ลงทุนอะไรดี? ถ้าอีก 30 ปีเอเชียจะใหญ่ที่สุดในโลก: เกาะกระแสการลงทุนหลักการเติบโตของทวีปเอเชียด้วย BIC Asia ex-Japan

ไฮไลท์ของ BIC Asia ex-Japan

  • กองทุนในแผน BIC Asia ex-Japan มีลักษณะเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนกัน สิ่งที่เหมือนกันคือผลตอบแทนและความเสี่ยงในอดีตที่ทำได้ดีสม่ำเสมอ
  • ลงทุนได้ทั้งคนที่ชอบลงทุนแบบ Active และ Passive
  • ผลตอบแทนของแผนการลงทุนจะเติบโตตามภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น)
  • เหมาะกับนักลงทุนที่ต้องการระบบในการช่วงเลือกกองทุนที่ดีที่สุด

อนาคตของหุ้นเอเชียเป็นอย่างไร?

อีก 30 ปีเราจะอยู่ในปี 2050 …

  • PricewaterhouseCoopers ได้ประเมินไว้ว่า ณ ปี 2050 ขนาดเศรษฐกิจของโลกจะใหญ่กว่าปัจจุบันมากกว่า 1 เท่าตัว การเติบโตของเศรษฐกิจจะโตมากกว่าจำนวนประชากรจากการพัฒนาของเทคโนโลยี
  • เศรษฐกิจของประเทศเกิดใหม่จะมีค่าเฉลี่ยการเติบโตเร็วกว่าเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้ว กลุ่ม E7 (Emerging markets) จะโตเร็วกว่ากลุ่ม G7 (Advanced Economies)

ลงทุนอะไรดี? ถ้าอีก 30 ปีเอเชียจะใหญ่ที่สุดในโลก: เกาะกระแสการลงทุนหลักการเติบโตของทวีปเอเชียด้วย BIC Asia ex-Japan

รูปที่ 1 : ประมาณการอัตราการเติบโตของ GDP ของกลุ่มประเทศ E7
ที่มา : The Long View, How will the global economic order change by 2050
ข้อมูลประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2017

  • 3 ใน 7 ของเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกจะเป็นเศรษฐกิจของประเทศเกิดใหม่ นำโดยอันดับที่ 1 จีน อันดับที่ 2 อินเดีย และอันดับที่ 4 อินโดนีเซีย ในส่วนของสหรัฐอเมริกาจะกลายเป็นที่ 3 จากที่อยู่ที่ 1 ในปัจจุบัน
  • เวียดนามจากขยับจากเศรษฐกิจใหญ่อันดับที่ 32 กลายเป็นอันดับที่ 20 ฟิลิปปินส์จะขยับจากอันดับที่ 28 กลายเป็นอันดับที่ 19
  • ในขณะที่ประเทศไทยตกจากอันดับที่ 20 ไปเป็นอันดับที่ 25
  • เวียดนามและอินโดนีเซียจะเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตของ GDP โดยเฉลี่ยสูงที่สุดในโลกอันดับ 1 และ 2 ของโลก

ลงทุนอะไรดี? ถ้าอีก 30 ปีเอเชียจะใหญ่ที่สุดในโลก: เกาะกระแสการลงทุนหลักการเติบโตของทวีปเอเชียด้วย BIC Asia ex-Japan

รูปที่ 2 : ประมาณการอัตราการเติบโตเฉลี่ยของ GDP แต่ละประเทศ ในปี 2016-2050
ที่มา : The Long View, How will the global economic order change by 2050
ข้อมูลประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2017

ถ้าคุณต้องการผลตอบแทนมากกว่าค่าเฉลี่ย คุณก็ควรจะต้องลงทุนในสินทรัพย์ที่เติบโตมากกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งจากข้อมูลการเติบโตของเศรษฐกิจข้างต้นเป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่า หุ้นเอเชียในอีก 30 ปีข้างหน้าต้องไม่ธรรมดา มีโอกาสมากที่จะให้ผลตอบแทนมากกว่าค่าเฉลี่ย

