แจ้งเตือน

PORT

หนังสือยินยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุน กองทุน PHATRA G-UBOND-H

นักลงทุน

กองทุนเปิดภัทร โกลบอล อันคอนสเตรนด์ บอนด์ เฮดจ์ มีนโยบายลงทุนหรือมีไว้ซ่ึงหน่วยลงทุนของกองทุนรวม หลักในต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว คือ กองทุน Jupiter Global Fund - Jupiter Dynamic Bond (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบ ปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม โดยกองทุนหลักอาจพิจารณาลงทุนในตราสารหน้ี ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ากว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Non-Investment Grade) หรือที่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated Bond)ซ่ึงสามารถปรับเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุนตามแต่ช่วงเวลาได้ กองทุนนี้จึงอาจมีความเส่ียงสูงหรือมีความ ซับซ้อนมากกว่ากองทุนที่เสนอขายแก่ผู้ลงทุนทั่วไป จึงเหมาะสมกับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเส่ียงได้สูง ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จากัดเพียง ความเสี่ยงดังต่อไปน้ี

1. ปัจจัยความเสี่ยงท่ีสาคัญของกองทุนหลัก

1.1 ความเส่ียงจากการผิดนัดชาระหน้ีของผู้ออกตราสารหรือคู่สัญญา (credit/counterparty risk) กองทุนหลักมีการลงทุนในตราสารหนี้ ซึ่งมีความเสี่ยงจากการผิดนัดชาระหนี้ของผู้ออกตราสารหนี้ดังกล่าว โดยหาก ผู้ออกตราสารหน้ีประสบปัญหาเกี่ยวกับฐานะทางการเงิน อาจส่งผลให้คุณภาพของตราสารหนี้ของผู้ออกตราสารหน้ีดังกล่าวลดลง ซ่ึงจะทาให้ราคาของตราสารมีความผันผวนมากขึ้น นอกจากน้ี การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้หรือของผู้ออก ตราสาร ก็อาจส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของตราสารหน้ีด้วย ซ่ึงจะทาให้การขายตราสารหนี้ดังกล่าวอาจทาได้ยากข้ึน รวมท้ัง การลงทุนของกองทุนหลักยังอาจมีความเส่ียงที่ผู้ออกตราสารหนี้จะไม่สามารถชาระคืนเงินต้น และ/หรือ ดอกเบ้ียของตราสาร ดังกล่าวได้ตามเวลาที่กาหนด ซึ่งหากเกิดกรณีท่ีผู้ออกตราสารหนี้ผิดนัดชาระหนี้ จะส่งผลกระทบในทางลบต่อผลการดาเนินงาน ของกองทุนได้

1.2 ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ากว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (below investment grade) หรือตราสารนี้ที่ไม่มีอันดับความน่าเช่ือถือ (unrated) กองทุนหลักมีการลงทุนในตราสารหน้ีที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ากว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (below investment grade) หรือตราสารหนี้ที่ไม่มีอันดับความน่าเช่ือถือ (unrated) ดังนั้น ผู้ลงทุนจะต้องตระหนักถึงความเส่ียงของตราสารดังกล่าวว่า มีความเส่ียงที่ผู้ออกตราสารหรือคู่สัญญาจะผิดนัดชาระหนี้(credit/counterpartyrisk) รวมถึงมีความเส่ียงด้านสภาพคล่อง ท่ีมากกว่าตราสารหน้ีคุณภาพดีที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับท่ีสูงกว่าแต่ก็ให้ผลตอบแทนที่ต่ากว่า นอกจากนี้ตราสารหนี้ ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ากว่าอันดับท่ีสามารถลงทุนได้ (below investment grade) หรือตราสารหนี้ที่ไม่มีอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated) ดังกล่าวยังมีความผันผวนด้านราคาที่สูงกว่า และมีโอกาสที่ผู้ลงทุนจะสูญเสียเงินต้นและผลตอบแทนได้มากกว่า ซึ่งหากเกิดกรณีท่ีผู้ออกตราสารไม่สามารถชาระคืนหน้ีตามตราสารหนี้ดังกล่าวได้ อาจส่งผลให้ผู้ลงทุนประสบผลขาดทุนเป็นจานวน มาก ทั้งน้ี ตลาดของตราสารหนี้ดังกล่าวอาจมีสภาพคล่องต่า ซ่ึงอาจส่งผลให้การขายตราสารหน้ีทาได้ยาก และการกาหน ดราคา ของตราสารก็อาจทาได้ยากเช่นกัน และอาจทาให้มูลค่าเงินลงทุนของกองทุนเกิดความผันผวนได้

