สรุป #CHAYO #Oppday Q2/2018

บริษัท ชโย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
<www.chayo555.com>
ตลาด : mai
กลุ่มอุตสาหกรรม : ธุรกิจการเงิน

CHAYO ดำเนินธุรกิจหลักที่เกี่ยวข้องกับกำรบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพและการให้บริการติดตามและทวงถามหนี้ แบ่งประเภทธุรกิจตามลักษณะการดำเนินงานได้ทั้งหมด 3 ประเภท ประกอบด้วย ธุรกิจลงทุนและบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ธุรกิจให้บริการเจรจาติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้ และธุรกิจศูนย์บริการข้อมูลลูกค้า โดยบริษัทได้ดำเนินธุรกิจให้บริการเจรจาติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้มาเป็นระยะเวลากว่า 20 ปี และได้ขยายธุรกิจโดยเน้นการลงทุนและบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในปี 2557 ต่อมา ในปี 2559 บริษัทได้จัดตั้งธุรกิจศูนย์บริการข้อมูลลูกค้าเพิ่มเติมเพื่อขยายขอบเขตการให้บริการให้ครอบคลุมความต้องการของลูกค้าที่บริษัทให้บริการเจรจาติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้

ผลประกอบการของ CHAYO

ยอดขาย
ปี 2560 : 205.98 ล้านบาท
ปี 2561(6M) : 124.54 ล้านบาท

กำไร (ขาดทุน)
ปี 2560 : 58.24 ล้านบาท
ปี 2561(6M) : 38.52 ล้านบาท

เงินสดสุทธิ
ปี 2560 : -21.99 ล้านบาท
ปี 2561(6M) : 249.68 ล้านบาท

ดูสรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียนเพิ่มเติมได้ที่ >>> https://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=CHAYO&ssoPageId=3&language=th&country=TH

CHAYO‘s Holding structure

– มีบริษัทย่อย 2 บริษัท กำลังจะก่อตั้งอีก 1 บริษัท ชื่อ “Chayo Capital” ทำธุรกิจปล่อยสินเชื่อ

– “Chayo Call center” เปลี่ยนชื่อเป็น “Chayo Property and Service”

CHAYO‘s Business Overview

Nature of Business

มีธุรกิจหลักๆ 3 ประเภท ประกอบด้วย ธุรกิจลงทุนและบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ธุรกิจให้บริการเจรจาติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้ และธุรกิจศูนย์บริการข้อมูลลูกค้า

– กำลังจะก่อตั้งธุรกิจใหม่ คือ ธุรกิจให้การปล่อยสินเชื่อ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ พนักงานประจำหรือคนที่มีเงินเดือน ลูกค้าเดิมของบริษัทที่มีประวัติ และลูกค้าอื่นๆที่มีศักยภาพ

– มีเป้าการปล่อยสินเชื่อที่ประมาณ 50-100 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มได้ในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้

Revenue Structure

– ครึ่งปีแรก มีโครงสร้างรายได้ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก นั่นคือ Asset management business 84%, Service business 15% และ Call center business 1%

– 1H/2018 มีรายได้จาก Asset management 100.67 ล้านบาท(+20.17%), Service business 18.43 ล้านบาท(+8.22%) และ Call center 4.46 ล้านบาท(-70.18%)

Market

Service : มีผู้ใช้ประมาณ 56 ล้านราย สัดส่วนใกล้เคียงเดิม

Asset management : NPL (Q2) มีประมาณ 4 แสนกว่าล้านบาท (ประมาณ 2.9%ของยอดสินเชื่อทั้งหมด) เน้นไปที่กลุ่ม กิจกรรมอสังหาฯ และการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล

สัดส่วน NPL : Home loan 61%, Personal loan 20%, Car loan 13% และ Credit card 6%

CHAYO‘s Financial Statements

Segmentation

**Asset management** :

Q2/2018 : เก็บเงินได้ประมาณ 93.66 ล้านบาท ต้นทุน 32.14 ล้านบาท รับรู้รายได้ประมาณ 61.52 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 52.61%)

H1/2018 : เก็บเงินได้ 134.31 ล้านบาท ตันทุน 33.64 ล้านบาท รับรู้รายได้ประมาณ 100.67 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 20.17%)

GPM : Q2/2018 สูงขึ้นประมาณ 74%, 1H/2018สูงขึ้นประมาณ 71%

– Q2/2018 มีเงินลงทุนประมาณ 343.25 ล้านบาท แบ่งเป็น Un-secured 131.72 ล้านบาท และ Secured 211.53 ล้านบาท

**Service** :

Q2/2018 : เก็บเงินได้ 290.39 ล้านบาท ได้ Average commission 3.02%

1H/2018 : เก็บได้ 595.43 ล้านบาท ได้ Average commission 3.10%

Telecom : Q2/2018 เก็บเงินได้ 210.4 ล้านบาท ได้ Average commission 2.34%, 1H/2018 เก็บเงินได้ 447.23 ล้านบาท ได้ Average commission 2.39%

Financial Institution : Q2/2018 เก็บเงินได้ 79.99 ล้านบาท ได้ Average commission 4.81%, 1H/2018 เก็บเงินได้ 148.2 ล้านบาท ได้ Average commission 5.22% , GPM(Q2/2018) ประมาณ 39%

**Call center** : ใน Q2 ไม่มีรายได้ เนื่องจากสัญญาหมดไป ได้มีการเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ และเปลี่ยนชื่อเป็น “Chayo Property and Service”

**Summary for 1H/2018**

Service : รายได้ 18.43 ล้านบาท GPM 38.4%

Asset management : รายได้ 100 กว่าล้านบาท GPM 71%

Call center : รายได้ประมาณ 1.3 ล้านบาท GPM 96.6%

Total : รายได้ 120.4ล้านบาท GPM 66% Net Profit 32% ซึ่งสูงขึ้นจาก Q1/2018

CHAYO‘s Consolidated Financial Statement

**Q2/2018**

– รายได้รวม (Total Revenue) 70.28 ล้านบาท (+36%YoY)

– กำไรขั้นต้น (GPM) 48.95 ล้านบาท (+44%YoY)

– กำไรสุทธิ (Net Profit) 24.05 ล้านบาท (+48%YoY)

**1H/2018**

– รายได้รวม (Total Revenue) 120.42ล้านบาท (+14%YoY)

– กำไรขั้นต้น (GPM) 79.82 ล้านบาท (+12%YoY)

– กำไรสุทธิ (Net Profit) 50.37 ล้านบาท (+4%YoY)

ป.ล. รายได้ที่เพิ่มขึ้นมาจาก การขายหลักประกันหนี้ด้อยสภาพ และพอร์ตใหม่ของ UOB

**D/E**

– ลดลงเหลือ 0.12 เนื่องจาก Equity สูงขึ้นจาก IPO แต่ Debt ไม่โตตาม

**ROE**

– ลดลงเหลือ 14.89 เนื่องจาก Equity สูงขึ้น แต่กำไรเพิ่มขึ้นไม่ทัน Equity

– คาดว่าในปีหน้า (2019) จะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น

CHAYO‘s Progress & Plan

*ธุรกิจซื้อหนี้มาบริหาร

– มีเป้าปลายปีที่จะซื้อหนี้เพิ่มเป็น 10,000 ล้านบาท (ครึ่งปีซื้อมาแล้ว 8,600 ล้านบาท)

– ปลายปีอาจจะมีหนี้ที่ซื้อมาทั้งหมด 39,000-40,000 ล้านบาท

*ธุรกิจให้บริการ

– ได้ลูกค้าใหม่อย่างต่อเนื่อง ทำให้เติบโตขึ้นเล็กน้อย

*ธุรกิจปล่อยสินเชื่อ

– คาดว่าจะเริ่มใน Q4 มีเป้าการปล่อยที่ประมาณ 50-100ล้านบาท

>> Q&A <<

– ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น มีผลต่อลูกค้ากลุ่ม C,D ที่มีความสามารถในการชำระน้อย ต้องรักษาลูกค้าไว้ก่อน หากเศรษฐกิจดีขึ้น ลูกค้ามีรายได้เพิ่มขึ้น ก็จะทำการชำระเงิน

– การตัดจำหน่ายเงินให้สินเชื่อ (ตัดตาม EIR) จะรับรู้รายได้ดอกเบี้ยก่อน ส่วนต่างที่เหลือจะนำมาตัดเงินให้สินเชื่อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ เช่น เงินเข้า 100 บาท EIR=70% (70 บาท) ตัดจำหน่ายเงินให้สินเชื่อ 30 บาท (นำไปลดเงินต้นของต้นงวดในทุกๆเดือน)

– รับรู้รายได้ตาม EIR ส่วนต่างหากเกินจะนำไปตัดต้นทุนเพิ่ม

– นโยบายตั้งสำรองของธุรกิจใหม่ ต้อวงมีการประเมินคาแรกเตอร์ของลูกหนี้ ดูว่าเหมาะกับวิธีประเมินอย่างไร และนำไปปรับใช้กับพอร์ตสินเชื่อ

