ทำความเข้าใจ เหตุแห่งวิกฤตอิตาลี

อิตาลีกำลังติดอยู่กับปัญหาทางการเมืองระหว่างฝั่งแนวคิดต่อต้านสหภาพยุโรปที่เพิ่งชนะการเลือกตั้งเมื่อเดือนมีนาที่ผ่านมา กับฝั่งที่ยังต้องการอยู่ในสหภาพยุโรป การจัดตั้งรัฐบาลผสมถูกขัดจากประธานาธิบดีที่ใช้สิทธิ์วีโต้ ตอนนี้ก็ยังไม่มีรัฐบาลอย่างเป็นทางการขึ้นมาบริหารประเทศ

เหตุแห่งวิกฤตคราวนี้

ด้วยความที่ อิตาลี เป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของยูโรโซน สถานการณ์ในตอนนี้ถูกจับตามมองจากทั่วโลก จากทั้งวิกฤตหนี้สินช่วงปี 2010-2011 ซึ่งยังไม่สะสาง จนมาถึงวิกฤตการเมืองในครั้งนี้ การเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ไม่มีพรรคใดครองเสียงข้างมาก ส่งผลให้ต้องจัดตั้งรัฐบาลผสม ภายใต้การนำของ นายลุยจิ ดิ มาโย หัวหน้าพรรคไฟฟ์สตาร์ มูฟเมนต์ และนายมัตเตโอ ซัลวินี หัวหน้าพรรคลีก ซึ่งเป็นฝ่ายที่มีแนวคิดต่อต้านสหภาพยุโรป

จากนั้นได้มีการเสนอชื่อนายกฯคนนอก คือ นายจูเซปเป้ คอนเต้ และนำรายชื่อคณะรัฐมนตรีไปให้ประมุขของรัฐอนุมัติ ปรากฎว่าประธานาธิบดี แซร์จิโอ มัตเรลลา ปฏิเสธการแต่งตั้ง เปาโล ซาโวนา ขึ้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ผู้ซึ่งมีแนวคิดต่อต้านสกุลเงินยูโร สร้างความไม่พอใจกับ นายคอนเต้จึงขอถอนตัวออกไป จากนั้นแต่งตั้งนายคาร์โล คอตตาเรลลี วัย 64 ปี อดีตนักเศรษฐศาสตร์ประจำไอเอ็มเอฟ ขึ้นเป็นนายกฯ นายคนนี้มีแนวคิดฝั่งสนับสนุนยูโรโซน

ภาพที่ 1 : จำนวนที่นั่งของแต่ละพรรคในสภา

ทีนี้เนี่ยมันวุ่นวายต่อเนื่องจาก นายลุยจิ ดิ มาโย ออกมาเรียกร้องให้ถอดถอนประธานาธิบดีจากตำแหน่ง ด้านนายมัตเตโอ ซัลวินีออกมากล่าวว่านี่อาจเป็นการวางหมากไว้แล้วจากเยอรมนี ชาวอิตาเลียนเริ่มมีความคิดว่านี่ก็เป็นการวางเกมส์มาแล้วจากอียู ส่วนหนังสือพิมพ์ในอิตาลี ต่างออกมาพูดในทำนองเดียวกันว่า นี่น่าจะเป็นงานหนักสำหรับนายคอตตาเรลลี ในการจัดตั้งรัฐบาลขึ้นใหม่ ทั้งขาดความเชื่อมั่นจากรัฐสภา และในตัวเขาเอง อย่างไรก็ตาม นายคอตตาเรลลี ออกมากล่าวว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นช่วงต้นปี 2019 หรือหลังเดือนสิงหาคมนี้ หากเขาไม่รอดจากการโหวตไม่ไว้วางใจ ซึ่งน่าจะเป็นกรณีหลัง

ภาพรวมเศรษฐกิจและการเจรจา

อย่างที่เราทราบกันดี อิตาลีมีภาระหนี้สินกว่า 2.3 ล้านล้านยูโร หรือคิดเป็น 132% ของ GDP มากเป็นอันดับสองของยุโรปต่อจากประเทศกรีซ

ภาพที่ 2 : หนี้สินต่อ GDP อิตาลีมากเป็นอันดับสองของยุโรปต่อจากประเทศกรีซ

ภาพที่ 3 : การเติบโตของ GDP ต่อหัวประชากรที่ช้ากว่าประเทศใหญ่ๆในยุโรป

ภาพที่ 4 : อัตราการว่างงานที่ค่อนข้างมาก รวมไปถึงประชากรที่อยู่ในข่ายยากจนสูงถึง 18 ล้านคนในปี 2016 ประมารณ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศ

โดยถึงแม้พรรคทั้งสองที่ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลผสมจะมีแนวคิดต่อต้านสหภาพยุโรป แต่พวกเขาได้ออกมากล่าวว่าไม่มีแนวคิดที่จะออกจากสกุลเงินยูโร อย่างไรก็ตามพวกเขาต้องทำตามสัญญาที่ให้ไว้แน่นอน คือ การไปเจรจากับเงื่อนไขของยูโรโซน เช่น ข้อตกลงด้านเสถียรภาพและการเติบโต รวมไปถึงการควบคุมทางการเงิน เพื่อช่วยเรื่องเงินบำนาญและสวัสดิการคนรายได้น้อย (เอาอียูออกไปหน่อยนะ) แน่นอนครับอียูเองก็คงไม่พอใจหรอก เดี๋ยวคนอื่นเอาเยี่ยงอย่าง

คนอิตาเลียนคิดกับสกุลยูโรอย่างไร

ถ้าดูจากภาพด้านล่าง โพสสำรวจว่าคนอิตาเลียนคิดยังไงกับสกุลเงินยูโร คนที่เห็นด้วยกับไม่เห็นด้วยพอๆกัน

ภาพที่ 5 : โพสสำรวจว่าคนอิตาเลียนคิดยังไงกับสกุลเงินยูโร

ส่วนคนที่ยังไม่ตัดสินใจมีจำนวนพอจะพลิกเกมส์ของทั้งสองฝ่ายได้เลย ส่วนตัวจึงมองว่าการวางตัว การเดินเกมส์ทั้งสองฝ่ายหลังจากนี้จะลุ่มลึกและดุเดือดกว่านี้ เพื่อดึงคะแนนจากกลุ่มคนส่วนนี้ เรามาคิดกันเล่นๆว่าถ้าแยกตัวออกมาได้จริงๆแล้ว ประเทศที่มีหนี้ขนาดนี้ การเติบโตช้าขนาดนี้ จะมีความน่าเชื่อถือขนาดไหนกันเชียว อีกทั้งจะยืนด้วยลำแข้งตัวเองรอดหรือไม่ ส่วนตัวมองว่านี่อาจเป็นแค่การหาเสียงเพื่อเข้าสู่อำนาจ แต่ถ้าแยกออกมาจริงๆก็คงไม่น่ารอดหรอก…

Ref : http://www.bbc.com/news/world-europe-44277888
http://www.bbc.com/news/business-43247500
https://www.dailynews.co.th/foreign/645958
https://www.facebook.com/SinthornCafe/posts/10156167248120926