PMI คือ อะไร?

PMI คือ อะไร?

PMI คืออะไร?

PMI คือ ดัชนีที่ใช้เป็นตัวบ่งชี้สภาวะทางเศรษฐกิจของภาคการผลิตและบริการ ย่อมาจาก Purchasing Managers’ Index หรือก็คือ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ

จุดประสงค์เพื่ออะไร?

เพื่อให้ข้อมูลทางด้านสภาวะทางเศรษฐกิจต่อนักลงทุน นักวิเคราะห์ ประชาชนทั่วไป

จัดทำโดยใคร?

มี 2 สถาบันหลักที่จัดทำดัชนี PMI โดยในสหรัฐฯ จัดทำโดย ISM (Institute for Supply Management) ขณะที่กว่า 30 ประเทศทั่วโลกจัดทำโดย IHS Markit Ltd ส่วนประเทศจีนมีการจัดทำจากทั้งภาครัฐ และเอกชนโดยสถาบัน Caixin (Caixin Media Company Ltd)

PMI คือ อะไร?

รายละเอียด

ใช้การสำรวจ (Survey) ผู้ประกอบการภาคเอกชน (ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ) ตัวอย่างเช่น ในสหรัฐฯ สถาบัน ISM จะทำการสำรวจผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อกว่า 400 บริษัท โดยมุ่งเน้นการสำรวจผ่าน 5 ตัวแปรหลัก ประกอบไปด้วย : ยอดสั่งซื้อใหม่ ปริมาณสินค้าคงคลัง สายการผลิต การส่งสินค้าซัพพลาย และการจ้างงาน โดยคำถามที่ใช้สำรวจจะรวมไปถึงสภาพทางธุรกิจและการเปลี่ยนแปลง ทั้งดีขึ้น เท่าเดิม หรือแย่ลง

PMI คือ อะไร?

ดัชนี PMI แบ่งเป็น 2 ดัชนีหลัก

1.Manufacturing PMI (ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต)

2.Non-Manufacturing PMI หรือ Service PMI (ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ)

การคำนวณดัชนี

ตัวเลขดัชนี PMI เริ่มตั้งแต่ 0 ถึง 100 หาก PMI ออกมามากกว่า 50.0 จุด แสดงว่ามีการขยายตัว แต่ถ้าออกมาที่ 50.0 จุด พอดี แสดงว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือหากออกมาต่ำกว่า  50.0 จุด สะท้อนการหดตัว

PMI คือ อะไร?

สูตรที่ใช้คำนวณ

PMI = (P1 * 1) + (P2 * 0.5) + (P3 * 0)  

P1 = เปอร์เซ็นต์ของคำตอบที่มีการขยายตัว

P2 = เปอร์เซ็นต์ของคำตอบที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

P3 = เปอร์เซ็นต์ของคำตอบที่มีการหดตัว

วิธีใช้ภาคปฏิบัติ

การใช้ดัชนี PMI นอกจากสะท้อนสภาวะทางเศรษฐกิจของภาคการผลิตและบริการในปัจจุบันแล้ว ยังสะท้อนมุมมองสภาพเศรษฐกิจในอนาคตอีกด้วย อีกส่วน คือ การใช้ดัชนี PMI ควรใช้โดยการดูค่าในแต่ละเดือน และแนวโน้มระยะยาวด้วย ตัวอย่างเช่น รูปภาพด้านล่าง คือ ดัชนี ISM Manufacturing PMI (เส้นสีฟ้า) และ Caixin Manufacturing PMI (เส้นปะสีดำ)

ISM Manufacturing PMI มีการปรับตัวลงมาในเดือนล่าสุด อย่างไรก็ตาม ดัชนีปรับตัวลงมาที่ 59.8 จุด แต่ยังอยู่เหนือ 50.0 จุด แสดงว่ายังมีการขยายตัวในภาคการผลิต อีกทั้งเมื่อมองในระยะยาวแล้ว พบว่า ดัชนีมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นและอยู่ในระดับสูงกว่า 50.0 จุด อย่างต่อเนื่อง ย่อมแสดงถึงมุมมองต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ขยายตัวอย่างมาก

ในทางกลับกัน ดัชนี Caixin Manufacturing PMI ซึ่งปรับตัวลงมาจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 50.0 จุด พอดี แสดงว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงในเดือนล่าสุด แต่หากมองภาพรวมในระยะยาว พบว่าดัชนีมีการปรับตัวลงมาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังอยู่เหนือระดับ 50.0 จุด สะท้อนการขยายตัวที่ลดลงตลอดปีที่ผ่านมา ดังนั้นการใช้ดัชนี PMI ต้องดูทั้งการเปลี่ยนแปลง และแนวโน้มในระยะยาวควบคู่ไปด้วยกัน

ที่มา
https://www.investopedia.com/terms/p/pmi.asp
https://tradingeconomics.com/