เริ่มต้นปี 2020 กันด้วยความผันผวนของตลาดการเงินทั่วโลก เนื่องจากความไม่แน่นอนของการเมืองระหว่างประเทศ หลักๆ คือ ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่าน ตามมาด้วยการลงนามในสัญญาการค้าเฟส 1 ก่อนตลาดจะมาเริ่มปรับฐานรุนแรงจากสถานการณ์การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรน่า ก็ทำให้เดือนม.ค. ที่ผ่านมา นักลงทุนเริ่มกลับมาคิดถึงความเสี่ยงและกลับสู่โหมดระมัดระวังมากขึ้น

ในส่วนกรณีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่านั้น ทาง FINNOMENA Investment Team ได้ทำการศึกษาและเปรียบเทียบกรณีดังกล่าวกับกรณีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส SARS เมื่อปี 2002-2003 พบว่า ในช่วงที่มีข่าวการแพร่ระบาดตลาดหุ้นจะปรับตัวลง ส่วนสินทรัพย์ปลอดภัยจะปรับตัวขึ้นสวนทาง และเมื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถจำกัดการแพร่ระบาดได้แล้ว ตลาดการเงินจะกลับมาเปิดรับความเสี่ยง และปรับตัวขึ้นได้อีกครั้งตามตัวเลขเศรษฐกิจที่กระเตื้องขึ้นหลังจากนั้นมา ซึ่งการแพร่ระบาดของโรคระบาดในอดีตที่ผ่านมา โดยเฉลี่ยแล้วเมื่อผ่านมา 3 เดือนหลังจากพบการแพร่ระบาด ตลาดหุ้นจะสามารถกลับมาเป็นบวกได้เฉลี่ย 2.16%

ดังนั้น FINNOMENA Investment Team แนะนำให้นักลงทุนลองย้อนกลับมาดูตัวเลขทางเศรษฐกิจเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานในภาพรวมเสียก่อน ซึ่งจะพบว่า ตัวเลขเศรษฐกิจดังกล่าวมีแนวโน้มปรับตัวได้ดีมากขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งดัชนียืนยันทางเศรษฐกิจที่สำคัญ อาทิเช่น ตัวเลข GDP, ภาคการค้า และภาคอุตสาหกรรมที่เริ่มฟื้นตัว สะท้อนภาพรวมภาวะการค้าโลกที่ฟื้นตัวอีกครั้ง หลังการเจรจาการค้ามีความชัดเจนและคืบหน้าอย่างมากนับตั้งแต่ปลายปี 2019 ที่ผ่านมา

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020 : Fight The Coronavirus Outbreak

 

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020

รูปที่ 1 แนวโน้มข้อมูลทางเศรษฐกิจทั้ง Hard data และ Soft data ของประเทศเศรษฐกิจที่สำคัญทั่วโลก I Source : Bloomberg as of 3/2/2020

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเศรษฐกิจที่เกิดจากมุมมองของตลาดหรือ Soft Data อย่าง Purchasing Manager Index (PMI) ทั้งในส่วนของภาคอุตสาหกรรมและบริการ ยังคงถูกกดดันด้วยผลกระทบที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมาทั้งกรณีอิหร่าน-สหรัฐฯ และกรณีไวรัสโคโรนา ซึ่งทางทีม FINNOMENA Investment Team ยังคงเฝ้าติดตามสถานการณ์เพื่อประเมินผลกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจในอนาคต รวมไปถึงค้นหาโอกาสที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ชั่วคราว เพื่อจัดสัดส่วนการลงทุนของพอร์ตการลงทุน

ดังนั้นในช่วงเวลานี้ที่สถานการณ์ยังไม่มีความชัดเจน FINNOMENA Investment Team ยังคงแนะนำกระจายการลงทุน เพื่อกระจายความเสี่ยงและลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนโดยรวม

IMF มองเศรษฐกิจปี 2020 มีเสถียรภาพชั่วคราว พร้อมลดคาดการณ์ GDP

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020 : Fight The Coronavirus Outbreak

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020

รูปที่ 2 ประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก, ประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศตลาดเกิดใหม่ ของ IMF I Source : IMF World Economic Outlook, January 2020 as of 29/1/2020