– แผนในอนาคต จะแบ่งธุรกิจเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มให้บริหารจัดเก็บหนี้ ซื้อหนี้ และบริการ 2. กลุ่มปล่อยสินเชื่อ 3. พัฒนาอสังหาฯ (หากพัฒนาต่อคาดว่าจะมีกำไร 4-5 เท่า) นอกจากนี้คาดว่าจะมีการออกตราสารหนี้ในอนาคต เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในการขยายธุรกิจ

– แผนการทำ M&A ร่วมทุน หรือเข้าซื้อบริษัท ก็มีความคิดที่จะทำหากมีโอกาส ถ้าทำให้ธุรกิจโตได้

– การซื้อหนี้ ไม่ได้ใช้เงินเท่ากับมูลหนี้ แต่ขึ้นกับ Character ของลูกหนี้ที่แตกต่างกันไป ขึ้นกับการประเมิน และต้นทุนในการซื้อ ทำให้มูลหนี้ที่เยอะขึ้น โอกาสการจัดดเก็บหนี้จะดี การบันทึกบัญชีจะบันทึกเงินที่ลงทุนไป แต่ส่วนของมูลหนี้จะแยกส่วนต่างหาก

– พยายามซื้อหนี้แบบ conservative เพื่อความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพของเงินที่ลงทุนไป

– การตัดต้นทุน 5 ปี เพื่อให้พนักงานมีเป้าหมายเก็บหนี้ได้ใน 5 ปี ในปีที่ 6 คือกำไรล้วนๆ เมื่อรายได้เข้ามา โดยไม่มีต้นทุน

– เมื่อซื้อหนี้มา มี outstanding 2 ส่วน คือส่วนที่ต้นเงินกับดอกเบี้ยรับรู้ และต้นเงินบวกดอยเบี้ยรับรู้และไม่รับรู้ เมื่อลงทุนไป 100% จะพยายามเก็บให้ได้ 300% ภายใน 5 ปี และมีต้นทุนในการจัดเก็บอีก 50%

– ระยะเวลาเรียกเก็บหนี้คืน เมื่อได้หนี้มา จะทำ projection ไป 5 ปี พอปีที่ 5 ก็จะขยายเวลาไป โดยจะตัดต้นทุนเสร็จสิ้นใน 5 ปีแรก

– เมื่อจะประมูลหนี้ต้องมีการทำการบ้าน หนี้แต่ละประเภทมีลักษณะแตกต่างกัน ทำให้มูลค่า ราคาแตกต่างกัน โดยต้องดูลูกค้า หลักประกัน และ Legal status เป็นหลัก

– ธุรกิจปล่อยกู้ กลุ่มเป้าหมายหลักๆเป็นกลุ่มลูกค้าโรงงานจะกู้ที่ดอกเบี้ยประมาณ 4-10% ต่อเดือน ถ้าเข้าไปปล่อยสินเชื่อแทนที่ประมาณ 3% ต่อเดือน จะช่วยแก้ปัญหาได้

– กำลังพิจารณาทำ Credit Rating

– ที่ดิน Secure-loan ใกล้รถไฟฟ้า มีประมาณ 1 ไร่

– EIR มองไว้ที่ไม่ต่ำกว่า 20%

– Secure-loan จะพิจารณาเลือกในกรุงเทพฯ และ EEC ก่อนเป็นอันดับแรก จะเน้นที่มี Growth เร็วๆ

ดูข้อมูล CHAYO และแชร์มุมมองของคุณเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/stock/CHAYO


ดูคลิป CHAYO Oppday Q2/2018 ได้ที่ >>> https://www.youtube.com/watch?v=VKcnZPE5xKY
ดูสไลด์ CHAYO Oppday Q2/2018 ได้ที่ >>> https://www.set.or.th/dat/registration/oppday/presentation/2018q2/20180815-2018Q2-CHAYO.pdf

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ >>> https://wealthinvestmentclinic.wordpress.com/2018/08/29/gold/
อ่าน Oppday Q2/2018 บริษัทอื่นๆ : https://wealthinvestmentclinic.wordpress.com/2018/08/11/oppday-q2-2018/
อ่านบทความคลินิกการลงทุนได้ที่ : https://wealthinvestmentclinic.wordpress.com/

#คลินิกการลงทุน


Vithan Minaphinant
Securities Investment Analyst (IA)
ตรวจทานบทความ

คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้