“The UpTrend” [Q&A] “ตอบคำถามคาใจนักลงทุนกองทุนรวม ตอนที่ 10” (7 เม.ย. 2021)  

Drawdown / Maximum drawdown 

  • Maximum Drawdown คือ “ผลขาดทุนสูงสุด” เป็นค่า % ที่ได้จากการวัดระดับผลตอบแทนขาดทุนสูงสุดเทียบจากจุดที่เคยได้รับผลตอบแทนสูงที่สุด บอกถึงอดีตที่ผ่านมาของกองทุนนั้น เคยปรับลดลงมากน้อยแค่ไหน  
  • แสดงให้เห็นความสามารถในการควบคุมความเสี่ยงของผู้จัดการกองทุน  
  • สังเกตว่าหากกองทุนไหนที่มีค่า Maximum Drawdown ติดลบสูง ๆ (ขาดทุนเยอะ) ผลตอบแทนจะอยู่ในระดับต่ำ เพราะกว่าจะสร้างผลงานให้กลับมาดีได้ต้องใช้เวลา ตรงกันข้ามกองทุนที่มีค่า Maximum Drawdown ติดลบน้อย ๆ (ขาดทุนไม่เยอะ) มักจะสร้างผลตอบแทนดีกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม 
  • นำมาประมาณ Recovery Time ต่อได้ว่าต้องใช้ระยะเวลานานเท่าไหร่ ถึงจะกลับมาเท่าทุน 
  • นอกจากนี้ ทำให้ผู้ลงทุนได้เช็กความสามารถในการรับความเสี่ยง 
  • การวัดผลจากข้อมูลในอดีต  ไม่ได้การันตีอนาคตว่าจะไม่เจอ Drawdown ที่หนักกว่านี้อีก การติดตามการลงทุนในสินทรัพย์ที่เราลงทุนยังคงสำคัญ 

Sell in May and Go Away 

  • หนึ่งในเรื่องลี้ลับจากตลาดหุ้น (Market Anomaly) 
  • เมื่อสังเกตสถิติย้อนหลังในตลาดหุ้น โดยเฉพาะในตลาดหุ้นประเทศตะวันตก จะมีช่วงตั้งแต่พฤษภาคมไปจนถึงฮาโลวีน ก็คือปลายตุลาคม (6 เดือนฤดูร้อน) ที่ตลาดหุ้นมักให้ผลตอบแทนน้อย เมื่อเทียบกับ 6 เดือนฤดูหนาวช่วงที่เหลือ 
  • ทำให้เกิดการขายหุ้นช่วงพฤษภาคม แล้วเข้าซื้อใหม่ช่วงต้นพฤศจิกายนโดยไม่ได้นัดหมาย เพราะเชื่อว่าจะเป็นการหลีกเลี่ยงช่วงที่ตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนที่ไม่ดี 
  • ย้อนไปถึงที่มาของความเชื่อนี้ เชื่อว่าเป็นวลีที่พูดกันเริ่มแรกที่อังกฤษ สำนวนเต็ม ๆ คือ “Sell in May and Come Back on St. Leger’s Day.” สะท้อนถึงวัฒนธรรมสมัยก่อน ที่เหล่าผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เช่น นักปรัชญา พ่อค้า นายธนาคาร จะใช้เวลาพักผ่อนหยุดงานในช่วงฤดูร้อน แล้วกลับมารันวงการอีกทีในงานเทศกาลแข่งม้า St. Leger’s Day ในช่วงกลางเดือน ก.ย. 
  • หรือถ้าจะให้พยายามอธิบายให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน ก็อาจจะเป็นเพราะว่าช่วงเดือน พ.ค. จะเป็นช่วงหลังจากที่ได้รู้ผลประกอบการไตรมาสแรกของแต่ละบริษัท และมีการจ่ายปันผลประจำปีให้ผู้ถือหุ้นแล้ว จึงอาจเกิดการขายหุ้นเพื่อทำกำไรระหว่างทาง ทำให้ราคาหุ้นมีการปรับตัวลงมาก็ได้ 
  • ตั้งแต่ 2013 การสังเกตทางสถิติพบว่า ความเชื่อนี้ไม่ค่อยมีผลต่อตลาดทุนอีกต่อไปแล้ว และการใช้กลยุทธ์การลงทุนตามแนวความเชื่อนี้ จะทำให้พลาดช่วงรับผลตอบแทนการลงทุนที่ดีไปด้วยซ้ำ 
  • อย่างหลายตลาดหุ้น อย่างเช่น NASDAQ ก็เคยให้ผลตอบแทนสูงต่อเนื่องข้ามปี หากยึดตามความเชื่อนี้ ก็คงจะพลาดโอกาสรับผลตอบแทนเต็มเม็ดเต็มหน่วยส่วนนี้ไป 