แม้เอเชียยังไม่ครองโลก แต่กำลังกลืนกินทีละอุตสาหกรรม

สิ่งที่เป็นหลักฐานชั้นดีว่าทวีปเอเชียกำลังเติบโตสู่มหาอำนาจไม่ได้มีเพียงตัวเลขประชากร แต่คือตัวเลขเชิงสถิติต่างๆ ในทุกๆ อุตสาหกรรม ยํ้าอีกครั้งว่า ทุกอุตสาหกรรม !!!

บริษัทที่ปรึกษาระดับโลกอย่าง Mckinsey ได้มีการเก็บข้อมูลและสรุปเป็นบทวิจัยตัวเลขในเชิงสถิติต่างๆ ออกมาเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ตัวเลขหลายอย่างบ่งบอกว่าเอเชียกำลังเติบโต

ลงทุนอะไรดี? ถ้าอีก 30 ปีเอเชียจะใหญ่ที่สุดในโลก: เกาะกระแสการลงทุนหลักการเติบโตของทวีปเอเชียด้วย BIC Asia ex-Japan

รูปที่ 3 : สรุปการเติบโตในเชิงเศรษฐกิจและการค้าของทวีปเอเชีย
ที่มา : The Future of Asia: Asian flows and networks are defining the next phase of globalization.
ข้อมูลประจำเดือนกันยายน 2019

10 ปีที่ผ่านมาเอเชียมาไกลแค่ไหน?

  • ตัวเลขด้านการค้า การเคลื่อนไหวซื้อ-ขายของสินค้าทั่วโลกเติบโตขึ้นจาก 27% เป็น 33% หรือมากกว่า 1 ใน 3 ของโลก
  • เงินลงทุนไหลเข้าสู่ทวีปเอเชียมากถึง 23% จากที่เคยมีเพียงแค่ 13% เมื่อ 10 ปีก่อน
  • เอเชียคือทวีปที่มีปริมาณการขนส่งสินค้า 64% ของโลก
  • 65% ของการจดสิทธิบัตรที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมต่างๆอยู่ในทวีปเอเชีย
  • นักเรียนแลกเปลี่ยน 48% หรือเกือบครึ่งหนึ่งของโลกเป็นคนเอเชีย

ด้วยบทสรุปชิ้นนี้ ทำให้พอจะสรุปได้ว่าไม่ว่าจะเป็นมุมเรื่องการค้า การศึกษา หรือนวัตกรรม เอเชียไม่เพียงแต่จะมีอนาคตที่สดใสรออยู่แต่ยังมีปัจจุบันที่แข็งแกร่งและเติบโตอย่างชัดเจน บริษัทในเอเชียโดยเฉพาะจีนหลายบริษัทเองก็เริ่มขึ้นมาติดอันดับ top 100 ของโลก ซึ่งคาดว่าในอนาคตจะมีบริษัทของประเทศอื่นๆ ขึ้นตามขึ้นมา

ลงทุนอะไรดี? ถ้าอีก 30 ปีเอเชียจะใหญ่ที่สุดในโลก: เกาะกระแสการลงทุนหลักการเติบโตของทวีปเอเชียด้วย BIC Asia ex-Japan

รูปที่ 4 : อันดับบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ที่มา : Statista.com
ข้อมูล ณ วันที่ 12 สิงหาคม 2019

ปัจจุบันที่แข็งแกร่งและอนาคตที่สดใส แต่จะหากำไรจากโอกาสครั้งนี้อย่างไร?