1.3 ความเสี่ยงของการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (credit rating risk) การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้โดยสถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เป็นวิธีการที่ได้รับ การยอมรับทั่วไปในการวัดความเสี่ยงด้านเครดิต อย่างไรก็ตาม วิธีการดังกล่าวมีข้อจากัดและไม่ได้ยืนยันถึงความสามารถในการชาระหนี้ในทุกขณะใด ๆ ของตราสารหนี้หรือผู้ออกตราสารน้ัน ทั้งน้ี อันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวให้น้าหนักส่วนใหญ่กับ ผลประกอบการในอดีตและอาจไม่ได้สะท้อนถึงสภาวการณ์ในอนาคต รวมท้ังสถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือก็อาจไม่ได้ ปรับอันดับความน่าเชื่อถืออย่างทันท่วงทีให้สะท้อนถงึ เหตุการณ์ท่ีอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชาระหนี้ของผู้ออก ตราสารหน้ีดงักล่าวนอกจากนี้อันดับความน่าเชื่อถือในระดับเดยีวกันกอ็าจมีระดับความเส่ียงดา้นเครดิตที่แตกตา่งกัน

1.4 ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย (interest rate risk) สาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงในราคาตราสารหน้ี ส่วนใหญ่เกิดจากอัตราดอกเบี้ยในตลาดซึ่งได้รับผลกระทบจาก ปัจจัยทางเศรษฐกิจโดยรวม ทั้งนี้ การลงทุนของกองทุนหลักมีความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วราคาของ ตราสารหนี้จะปรับตัวลดลงเมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดปรับตัวสูงขึ้น และในทางกลับกัน ราคาของตราสารหนี้จะปรับตัวเพ่ิมขึ้น เมื่ออัตราดอกเบ้ียในตลาดปรับตัวลดลง นอกจากน้ี การเปล่ียนแปลงของราคาตราสารหนี้ยังข้ึนอยู่กับอายุคงเหลือของตราสารหนี้ นั้น ๆ กล่าวคือ ตราสารหนี้ท่ีมีอายุคงเหลือสั้นจะมีความเสี่ยงด้านความผันผวนของราคาน้อยกว่าตราสารหน้ีท่ีมีอายุคงเหลือยาว แต่ตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือสั้นก็จะให้ผลตอบแทนที่น้อยกว่าเนื่องจากจะครบกาหนดอายุเร็วและบ่อยกว่าจึงมีค่าใช้จ่ายในการ ลงทุนใหม่ (reinvestment)

1.5 ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (liquidity risk) ในสภาวะตลาดที่ไม่เอ้ืออานวย สภาพคล่องในตลาดตราสารหนี้ที่ลดต่าลงอาจส่งผลให้ผู้จัดการกองทุน ไม่สามารถขายตราสารหนี้ได้ในราคาตลาด ซึ่งจะส่งผลกระทบในทางลบกับมูลค่าเงินลงทุน นอกจากนี้ ในสภาวะตลาดท่ีประสบ ปัญหาอย่างมาก ตราสารบางตัวอาจไม่สามารถขายได้ทันท่วงทีในราคายุติธรรม ซึ่งจะส่งผลกระทบถึงความสามารถของกองทุน ในการจ่ายคืนเงินให้กับผู้ลงทุนได้ตามคาส่ังขายคืนหน่วยลงทุน

1.6 ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน (risk of investing in convertible bond) กองทุนหลักอาจมีการลงทุนในตราสารก่ึงหน้ีก่ึงทุนซ่ึงความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย ด้านเครดิต และความเสี่ยง จากการที่ผู้ออกตราสารอาจจ่ายชาระคืนเงินก่อนกาหนด (prepayment risk) ในลักษณะเดียวกับตราสารหนี้เอกชนทั่วไป ท้ังน้ี ตราสารกึ่งหน้ีก่ึงทุน เปรียบเสมือนกับตราสารหนี้เอกชน บวกกับสัญญา options ท่ีให้สิทธิผู้ลงทุนในการแปลงตราสารหนี้ไปเป็น หุ้นของบริษัทน้ันในราคาที่กาหนด และ ณ เวลาท่ีกาหนดไว้ล่วงหน้าในช่วงอายุของตราสารก่ึงหน้ีกึ่งทุนนั้น โดยการที่ผู้ลงทุน สามารถแปลงตราสารหนี้ไปเป็นหุ้นของบริษัทนั้น จะให้ประโยชน์แก่ผู้ลงทุนหากบริษัทดังกล่าวมีผลประกอบการที่ดีและราคาหุ้น ปรับตัวสูงขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็ยังให้ผลตอบแทนเช่นเดียวกับการลงทุนในตราสารหนี้เอกชนท่ัวไป อย่างไรก็ดี ผู้ลงทุนในตราสาร กึ่งหนี้กึ่งทุนดังกล่าวอาจมีความเส่ียงกับการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีความผันผวนท่ีสูงกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ เอกชนทั่วไป

1.7 ความเส่ียงด้านการวัดมูลค่าตราสารหนี้ (valuation risk) การวัดมูลค่าเงินลงทุนในตราสารหนี้ที่กองทุนหลักลงทุน อาจมีการใช้ดุลพินิจในการพิจารณา และในบางครั้งก็อาจ ไม่สามารถหามูลค่าตราสารหน้ีได้จากแหล่งข้อมูลท่ีเป็นอิสระได้ (independent pricing information) ซึ่งหากเกิดกรณีที่ มูลค่าตราสารหนี้ไม่ถูกต้อง ก็อาจส่งผลให้มูลค่าเงินลงทุนของกองทุนหลักไม่ถูกต้องไปด้วย นอกจากนี้ มูลค่าของ ตราสารหนี้อาจได้รับผลกระทบจากสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป หรือจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่มีนัยสาคัญท่ีส่งผลกระทบต่อการ วัดมูลค่าตราสารหน้ีดังกล่าวได้ เช่น การปรับลดอันดับความน่าเช่ือถือของผู้ออกตราสาร ก็อาจส่งผลให้ราคาของตราสารหนี้ ดังกล่าวลดลงอย่างมาก

1.8 ความเส่ียงจากการเข้าทาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า กองทุนหลักอาจมีการเข้าทาสัญญาซ้ือขายล่วงหน้า ซ่ึงทาให้กองทุนหลักอาจมีความเส่ียงท่ีคู่สัญญาไม่สามารถ ชาระหนี้ได้ (credit/counterparty risk) ความเส่ียงด้านสภาพคล่อง (liquidity risk) ความเสี่ยงด้านการวัดมูลค่า (valuation risk) ความเส่ียงด้านความผันผวน (volatility risk) และความเสี่ยงท่ีเกี่ยวข้องกับการทาสัญญานอกศูนย์ซื้อขายสัญญาซ้ือขายล่วงหน้า (over-the-counter transaction risk)

1.9 ความเสี่ยงด้านหลักเกณฑ์กากับดูแล (regulatory risk) บริษัทจัดการของกองทุนหลักอยู่ภายใต้การกากับดูแลตามกฎหมายEU โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักเกณฑ์UCITS ซึ่งกองทุนหลักได้จัดตั้งเป็นกองทุนUCITSที่ประเทศLuxembourg ดังนั้นหลักเกณฑ์การกากับดูแลที่ใช้กับประเทศของผู้ลงทุน จึงอาจมีความแตกต่างหรือไม่สามารถใช้บังคับได้ ทั้งนี้ มูลค่าเงินลงทุนของกองทุนอาจได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอน เช่น การเมืองระหว่างประเทศ สงคราม นโยบายของภาครัฐ ภาษี ข้อจากัดการลงทุนในต่างประเทศ การจากัดเงินทุนไหลเข้าออก การเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมายและหลักเกณฑ์ของประเทศที่กองทุนไปลงทุน เป็นต้น ปัจจัยความเสี่ยงของกองทุน Jupiter Global Fund - Jupiter Dynamic Bond แปลมาจากหนังสือช้ีชวน (Master Prospectus) ของกองทุนหลัก ท่านสามารถดูข้อมูลของกองทุนหลักเพิ่มเติมได้ที่: https://www.jupiteram.com

2. ปัจจัยความเสี่ยงที่สาคัญของกองทุนเปิดภัทร โกลบอล อันคอนสเตรนด์ บอนด์ เฮดจ์

2.1 ความเส่ียงจากกลยุทธ์ในการบริหารกองทุนแบบเชิงรุก (Active management risk) เน่ืองจากกองทุนหลักมีกลยุทธ์ในการบริหารกองทุนแบบเชิงรุก (Active management) ดังน้ันจึงมีความเสี่ยงจาก การตัดสินใจลงทุน การวิเคราะห์หลักทรัพย์ หรือกลยุทธ์การลงทุนของผู้จัดการกองทุนอาจทาให้ผลตอบแทนของกองทุนไม่เป็นไป อย่างที่คาดหวังหรือตามที่ประเมินไว้

2.2 ความเสี่ยงของการลงทุนในต่างประเทศ (Country and political risk) ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปล่ียนแปลงภายในประเทศที่กองทุนเข้าไปลงทุน อาทิ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ กฎหมายหรือข้อบังคับต่าง ๆ ตลาดทุนและตลาดเงิน รวมถึงข้อจากัดทางด้านกฎหมาย การทาธุรกรรมทางการเงิน เป็นต้น

2.3 ความเสี่ยงจากตลาด (Market Risk) ความเสี่ยงที่เกิดจากราคา หรือผลตอบแทนของตราสารปรับตัวเพิ่ม หรือลดเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ การเมือง ผลการดาเนินงานของผู้ออกตราสาร หรือการคาดการณ์ของนักลงทุน รวมถึงความเสี่ยงจากความผันผวนของดอกเบ้ีย ( Interest Rate Risk) อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด

2.4 ความเสี่ยงจากความสามารถในการชาระหนี้ของผู้ออกตราสารหรือคู่สัญญา (Credit risk หรือ Default risk หรือ Counterparty Risk) ความเสี่ยงจากการท่ีผู้ออกตราสารหรือผู้ค้าประกันตราสารหรือคู่สัญญาที่กองทุนไปลงทุนปรับลดอันดับ ความน่าเชื่อถือ หรือปฏิเสธการชาระเงินต้นและดอกเบี้ยได้ตามที่กาหนด หรือชาระไม่ครบตามจานวนที่สัญญาไว้

2.5 ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปล่ียน (Exchange Rate Risk) ความเสี่ยงที่การลงทุนอาจประสบกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ทาให้อัตราผลตอบแทนในรูปเงินบาท ผันผวน หากค่าเงินตราสกุลต่างประเทศมีการเปลี่ยนแปลง

