มุมมอง ดร.วิศิษฐ์ 19-23 กันยายน 2559

สัปดาห์นี้นักลงทุนควรจับตาดูผลการประชุมของ FOMC ของสหรัฐฯ และการประชุมของ BOJ (ธนาคารกลางญี่ปุ่น) ในวันที่ 21 กันยายนอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะมีผลต่อ Fund Flow

  • การประชุมของ FOMC อาจนำไปสู่การลดลงของ Dot Plot (เส้นทางดอกเบี้ยของ Fed ในอนาคต) ซึ่ง Dot Plot ภายหลังการประชุมเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา บ่งบอกถึง Fed Fund Rate จะเป็น 0.875% ภายในปลายปี 2016 1.675% ภายในปลายปี 2017 และ 2.375% ภายในปีปลายปี 2018
  • ซึ่งบ่งบอกถึงโอกาสขึ้นดอกเบี้ยในปี 2016 อย่างน้อย 1 ครั้ง และขึ้นดอกเบี้ยประมาณ 3-4 ครั้งในปี 2017 ถ้า Dot Plot ภายหลังการประชุมเดือนกันยายนปรับตัวลดลง ตลาดหุ้นทั่วโลกอาจจะปรับในช่วง Sideway ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่ลดลง และยังคงรอปัจจัยใหม่ต่อไป แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือนักลงทุนได้ให้ Pricing การขึ้นดอกเบี้ยของ Fed แค่ 2 ครั้งเท่านั้นจนถึงปี 2019 ถือเป็น Taper Tantrum risk และทำให้ตลาดหุ้นมีความผันผวนสูงมาก ถ้า Action ของ Fed แตกต่างจากสิ่งที่นักลงทุนให้ Pricing
  • Fed อาจจะพูดถึง “Balanced Risk” ซึ่งบ่งบอกถึงค่าที่ Fed เริ่มเตือนให้นักลงทุนระวังตัวมากขึ้น ถือเป็นคำพูดแบบ hawkish แบบเล็กๆ
  • การประชุม BOJ ในวันที่ 21 กันยายนนี้ เช่นกัน ถือว่าเป็นการทบทวนแบบครอบคลุมรอบด้าน (Comprehensive review) มีโอกาสไม่น้อยที่ BOJ จะไม่ลดดอกเบี้ยให้ติดลบเพิ่ม อาจทำให้ตลาดทุนผิดหวัง ซึ่ง BOJ อาจจะคงนโยบายดอกเบี้ยคงเดิม แต่ BOJ อาจจะเปลี่ยนแปลงจำนวนการทำ QQE (Quantitative and Qualitative Easing) จากปัจจุบันคงที่ที่ JPY 80 ล้านๆต่อเดือน มาสู่ 70-90 ล้านๆ เยน และยืดอายุพันธบัตรจากค่าเฉลี่ยปัจจุบัน 7 ปี มาสู่การซื้อพันธบัตรที่ยาวขึ้น
  • สำหรับตลาดหุ้นไทย จากการศึกษาเชิงประจักษ์ (Empirical study) ตั้งแต่ปี 1993 เป็นต้นมา พบว่า มีแค่ 3 episode (1998-1999 , 2004 และ 2012-2013) เท่านั้นที่กลุ่มอาหารได้ outperform SET Index ส่วนกลุ่มสื่อสาร กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มวัสดุก่อสร้าง จะเป็นกลุ่มที่ Outperform ตามหลังกลุ่มอาหาร

ที่มาบทความ : www.facebook.com/Trinitysecuritiesgroup