Catalyst / Foreign Limit 

  • Catalyst แปลว่าตัวเร่งปฏิกิริยา ตัวอย่างของ Catalyst คือ Foreign Limit (Foreign Ownership Limit) 
  • ปลายกันยา 2015 เวียดนามออก พ.ร.บ. อนุญาตให้ชาวต่างชาตถือหุ้นบริษัทมหาชน ถือหุ้นได้ 100% ที่ไม่อยู่ในกลุ่มธุรกิจถูกยกเว้น อย่างบริษัทที่ให้บริการสื่อกลางการชำระค่าสินค้าและบริการภายในประเทศ ถูกลิมิติที่สูงสุดไม่เกิน 49% 
  • Sai Gon Securities Inn (SSI) เป็นบริษัทแรกในตลาดหุ้นเวียดนาม ที่ประกาศให้ต่างชาติถือหุ้นได้ 100% ในปีเดียวกันกับการออกกฎหมาย 
  • หุ้นของบริษัทที่ประกาศเช่นนี้ มักจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนสูงราคาบวกขึ้นแรง เพราะหลายธุรกิจโดยเฉพาะที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยี จำเป็นต้องให้เงินทุนสูง 

Default / Set aside 

  • Default แปลว่า ผิดนัดชำระหนี้ เป็นความเสี่ยงหลักของการลงทุนในตราสารหนี้ รวมถึงกองทุนรวมตราสารหนี้ 
  • ข้อดีของการลงทุนในตราสารหนี้คือผลตอบแทนการันตีล่วงหน้าตามดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีความเสี่ยงเลย เพราะถ้าเจ้าหนี้หรือผู้ออกตราสารเกิดวิกฤติจนไม่สามารถชำระดอกเบี้ยได้เต็มจำนวนตามเวลา ผู้ลงทุนในตราสารหนี้ก็มีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนล่าช้า หรืออาจถึงขั้นได้รับเงินคืนเต็มจำนวน 
  • Set aside แปลว่า กันไว้ แยกไว้ ในภาษาการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนตราสารหนี้ จะหมายถึงการที่กองทุนตราสารหนี้แยกการคำนวณ “ตราสารหนี้ที่มีปัญหา” ออกจากการคำนวณ NAV ชั่วคราว เพื่อรอจนกว่าสถานการณ์ที่เป้นปัญหาจะคลี่คลายลง 
  • จุดประสงค์คือลดการขายแบบตื่นตระหนก (Panic Sell) รักษาสภาพคล่องของกองทุน 
  • ตัวอย่างกรณีการบินไทย ที่เข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการ หุ้นกู้ที่ออกโดยการบินไทนมีโอกาสไม่ชำระหนี้ตามกำหนด (Default) จากเหตุการณ์นี้ TRIS ปรับลดเครดิตเรทติ้งการบินไทยทั้งตัวองค์กรและเครดิต จาก เหลือ ซึ่งหมายถึง Default (จากเกรด ตกชั้นมาเป็น Junk bond) เนื่องจากเมื่อเข้าแผนฟื้นฟูกิจการ ส่งผลให้บริษัทเข้าสู่ภาวการณ์พักชำระหนี้ กับเจ้าหนี้ทุกราย