2.6 ความเสี่ยงจากข้อจำกัดการนำเงินลงทุนกลับประเทศ (Repatriation risk) ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในประเทศที่กองทุนรวมเข้าไปลงทุน เช่น การออกมาตรการของ ทางการในต่างประเทศเมื่อเกิดภาวะวิกฤตการณ์ เป็นต้น ซ่ึงรวมถึงสาเหตุอ่ืนใดอันอาจส่งผลกระทบต่อการนาเงินกลับของกองทุน

2.7 ความเส่ียงด้านภาษี (Tax Considerations) การเปล่ียนแปลงที่เกี่ยวกับภาษีอาจะมีผลกระทบต่อมูลค่าเงินลงทุนของกองทุน ความสามารถในการสร้าง ผลตอบแทนให้แก่ผู้ลงทุน

2.8 ความเสี่ยงจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น ความเสี่ยงจากการก่อการร้าย ความเสี่ยงจากการแทรกแซงทางด้านเศรษฐกิจหรือการเมืองที่อาจส่งผล ต่อสภาวะเศรษฐกิจหรือสภาพคล่องในตลาด ความเสี่ยงทางกฎหมายที่เกิดจากการลงทุนในประเทศที่กฎหมายไม่มีความชัดเจน ความเสี่ยงในกรณีที่หน่วยงานกากับดูแล หรือตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ของประเทศที่ลงทุนมีการบังคับใช้มาตรการพิเศษในกรณีที่ ตลาดอยู่ในภาวะฉุกเฉิน ซ่ึงอาจมีผลกระทบในทางลบต่อกองทุนได้

2.9 ความเสยี่ งจากการเปล่ียนแปลงของอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) ความเส่ียงจากการที่ไม่สามารถซื้อหรือขายตราสารที่กองทุนถืออยู่ในราคาท่ีเหมาะสมและภายในระยะเวลา อันสมควร หรืออาจไม่ได้ราคาตามที่ต้องการ

2.10 ความเส่ียงด้านสภาพคล่องของตราสาร (Liquidity Risk) ความเสี่ยงจากการที่กองทุนไม่สามารถไถ่ถอนหน่วยลงทุนที่ลงทุนได้ในราคาที่เหมาะสมและภายในระยะเวลา อันสมควร หรืออาจไม่ได้ราคาตามที่ต้องการ

2.11 ความเส่ียงจากการเข้าทาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivative) ความเสี่ยงจากการที่ราคาหลักทรัพย์ท่ีตราสารอนุพันธ์นั้นอ้างอิงอยู่มีราคาเคล่ือนไหวในทิศทางตรงกันข้ามกับท่ี คาดการณ์ไว้ ทาให้กองทุนรับรู้ผลขาดทุน เน่ืองจากกองทุนได้ดารงสถานะเปิดรับความเสี่ยง (Exposure) จากการพิจารณาลงทุน ในตราสารอนุพันธ์ และความเสี่ยงจากการที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าบางประเภทมีความเสี่ยงมากกว่าการลงทุนตามปกติใน สินทรัพย์อ้างอิง ดังนั้นหากการพิจารณาลงทุนในตราสารอนุพันธ์ทาให้ค่าความเสี่ยงสุทธิ (Net Exposure) ของพอร์ตการลงทุน เพ่ิมขึ้น ก็จะทาให้ผลตอบแทนของกองทุนมีความผันผวนมากขึ้นได้

2.12 ความเสี่ยงทางกฎหมาย (Legal Risk) กองทุนอาจมีความเส่ียงทางกฎหมาย ในกรณีท่ีหากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางภาษีที่ทาให้ผู้ออกตราสาร หักภาษี ณ ที่จ่ายในการลงทุนเพิ่มขึ้น ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจได้ผลตอบแทนจากการลงทุนต่ากว่าท่ีคาดการณ์ไว้ นอกจากนั้นในก าร ลงทุนในต่างประเทศของกองทุน กองทุนมีความเสี่ยงเพิ่มเติม หากประเทศที่กองทุนเข้าลงทุน ออกกฎเกณฑ์ท่ีเป็นอุปสรรคต่อผู้ออก ตราสารในการส่งเงินออกนอกประเทศเพื่อคืนเงินต้น

ข้าพเจ้าได้รับทราบและมีความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายการลงทุนในตราสารที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ากว่าอันดับ ที่สามารถลงทุน (“non-investment grade”) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (“unrated”) รวมถึงความเสี่ยงและผลกระทบ ที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในตราสารดังกล่าวเป็นอย่างดีแล้วว่า

1. นโยบายการลงทุนในตราสาร non-investment grade/ unrated
กองทุนรวมน้ีมีการลงทุนในตราสาร non-investment grade/ unrated ผ่านการลงทุนในกองทุนหลักในต่างประเทศโดยกองทุนหลักในต่างประเทศสามารถลงทุนในตราสารข้างต้นในสัดส่วนร้อยละ 0-100 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (NAV)

2. ความเสี่ยงของการลงทุนในตราสาร non-investment grade/ unrated
กองทุนรวมนี้มีการลงทุนในกองทุนหลักในต่างประเทศที่เน้นลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงด้านเครดิตและสภาพคล่อง มากกว่ากองทุนรวมท่ัวไป ซึ่งตราสารดังกล่าวอาจไม่สามารถชาระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยตามจานวนหรือเวลาท่ีกาหนด ดังนั้น จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่มีฐานะการเงินท่ีสามารถรับความเสี่ยงจากผลขาดทุนได้

ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อมูลข้างต้นถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริงทุกประการ โดยข้าพเจ้ารับทราบและตกลงยินยอมปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆ ที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนของกองทุน และ/หรือท่ีบริษัทจัดการจะประกาศกาหนดเพิ่มเติมหรือ เปล่ียนแปลงต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ ข้าพเจ้าขอรับรองว่าบริษัทจัดการ และ/หรือผู้สนับสนุนได้ให้คาแนะนาเก่ียวกับความ เหมาะสมของข้าพเจ้าในการลงทุนในกองทุนรวมดังกล่าว รวมถึงได้อธิบายให้ข้าพเจ้ารับทราบและเข้าใจถึงความเสี่ยงจากการ ลงทุนในกองทุนที่มีความเสี่ยงสูง หรือมีความซับซ้อน ว่ามีความแตกต่างจากการลงทุนในกองทุนทั่วไป และได้รับทราบข้อมูลหรือ รายละเอียดเกี่ยวกับความเสียหายท่ีอาจเกิดขึ้นจากการลงทุนเนื่องจากผลตอบแทนไม่เป็นไปตามท่ีคาดหวัง รวมทั้งได้รับการแจก เอกสารให้ความรู้เก่ียวกับกองทุนรวม หนังสือชี้ชวนของกองทุนรวม รวมถึงเอกสารอ่ืนใดที่ใช้ในการเสนอขายหน่วยลงทุนของ กองทุนรวมท่ีบริษัทจัดการและ/หรือผู้สนับสนุนได้จัดทำขึ้น โดยข้าพเจ้าได้รับทราบคาเตือน และการเปิดเผยข้อมูลในเรื่องต่าง ๆ เป็นอย่างดีแล้ว

หากท่านมีข้อสงสัยสามารถติดต่อเราได้ทางเบอร์โทรศัพท์ 02-026-5100 หรือทาง LINE @FINNOMENAPORT

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | พอร์ตการลงทุนแนะนำในกองทุนรวมถูกจัดทำขึ้นร่วมกันระหว่างกูรูด้านการเงินแต่ละราย และตรวจสอบความถูกต้องโดยทีมงานนักวิเคราะห์ของของบริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด | การให้ข้อมูลสำหรับติดต่อของท่าน ถือเป็นการยอมรับให้บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด และบริษัท ฟินโนมีนา จำกัด ติดต่อท่านได้โดยตรงเท่านั้น ข้อมูลส่วนตัวของท่านจะถูกเก็บไว้เป็นความลับ