tkn_2

บทความปฐมฤกษ์ที่ finmoment (ชื่อคล้ายกันเลย) มาขอร่วมฟีเจอริ่งกับ FINNOMENA ในการให้ความรู้กับนักลงทุนครับ

สวัสดีครับ วันนี้มาเปลี่ยนบรรยากาศดูหุ้น IPO กันบ้าง (เกาะกระแส) กับหุ้น TKN สาหร่ายเถ้าแก่น้อย

ออกตัวก่อนครับ โดยส่วนตัวไม่ชอบหุ้น IPO เพราะยึดหลัก Warren Buffett อย่างเคร่งครัด (ข้อมูลน้อยเกินกว่าจะตัดสินใจครับ) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นด้วยความชอบสาหร่ายของเถ้าแก่น้อย (อร่อย) ส่วนตัว ขอลองมาดูกันสักตั้งครับ

First Look

tkn1

รูปที่ 01

จุดแรกเลยกับ ROE ที่ถือว่าสูงพอสมควรครับ แต่อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นก็สูงสักเล็กน้อย

tkn2

รูปที่ 02

มาดูสัดส่วนรายได้กันนิดหนึ่ง แบ่งเป็นสาหร่ายทอด ย่าง เทมปุระ อบ และอื่นๆ

โดยส่าหร่ายทอดน่าจะเป็นสินค้า original มีสัดส่วนรายได้สูงสุดคือ 65.28% ในปี 57

  • ย่าง 24.5%
  • เทมปุระ 3.71%
  • อบ 1.73%
  • อื่นๆ รวมกันประมาณ 5% นิดๆ

ถ้าลองมาดูตามรูปที่ 2 จะเห็นว่ารายได้ของสาหร่าทอดลดลงมาก แต่สาหร่ายย่างเพิ่มขึ้น ไม่แน่ใจว่าเกิดจากการ cannabalize กันเองหรือเปล่า (แย่งตลาดกันเอง) หรือเกิดจากคู่แข่ง แต่ไลน์ผลิตสาหร่ายย่างขายดีขึ้น อันนี้แตกต่างกันพอสมควรนะครับ

ถ้า cannibalize กันเองเนี่ยแสดงว่ายอดขายบริษัทยังแข็งแกร่งเพียงแต่ว่าแตกไลน์เพื่อเพิ่มความหลากหลาย

แต่หากเกิดจากคู่แข่งหมายความว่าฐานะเบอร์ 1 สั่นคลอนพอสมควรครับเพราะยอดตกไปเป็นร้อยล้านบาท  แต่ถือว่าการเพิ่มผลิตภัณฑ์เป็นการตอบโจทย์คู่แข่งพอสมควร

ผมเดาว่าน่าจะเป็นอย่างหลังเพราะยอดรวมปี 57 ตกลงจากปี 56 ครับ ถือว่าบริษัทปรับตัวได้ดี แต่คิดว่าไม่ยั่งยืนเท่าไหร่เพราะสินค้าเป็นสิ่งที่ลอกเลียนแบบง่ายอยู่แล้ว คู่แข่งอาจจะตามทันแม้ว่าอาจจะช้าสักหน่อย

ซึ่งจุดนี้บริษัทก็ระบุในหนังสือชี้ชวนชัดเจนว่าการแข่งขันสูง barrier to entry ค่อนข้างต่ำเพราะการผลิตไม่ซับซ้อน และการผลิตใช้แรงงานเป็นหลัก ยิ่งโดนผลกระทบค่าแรงขั้นต่ำเข้าไปอีก การตั้งโรงงานลงทุนไม่เยอะ และบริษัทเป็น first mover คือผู้เข้าตลาดก่อน อาจจะโดน last mover อัดเอาได้ง่ายๆ เพราะ ไม่ต้องลองตลาดก่อน ก๊อปปี paste แบบดื้อๆ ได้ครับ

พูดถึงแข่งขันสูงให้เห็นภาพเป็นตัวเลขหน่อยแล้วกันครับ นั่นคือ Operating Margin (กำไรจากการดำเนินงาน) อยู่ที่ 5.04% (2555) 6.61% (2556) และ 9.02% (2557) 58 ไม่นับเพราะแต่งตัวเข้าตลาดครับ (12.6%) จะเห็นว่า margin บางเฉียบ หากเป็นธุรกิจผูกขาดที่แข็งๆ แล้วละก็จะเห็นตัวเลข margin สองหลักสบายๆ ติดต่อกันหลายๆ ปีครับ

Margin คือ ส่วนต่างกำไรกับทุนครับ คิดง่ายๆ  ขาย 100 บาท margin 6.61% ต้นทุน (รวมค่าแรง) จะอยู่ที่ 100-6.61 = 93.39 บาทครับ

tkn3

รูปที่ 03

ในรูปทรัพย์สินต่อหนี้สินไม่เยอะ และจุดสำคัญคือ หนี้สินเป็นเจ้าหนี้การค้า เงินกู้ระยะสั้นค่อนข้างเยอะ ในขณะเดียวกันทรัพย์สินเป็นลูกหนี้การค้าค่อนข้างเยอะ โดยในปี 57 มีเงินกู้ยืมระยะสั้น 290.16 ล้านบาท  เจ้าหนี้การค้า 450.79 ล้านบาท ส่วนลูกหนี้การ 68.08 ล้านบาท ของยอดขายปี 5

แปลไทยเป็นไทยก่อนครับ นั่นหมายความว่า (ประมาณด้วยสายตา)

บริษัทกู้ระยะสั้นมาเพื่อเป็นเงินทุน

บริษัทไปซื้อวัตถุดิบต้องจ่ายเจ้าหนี้การค้า แต่ต๊ะไว้ก่อน พวกค่าขนส่ง วัตถุดิบอะไรพวกนี้ (เจ้าหนี้การค้า)

แต่บริษัทยังเก็บเงินลูกค้าไม่ได้ (ลูกหนี้การค้า) เยอะพอสมควร

อ่านมาตรงนี้สะดุดนิดหนึ่งครับกับผลตอบแทนผู้บริหาร ปี 57 ผู้บริหาร 6 คนค่าตอบแทน 24 ล้านบาท คิดว่าเยอะไปนิดหนึ่งกับบริษัทยอดขายระดับนี้ครับ เหมือนจะเคยอ่านเจอผลตอบแทนผู้บริหารตัวเลขใกล้ๆ กันแต่บริษัท แต่ scale ต่างกันค่อนข้างเยอะ จริงๆ อาจจะถือว่าคิดเล็กคิดน้อยไปถ้าบริษัททำรายได้หลักพันล้านการเอาผลตอบแทนระดับนี้อาจถือว่าไม่เยอะ แต่กับตัวเลขกำไรสุทธิประมาณ 200-300 ล้านบาท ก็คิดเป็นเงินเดือนผู้บริหารประมาณ 10% ได้ อันนี้นานาจิตตังครับ สำหรับผมการที่ผู้บริหารมีเงินเดือนเยอะไปนั้นหมายความว่าผู้บริหารอยากจะเอาเงินออกจากบริษัทมากกว่าให้มันอยู่ในบริษัทเอาไว้ใช้ลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนครับ

ดูกันไปเยอะมาดูจุดดีกันบ้างครับ

tkn4

รูปที่ 4

  • โดยเถ้าแก่น้อย market share เป็นอันดับหนึ่ง อยู่ที่ประมาณ 62%  ตามมาด้วย
  • มาชิตะ ของ สิงห์ คอร์เปอเรชั่น 14%
  • ซีลีโกะ ของ แคปิตอล เทรดดิ้ง จำกัด 7%
  • ตะวันแดง ของ บริษัท ทริปเป้ิล-เอ็มโปรดักส์ จํากัด 4%
  • ตี๋เล็ก ของ บริษัท ยูโรเปี้ยน สแนค ฟู้ด จํากัด  1%
  • โอโนริ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) 1%
  • คู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดคงเป็น มาชิตะ ที่หนุนหลังโดยสิงห์ซึ่งทุนน่าจะหนาต่างกันเยอะครับ แต่จะเห็นว่ามาชิตะนั่นขับเขี่ยวกันมาพอสมควร โดยมีบางปีที่ market share ของ เถ้าแก่น้อยตกไปต่ำกว่า 60% และมาชิตะขึ้นมา 20% กว่าๆ อยู่บ้าง (กราฟขึ้น) ซึ่งจุดนี้จะแสดงให้เห็นถึงความเจ๋งของผู้บริหารพอสมควรที่ยังคงสามารถรักษาฐานตลาดไว้ได้อย่างเหนียวแน่น

market share คือส่วนแบ่งการตลาด ยิ่งเยอะยิ่งดีครับ (หมายความว่าเราขายได้มากนั่นเอง)

ผลิตภัณฑ์สาหร่ายเป็นธุรกิจที่ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีทันสมัย ก็สามารถผลิตได้ ซึ่งทำให้เกิดการแข่งขันตามมาค่อนข้างมาก โดยจะเห็นว่าเจ้าใหญ่ลงมาเล่นค่อนข้างเยอะ ขออภัยที่ผมรู้จักแค่ สิงห์ กับ โออิชิ (ฮา)  เพราะเอาจริงๆ ถือว่าลงทุนไม่เยอะ ที่หนักเป็นค่าแรง ซึ่งนักลงทุนเจ้าใหญ่เขาลงได้อยู่แล้ว แต่เถ้าแก่น้อยจะได้เปรียบตรงเป็น first mover คือเจ้าแรกที่ทำตลาด ทำให้คนที่กินสาหร่ายส่วนใหญ๋เป็นลูกค้าเถ้าแก่น้อยทั้งนั้นครับ

ซึ่งถ้าสรุปภาพรวมธุรกิจที่ไม่มี differentiate หรือความแตกต่างของสินค้าเท่าใดนัก ก็ต้องแข่งกันที่ราคา เป็นหลักใครทำต้นทุนได้ถูกกว่า คนนั้นชนะ ซึ่งอันนี้ต้องวัดกันที่ความเก่งของผู้บริหาร หรือถ้าจะไม่แข่งที่ราคาต้องแข่งแบรนด์ ซึ่งเถ้าแก่น้อยยังคงได้เปรียบที่แบรนด์ติดตลาดแล้วครับ

ทั้งนี้ผมให้คะแนนความเก่งของผู้บริหารนะ ดูอย่างการที่เถ้าแก่น้อยตั้งร้านเองเพื่อขายสินค้า แต่ก็ปิดไปหลายสาขาที่ไม่กำไรด้วยความเร็ว คือเน้นลงทุนแบบลุย ผิดพลาดแล้วปรับตัว ไม่ใช่ปล่อยให้สาขาที่ไม่ทำกำไรกัดกินรายได้จากบริษัทไปครับ และการที่บริษัทยังต่อสู้กับเจ้าใหญ่ได้ ถือว่าผุ้บริหารไม่ธรรมดา

อ่อ อันนี้ส่วนตัวผมว่าสาหร่ายของมาชิตะไม่ค่อยอร่อย สู้เถ้าแก่น้อยไม่ได้แฮะ (แต่ถูก)

tkn5

tkn6

รูปที่ 5-6

อีกจุดหนึ่งคือการส่งออก บริษัทส่งออกไปจีนได้ค่อนข้างเยอะ อินโดนั้นลดลง เพราะคาดว่าจะโดนก๊อปปี้ ซึ่งอันนี้คิดว่าหลายคนคงเป็นห่วงเหมือนกันว่าจะโดนจีนก๊อป แต่จีนเป็นตลาดที่ใหญ่มากหากสามารถเจาะได้จริงๆ อาจจะโตแบบก้าวกระโดดได้ครับ แต่บริษัทให้วิธีตั้งตัวแทนขายไม่ได้ไปผลิตในประเทศนั้นๆ สิทธิ์โดนก๊อปก็ค่อนข้างสูงครับ

My Take

Neutral

ออกตัวว่าไม่ใช่แนว IPO ครับ เพราะข้อมูลต้องศึกษากันยาวๆ ข้อมูลมีให้ดูแค่ประมาณ 3 ปี ผมว่าน้อยไปนิด กับการที่อยู่ในธุรกิจที่ผู้บริหารต้องเก่ง และต้องแข่งขันสูงนี่ลำบากพอควร แต่ถ้าใครที่อยากจะลงทุนก็ถือว่าต้องวัดกันที่ผู้บริหารชุดนี้จะพาบริษัทไปในระดับโลกได้จริงหรือเปล่า

คิดว่าการที่เถ้าแก่น้อยจะยั่งยืนได้ต้องเน้นที่แบรนด์ ให้กลายเป็น โค้ก สำหรับน้ำอัดลมให้ได้ ซึ่งเป็นเป้าหมายของบริษัทอยู่ แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูในระยะยาวครับ เคยฟังประวัติแล้วผมว่าเป็นคนที่กล้าลงทุน กล้าผิด และปรับตัวเร็ว ถือว่าไม่ธรรมดา

สำหรับตัวผมขอให้เวลาเถ้าแก่น้อยพิสูจน์ตัวเองก่อนสักระยะครับ

Disclaimer : 

ผมไม่ได้สิทธิ์จอง IP​O ครับ และไม่คิดจะเข้าซื้อภายใน 72 ชั่วโมงครับ (หรืออีกหลายปี)

finmoment มี Page Facebook แล้วนะครับ

 


 

คำเตือน

• การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

• ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต

• การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน แต่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรณีศึกษาสำหรับนักลงทุนในการเพิ่มความรู้และทักษะในการลงทุน (Investment Potential)

• การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง

• ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น

คุณสามารถติดตาม FINNOMENA ผ่านทาง Line และ Facebook ตามลิงค์ด้านล่าง

โดย Scan QR Code

250316

หรือกดปุ่ม

addfriends_en

facebook