02_INVESTOR_OASIS_BEM ลงทุนศาสตร์-01

10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับหุ้น… BEM

1. BEM หรือ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เกิดจากการควบรวมกิจการกันระหว่าง BMCL หรือ รถไฟฟ้ากรุงเทพ กับ BECL หรือ ทางด่วนกรุงเทพ โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่คือ CK หรือ ช.การช่าง ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็ทำธุรกิจเพื่อสร้างผลประโยชน์เชิงธุรกิจซึ่งกันและกัน

2. รายได้ของ BEM ขึ้นอยู่กับ 2 ส่วนเป็นหลัก คือ รายได้ต่อหน่วยกับจำนวนหน่วยที่ใช้บริการ โดยรายได้ต่อหน่วยนั้นมีการทำสัญญาไว้กับภาครัฐ ซึ่งค่าโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดินขึ้นได้ทุก 2 ปี ค่าใช้บริการทางด่วนขึ้นได้ทุก 5 ปี ในขณะที่จำนวนหน่วยที่ใช้บริการขึ้นอยู่กับความจุของระบบขนส่งของบริษัทเองที่รับได้ (ไม่นับรวมรายได้จากการรับจ้างบริหาร)

3. ทางด่วนเป็นสัญญาแบบ BTO (build transfer and operate) คือสร้างและทางด่วนจะเป็นของกทพ. (การทางพิเศษแห่งประเทศไทย) แต่ BEM จะได้เก็บค่าทางด่วนเป็นเวลา 30 ปี

4. สัมปทานทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) จะหมดสัมปทานลงในปี 2563 ทำให้รายได้จากค่าทางด่วนหายไปประมาณ 40% ของค่าทางด่วนรวม

5. บริษัทได้เริ่มงานก่อสร้างทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2555 มีระยะเวลาก่อสร้างไม่เกิน 48 เดือน มูลค่าโครงการ 25,491 ล้านบาท โดยความคืบหน้าของโครงการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 อยู่ที่ประมาณร้อยละ 85.37 เป็นไปตามแผนงาน คาดว่าจะเปิดใช้บริการได้ภายในปี 2559 ซึ่งส่วนงานดังกล่าวจะมาช่วยเพิ่มรายได้ในส่วนค่าทางด่วนของบริษัท

6. โครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้าเงิน) (สถานีหัวลาโพง-สถานีบางซื่อ) เป็นสัญญาแบบ PPP net cost คือ BEM ลงทุนสร้างทั้งหมดและได้สัมปทานเก็บค่าโดยสาร 25 ปี ส่วน โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-ราษฏ์บูรณะ ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ (สถานีคลองบางไผ่-สถานีเตาปูน) เป็นสัญญาแบบ PPP gross cost คือ รัฐลงทุน BEM ได้ค่าบริหารจัดการ รัฐได้ค่าโดยสาร โดยสัญญาว่าจ้างบริหารยาวนาน 30 ปี

7. ROE ของ BEM = 9.07%

8. BEM มีบริษัทลูกทำโฆษณาชื่อ BMN เหมือน BTS มี VGI

9. อนาคต BEM มีแผนที่จะ spin off BMN เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

10. ผู้บริหาร BMN ชื่อ คุณโจ้ เป็นทายาทรุ่นที่ 2 ของ ช.การช่าง เคยไปเป็นกรรมการพิเศษให้รายการ The face Thailand season 2 episode 8 

ลงทุนศาสตร์ – Investerest

TSF2024