IMF เปิดเผยมุมมองเศรษฐกิจโลกประจำเดือนมกราคม 2020 โดยปรับลดประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก (Global Economy) ปี 2020 ลงจากขยายตัว 3.4% ซึ่งเป็นประมาณการเมื่อเดือนตุลาคม ปีที่ผ่านมา ลงสู่ระดับ 3.3% ในส่วนเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้ว (Advanced Economies) ปี 2020 ปรับลดลงจาก 1.7% มาที่ 1.6% เช่นเดียวกับเศรษฐกิจประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets & Developing Economies)

โดย IMF ให้เหตุผลว่า ประเด็นการค้าเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น รวมไปถึงความกังวลต่อการทำ Brexit ที่ลดลง รวมไปถึงการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายทั่วโลกนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปีที่แล้ว สร้างเสถียรภาพทางการเงิน และเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยหนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก แต่ถึงกระนั้น ผลกระทบของประเด็นการค้าที่ยืดเยื้อมากกว่า 1 ปี ส่งผลกระทบต่อปัจจัยที่หนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศตลาดเกิดใหม่ เป็นผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังไม่กลับมาขยายตัวได้อย่างชัดเจน จึงปรับลดประมาณการลงเพื่อสะท้อนความเสี่ยงที่ยังเหลืออยู่

FINNOMENA Investment Team มองว่าแม้จะมีปัจจัยที่กดดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่นักลงทุนในตลาดรับรู้ไปในระดับหนึ่งแล้ว ส่วนปัจจัยที่หนุนการขยายตัวซึ่งกลับมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน อาจเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนตลาดหุ้นทั่วโลกในปีนี้ได้เช่นเดียวกัน

ตลาดโลกผันผวนรับปีใหม่ หลังเผชิญความเสี่ยง (ชั่วคราว?)

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020 : Fight The Coronavirus Outbreak

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020

รูปที่ 3 แนวโน้มดัชนี MSCI World เปรียบเทียบกับช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ และช่วงที่มีการระบาดของเชื้อโรค I Source : Bloomberg as of 29/1/2020

สถานการณ์เชื้อไวรัสโคโรน่าซึ่งมีอัตราการแพร่กระจายที่ระดับ 1:14 คน และอัตราการเสียชีวิตที่ประมาณ 3% ในช่วงสัปดาห์ที่ 3 และ 4 ของเดือนมกราคมที่ผ่านมา ส่งผลให้ตลาดหุ้นเข้าสู่ภาวะ Risk-off อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ความพยายามจำกัดการแพร่กระจายเริ่มเห็นผล ทำให้อัตราการแพร่กระจายและการเสียชีวิตลดลงสู่ระดับ 1:2.5 คน และ 2.17% ในวันที่ 29 มกราคม ที่ผ่านมา พร้อมด้วยข้อมูลทางเศรษฐกิจ และการประกาศผลประกอบการที่ออกมาดีกว่าคาดการณ์ทำให้ตลาดปรับตัวขึ้นเล็กน้อย

สอดคล้องกับข้อมูลในอดีตนับตั้งแต่ปี 1970 พบว่าแม้จะมีโรคระบาดเกิดขึ้น และทำให้เกิด Panic Sell ในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ตลาดการเงินจะกลับมาเคลื่อนไหวตามปัจจัยพื้นฐานได้เสมอในเวลาหลังจากนั้นไม่นาน

ความกังวลต่อการแพร่ระบาดของไวรัสสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. ผลกระทบที่เกิดขึ้นจริง และ 2. การคาดการณ์ต่อเหตุการณ์ ซึ่งสะท้อนผ่านราคาสินทรัพย์ในตลาด ณ ปัจจุบัน ทาง FINNOMENA Investment Team ให้ความสนใจต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจริง โดยหากสถานการณ์มีความชัดเจน ราคาสินทรัพย์ในตลาดจะขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐาน

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020 : Fight The Coronavirus Outbreak

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020

รูปที่ 4 สัดส่วน GDP ประเทศจีนต่อ GDP ของโลก I Source : Bloomberg.com as of 2/2/2020

ซึ่งนักลงทุนคาดว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลง เนื่องจากประเทศจีนก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ประเทศจีนยังเป็นประเทศสำคัญใน Supply Chain ของอุตสาหกรรมหลักของโลก ดังนั้นย่อมต้องมีอิทธิพลต่ออุปสงค์และราคาน้ำมันดิบโลกเช่นเดียวกัน

