relative-approach-discount-cash-flow

Momentum investor กำลังเป็นกระแสที่มาแรง!!! ดังนั้นเราควรทำความรู้จักการเปรียบเทียบมูลค่าหุ้นให้เหมาะสม ว่าตัวใหนถูก ตัวใหนแพง เพื่อที่จะได้ลงทุนให้เหมาะสมกับ “Theme ของ momentum” ลงทุนสไตล์ Momentum หากจะปลอดภัยสุด ต้องเลือกหุ้นที่ดีเป็นอันดับต้นๆของกลุ่ม ซึ่งเราต้องดูพื้นฐานของกิจการอย่างคร่าวๆให้ออกกันว่า “หุ้นอะไร จะพาเรารุ่ง และหุ้นอะไรจะพาเราร่วง”

การประเมินมูลค่า หลักๆ แบ่งออกเป็น 2 ทาง คือ discount cash flow และ relative approach ซึ่งในแต่ละวิธี จะมี “ข้อดี-ข้อเสีย” แตกต่างกัน ซึ่งวันนี้ เราจะมาแยกให้ดูว่า แต่ละประเภทของการวิเคราะห์มีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร และควรใช้ในกรณีใหนบ้าง

จำแนกกันก่อนว่าการวิเคราะห์ที่ใช้กันในปัจจุบัน มีอยู่ 4 ตัวหลักคือ P/BV P/E PEG และ discount cash flow (P/S และ P/CF ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าใหร่นักเลยไม่กล่าวถึง) แต่ละวิธีเป็นอย่างไรมาดูกัน

P/BV (Price-to-book-value)

การคำนวณนั้นแสนจะง่าย นำราคาของหุ้นตั้งแล้วหารด้วย BV ซึ่งค่า BV ก็คำนวณได้มาจากการนำเอามูลค่าตามบัญชี (ส่วนของผู้ถือหุ้นของกิจการ) ไปหารด้วยจำนวนหุ้น และจะได้ค่าออกมา ง่ายแสนง่าย ถ้าตัวเลขออกมาต่ำกว่า 1 แปลว่า หุ้นตัวนั้น ซื้อขายกันถูกกว่าบัญชีซะอีก!!! น่าซื้อใช่ใหมล่ะ

“แต่อย่างไรก็ตาม เราต้องดู ปัจจัยอื่นๆประกอบด้วย P/BV ต่ำกว่า 1 ไม่ได้แปลว่าถูกเสมอไป” ข้อเสียของวิธีดังกล่าว ที่สำคัญคือ มูลค่าตลาด จะมีมูลค่าแตกต่างจาก มูลค่าทางบัญชีเสมอ (ไม่เชื่อลองเทียบราคาบ้านหรือคอนโด ในปัจจุบัน กับเมื่อ 10 ปีที่แล้วดูครับ จะเห็นภาพมากขึ้น) ดังนั้น สรุปง่ายคือ “มูลค่ามันจะไม่ Update กับความเป็นจริง”

P/E (Price-to-earnings)

การคำนวณนั้นแสนจะง่ายเช่นเดียวกัน เพียงนำราคาของหุ้นตั้งแล้วหารด้วย EPS ซึ่งค่า EPS ก็คำนวณได้มาจากการนำเอากำไรสุทธิไปหารด้วยจำนวนหุ้น และจะได้ค่าออกมา ง่ายแสนง่าย เอาไปเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมหาหุ้นถูก และหุ้นแพงได้

แต่อย่างไรก็ตาม หากคิดมูลค่า P/E นั้น อาจจะไม่ถูกต้องเสมอไป บางท่านอาจจะใช้ PEG เพือดูหุ้นประกอบ “หุ้นแพงแล้ว แต่มันแพงกว่า มีให้เห็นเสมอ” PEG สามารถหาคำตอบให้เราได้เช่นกัน ว่าทำไม แพงแล้วแพงอีก!!!

PEG

“PEG = P/E หารด้วย growth ของ EPS เพื่อเทียบประสิทธิภาพของการเติบโตของกิจการด้วย” เช่น P/E แพง แต่ PEG ทำให้ดูได้ว่า พอเทียบกับ EPS ที่โตแล้วมันแพงเพราะกิจการจะโต หรือ แพงเพราะ กิจการเพียงแค่มีคนดันราคาขึ้นมา !! เช่นเดียวกัน เราไม่ควรจะใช้มันแบบเดี่ยวๆ ควรใช้ปัจจัยอื่นๆพิจารณาประกอบด้วย

DCF (Discount cash flow)

หรือการคิดลดมูลค่ากระแสเงินสด มันคือการพยากรณ์ FCFF/FCFE ล่วงหน้า และคิดลดกลับมาเป็นมูลค่าปัจจุบันนั่นเอง ซึงวิธีนี้ กลับเป็นวิธีที่คนนิยมใช้กันแพร่หลาย เพราะเข้าใจว่ายากกว่ามักจะแม่นกว่า!!! แต่จริงๆแล้ว “simple is the best” ยังเป็นคำกล่าวที่ดีของการลงทุนเสมอ

เราลองแบ่งการประเมินมูลค่าของวิธีนี้ออกเป็น 2 ส่วนคือ CF ในแต่ละปี และ terminal growth ซึ่งกำหนดให้กระแสเงินสดโตแบบคงที่จนถึงปิดกิจการ!! เห็นกลิ่นแปลกๆรึยังครับ??? ก้อน terminal growth นั่นแหล่ะคือสิ่งที่ทำให้ความ sensitive ของวิธีนี้สูงมาก เพราะหากคำนวน growth พลาดนิดเดียว ราคามันจะผิดไปเยอะมากๆ!!! ดังนั้นกิจการนี้เหมาะสมกับหุ้นที่เติบโตแบบมั่นคง รายได้ประจำ และคงที่ เช่นธุรกิจ ค้าปลีก เป็นต้น เช่นเดียวกันครับ เราควรดูปัจจัยอื่นๆประกอบด้วย

ไม่มีวิธีใดที่แม่นที่สุด เราต้องเข้าใจว่าอุตสาหกรรมใดเหมาะกับการวิเคราะห์แบบใหน ไม่มีวิธีการประเมินใดที่สามารถใช้ได้ทุกกรณี เราต้องหาวิธีที่เหมาะสมให้เจอ

อดทน ฝึกฝน คือกุญแจแห่งชัยชนะในการลงทุน “อย่ามองเพียงแค่กำไร ให้มองความรู้ที่ได้รับ เพราะมันยั่งยืนกว่า”