Sell in May มีจริงหรือคิดไปเอง

“Sell in May and go away” เป็นหนึ่งในแนวคิดการลงทุนที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ซึ่งหมายถึงการขายหุ้นหรือสินทรัพย์เสี่ยงในช่วงเดือนพฤษภาคม แล้วรอจนถึงเดือนตุลาคมก่อนจะกลับมาลงทุนอีกครั้ง

เนื่องจากมีความเชื่อกันว่าข้อมูลทางสถิติที่ผ่านมา ตลาดหุ้นมักจะผันผวนและให้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยหลังเข้าสู่เดือนพฤษภาคม ซึ่งก็มาจากหลากหลายเหตุผลแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม Sell in May ถือเป็นเพียงแนวคิดการลงทุนแบบหนึ่งเท่านั้น และไม่ได้เป็นสูตรสำเร็จที่ใช้ได้กับทุกสถานการณ์ นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลและพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบคอบ

ทั้งนี้ เราจึงได้สรุปผลตอบแทนตลาดหุ้นในเดือนพฤษภาคม 20 ปีย้อนหลัง (2004-2023) มาฝาก สำหรับเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ

หุ้นไทย (SET Index) ผลตอบแทนเฉลี่ย -0.19% มี 11 ปีที่หุ้นลง

Sell in May มีจริงหรือคิดไปเอง

หุ้นอเมริกา (S&P500) ผลตอบแทนเฉลี่ย +0.19% มี 5 ปีที่หุ้นลง

Sell in May มีจริงหรือคิดไปเอง

หุ้นยุโรป (EURO STOXX 600) ผลตอบแทนเฉลี่ย -0.40% มี 10 ปีที่หุ้นลง

Sell in May มีจริงหรือคิดไปเอง

หุ้นจีน (CSI300) ผลตอบแทนเฉลี่ย +0.02% มี 9 ปีที่หุ้นลง

Sell in May มีจริงหรือคิดไปเอง

หุ้นฮ่องกง (HSI) ผลตอบแทนเฉลี่ย -1.33% มี 13 ปีที่หุ้นลง

Sell in May มีจริงหรือคิดไปเอง

หุ้นญี่ปุ่น (TOPIX) ผลตอบแทนเฉลี่ย -0.20% มี 8 ปีที่หุ้นลง

Sell in May มีจริงหรือคิดไปเอง

หุ้นเกาหลีใต้ (KOSPI) ผลตอบแทนเฉลี่ย -0.12% มี 10 ปีที่หุ้นลง

Sell in May มีจริงหรือคิดไปเอง

หุ้นเวียดนาม (VNI) ผลตอบแทนเฉลี่ย +0.11% มี 11 ปีที่หุ้นลง

Sell in May มีจริงหรือคิดไปเอง

สรุปแล้วจากข้อมูลสถิติ 20 ปี พบว่าเดือนพฤษภาคม หุ้นไม่ได้ลงทุกประเทศ ไม่ได้ลงทุกปี มีขึ้นลงสลับกันไปตามสถานการณ์ตลาดและเศรษฐกิจโดยรวม

เปิดโหมด Risk-On!