ในปี 2018 ประเทศจีนนำเข้าน้ำมันดิบมากกว่าประเทศอื่นทั่วโลก โดยการนำเข้าคิดเป็น 2 ใน 3 ของความต้องการน้ำมันดิบทั่วโลก แต่หลังจากการปิดประเทศเพื่อกำจัดไวรัสโคโรน่า มีการคาดการณ์ว่าความต้องการจะลดลงเป็นอย่างมากในไตรมาสที่ 1 ของปี 2020 ซึ่งมีผลทำให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงอย่างมากในปัจจุบัน

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020

รูปที่ 5 เปรียบเทียบจำนวนนักท่องเที่ยวจีนในปี 2002 และปี 2018 I Source : Bloomberg.com as of 5/2/2020

ดังนั้นจากความกังวลทำให้ภาคท่องเที่ยวทั่วโลกชะลอตัวเนื่องจากผลกระทบจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่จะลดลงในช่วงที่มีการจำกัดเที่ยวบิน เพื่อระงับการแพร่กระจายของไวรัสโคโรน่า ซึ่งจากตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวจีนในอดีตเมื่อปี 2002 เปรียบเทียบกับปี 2018 จะพบว่านักท่องเที่ยวจีนมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020

รูปที่ 6 คาดการณ์ผลกระทบของ GDP ประเทศจีนที่ลดลงต่อประเทศอื่น I Source : Bloomberg.com as of 2/2/2020

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020 : Fight The Coronavirus Outbreak

ประกอบกับความไม่แน่นอนของสถานการณ์ส่งผลให้ผู้ประกอบการชะลอคำสั่งซื้อและผลิต นักวิเคราะห์จึงคาดว่าภาคบริการที่เป็นปัจจัยหนุนเศรษฐกิจมาตลอดปี 2019 จะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมและการค้ายังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่จะได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากเหตุการณ์ดังกล่าวด้วย

การแพร่ระบาดของไวรัส ดันตลาดการเงินเข้าภาวะ Risk-off

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020 : Fight The Coronavirus Outbreak

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020

รูปที่ 7 ส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี และ 3 เดือน และดัชนี MSCI World I Source : Bloomberg as of 04/02/2020

ส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี และ 3 เดือน ลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่มีการยืนยันการแพร่จากคนสู่คน เมื่อวันที่ 13 มกราคมที่ผ่านมา จนแตะระดับต่ำกว่า 0% อีกครั้ง  สะท้อนความกังวลการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัส จนตลาดการเงินเข้าสู่ภาวะ Risk-off

FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่ากรณีดังกล่าวเกิดขึ้นจากความกังวลในระดับ Panic อย่างไรก็ตาม ตลาดการเงินจะหันกลับมาสนใจตัวเลขพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ยังมีแนวโน้มในเชิงบวก ซึ่งเริ่มมีสัญญาณพร้อมปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจากธนาคารกลางสหรัฐฯ หากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจ

ตัวเลขเศรษฐกิจโลกไม่ได้แย่อย่างที่คาด หนุนตลาดหุ้นทดสอบ All-Time High

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020

รูปที่ 8 CITI Economic Surprise Index ของโลก, จีน, สหรัฐฯ และยุโรป I Source : Bloomberg as of 31/1/2020

ขณะที่ตัวเลขทางเศรษฐกิจของทั่วโลกเริ่มประกาศออกมาดีกว่าคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ได้อีกครั้ง ซึ่งสะท้อนผ่านทางดัชนี Global CITI Economic Surprise Index ที่กลับมายืนเหนือระดับ 0 จุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีนและสหภาพยุโรป ที่ฟื้นตัวจาก -78.10 จุด และ -54.40 จุด ตามลำดับ

ด้านสหรัฐฯ ที่แม้จะปรับตัวลงมาจากจุดสูงสุดที่ 45.70 จุด สู่ระดับที่ 4.80 จุด แต่ยังคงอยู่เหนือระดับ 0 จุด สะท้อนตัวเลขที่ดีกว่าคาดการณ์จากนักวิเคราะห์ ทำให้ดัชนีที่สำคัญอย่าง Nasdaq, Dow Jones, S&P 500 และ Euro STOXX 600 ปรับตัวขึ้นทำและทดสอบจุดสูงสุดใหม่ได้ต่อเนื่อง