ในชีวิตของคนจะมีโอกาสดีๆ ที่เปลี่ยนชีวิตได้เพียงไม่กี่ครั้ง อย่างยุคที่สหรัฐฯ สร้างชาติในยุค 1960 และยุคหลังปฏิวัติวัฒนธรรมของจีนหลังปี 1979 มาจนถึงปัจจุบัน ใครทำงาน ทำธุรกิจ หรือลงทุนในยุคนั้น คงจำกันได้ว่าการได้อยู่ในช่วงของเศรษฐกิจเติบโตมันมีความสุขแค่ไหน และการอยู่ในช่วงที่เศรษฐกิจฝืดเคืองมันทรมานอย่างไร

แต่การเป็นนักลงทุนมีข้อดีคือ คุณสามารถเลือกลงทุนในเศรษฐกิจเติบโต และหลีกเลี่ยงการลงทุนในประเทศที่เศรษฐกิจฝืดเคืองหรือดูมีแนวโน้มไม่ดีได้ การเป็นนักลงทุนในประเทศไทย ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องหาโอกาสจากประเทศไทยพียงอย่างเดียว จงตกปลาในที่ที่มีปลา ที่ไหนมีโอกาสให้ผลตอบแทนดี เราควรเอาเงินของเราไปไว้ที่นั่น

รถไฟเที่ยวสุดท้าย? เติบโตไปกับ Asia ด้วย แผนการลงทุน BIC Asia ex-Japan

การเติบโตของเอเชียครั้งนี้จะเปรียบเสมือนรถไฟเที่ยวสุดท้ายของนักลงทุนหลายๆ ท่านหรือไม่? อยู่ที่ว่าแต่ละท่านคิดอย่างไร? และมีการลงมือ Take Action เพื่อคว้าโอกาสไว้หรือเปล่า ซึ่งหลายๆ ครั้งถูกการคว้าโอกาสของแต่ละคน ถูกจำกัดด้วยประสบการณ์และเวลาในการศึกษาการลงทุน สำหรับคนที่ไม่มีเวลาเลือกลงทุนหุ้นและกองทุนด้วยตนเองแผนการลงทุน BIC Asia ex-Japan จะเป็นแผนการลงทุนที่เหมาะมากสำหรับคนที่เชื่อว่าในอีก 30 ปีข้างหน้าจะเป็นยุคของคนเอเชีย !

BIC Asia ex-Japan เป็นแผนการลงทุนที่ประกอบไปด้วยการลงทุนใน 3 กองทุนเน้นๆ ที่มีแนวโน้มทำผลตอบแทนสูงกว่าค่าเฉลี่ยตลาดในอีก 1 ปีข้างหน้ามากที่สุดและเน้นลงทุนในภูมิภาคที่กำลังเติบโตสูงของเอเชียเท่านั้น โดยไม่รวมญี่ปุ่น (สาเหตุที่ไม่รวมเพราะ GDP ของญี่ปุ่นเติบโตช้ากว่าประเทศเอเชียอื่นๆ และถือเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว)

ลงทุนอะไรดี? ถ้าอีก 30 ปีเอเชียจะใหญ่ที่สุดในโลก: เกาะกระแสการลงทุนหลักการเติบโตของทวีปเอเชียด้วย BIC Asia ex-Japan

รูปที่ 5 : อัตราการเติบโตของ GDP ของประเทศในภูมิภาคเอเชีย
ที่มา : Statista.com
ข้อมูล ณ วันที่ 25 กันยายน 2019

กองทุนที่ BIC Asia ex-Japan ลงทุนประกอบไปด้วยกองทุนชั้นนำระดับหัวแถวของหมวด Asia ex-Japan และประกอบไปด้วย

  • PRINCIPAL APDI หรือ กองทุนเปิดพรินซิเพิล เอเชีย แปซิฟิก ไดนามิก อินคัม อิควิตี้ สัดส่วน 40%
  • ABAPAC หรือ กองทุนเปิด อเบอร์ดีน เอเชีย แปซิฟิก เอคควิตี้ ฟันด์ สัดส่วน 30%
  • ASP-ASIAN หรือ กองทุนเปิดแอสเซทพลัสเอเชี่ยนสเปเชียลซิททูเอชั่นส์ 30%

แต่ละกองทุนที่การลงทุนในสินทรัพย์ที่กำลังเติบโตในภูมิภาคเอเชีย แต่ก็มีความกระจายตัวในมุมของประเทศที่ลงทุน และประเภทของสินทรัพย์ ช่วยให้กองทุนทั้ง 3 สามารถสร้างสมดุลในการทำผลตอบแทนและควบคุมความเสี่ยงด้วยการกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ทั้ง 3 กองทุนมีจุดเด่นที่ส่งเสริมกันและจุดด้อยอย่างไรบ้าง?

