Litecoin: แร่เงินแห่งโลกคริปโตเคอร์เรนซี

History of Litecoin

Litecoin: แร่เงินแห่งโลกคริปโตเคอร์เรนซี

การที่ Litecoin ถูกพัฒนาโดยมีต้นแบบมาจาก Bitcoin ทำให้โครงสร้างบล็อกเชนและกลไกการทำงานมีความคล้ายคลึงกันอย่างมาก และ Bitcoin เองได้รับสมญานามว่าเป็นทองคำดิจิทัล (digital gold) ทำให้หลายคนขนานนาม Litecoin ว่าเป็นแร่เงินดิจิทัล (digital silver) ครับ เนื่องจากความคล้ายคลึงกันของ Bitcoin กับ Litecoin เปรียบได้กับความคล้ายคลึงกันของแร่ทองคำกับแร่เงินในโลกความเป็นจริงครับ

Litecoin ถูกสร้างขึ้นมาโดยไม่มีการขุดล่วงหน้า (pre-mined) หมายความว่าในจุดเริ่มต้น Charlie และทีมพัฒนาคนอื่น ๆ ของ Litecoin ไม่ได้ครอบครอง LTC ซึ่งเป็นโทเคนของบล็อกเชน Litecoin แต่อย่างใด แต่เขาและคนอื่น ๆ ในทีมก็แข่งกันขุด LTC ร่วมกับผู้ใช้งานคนอื่น ๆ โดยไม่มีข้อได้เปรียบใด ๆ ครับ และในปัจจุบัน Charlie เองไม่ได้ถือครอง LTC เลยสักเหรียญเดียว (ขายทิ้งไปหมดแล้วตั้งแต่ปี 2017) โดยเขาให้เหตุผลว่าถ้าเขาถือครอง LTC สิ่งที่เขาพูดหรือการกระทำของเขาจะสามารถชี้นำความเป็นไปของโปรเจกต์ Litecoin ได้ไม่ว่าเขาจะตั้งใจหรือไม่ เขาจึงขาย LTC ทิ้งทั้งหมด เนื่องจากไม่อยากให้การกระทำหรือคำพูดใด ๆ ของตนมีผลต่อการพัฒนาของ Litecoin ในอนาคตครับ

Technology

ตามที่กล่าวไปครับว่า Charlie สร้าง Litecoin โดยมีแรงบันดาลใจมาจาก Bitcoin และชุดโปรแกรมหลาย ๆ ส่วนของ Litecoin ก็ถูกนำมาจาก Bitcoin ครับ นั่นทำให้กลไกของ Litecoin มีความคล้ายคลึงกับ Bitcoin พอสมควร แต่ก็ยังมีความแตกต่างในบางมุมครับ

Consensus Mechanism

สิ่งหนึ่งที่แตกต่างอย่างชัดเจนคือ Bitcoin ใช้กลไกฉันทามติ Proof-of-Work พร้อมกับฟังก์ชัน SHA-256 ในการเข้ารหัสข้อมูล แต่ Litecoin ใช้กลไกฉันทามติ Proof-of-Work แบบดัดแปลงที่ชื่อว่า SCrypt ครับ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้การขุด LTC ซึ่งเป็นโทเคนประจำบล็อกเชนของ Litecoin สามารถทำได้ผ่านคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานทั่วไป (ในการขุด BTC จะต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก ๆ ซึ่งในปัจจุบันก็มีบริษัทหลายแห่งที่ผลิตคอมพิวเตอร์เพื่อขุด BTC โดยเฉพาะ) ซึ่งการดัดแปลงดังกล่าวช่วยให้การขุด LTC สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น และเพิ่มความกระจายศูนย์ (decentralization) ให้กับ Litecoin ได้ครับ

Litecoin: แร่เงินแห่งโลกคริปโตเคอร์เรนซี

SegWit

SegWit หรือ Segregated Witness เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับบล็อกเชนโดยป้องกันการเขียนข้อมูลส่วนเกินลงบนบล็อกครับ ทำให้แต่ละบล็อกสามารถบรรจุข้อมูลธุรกรรมให้เยอะขึ้น ส่งผลเชิงบวกโดยตรงต่อจำนวนธุรกรรมที่บล็อกเชนสามารถประมวลผลได้ต่อวินาที (transactions per second; tps) ครับ โดย SegWit ถูกเปิดใช้งานในบล็อกเชนของ Litecoin ในเดือนพฤษภาคม 2017 (ก่อน Bitcoin เสียอีก) ครับ