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020

รูปที่ 9 สัดส่วนหุ้นที่ราคาเคลื่อนไหวเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน และหุ้นที่ราคาทำจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 1 ปี I Source : Bloomberg as of 29/1/2020

ซึ่งการทำและทดสอบจุดสูงสุดใหม่ครั้งนี้ FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่า เป็นการปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ด้วยจำนวนหลักทรัพย์ที่มีราคาอยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วัน (Moving Average) และจำนวนหลักทรัพย์ที่ทำจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 1 ปี มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดหุ้นสหรัฐฯ สะท้อนการเป็นตลาดหุ้นที่นำตลาดหุ้นทั่วโลกได้เป็นอย่างดี ขณะที่ตลาดหุ้นจีนนั้นมีการปรับเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีที่ผ่านมา หลังจากการเจรจาการค้าบรรลุข้อตกลงเฟส 1 สะท้อนภาวะการเป็นตลาดหุ้นของจีน

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020 : Fight The Coronavirus Outbreak

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020

รูปที่ 10 ETF net flows (Bn$) I Source : ETF.com as of 27/1/2020

สอดคล้องกับเม็ดเงินลงทุนใน ETF ทั่วโลกนับตั้งแต่ต้นปี 2020 ที่ยังคงมี Fund Flow สุทธิเข้าลงทุนในกองทุน ETF หุ้น มากถึง 8 จาก 10 อันดับแรก คิดเป็นเม็ดเงินรวม 13,530 ล้านดอลลาร์ ขณะที่แรงเทขายเกิดขึ้นเพียง 4,011 ล้านดอลลาร์ ทำให้โดยสุทธิแล้ว มีเม็ดเงินเข้าลงทุนในกองทุน ETF หุ้นกว่า 9,519 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 15.78% ของปริมาณ Fund Flow ที่เข้าซื้อกองทุน ETF หุ้นทั้งปี 2019

ตัวเลขเศรษฐกิจและผลประกอบการสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020 : Fight The Coronavirus Outbreak

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020

รูปที่ 11 อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP) สหรัฐฯ (CQoQ%) I Source : Bloomberg as of 31/1/2020

ช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา สหรัฐฯ เปิดตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 4 ของปี 2019 (เบื้องต้น) ออกมาที่ 2.1% เป็นไปตามคาดการณ์ โดย

  • ภาคการบริโภคภายใน (Personal consumption expenditures) ขยายตัว 1.2% ลดลงจากไตรมาสก่อนซึ่งอยู่ที่ 2.12%
  • ด้านการส่งออกและนำเข้า (Net exports of goods and services) กลับมาขยายตัว 1.48% จากหดตัว 0.14% เมื่อไตรมาสก่อน
  • การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (Fixed investment) กลับมาขยายตัวอีกครั้งที่ 0.01% หนุนด้วยการลงทุนจากภาคอสังหาฯ
  • การบริโภคและการลงทุนของภาครัฐ (Government consumption expenditures and gross investment) ยังขยายตัวที่ 0.47% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย

จากตัวเลข GDP ที่เปิดเผยออกมา พบว่าการขยายตัวของ GDP ไม่ได้พึ่งพาเพียงการบริโภคภายใน โดยสัดส่วนของภาคบริโภคภายในต่อการขยายตัวของ GDP ลดลงจากกว่า 80% มาที่ประมาณ 35% ในไตรมาสนี้ อีกทั้งได้รับปัจจัยหนุนจากการค้า การลงทุนทั้งจากภาคเอกชนและรัฐ ซึ่งแสดงถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึงทุกภาคส่วน

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020

รูปที่ 12 ดัชนี S&P 500 และคาดการณ์ตัวเลข EPS ของดัชนี S&P 500 ในปี 2020  I Source : Bloomberg as of 29/1/2020

ในขณะเดียวกันดัชนี S&P 500 ปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ นักวิเคราะห์คาดการณ์ตัวเลขกำไรต่อหุ้น (EPS) ปี 2020 ที่ 174.25 ดอลลาร์ต่อหุ้น หรือขยายตัว 15.35% จากระดับปัจจุบัน

