รับชมบน YouTube: https://youtu.be/iLbTvi4UnqY

ทุกวิกฤติของใครคนหนึ่ง จะเป็นโอกาสของใครอีกคนหนึ่งเสมอ ในสถานการณ์น้ำมันแพงก็เช่นกัน ที่ถึงแม้จะมีผู้ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง แต่แน่นอนว่ายังคงมีบางกลุ่มธุรกิจที่ได้ประโยชน์จากสถานการณ์นี้ เรามาพูดคุยประเด็นนี้ให้มากขึ้นในคลิปนี้กัน

น้ำมันที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ เกิดจากปัจจัยสำคัญอะไรบ้าง

Supply หรือความต้องการขายน้ำมัน

  • กลุ่มผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ของโลกมีอยู่น้อยราย หนึ่งในนั้นคือ OPEC (องค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน) และชาติพันธมิตร หรือที่เรียกว่า OPEC+ ซึ่งมีกำลังการผลิตน้ำมันดิบได้สูงถึง 40% ของปริมาณการผลิตทั้งหมดในตลาดโลก จึงนับได้ว่าเป็นผู้กำหนดสมดุลในตลาดซื้อขายน้ำมัน อีกทั้งยังมีอำนาจในการปรับราคาขึ้นและลดราคาลง 
  • อิทธิพลของปัจจัยนี้เห็นได้ชัดจากกรณีสงครามรัสเซียยูเครน เมื่อรัสเซียเป็นหนึ่งในสมาชิก OPEC+ สงครามที่เกิดขึ้นจึงส่งผลต่อความกังวลเรื่องอุปทาน ดันราคาน้ำมันทะลุ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ทำสถิติสูงสุดในรอบหลายปี 

Demand หรือความต้องการซื้อน้ำมัน

  • เศรษฐกิจที่ยิ่งเติบโต ก็มีส่วนที่ทำให้ราคาน้ำมันยิ่งเพิ่มสูงขึ้น เพราะความต้องการซื้อน้ำมันก็มักจะเพิ่มขึ้นตามนั่นเอง ไม่ว่าจะด้วยการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น การจับจ่ายใช้สอย หรือการเดินทางคมนาคมของผู้คนที่เพิ่มขึ้น  
  • สถานการณ์ที่เห็นได้ชัด คือช่วงเริ่มต้นของวิกฤติโควิด-19 ที่การเดินทางทั้งในและระหว่างประเทศหยุดชะงักแทบพร้อมกันทั่วโลก ราคาน้ำมันก็ปรับลดลง และเมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย เริ่มเปิดเมืองเปิดประเทศ ราคาน้ำมันก็เพิ่มขึ้น 

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา 

  • เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบราคาน้ำมันได้ เพราะน้ำมันมักถูกซื้อขายกันในตลาดโลกด้วยสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นหลัก
  • ในช่วงที่เงินบาทอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ก็จะทำให้ต้นทุนนำเข้าน้ำมันในไทยยิ่งสูงขึ้น 

กลุ่มธุรกิจที่ได้ประโยชน์จากสถานการณ์ราคาน้ำมันพุ่งสูง

  • แน่นอนว่าไม่พ้นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน แต่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตและจำหน่ายน้ำมันมีหลากหลายกลุ่ม
  • ตั้งแต่กลุ่มต้นน้ำ (Upstream) อย่างธุรกิจขุดเจาะน้ำมัน ไล่มากลางน้ำ (Middle stream) อย่างธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน มาจนถึงปลายน้ำ (Downstream) อย่างธุรกิจปั๊มน้ำมัน
  • แต่เฉพาะธุรกิจต้นน้ำ อย่างธุรกิจขุดเจาะน้ำมันเท่านั้น ที่อาจนับได้ว่าได้รับประโยชน์จากสถานการณ์น้ำมันแพงอย่างแท้จริง
  • โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจที่เป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ ก็มีโอกาสที่จะสร้างกำไรสู่ธุรกิจได้มากขึ้น
  • เช่น บริษัท ExxonMobil ประกาศรายได้สูงถึงเกือบ 2 แสนล้านบาทในไตรมาส 2 ของปี 2565 ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าเทียบจากปีก่อนหน้า และ Chevron โกยกำไรประจำไตรมาสสูงสุดในรอบทศวรรษ ไม่ต่างจากบริษัท Shell ที่มีรายได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกเช่นกัน

สิ่งที่เป็นข้อจำกัดอย่างมากของธุรกิจน้ำมัน

  • นั่นคือราคาน้ำมันที่มีความผันผวน กำไรที่ได้เห็นในช่วงปีนี้ ต้องแลกกับการขาดทุนอย่างหนักในช่วงหลายปีก่อนหน้า เพราะแม้แต่ในช่วงที่ราคาน้ำมันร่วงหนัก ธุรกิจก็ยังจำเป็นต้องขายน้ำมันในราคาขาดทุนนั้นอยู่ดี

ธุรกิจอื่นที่ได้รับอิทธิพลเชิงบวกจากสถานการณ์น้ำมันแพง นอกจากธุรกิจน้ำมัน

  • เช่น ธุรกิจธนาคารและประกัน
  • โดยที่เมื่อราคาน้ำมันเพิ่ม ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น ดอกเบี้ยก็มีแนวโน้มเป็นขาขึ้น ส่งผลให้กลุ่มธนาคารและประกันจะได้รับประโยชน์จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นไปด้วยนั่นเอง 

พบความสุดพิเศษสำหรับคุณได้ในทุกวัน ทั้งบทความให้ความรู้เกี่ยวกับกองทุนรวม หุ้น คริปโตฯ และการบริการ โปรโมชั่น ของรางวัลต่างๆ ที่คัดสรรมาเพื่อมอบให้กับสมาชิก FINNOMENA เท่านั้น
👉 สมัครสมาชิกเว็บไซต์ FINNOMENA https://finno.me/register-website


มือใหม่ห้ามพลาด! คอร์สเรียนพิเศษจาก FINNOMENA U "กองทุนรวม 101 สำหรับมือใหม่"

iran-israel-war