PRINCIPAL APDI กองทุนทะลวงผลตอบแทน

PRINCIPAL APDI เป็นกองทุนที่ลงทุนในกองทุนหลักคือ CIMB-Principal Asia Pacific Dynamic Income Fund ซึ่งจดทะเบียนในประเทศมาเลเซีย มีนโยบายในการบริหารจัดการกองทุนให้มีการสร้างผลตอบแทนที่มีเสถียรภาพจากการลงทุนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น) มีสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้สูงสุดไม่เกิน 15 % ของมูลค่า สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องเช่นเงินสดไม่เกิน 2% ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ และตราสารทุน (หุ้น) เป็นหลักอยู่ที่ 70-98% เรียกได้ว่าถ้าช่วงไหนที่ผู้จัดการกองทุนเห็นว่าเป็นโอกาสทองของการลงทุนก็สามารถกดหุ้นเต็มแม๊คได้เลย

กองทุนโดดเด่นและสมดุลในทุกๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นผลตอบแทนย้อนหลัง ค่าความเสี่ยงเทียบกับผลตอบแทน และการปรับฐานที่น้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกองทุนอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน

ลงทุนอะไรดี? ถ้าอีก 30 ปีเอเชียจะใหญ่ที่สุดในโลก: เกาะกระแสการลงทุนหลักการเติบโตของทวีปเอเชียด้วย BIC Asia ex-Japan

รูปที่ 6 : ข้อมูล 3D Diagram จาก FINNOMENA
ที่มา : finnomena.com
ข้อมูล ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2019

ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

เชิงผลตอบแทน กองทุนทำผลตอบแทนได้เหนือค่าเฉลี่ยได้ค่อนข้างต่อเนื่อง

  • ผลตอบแทนเฉลี่ย 1 ปี – 10.70% เฉลี่ยกลุ่มทำได้ 6.59%
  • ผลตอบแทนเฉลี่ย 3 ปี – 6.42% เฉลี่ยกลุ่มทำได้ 1.78%
  • ผลตอบแทนเฉลี่ย 5 ปี – 4.44% เฉลี่ยกลุ่มทำได้ 0.84%
  • และตั้งแต่ก่อตั้งกองทุนนี้มา กองทุนทำผลตอบแทนไปแล้วกว่า 81.49%

ถ้าลงเงินล้านกับกองทุนนี้เมื่อ 7 ปีที่แล้วตอนที่ก่อตั้งกองทุน คุณจะได้กำไรไปแล้วไม่ต่ำ 814,900 บาท
(ข้อมูลวันที่: 7 พฤศจิกายน 2019)

ภูมิภาคที่กองทุนลงทุนเป็นหลัก 5 ภูมิภาคแรกคือ

  • Singapore 22.31%
  • Hong Kong 18.15%
  • Australia 14.48%
  • India 9.99%
  • Taiwan 5.64%
  • ถือประเทศไทย 3% เป็นอันดับที่ 8

(ข้อมูลวันที่ 30 กันยายน 2019)

เห็นมีสัดส่วนลงทุนในสิงคโปรเยอะ แต่ในความเป็นจริงแล้วสินทรัพย์ที่ลงทุนส่วนใหญ่เป็น Real Estate Investment Trust หรือกองทรัสต์อสังหาริมทรัพย์นั่นเอง รวมทั้งกองถือ REIT และหุ้นที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ถึง 18.36%