ด้านผลประกอบการไตรมาสที่ 4 ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เปิดเผยรายได้และกำไรออกมาสูงกว่าคาดการณ์ เริ่มจากกลุ่มธนาคาร เช่น JPMorgan, Citigroup, Bank of America โดยได้รับอานิสงส์จากตลาดการเงินที่กลับมาคึกคัก รวมไปถึงธุรกิจ Wealth Management ในส่วน Goldman Sachs และ Wells Fargo&Co ยังอยู่ในระหว่างการจ่ายค่าปรับคดีความและปรับโครงสร้าง ส่งผลให้รายได้และกำไรต่ำกว่าคาดการณ์

สำหรับหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ที่เป็นผู้นำตลาดในช่วงเวลานี้ ต่างเปิดเผยผลประกอบการออกมาอย่างแข็งแกร่ง โดยสามารถทำรายได้และกำไรได้สูงกว่าคาดการณ์

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020

รูปที่ 13 รายละเอียดผลประกอบการบริษัท Apple ไตรมาสล่าสุด I Source : Alphastreet.com as of 31/1/2020

  • ไม่ว่าจะเป็น Apple ที่ยอดขาย iPhone และอุปกรณ์ รวมไปถึงบริการเติบโตอย่างมาก
  • สอดคล้องกับรายได้และกำไรที่สูงกว่าคาดการณ์ของ Taiwan Semiconductor (TSMC) ซึ่งหนุนด้วยชิปสำหรับ Smartphone และ Internet of Thing (IoT)
  • ด้าน Microsoft ได้รับปัจจัยหนุนจากธุรกิจ Cloud ที่เติบโตมากถึง 62% (YoY) เช่นเดียวกับบริการซอฟต์แวร์ด้านอื่นที่ยังคงรักษาระดับการเติบโตได้
  • ส่วน Facebook แม้รายได้และกำไรจะสูงกว่าคาดการณ์ แต่ราคาหุ้นกลับปรับตัวลงเนื่องจากนักลงทุนกังวลประเด็นค่าใช้จ่ายในปี 2019 ที่เพิ่มขึ้นถึง 51% (YoY)
  • ด้วยการบริโภคภายในที่แข็งแกร่งหนุนให้รายได้และกำไรของ Amazon เติบโตและสูงกว่าคาดการณ์จากนักวิเคราะห์
  • Alphabet บริษัทแม่ของ Google เสิร์จเอนจิ้นชื่อดัง มีผลประกอบการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ราคาหุ้นกลับปรับตัวลงเนื่องจากการเติบโตของรายได้ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้

เมื่อพิจารณาจากการขยายตัวของ GDP และภาพรวมผลประกอบการที่เปิดเผยออกมา สะท้อนความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งช่วยหนุนภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่สหรัฐฯ และจีนบรรลุข้อตกลงการค้า แต่ต้องติดตามผลกระทบของสถานการณ์เชื้อไวรัสต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในระยะต่อจากนี้

Fed ย้ำยังเสริมสภาพคล่องไปอย่างน้อยจนถึงไตรมาส 2 ของปี

เมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) หันมาผ่อนคลายนโยบายการเงินอีกครั้งด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย พร้อมกันนั้นการขาดสภาพคล่องในระบบการเงินที่เริ่มส่งสัญญาณผ่านอัตราดอกเบี้ยในตลาดธุรกรรมซื้อคืน (Repo) ที่พุ่งขึ้นอย่างรุนแรง ดังนั้น Fed ต้องอัดฉีดสภาพคล่องให้ระบบการเงินผ่านตลาด Repo และเข้าซื้อตั๋วเงินคลัง (T-bill)

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020 : Fight The Coronavirus Outbreak

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020

รูปที่ 14 ขนาดงบดุลธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ระหว่างปี 2019 ถึงปี 2020 I Source : Bloomberg as of 3/2/2020

การเพิ่มสภาพคล่องเข้าระบบการเงินของ Fed ทำให้ขนาดงบดุล (Balance sheet) กลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งในไตรมาส 4 อย่างไรก็ตาม แม้ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา การเพิ่มของขนาดงบดุลกลับมาชะลอตัวอีกครั้ง แต่แถลงการณ์หลังการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ เปิดเผยว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังดำเนินนโยบายรักษาสภาพคล่องต่อไปอย่างน้อยจนถึงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้

FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่าขนาดของงบดุลเป็นอีกปัจจัยที่ต้องติดตามเนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายการเงินของ Fed ซึ่งจะมีผลต่อตลาดการเงินทั่วโลก ในลักษณะเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นไปในการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ซึ่งมติที่ประชุมครั้งนั้นช่วยลดความตึงเครียดในตลาดการเงินโลก และหนุนให้เศรษฐกิจทั่วโลกกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020 : Fight The Coronavirus Outbreak

ภาวะดอกเบี้ยต่ำกลับมาหนุน REITs ปรับตัวขึ้น

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020

รูปที่ 15 สัดส่วนตราสารหนี้ที่มีอัตราผลตอบแทนติดลบ และดัชนี FTSE Nareits Global Reits I Source : Bloomberg as of 30/1/2020

ในขณะที่ปริมาณตราสารหนี้ที่มีอัตราผลตอบแทนติดลบในระดับที่สูงกว่าในอดีต เนื่องจากภาวะอัตราดอกเบี้ยติดลบในหลายประเทศทั่วโลก ทำให้สินทรัพย์อื่นมีความน่าสนใจมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทองคำ หุ้น และอีกหนึ่งสินทรัพย์ที่นักลงทุนซึ่งต้องการการปันผลเลือกลงทุนในพอร์ตการลงทุน นั่นคือ กองทุนอสังหาฯ และ REITs

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020

รูปที่ 16 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยและ SETPREIT และส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยและ SETPREIT I Source : Bloomberg as of 30/1/2020

เมื่อพิจารณาทั้งอัตราการปันผล และส่วนต่างระหว่างอัตราการปันผลและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล อายุ 10 ปี ดัชนีกองทุนอสังหาฯ และ REITs (SETPREIT) ของไทย ยังให้อัตราการปันผลและมีส่วนต่างในระดับที่สูงกว่าประเทศอื่นทั่วโลก ที่ระดับ 4.99% และ 3.67% ตามลำดับ

จากความน่าสนใจของการเป็นสินทรัพย์ที่โดดเด่นด้านการปันผล และด้วยปัจจัยเสี่ยงที่ยังมีอยู่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการเจรจาการค้าเฟสสอง การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือแม้กระทั่งความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ทำให้ FINNOMENA Investment Team ยังแนะนำให้มีสัดส่วนการลงทุนในกองทุนอสังหาฯ และ REITs ของประเทศไทยที่ประมาณ 10-20% ของพอร์ตการลงทุนโดยรว

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020 : Fight The Coronavirus Outbreak

ปัจจัยภายนอกและเสถียรภาพทางการเมืองกดดันหุ้นไทย

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020

รูปที่ 17 ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ I Source : theglobaleconomy.com as of 4/2/2020

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสร้างแรงกดดันต่อสภาพเศรษฐกิจไทย โดยภาคการท่องเที่ยวที่มีสัดส่วนถึง 17% ของ GDP ประเทศไทย เป็นภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยประเมินว่าหากเหตุการณ์ยืดเยื้อถึง 3 เดือนอาจส่งผลให้นักท่องเที่ยวจีนลดลงกว่า 1.89 ล้านคน หรือ 70% ของนักท่องเที่ยวจีนทั้งหมด ซึ่งทำให้ไทยอาจเสียรายได้จากการท่องเที่ยวไปกว่า 94,500 ล้านบาท คิดเป็นกว่า 4% ของรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งหมด

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020

รูปที่ 18 เปรียบเทียบมูลค่าทางตลาดของสายการบินพาณิชย์ในประเทศไทยระหว่างปี 2015 ถึง 2020 I Source : Bloomberg.com as of 3/2/2020

ด้านภาคส่งออกที่ยังไม่ฟื้นตัวหลังรับผลกระทบจากการกีดกันทางการค้า ได้รับผลกระทบสถานการณ์ดังกล่าวเพิ่มเติม ส่วนภาคการนำเข้ากลับมาขยายตัวอีกครั้งในรอบ 5 เดือน ส่งผลให้การเกินดุลการค้าของไทยชะลอตัวลง ด้วยปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมาประกอบกับการไหลกลับของเงินทุนเข้าสหรัฐฯ หนุนให้ Dollar Index แข็งค่ายืนเหนือระดับ 97.0 จุด เป็นผลให้ค่าเงินบาทกลับมาอ่อนตัวอีกครั้งเมื่อเทียบกับค่าดอลลาร์ จนมาเคลื่อนไหวที่ระดับ 31.00 บาทต่อดอลลาร์ ได้อีกครั้ง

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020

รูปที่ 19 เปรียบเทียบการใช้จ่ายภาครัฐต่อตัวเลข GDP ของประเทศไทย I Source : theglobaleconomy.com as of 3/2/2020

เมื่อประกอบกับแนวโน้มการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2563 ที่อาจล่าช้าจากปัจจัยทางการเมือง จากกำหนดการเดิมในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ส่งผลให้การลงทุนภาครัฐฯ ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วนถึง 21.6% ของ

GDP ประเทศไทย ไม่สามารถเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจได้ทันภายในไตรมาส 1/2020

สอดคล้องกับมติที่ประชุม กนง. ให้ลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% มาที่ระดับ 1.00% โดยแสดงความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจ เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัส ปัญหาภัยแล้ง และการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีที่ล่าช้า ด้วยเหตุที่กล่าวมา FINNOMENA Investment Team จึงยังคงแนะนำ Underweight ตลาดหุ้นไทย

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020 : Fight The Coronavirus Outbreak

การผิดนัดชำระหนี้ในจีนยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020

รูปที่ 20 จำนวนและปริมาณหนี้ที่ผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทสัญชาติจีน I Source : Bloomberg as of 29/1/2020

สำหรับการผิดนัดชำระหนี้ของบริษัทสัญชาติจีนทั่วโลกยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในเดือนมกราคม มีจำนวน 5 บริษัท ผิดชำระหนี้เป็นมูลค่ากว่า 670 ล้านดอลลาร์ โดยมีบริษัท Qinghai Investment Group ที่เป็น State Own Enterprises (SOEs) ผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้สกุลดอลลาร์มูลค่ากว่า 300 ล้านดอลลาร์

โดยที่นับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมาค่าเงินหยวนของจีน แข็งค่าขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ถึง 4.50% จากแนวโน้มสงครามการค้าที่ประนีประนอมมากขึ้น จะส่งผลให้อัตราการชำระหนี้เมื่อคิดเป็นสกุลเงินหยวน ซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักของ Qinghai Investment Group ลดลง หากแต่ Qinghai Investment Group ยังคงมีการผิดนัดชำระหนี้เกิดขึ้น สะท้อนภาวะการตึงตัวทางการเงินของบริษัทได้เป็นอย่างดี

FINNOMENA Investment Team ยังคงจับตาดูสถานการณ์การผิดนัดชำระหนี้ในประเทศจีนอย่างใกล้ชิดต่อไป เพื่อประเมินผลกระทบต่อการลงทุนต่อไป

Recommended by FINNOMENA

Global Income Focus (GIF)

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020

FINNOMENA Investment Team แนะนำคงสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์เดิม โดยมีคำแนะนำเพิ่มเติมคือ ชะลอการลงทุน (Hold) ในสินทรัพย์เสี่ยง ได้แก่ กองทุนหุ้นทั่วโลก TMBGQG เพื่อจับตาผลกระทบและรอประเมินสถานการณ์ จากความกังวลของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส “โคโรน่า” ที่สร้างความผันผวนต่อการลงทุนในหุ้น ช่วงครึ่งหลังเดือนมกราคมที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตามกองทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในพอร์ตที่มีเพียง หุ้นไทย (LHEQD-R) ที่ปรับตัวเป็นลบ -6.50% สร้างผลกระทบต่อพอร์ต -0.65% ขณะที่สินทรัพย์อื่นๆ ยังสามารถประคองตัวเป็นบวก โดยเฉพาะกองทุน ตราสารหนี้ระยะยาว (UDB-A) +2.36% และกองทุนอสังหาฯ (LHTPROP) +0.97% ที่ปรับตัวได้อย่างโดดเด่น ส่งผลให้พอร์ตโดยรวมยังรักษาเสถียรภาพไว้ได้ดี ในยามตลาดกลับมาผันผวน

Global Conservative Port (GCP)

