำการก่อนนั่นเอง นอกจากนี้หากเป็นกองต่างประเทศก็จะมีปัจจัยของ Time Zone และวันทำการที่แตกต่างกัน ทำให้การอัปเดตข้อมูลอาจช้ากว่าได้เป็นเรื่องปกติ ดังนั้นหลังจากนี้เห็นข้อมูลอัปเดตล่าสุดเป็นข้อมูลในอดีตก็ไม่ต้องตกใจไป
  • นอกจากนี้เมื่อเข้าใจรูปแบบการดำเนินการของกองทุนรวมแล้ว ก็จะเห็นได้ว่าเมื่อเราทำธุรกรรมเกี่ยวกับกองทุนรวม ก็จะเป็นการทำรายการไปก่อน แล้วรู้ราคา NAV ทีหลังอยู่เสมอ การลงทุนในกองทุนรวมโดยตั้งใจจะจับจังหวะราคา NAV จึงไม่ใช่สิ่งที่แนะนำนั่นเอง

มือใหม่ห้ามพลาด! คอร์สเรียนพิเศษจาก FINNOMENA U "กองทุนรวม 101 สำหรับมือใหม่"