กองทรัสต์หลายๆ กองก็ไม่ได้มีสินทรัพย์เฉพาะในสิงค์โปรแต่มีสินทรัพย์อยู่ทั่วโลก เช่น Frasers Logistics & Industrial Trust ที่กองทุนถืออยู่ 2.78% (ข้อมูลวันที่ 30 กันยายน 2019) เป็นการลงทุนในคลังสินค้าในออสเตรเลีย เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ ซึ่งได้ประโยชน์จาก Belts and Roads Initiative ของประเทศจีน เป็นจุดสำคัญในการกระจายสินค้า ไปยังพื้นที่ต่างๆ เช่นออสเตรเลียและยุโรป โดยเฉพาะเยอรมนีที่ถือว่าเป็นฮับโลจิสติกส์อันดับ 1 ของโลก (ไม่เชื่อลองสั่งของจากสหรัฐอเมริกามาไทยดู หลายๆ ครั้งจะเห็นว่าไปแวะที่เยอรมนีก่อนเสมอ)

ลงทุนอะไรดี? ถ้าอีก 30 ปีเอเชียจะใหญ่ที่สุดในโลก: เกาะกระแสการลงทุนหลักการเติบโตของทวีปเอเชียด้วย BIC Asia ex-Japan

รูปที่ 7 : ข้อมูลที่ตั้งคลังสินค้าของ Frasers Logistics & Industrial Trust
ที่มา : Frasersproperty
ข้อมูลประจำเดือนพฤษภาคม 2019

ในสภาวะลดดอกเบี้ยแบบนี้หนึ่งในกลยุทธที่ให้ผลตอบแทนสูงคือการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีกระแสเงินสดที่เติบโตต่อเนื่องอย่างเช่น พวกค่าเช่าจากคลังสินค้า และ Real estate Investment Trust ซึ่งก็มีอยู่ในกอง PRINCIPAL APDI นี้ด้วย

ASP-ASIAN กองทุนคว้าทุกโอกาสการเติบโต

ASP-ASIAN เป็นกองทุนที่ลงทุนในกองทุนหลักคือ Fidelity Funds – Asian Special Situations Fund … มีคำว่า Special อยู่ในชื่อมีนัยอย่างไร? ผู้จัดการกองทุนนี้คือ Suranjan Mukherjee ซึ่งเชี่ยวชาญการเลือกหุ้นลงทุนใน “สถานการณ์พิเศษ” โดยใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบ “Bottom-Up” คือการมองหาหุ้นที่มีราคาถูก แต่กลับมีผลประกอบการที่เติบโตดีขึ้นเรื่อยๆ และยังไม่ได้รับความสนใจจากตลาดและนักลงทุนเท่าที่ควร นอกจากนั้นเขายังเฟ้นหาลงทุนเฉพาะบริษัทที่เป็นผู้นำในเชิงเทคโนโลยี การบริหารต้นทุน หรือบริษัทที่กำลังฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว (Turnaround)

Asian Special Situations Fund เลือกลงทุนอย่างน้อย 70% ในบริษัทกลาง-เล็กที่กำลังเติบโตในภูมิภาคเอเชียยกเว้นญี่ปุ่น อีกทั้งกองทุนยังสามารถเลือกลงทุนในหุ้นจีน A และ B Share ได้มากถึง 10% โดยมีสัดส่วนโดยรวมของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประเทศจีนไม่เกิน 30% นอกจากนั้นยังสามารถเลือกลงทุนในหุ้นประเภทอื่นที่ไม่ใช่หุ้นเล็กหรือหุ้นที่มีเงื่อนไขพิเศษได้ไม่เกิน 25% นับว่าเป็นนโยบายการลงทุนที่มีความยืดหยุ่นสูง

ลงทุนอะไรดี? ถ้าอีก 30 ปีเอเชียจะใหญ่ที่สุดในโลก: เกาะกระแสการลงทุนหลักการเติบโตของทวีปเอเชียด้วย BIC Asia ex-Japan

รูปที่ 8 : ข้อมูลผลตอบแทนที่ Suranjan Mukherjee ทำได้
ที่มา : Citywire
ข้อมูล ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2019

ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

ภูมิภาคที่กองทุนลงทุนเป็นหลัก 5 ภูมิภาคแรกคือ

  • China 33.6%
  • South Korea 15.5%
  • India 13.2%
  • Taiwan 10.8%
  • Hongkong 10.5%
  • ถือประเทศไทยเป็นอับดับที่ 8 สัดส่วน 2.5%

(ข้อมูลวันที่ 28 มิถุนายน 2019)

แต่สิ่งที่น่าสนใจของกองนี้คือ มีการถือหุ้นที่นับว่าเป็น “Special Situation” หรือสถานการณ์พิเศษอย่างเน้นๆ โดย 4 ตัวแรกเป็นหุ้นที่เรียกได้ว่ามีศักยภาพในการ “เปลี่ยนโลก” ทุกตัว ไม่ว่าจะเป็น …

1 – Tencent Holding 6.80%

เจ้าของแอปพลิเคชั่น WeChat ที่คนจีนทุกคนมีติดมือถือไว้ (เทียบกับคนไทยก็คือ LINE) นอกจากนั้น Tencent Holding ยังเป็นบริษัทเกมส์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกผ่านการถือหุ้นและซื้อกิจการ

2 – Samsung Electronics 6.50%

บริษัท Semiconductors ที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ผู้อยู่เบื้องหลังชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แบรนด์ดังอย่าง Apple, Huawei และมือถือแบรนด์ของตนเอง Samsung ล่าสุดราคาหุ้นของ Samsung ทำราคาสูงสุดใหม่ในรอบ 1 ปีไปเรียบร้อยแล้ว

ลงทุนอะไรดี? ถ้าอีก 30 ปีเอเชียจะใหญ่ที่สุดในโลก: เกาะกระแสการลงทุนหลักการเติบโตของทวีปเอเชียด้วย BIC Asia ex-Japan

รูปที่ 9 : ราคาหุ้น Samsung Electronics
ที่มา : Google
ข้อมูล ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2019

ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

3 – Taiwan Semiconductors (TSMC) 5.80%

ผู้นำอันดับหนึ่งในวงการ Semiconductors และเป็นโรงงานรับผลิตแผงวงจรและชิปที่ใหญ่ที่สุดในโลกจากประเทศไต้หวัน ถ้า Samsung ทำให้ Apple, Huawei และแบรนด์ของตนเอง TSMC ทำให้แทบทุกยี่ห้อในโลก

ลงทุนอะไรดี? ถ้าอีก 30 ปีเอเชียจะใหญ่ที่สุดในโลก: เกาะกระแสการลงทุนหลักการเติบโตของทวีปเอเชียด้วย BIC Asia ex-Japan

รูปที่ 10 : ส่วนแบ่งการตลาดของ Semiconductors Foundries ทั่วโลก
ที่มา : Trendforce.com
ข้อมูลประจำเดือนพฤศจิกายน 2018

4 – Alibaba Group 5.70%

บริษัท E-commerce เจ้าของสถิติ Gross Merchandise Value (GMV) มูลค่าสินค้าที่ขายผ่าน Platform สูงที่สุดในโลก สูงกว่า Amazon และ Ebay รวมกัน เจ้าของ Alibaba ก็เป็นคนที่รู้จักคุ้นหน้าคุ้นตากันดีอย่าง Jack Ma

5 – AIA Group 4.70%

บริษัทประกันยักษ์ใหญ่ที่คนไทยต้องรู้จักกันทุกคน ปัจจุบันบริษัทกำลังผันตัวเองไปเป็นบริษัท Insurtech ซึ่งใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการลดเบี้ยประกัน

จะเห็นว่าบริษัทที่ ASP-ASIAN ลงทุนแทบไม่มีบริษัทไหนเลยที่เรียกได้ว่าธรรมดาเห็นได้ทั่วไป แต่เป็นบริษัทที่เข้าข่ายมีความพิเศษและอยู่ในตลาดที่มีความ “เฉพาะตัว” สูงมากๆ และนี่คือสาเหตุว่าทำไมผมจึงเรียกกองทุนนี้ว่าเป็นกองทุนที่ “คว้าทุกโอกาส” แม้แต่โอกาสที่คนทั่วๆ ไปมองไม่เห็น

ลงทุนอะไรดี? ถ้าอีก 30 ปีเอเชียจะใหญ่ที่สุดในโลก: เกาะกระแสการลงทุนหลักการเติบโตของทวีปเอเชียด้วย BIC Asia ex-Japan

รูปที่ 11 : ข้อมูล 3D Diagram จาก FINNOMENA
ที่มา : finnomena.com
ข้อมูล ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2019

ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

สรุปตัวเลขด้วย 3D Diagram จะพบว่าเป็นกองที่ทำผลตอบแทนได้สูงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย และเมื่อนำไปชั่งน้ำหนักกับความเสี่ยงที่ต้องรับก็ถือว่าดีที่สุดเช่นกัน (แปลว่าคุ้มค่าที่จะเสี่ยงนั่นเอง !) กองนี้มีข้อด้อยอยู่เล็กน้อยตรงนี้ Maximum Drawdown ค่อนข้างสูง มีความผันผวนมาก ส่วนหนึ่งก็เพราะลงทุนในหุ้นและบริษัทที่มีความเฉพาะตัวนั่นเอง

ABAPAC กองทุนสร้างความสมดุล

ABAPAC เป็นกองทุนที่ลงทุนในกองทุนหลักคือ Aberdeen Standard Pacific Equity Fund กองทุนกระจายการลงทุนในกลุ่มหลักทรัพย์ของภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ไม่รวมญี่ปุ่น จุดเด่นที่เห็นได้ชัดของกองนี้คือผลตอบแทนระยะยาวที่สามารถทำได้สูงกว่า Benchmark ได้อย่างชัดเจน

ลงทุนอะไรดี? ถ้าอีก 30 ปีเอเชียจะใหญ่ที่สุดในโลก: เกาะกระแสการลงทุนหลักการเติบโตของทวีปเอเชียด้วย BIC Asia ex-Japan

รูปที่ 12 : ข้อมูลผลตอบแทนของ Abapac เปรียบเทียบกับ Benchmark
ที่มา : Abapac Fund Factsheet
ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2019

ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

ภูมิภาคที่กองทุนลงทุนเป็นหลัก 5 ภูมิภาคแรกคือ

  • China/Hong Kong 38.5%
  • India 14.3%
  • Singapore 9.2%
  • Australia 8.2%
  • South Korea 7.4%
  • ถือประเทศไทยเป็นอับดับที่ 8 สัดส่วน 2.9%

(ข้อมูลวันที่ 28 มิถุนายน 2019)

ในมุมของภูมิภาคที่ลงทุนจะมีความคล้ายคลึงกับ 2 กองทุน แต่ความแตกต่างอยู่ตรงที่กองทุนนี้มีการลงทุนในกองทุนอื่นๆ ด้วย เช่น

  • Aberdeen Standard SICAV I – Indian Equity Fund 8.4%
  • Aberdeen Standard Singapore Equity Fund 5.3%
  • Aberdeen Standard China Opportunities Fund 4.9%
  • Aberdeen Standard Thailand Equity Fund 2.9%

ด้วยความที่มีการลงทุนในกองทุนอื่นส่งผลให้ ABAPAC น่าจะเป็นกองทุนที่มีการกระจายความเสี่ยงสูงสุด ซึ่งจะช่วยสร้างสมดุลให้กับแผนการลงทุน BIC Asia ex-Japan ได้เป็นอย่างดี

มุมมองระยะสั้นของ BIC Asia ex-Japan เป็นอย่างไร?

ภาพรวมที่มีความผันผวนอยู่มากส่งผลให้ในปีนี้รายได้และกำไรของบริษัทจดทะเบียนในภูมิภาคเอเชียยกเว้นญี่ปุ่น (Asia ex-Japan) ลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ดังนั้นในอีกมุมหนึ่งกลับกลายเป็นว่าคาดการณ์การเติบโตของกำไรในปีหน้าจะกลับมาน่าสนใจอีกครั้ง

ลงทุนอะไรดี? ถ้าอีก 30 ปีเอเชียจะใหญ่ที่สุดในโลก: เกาะกระแสการลงทุนหลักการเติบโตของทวีปเอเชียด้วย BIC Asia ex-Japan

รูปที่ 13 คาดการณ์อัตราส่วนทางการเงินของดัชนี MSCI Asia ex-Japan ระหว่างปี 2019-2021
ที่มา : Bloomberg
ข้อมูล ณ วันที่ 21 ตุลาคม 2019

จากรูปที่ 13 ซึ่งทาง Bloomberg ได้รวบรวมคาดการณ์ทั้งกำไรต่อหุ้น (EPS) และอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS Growth) พบว่า ณ ตอนนี้นักวิเคราะห์คาดว่าในปีหน้ากำไรต่อหุ้น (EPS) ของภูมิภาคเอเชียยกเว้นญี่ปุ่น (Asia ex-Japan) จะขยายตัวที่ 13.91% (YoY)

หากประกอบกับมูลค่าโดยใช้คาดการณ์อัตราส่วนราคาต่อกำไร (Forward P/E ratio) ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 12 เท่า โดยจากรูปที่ 14 ได้เพิ่มเติมข้อมูลด้วยการเปรียบเทียบส่วนเพิ่ม (Premium) และส่วนลด (Discount) เมื่อเทียบกับดัชนีหุ้นโลก ในแกนขวามือ (RHS) ก็จะเห็นว่ามีส่วนลดประมาณ 15% ซึ่งนับว่าเป็นภูมิภาคที่น่าสนใจทั้งในแง่การเติบโต และอัตราการขยายตัว

ลงทุนอะไรดี? ถ้าอีก 30 ปีเอเชียจะใหญ่ที่สุดในโลก: เกาะกระแสการลงทุนหลักการเติบโตของทวีปเอเชียด้วย BIC Asia ex-Japan

รูปที่ 14 คาดการณ์อัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น (Forward P/E) ของดัชนี MSCI Asia ex-Japan และเปรียบเทียบส่วนเพิ่ม (Premium) และส่วนลด (Discount) เมื่อเทียบกับดัชนีหุ้นโลก
ที่มา : https://www.edisongroup.com/publication/exciting-opportunities-emerging/25173/
ข้อมูล ณ วันที่ 21 ตุลาคม 2019

BIC Asia ex-Japan เหมาะกับนักลงทุนแบบไหน?

  • นักลงทุนที่เชื่อมั่นว่าในอนาคตเอเชียจะเป็นภูมิภาคที่เติบโตสูงและ มีสัดส่วนของการทำธุรกิจและการค้าสูงที่สุดในโลก
  • สามารถรับความเสี่ยงและความผันผวนจากการถือกองทุนที่มีหุ้นต่างประเทศได้
  • ต้องการระบบที่สามารถเลือกลงทุนเฉพาะกองทุนที่มีแนวโน้มสร้างผลตอบแทนดีที่สุดในแต่ละปี
  • สามารถลงทุนระยะยาวได้ 3-5 ปีขึ้นไป

หากสนใจลงทุนใน BIC Asia ex-Japan สามารถเข้าไปที่ https://www.finnomena.com/bic-asia-ex-jap ได้เลยครับ

โอกาสมักซ่อนตัวในความผันผวนเสมอ จงกล้าเมื่อตลาดกลัวไปพร้อมกับ BIC Asia ex-Japan

FINNOMENA Investment Team


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน |  ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน