ปรับพอร์ตล็อกกำไรรับความหวัง กนง. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

นับตั้งแต่การรุกรานยูเครนของรัสเซีย 2 ประเทศผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์อันดับต้น ๆ ของโลก หลากหลายชนิด เริ่มขึ้นในช่วง 28 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วโลกมีการเร่งตัวที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงประเทศไทย ทำให้สินทรัพย์ที่ทำหน้าที่ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อได้ดีอย่าง พันธบัตรรัฐบาลชดเชยเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่กองทุน KTILF ลงทุน ที่มีน้ำหนักการลงทุนในพอร์ตอาทิ GCP และ GIF นั้นปรับตัวขึ้นแล้วกว่า 5.39% นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา

ปรับพอร์ตล็อกกำไรรับความหวัง กนง. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

รูปที่ 1 : อัตราเงินเฟ้อไทย Source : FINNOMENA, Bloomberg As of 08/06/2022

สอดคล้องกับการประกาศอัตราเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคม ในวันที่ 8 มิถุนายนที่ผ่านมาที่ประกาศออกมาที่ระดับ 7.1% สูงที่สุดในรอบ 14 ปี และมากกว่าคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ พร้อมกับแนวโน้มการปรับเพิ่มค่า FT, ลดการอุดหนุนราคาน้ำมันลง และการอ่อนค่าของเงินบาทเทียบกับดอลลาร์ ที่จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในอนาคตมีโอกาสเร่งตัวต่อเนื่อง และสร้างแรงหนุนไปยังพันธบัตรรัฐบาลชดเชยเงินเฟ้อให้มีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีมากขึ้น

ปรับพอร์ตล็อกกำไรรับความหวัง กนง. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

รูปที่ 2 : คาดการณ์ GDP ไทย Source : bot.or.th As of 08/06/2022

อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 8 มิถุนายนที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจไทยสู่ระดับ 3.3% (YoY) ดีกว่าการคาดการณ์ครั้งก่อนหน้าที่ระดับ 3.2% (YoY) จากแนวโน้มจำนวนนักท่องเที่ยวที่สูงกว่าคาดการณ์ ซึ่งหนุนแนวโน้มการบริโภคภายในประเทศให้มีโอกาสฟื้นตัวได้ดีกว่าเดิม พร้อมกับตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.50% ตามคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ด้วยมติ 4 ต่อ 3 เสียง ในการให้สัมภาษณ์ระบุถึงผลกระทบเชิงลบจากอัตราเงินเฟ้อที่มากกว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และความจำเป็นในการควบคุมอัตราเงินเฟ้อเพื่อไม่ให้เกิด Built-in Effect ส่งสัญญาณ Hawkish เพิ่มเติมมากขึ้น ทำให้คาดการณ์ต่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยเปลี่ยนแปลงไปสู่ระดับการคาดการณ์ที่อาจจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีก 0.25 – 0.50% ภายในสิ้นปี 2565 นี้

ปรับพอร์ตล็อกกำไรรับความหวัง กนง. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

รูปที่ 3 : Thai Government Bond Yield Curve : bot.or.th As of 08/06/2022

ท่าทีดังกล่าวสร้างแรงกดดันไปยังตราสารหนี้ไทย เนื่องจากอัตราผลตอบแทน (ยิลด์) ในตลาดโดยเฉพาะพันธบัตรระยะสั้นอาจปรับตัวเพิ่มขึ้นสะท้อนระดับดอกเบี้ยในอนาคต ในขณะที่ยิลด์พันธบัตรช่วงอายุ 3 ปีขึ้นไปทยอยเพิ่มขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้ว

สำหรับพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ (ILB) ที่แม้จะยังมีปัจจัยหนุนจากอัตราเงินเฟ้อที่ยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงซึ่งจะส่งผลเชิงบวกโดยตรงต่อดัชนี CPI ซึ่งใช้อ้างอิงในราคา ILB อย่างไรก็ตามส่วนต่างยิลด์ (Yield Spread) ของพันธบัตร ILB กับพันธบัตรรัฐบาลนั้นใกล้เคียงกันมากขึ้นภายหลังพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนสูงขึ้น ทำให้ในเชิงเปรียบเทียบแล้วพันธบัตร ILB มีความน่าสนใจลดลงกว่าช่วงก่อนหน้านี้ และส่งผลให้แนวโน้มการลงทุนในกองทุน KTILF กำลังทยอยมีความน่าสนใจน้อยลง

FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำขายทำกำไรกึ่งหนึ่งในพอร์ตการลงทุน Global Conservative Port (GCP) และ Retirement Income Solution (RIS) เพื่อบริหารความเสี่ยงต่อ Upside ที่ลดลงดังกล่าว เข้าลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นอย่าง KFSPLUS แทน ก่อนนำไปสู่คำแนะนำตามสถานการณ์ที่ถูกจับตาอย่างใกล้ชิดต่อไปในอนาคต

ปรับพอร์ตล็อกกำไรรับความหวัง กนง. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน KTILF 10%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน KFSPLUS 10%

ปรับพอร์ตล็อกกำไรรับความหวัง กนง. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน KTILF 7%
  • เพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน KFSPLUS 7%

คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัว ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT