What is Cøsmos?

Cøsmos: อินเทอร์เน็ตแห่งโลกบล็อกเชน

1. Tendermint Consensus Algorithm

Cøsmos: อินเทอร์เน็ตแห่งโลกบล็อกเชน

2. Application Blockchain Interface (ABCI)

เป็นโปรโตคอลที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อ Tendermint เข้ากับแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่มาสร้างบน Cøsmos ครับ โดยความพิเศษของ ABCI นั่นคือมันสามารถถูกเขียนได้ในเกือบทุกภาษา ทำให้นักพัฒนาที่จะมาสร้างแอปพลิเคชันบน Cøsmos สามารถพัฒนาด้วยภาษาที่ตนเองต้องการได้นั่นเอง

3. Cosmos SDK

Cøsmos: อินเทอร์เน็ตแห่งโลกบล็อกเชน

Projects in Cøsmos Ecosystem

Cøsmos: อินเทอร์เน็ตแห่งโลกบล็อกเชน

Cøsmos: อินเทอร์เน็ตแห่งโลกบล็อกเชน

Cøsmos: อินเทอร์เน็ตแห่งโลกบล็อกเชน

Cøsmos: อินเทอร์เน็ตแห่งโลกบล็อกเชน

Cøsmos: อินเทอร์เน็ตแห่งโลกบล็อกเชน

Inter-Blockchain Communication Protocol (IBC)

Cøsmos: อินเทอร์เน็ตแห่งโลกบล็อกเชน

Heterogeneous Chains?

บล็อกเชน 2 อันที่เป็น Heterogeneous ต่อกัน จะมีคุณสมบัติอยู่สองอย่างด้วยกันครับ

  1. Different Layers: บล็อกเชน 2 บล็อกเชนนั้นอาจจะมี layer ที่แตกต่างกัน หมายความว่าวิธีการเชื่อมต่อ node (จาก Networking layer) / กลไกฉันทามติ (จาก Consensus layer) / มาตรฐานการเขียน code สำหรับ Application layer จะแตกต่างกัน
  2. Sovereignty: ทั้ง 2 บล็อกเชนจะต้องมีกลุ่มของผู้ตรวจสอบที่ทำหน้าที่ประมวลผลและยืนยันความถูกต้องของธุรกรรมภายใน ซึ่งผู้ตรวจสอบเหล่านั้นจะต้องมีอิสระในการยืนยันหรือปฏิเสธความถูกต้องของธุรกรรมจากผู้ตรวจสอบอื่น ๆ จึงจะเรียกว่าตัวบล็อกเชนมี sovereignty ครับ

แล้ว IBC ทำงานอย่างไร?

(ขอบคุณตัวอย่างดี ๆ จาก Cosmos official website ด้วยนะครับ)

  1. ATOM ใน chain X จะถูก bonded จำนวน 10 ATOM (มันคือการล็อกโทเคนไว้ครับ เพราะการโอน ATOM ครั้งนี้ สุดท้ายแล้ว ATOM ใน chain X จะต้องหายไป 10 ATOM)
  2. IBC จะทำการยืนยันว่า 10 ATOM ถูกล็อกไว้ใน chain X จริง ๆ จากนั้นจะส่งคำสั่งยืนยันการ bond ไปที่ chain Y
  3. Chain Y จะทำการยืนยันความถูกต้องของการทำธุรกรรมบน chain X โดยอาศัย metadata ของ X ที่อยู่กับ Y ครับ และถ้ายืนยันการทำธุรกรรมสำเร็จ 10 ATOM ใหม่จะถูกสร้างขึ้นบน chain Y ก็ถือเป็นอันเสร็จครับ ซึ่ง ATOM ที่ถูกสร้างขึ้นใหม่บน Y จริง ๆ จะไม่ได้ถือว่าเป็น ATOM จริง ๆ (จะมีลักษณะเป็น wrapped token เหมือน WBTC บนบล็อกเชนอย่าง Ethereum หรือ Polygon) แต่ถึงแม้จะไม่ใช่ของแท้ ATOM ที่ถูกสร้างขึ้นใหม่นั้นก็จะมีมูลค่าอ้างอิงตาม ATOM จริง ๆ ที่อยู่บน chain X ครับ

The Internet of Blockchains

IBC ช่วยให้แต่ละบล็อกเชนที่มีลักษณะแตกต่างกันสามารถเชื่อมต่อกันได้ ส่งโทเคน ทำธุรกรรมระหว่างกันได้ แต่ถ้าสมมติเรามีบล็อกเชนสัก 100 บล็อกเชน ถ้าหากเราทำการเชื่อมต่อทุก ๆ คู่ความเป็นไปได้ของคู่บล็อกเชนในระบบนิเวศของเรา จำนวน IBC connector ที่เราต้องสร้าง จะเท่ากับ 4,950 ตัวครับ (และจะเพิ่มขึ้นแบบยกกำลังเมื่อจำนวนบล็อกเชนเพิ่มขึ้น)

Cosmos Applications

  1. GravityDEX เป็นกระดานเทรดคริปโตเคอร์เรนซีแบบกระจายศูนย์ภายในระบบนิเวศของ Cøsmos ซึ่งทำงานเหมือนกับกระดานเทรดเจ้าอื่น ๆ ที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานมาฝากคู่เหรียญเพื่อรับส่วนแบ่งจากค่าธรรมเนียมการเทรด พร้อมกับฟีเจอร์ที่สามารถให้ผู้ใช้งานฟาร์มโทเคนได้ แต่ความพิเศษของ GravityDEX คือความสามารถในการซื้อ-ขายเหรียญข้ามบล็อกเชนภายในระบบนิเวศของ Cøsmos ซึ่งเทคโนโลยีเบื้องหลังก็คือ IBC นั่นเองครับ
  2. Gravity Bridge เป็นสะพานเชื่อมระหว่างระบบนิเวศของ Cøsmos และ Ethereum ครับ ย้อนกลับไปที่ IBC จริง ๆ แล้วไม่ใช่ว่าทุกบล็อกเชนบนโลกนี้จะเชื่อมต่อกับ Cøsmos ได้ผ่าน IBC ตรง ๆ กลุ่มของบล็อกเชนที่ไม่สามารถเชื่อมต่อโดยตรงได้ คือบล็อกเชนที่ไม่มีคุณสมบัติ Fast Finality ซึ่งบล็อกเชนที่เป็น Proof-of-Work เช่น Bitcoin หรือ Ethereum จะไม่มีคุณสมบัตินี้ เพราะฉะนั้นจะไม่สามารถเชื่อมต่อได้โดยตรง แต่ Gravity Bridge จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้ด้วยการสร้าง Peg Zone ซึ่งเป็นบล็อกเชนใหม่ที่จะทำหน้าที่ติดตามสถานะของบล็อกเชนที่ Cøsmos จะเชื่อมต่อด้วย (ในที่นี้คือ Ethereum) และจะทำหน้าที่ “จำลอง” การตรวจสอบและเขียนธุรกรรมบน Ethereum (ซึ่งจริง ๆ Ethereum ไม่ได้มีกระบวนการตรวจสอบธุรกรรมแบบนี้) เพื่อให้ Cøsmos สามารถรับรู้ความถูกต้องของธุรกรรมและทำธุรกรรมต่อไปได้

ATOM

Cøsmos: อินเทอร์เน็ตแห่งโลกบล็อกเชน

Roadmap

Ethereum and Polkadot Integrations

ถ้าพูดถึงบล็อกเชน smart contract ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด ผมเชื่อว่าหลาย ๆ คนจะนึกถึง Ethereum เป็นลำดับแรกครับ เนื่องจาก Ethereum มีแอปพลิเคชันและการใช้งานที่หลากหลาย มีฐานผู้ใช้งานและมูลค่าการเทรดสูงที่สุดในบรรดาบล็อกเชน smart contract ทั้งหมดครับ และถ้าหากพูดถึงโปรเจกต์ที่เป็นศูนย์รวมของบล็อกเชนที่หลากหลาย มีกลไกด้านความปลอดภัยที่สูงเป็นอันดับต้น ๆ ชื่อ Polkadot คงจะเข้ามาในหัวของใครหลาย ๆ คนเป็นชื่อแรกครับ สองโปรเจกต์นี้ถือเป็นโปรเจกต์ขนาดใหญ่ยักษ์ในโลกคริปโตเคอร์เรนซี ที่มีฐานผู้ใช้งานสูงเป็นอันดับต้น ๆ นั่นทำให้การเชื่อมต่อกับทั้ง Ethereum และ Polkadot จะทำให้ Cøsmos สามารถขยายฐานผู้ใช้งานได้อีกมหาศาล และเพิ่มความหลากหลายของการใช้งานผ่านโปรเจกต์ต่าง ๆ ที่อยู่บนบล็อกเชนของ Ethereum และภายในระบบนิเวศของ Polkadot ได้ครับ

Cøsmos 2.0

Cøsmos มีแผนอัปเกรดโปรเจกต์ครั้งใหญ่ภายใต้ชื่อ Cøsmos 2.0 ครับ โดยมีเป้าหมายการพัฒนาหลัก ๆ 2 ด้านด้วยกัน

  1. Real world use cases: เพิ่มการใช้งานบนโลกจริงให้หลากหลายยิ่งขึ้น หลาย ๆ โปรเจกต์ภายในระบบนิเวศของ Cøsmos ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการใช้งานในโลกคริปโตเคอร์เรนซีเป็นหลักครับ ไม่ว่าจะเป็นกระดานเทรดแบบ Osmosis, บล็อกเชนแบบ Juno และ Secret Network, สะพานแบบ Axelar และ Evmos, NFT marketplace แบบ Stargaze แต่ในปัจจุบันยังมีไม่กี่โปรเจกต์ครับที่ประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีบล็อกเชนบนโลกแห่งความเป็นจริง ตัวอย่างของโปรเจกต์รูปแบบดังกล่าวอย่างเช่น Sentinel ที่สร้าง virtual private network (VPN) แบบกระจายศูนย์ โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ทำให้ผู้ใช้งานสามารถท่องโลกอินเทอร์เน็ตได้โดยปราศจากการจำกัดสิทธิการเข้าถึงใด ๆ ครับ แต่ Sentinel เองก็ยังเป็นโปรเจกต์ที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก และจำนวนโปรเจกต์ที่มีลักษณะดังกล่าวก็ยังถือว่าน้อย ทีมพัฒนาของ Cøsmos จึงมีแผนที่จะส่งเสริมการพัฒนาโปรเจกต์ไปในแนวทางนี้มากขึ้นครับ
  2. ATOM’s tokenomics: ATOM ในปัจจุบันเป็นโทเคนที่มีอัตราการเฟ้อค่อนข้างสูงครับ เนื่องจากผลตอบแทนจากการ stake สำหรับผู้ตรวจสอบและผู้ฝาก ถือว่าสูงพอสมควรเมื่อเทียบกับโทเคนลักษณะเดียวกันบนบล็อกเชนอื่น และ ATOM เองก็ยังมีความต้องการการใช้งานที่จำกัด ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น ซึ่งทีมพัฒนาของ Cøsmos รับทราบปัญหาข้อนี้ และกำลังค้นหาวิธีการแก้ไขเพื่อลดอัตราการเฟ้อของ ATOM ลงครับ

Summary

บล็อกเชนแต่ละบล็อกเชนถูกสร้างขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ที่แตกต่างกันครับ แน่นอนว่าบล็อกเชนเหล่านี้ก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป แต่เรื่องสำคัญที่สุด คือบล็อกเชนเหล่านี้ควรจะเชื่อมต่อหากันได้ Cøsmos เป็นโปรเจกต์ที่เข้ามาตอบโจทย์นี้ได้เป็นอย่างดีครับ ด้วย IBC ที่ทำให้ทุก ๆ บล็อกเชนสามารถเชื่อมต่อหากันได้ และการออกแบบโครงสร้างของ Cøsmos ที่มีทั้ง Zones และ Hub ทำให้สะดวกต่อบล็อกเชนภายในระบบนิเวศที่จะเชื่อมต่อกับบล็อกเชนอื่น ๆ ครับ ทำให้ Cøsmos ถือเป็นหนึ่งในโปรเจกต์ที่น่าจับตามองมาก ๆ และยังมีโอกาสเติบโตได้อีกไกลครับ

CodeBreaker

ที่มาบทความ: https://link.medium.com/vKtEGyMiQwb


คำเตือน

การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง อาจสูญเสียเงินลงทุน ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจและศึกษาข้อมูล รวมทั้งลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้