Lightning Network

Litecoin: แร่เงินแห่งโลกคริปโตเคอร์เรนซี

Mimblewimble

เป็นโปรโตคอลที่ถูกเพิ่มเข้ามาในบล็อกเชนของ Litecoin โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มความเป็นส่วนตัว (privacy) ให้กับผู้ใช้งานครับ โปรโตคอลนี้ถูกเสนอโดยนักพัฒนาที่ไม่เปิดเผยตัวตนในปี 2018 และเป็นโปรโตคอลเดียวกันกับที่ใช้ใน Grin ซึ่งเป็นโปรเจกต์คริปโตเคอร์เรนซีที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อความเป็นส่วนตัวโดยเฉพาะครับ

Governance

ชุดโปรแกรมของ Litecoin เป็นแบบ open source และถูกเก็บไว้ใน GitHub ครับ และทุก ๆ คนสามารถเสนอร่างการพัฒนาโปรเจกต์ได้ โดยร่างการพัฒนาดังกล่าวจะใช้ชื่อว่า Litecoin Improvement Proposal (LIP) ครับ ซึ่งทุก ๆ ร่างที่ถูกเสนอจะผ่านการหารือกันภายในชุมชนผู้ใช้งาน Litecoin และท้ายที่สุดจะเป็นหน้าที่ของทีมพัฒนา Litecoin ที่จะตอบรับหรือปฏิเสธร่างการพัฒนาดังกล่าว ตามความคิดเห็นของชุมชนผู้ใช้งานครับ

LTC

Litecoin: แร่เงินแห่งโลกคริปโตเคอร์เรนซี

Adoption

Litecoin: แร่เงินแห่งโลกคริปโตเคอร์เรนซี

Concerns

ถึงแม้ Litecoin เป็นโปรเจกต์คริปโตเคอร์เรนซีที่มีชื่อเสียงในวงกว้างมาอย่างยาวนาน และดูเหมือนจะเป็นโปรเจกต์ที่ผู้คนส่วนใหญ่ให้การยอมรับ ถึงอย่างนั้น Litecoin เองก็มีประเด็นบางจุดที่ทุก ๆ คนควรทราบครับ

SCrypt ASIC Miner

Litecoin: แร่เงินแห่งโลกคริปโตเคอร์เรนซี

Regulation

Litecoin: แร่เงินแห่งโลกคริปโตเคอร์เรนซี

Summary

ถ้าหากย้อนเวลาไปสักสิบปีที่แล้วที่ยังเป็นยุคเริ่มต้นของ Bitcoin ซึ่งเป็นคริปโตเคอร์เรนซีตัวแรก ในยุคนั้นมีโปรเจกต์คริปโตถูกสร้างขึ้นมาไม่น้อยครับ แต่มีอยู่เพียงไม่กี่โปรเจกต์เท่านั้นที่ยังอยู่รอดมาจนถึงปัจจุบัน Litecoin ถือเป็นหนึ่งในนั้นครับ การที่ตัวโปรเจกต์สามารถผ่านมรสุมคริปโตในอดีตมาได้ทุกครั้ง สื่อถึงความแข็งแกร่งของตัวโปรเจกต์และชุมชนผู้ใช้งานของ Litecoin ได้เป็นอย่างดีครับ แต่ถึงอย่างนั้นตัวโปรเจกต์เองก็ยังมีประเด็นในหลาย ๆ ด้านที่ต้องติดตามครับ โดยเฉพาะเรื่องการควบคุมจากหน่วยงานกำกับดูแล ที่เริ่มมีความหนักแน่นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่มีการเปิดใช้งาน Mimblewimble ซึ่งเป็นคุณลักษณะด้านความเป็นส่วนตัวบน Litecoin ครับ Mimblewimble ทำให้หน่วยงานกำกับดูแลของหลาย ๆ ประเทศเริ่มติดตามแนวทางการพัฒนาของ Litecoin และมีบางส่วนที่เริ่มมีความพยายาม แบน LTC ออกจากการซื้อ-ขายภายในประเทศแล้วครับ เนื่องจากมีคุณลักษณะเรื่องความเป็นส่วนตัว และมีฐานผู้ใช้งานที่กว้างขวาง ทำให้มีโอกาสสูงที่ Litecoin จะถูกใช้งานโดยผู้ไม่หวังดีครับ แต่ถึงจะมีข้อควรระวังดังกล่าว Litecoin เองก็สามารถผ่านมรสุมคริปโตเคอร์เรนซีมาได้หลายครั้งแล้วนะครับ และถ้าหากมีมรสุมเกิดขึ้นอีกในอนาคต Litecoin เองก็มีชุมชนผู้ใช้งานที่แข็งแกร่งพอที่จะดำเนินต่อไปได้ครับ

Further Read:

CodeBreaker

ที่มาบทความ: https://link.medium.com/C2Yr0FEJXxb


คำเตือน

การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง อาจสูญเสียเงินลงทุน ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจและศึกษาข้อมูล รวมทั้งลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้