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020

FINNOMENA Investment Team ยังคงสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์เดิม โดยมีคำแนะนำเพิ่มเติมคือ ชะลอการลงทุน (Hold) ในสินทรัพย์เสี่ยง ได้แก่ กองทุนหุ้นทั่วโลก TMBGQG และกองทุนหุ้นเอเชีย PRINCIPAL APDI เพื่อจับตาผลกระทบและรอประเมินสถานการณ์ จากความกังวลของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส “โคโรน่า” ที่สร้างความผันผวนต่อการลงทุนในหุ้น ช่วงครึ่งหลังเดือนมกราคมที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตามกองทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในพอร์ตที่ปรับตัวลงจากกรณีดังกล่าว ได้แก่  หุ้นไทย (PHATRA SMART MV) ที่ปรับตัวเป็นลบ -2.53% และ หุ้นเอเชีย (PRINCIPAL APDI) ปรับตัวลง -2.38% สร้างผลกระทบต่อพอร์ตรวมราว -0.48% ขณะที่หุ้นทั่วโลก (TMBGQG) ยังสามารถคงผลตอบแทนเป็นบวก +2.85% และสินทรัพย์อื่นๆ ยังสามารถประคองตัวเป็นบวก โดยเฉพาะกองทุน ตราสารหนี้ระยะยาว (PHATRA G-UBOND-H) +2.32% ที่ปรับตัวได้อย่างโดนเด่น ส่งผลให้พอร์ตโดยรวมยังรักษาเสถียรภาพไว้ได้ดี ในยามตลาดกลับมาผันผวน

Global Absolute Return (GAR)

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020

FINNOMENA Investment Consultant Team ยังคงสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์เดิม โดยมีคำแนะนำเพิ่มเติมคือ ชะลอการลงทุน (Hold) ในสินทรัพย์เสี่ยง ได้แก่ กองทุนหุ้นทั่วโลก TMBGQG และกองทุนหุ้นเอเชีย PRINCIPAL APDI เพื่อจับตาผลกระทบและรอประเมินสถานการณ์ จากความกังวลของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส “โคโรน่า” ที่สร้างความผันผวนต่อการลงทุนในหุ้น ช่วงครึ่งหลังเดือนมกราคมที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตามกองทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในพอร์ตที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่  หุ้นไทย (TISCOMS) ที่ปรับตัวเป็นลบ -2.96% และ หุ้นเอเชีย (Principal APDI) ปรับตัวลง -2.38% สร้างผลกระทบต่อพอร์ตรวมราว -0.52% ขณะที่หุ้นทั่วโลก (TMBGQG) ยังสามารถคงผลตอบแทนเป็นบวก +2.85% และสินทรัพย์อื่นๆ ยังสามารถประคองตัวเป็นบวก โดยเฉพาะกองทุน กองทุนทองคำ (TMBGOLDS) +4.21% ตราสารหนี้ระยะยาว (PHATRA G-UBOND-H) +2.32% ที่ปรับตัวได้อย่างโดนเด่น ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนในเดือนที่ผ่านมายังปรับตัวบวกได้ราว +1.57%

TOP5

FINNOMENA PORT Strategy เดือนกุมภาพันธ์ 2020

FINNOMENA Investment Team ยังคงสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์เดิม โดยมีคำแนะนำเพิ่มเติมคือ ชะลอการลงทุน (Hold) ในสินทรัพย์เสี่ยง ได้แก่ กองทุนหุ้นทั่วโลก TMBGQG และกองทุนหุ้นเอเชีย PRINCIPAL APDI เพื่อจับตาผลกระทบและรอประเมินสถานการณ์ จากความกังวลของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัส “โคโรน่า” ที่สร้างความผันผวนต่อการลงทุนในหุ้น ช่วงครึ่งหลังเดือนมกราคมที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตามกองทุนในสินทรัพย์เสี่ยงในพอร์ตที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่  หุ้นเอเชีย (PRINCIPAL APDI) ปรับตัวลง -2.38% ขณะที่หุ้นไทย (ASP-SME) ปรับตัวลบเพียง -0.95% ซึ่งโดดเด่นกว่ากองทุนในกลุ่มเดียวกัน ขณะที่หุ้นทั่วโลก (TMBGQG) ยังสามารถคงผลตอบแทนเป็นบวก +2.85% และสินทรัพย์อื่นๆ ยังสามารถประคองตัวเป็นบวก โดยเฉพาะกองทุน กองทุน Global Infrastructure (SCBWINR) +3.32% ตราสารหนี้ระยะยาว (PHATRA G-UBOND-H) +2.32% ที่ปรับตัวได้อย่างโดนเด่น ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนในเดือนที่ผ่านมายังปรับตัวบวกได้ราว +1.74%


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต| ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน