ถึงเวลาปรับพอร์ต: ปรับพอร์ตรับจีนเปิดเมือง

นับตั้งแต่ต้นปี 2021 ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นจีนถูกกดดันโดยมาตรการต่างๆ จากทางการที่มุ่งสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคงในระยะยาว อาทิ Three Red line ที่ทำให้เกิดปัญหาสภาพคล่องในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์, Common Prosperity ที่ทำให้เกิดแรงกดดันต่อภาคเอกชนโดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ในกลุ่มเทคโนโลยี และมาตรการ Zero-COVID ที่สร้างแรงกดดันต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง

ถึงเวลาปรับพอร์ต: ปรับพอร์ตรับจีนเปิดเมือง

รูปที่ 1: ดัชนี CSI300, มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและผ่อนคลาย รวมใปถึงเหตุการณ์สำคัญในประเทศจีนตั้งแต่ต้นปี
Source:  FINNOMENA, Bloomberg as of 13/12/2022

อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ต้นปี 2022 ที่ผ่านมานั้น ทางการจีนได้ผลักดันมาตรการสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจมีโอกาสเป็นไปตามเป้าหมายที่ระดับ 5% อย่างต่อเนื่อง อาทิ มาตรการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานกว่า 800,000 ล้านหยวน, 20 มาตรการผ่อนคลาย Zero-COVID หรือ 16 มาตรการ ที่เข้ามาช่วยกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ และผู้ได้รับผลกระทบในวงกว้าง

รวมไปถึง10 มาตรการผ่อนคลายโควิดเพิ่มเติมในช่วง 7 ธันวาคมที่ผ่านมาเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่พอใจของประชาชนต่อมาตรการ Zero-COVID ที่เข้มงวดมาอย่างยาวนาน สะท้อนถึงความพยายามรักษาสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจ และสังคม ส่งผลให้ความคาดหวังในการเปิดประเทศในระยะต่อไปเพิ่มขึ้น สะท้อนผ่านทางการจองตั๋วเครื่องบิน และจำนวนเที่ยวบินในประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองที่ใช้มาตรการล็อคดาวน์อย่างเข้มข้น อาทิ เจิ้งโจว, กวางโจว ปักกิ่ง, นานกิง และเซี่ยงไฮ้

ถึงเวลาปรับพอร์ต: ปรับพอร์ตรับจีนเปิดเมือง

รูปที่ 2 : อัตราการกันสำรองของธนาคารขนาดใหญ่จีน | Source  FINNOMENA, Bloomberg as of 13/12/2022

ซึ่งแนวโน้มการเปิดประเทศที่มีโอกาสเกิดขึ้นสูงในอนาคตนั้น ยังมีโอกาสถูกหนุนโดยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากทางการจีนเพิ่มเติม ทั้งในแง่ของมาตรการทางการเงิน เช่น การลดการตั้งสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) เพื่อหนุนให้เกิดการใช้จ่ายเพิ่มเติมผ่านการกู้ยืม เมื่อประกอบกับ Pent Up Demand หรือความต้องการบริโภคที่อัดอั้นมานาน หลังจากต้องเผชิญการล็อคดาวน์ต่อเนื่องมานานกว่า 3 ปี และมาตรการการคลังที่ยังอาจถูกผลักดันได้เพิ่มเติม จะยิ่งทำให้เศรษฐกิจ และตลาดหุ้นจีนมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

ถึงเวลาปรับพอร์ต: ปรับพอร์ตรับจีนเปิดเมือง

รูปที่ 3 : Relative FWD P/E | Source  FINNOMENA, Bloomberg as of 13/12/2022

เมื่อพิจารณาในเชิง Valuation นั้นจะพบว่า ปัจจุบัน FWD P/E ของดัชนี CSI300 อยู่ที่ระดับ 10.8 เท่า คิดเป็น -0.5 S.D. หรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตนเองในระยะ 10 ปี และต่ำกว่าเมื่อเทียบกับดัชนีตลาดหุ้นอื่นๆ ทั่วโลกซึ่งแสดงถึงความถูกกว่าตลาดหุ้นโลกในเชิงเปรียบเทียบ

ถึงเวลาปรับพอร์ต: ปรับพอร์ตรับจีนเปิดเมือง

รูปที่ 4: CSI 300 EPS Revision by Sector (%) | Source: FINNOMENA, Bloomberg as of 13/12/2022

ขณะที่คาดการณ์ผลประกอบการยังไม่ถูกรับรู้ปัจจัยด้านการเปิดเมืองและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งหมด ทำให้หากในอนาคตผลประกอบการทยอยประกาศออกมาแล้วสามารถเติบโตได้ดีกว่าที่คาด จะส่งผลให้นักวิเคราะห์ปรับคาดการณ์กำไรขึ้น และช่วยสร้าง Momentum ที่ดีต่อตลาดหุ้นจีนพร้อมกับลดความตึงตัวในเชิง Valuation ได้

ถึงเวลาปรับพอร์ต: ปรับพอร์ตรับจีนเปิดเมือง

รูปที่ 5: อัตราเงินเฟ้อทั่วโลก | Source: FINNOMENA, Bloomberg as of 13/12/2022

พร้อมกันนั้น เมื่อพิจารณาถึงอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นปัจจัยที่กดดันตลาดหุ้นทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Market) นั้นจะพบว่า จีนมีอัตราเงินเฟ้อในระดับที่ต่ำเพียง 1.6% เท่านั้น ส่งผลให้จีนมีแรงกดดันในการดำเนินนโยบายการเงินแบบตึงตัวในระดับที่ต่ำ ทำให้ยังคาดหวังมาตรการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจได้หลังจากนี้

ถึงเวลาปรับพอร์ต: ปรับพอร์ตรับจีนเปิดเมือง

รูปที่ 6: US Conference Board Leading Economic Index & Recession Period & NBER Announcement Recession Date
Source: FINNOMENA, Bloomberg as of 13/12/2022

ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯ นั้น Leading Economic Index ซึ่งเป็นดัชนีชี้นำด้านเศรษฐกิจสำคัญที่คำนวณจากทั้งปัจจัยในด้านเศรษฐกิจจริง (real sector) และตลาดการเงิน (financial components)  ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องสู่แดนติดลบ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมานั้น ทุกครั้งที่ดัชนีดังกล่าวเข้าสู่แดนติดลบ จะตามมาด้วยการเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ ทำให้มีแนวโน้มสูงที่ในครั้งนี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอย (Mild Recession) เช่นเดียวกัน ทำให้จึงยังคงแนะนำหลีกเลี่ยงการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ หรือกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วในปัจจุบัน

ถึงเวลาปรับพอร์ต: ปรับพอร์ตรับจีนเปิดเมือง

รูปที่ 7 : US D/E ratio | Source  FINNOMENA, Bloomberg as of 13/12/2022

อย่างไรก็ตาม ตลาดแรงงาน และภาคการบริการที่ยังแข็งแกร่ง เมื่อประกอบกับสัดส่วนเงินสำรองของประชาชนที่ยังสูงเมื่อเทียบกับระดับปกติ รวมถึงอัตราส่วนหนี้สินต่อกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา (EBITDA) และอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น ที่ต่ำเมื่อเทียบกับวิกฤติการเงินในปี 2008 ทำให้ FINNOMENA Investment Team มีมุมมองว่าการเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ ในครั้งนี้ จะเป็นการเข้าสู่ Recession แบบ Mild Recession หรือเศรษฐกิจถดถอยแบบไม่รุนแรง และไม่เกิดเป็นวิกฤติลุกลามแต่อย่างใด

ซึ่ง FINNOMENA Investment Team ยังคงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินสถานการณ์ และเตรียมเข้าลงทุนอีกครั้ง เมื่อสถานการณ์เหมาะสมอีกครั้ง จากสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยและใกล้เคียงเงินสดอย่างตราสารหนี้ระยะกลางและระยะสั้นในพอร์ตอีกครั้ง

FINNOMENA Recommended

GAR (Global Absolute Return)

ถึงเวลาปรับพอร์ต: ปรับพอร์ตรับจีนเปิดเมือง

  • แนะนำลดสัดส่วนการลงทุน KFSPLUS 5% 
  • แนะนำเพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน KT-Ashares-A 5%

ท่าทีผ่อนคลายมาตรการควบคุม COVID-19 และกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของทางการจีน ส่งสัญญาณเชิงบวกต่อความเป็นไปได้ในการเปิดเมืองที่มากขึ้น ส่งผลให้ตลาดหุ้นจีนซึ่งปรับตัวลงอย่างมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีความน่าสนใจ 

FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกองทุน KT-Ashares-A 5% เพื่อรับโอกาสการฟื้นตัวจากแนวโน้มดังกล่าว พร้อมกันนั้น GAR ยังมีสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย และสภาพคล่องอย่าง KFSPLUS นั้นพร้อมต่อการปรับเข้าสู่สินทรัพย์อื่นๆ

ทำให้หาก FINNOMENA Investment Team ประเมินว่าความเสี่ยงลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อไหร่ พอร์ตจะสามารถปรับเปลี่ยนได้ทันต่อสถานการณ์ เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ใกล้เคียงเป้าหมายในอนาคต

GIF (Global Income Focus)

ถึงเวลาปรับพอร์ต: ปรับพอร์ตรับจีนเปิดเมือง

GIF มีความผันผวนที่ต่ำเมื่อเทียบกับภาวะการลงทุนโดยรวมทั่วโลก อีกทั้งยังสามารถสร้างกระแสเงินสดที่สม่ำเสมอได้ แต่ต่ำกว่าเป้าหมายที่ 3-5% เล็กน้อย 

อย่างไรก็ตามสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย และสภาพคล่องอย่าง KFSPLUS นั้นพร้อมต่อการปรับเข้าสู่สินทรัพย์อื่นๆ ทำให้หาก FINNOMENA Investment Team ประเมินว่าความเสี่ยงลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อไหร่ พอร์ตจะสามารถปรับเปลี่ยนได้ทันต่อสถานการณ์ เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ใกล้เคียงเป้าหมายทั้งกระแสเงินสด และเงินต้น บนความเสี่ยงที่เหมาะสม จึงยังแนะนำคงสัดส่วนการลงทุน

GCP (Global Conservative Port)

ถึงเวลาปรับพอร์ต: ปรับพอร์ตรับจีนเปิดเมือง

นับตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา GCP ได้ลดการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นโดยตรงแล้ว จากมุมมองการเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทำให้ปัจจุบันนั้น GCP มีความเสี่ยงที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นโดยรวมแล้ว

อีกทั้งยังมีสินทรัพย์ปลอดภัยสภาพคล่องสูงอย่างตราสารหนี้ถึง 50% ทำให้หาก FINNOMENA Investment Team ประเมินว่าความเสี่ยงลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อไหร่ พอร์ตจะสามารถปรับเปลี่ยนได้ทันต่อสถานการณ์ จึงยังแนะนำคงสัดส่วนการลงทุน

All Balance

ถึงเวลาปรับพอร์ต: ปรับพอร์ตรับจีนเปิดเมือง

All Balance Port ซึ่งเป็นพอร์ตการลงทุนแบบ Strategic Asset Allocation ที่จัดสัดส่วนการลงทุนด้วย  Black-Litterman Model หัวใจของ FINNOMENA Robo-Advisor ที่ผสมผสานระหว่างโมเดลทางคณิตศาสตร์ที่ช่วยคำนวณค่าสถิติในอดีตกับมุมมองการลงทุนในอนาคตจากผู้แนะนำการลงทุนถือครองสัดส่วนหุ้นในระดับ 45% ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดตามนโยบายการการลงทุนแล้ว

เมื่อประกอบกับการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์อื่นอย่าง ตราสารหนี้ ทองคำ และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมลงมาอีกบางส่วนนั้นมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันแล้ว   FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำคงสัดส่วนการลงทุน 

RIS (Retirement Income Solution)

ถึงเวลาปรับพอร์ต: ปรับพอร์ตรับจีนเปิดเมือง

RIS มีความผันผวนที่ต่ำเมื่อเทียบกับภาวะการลงทุนโดยรวมทั่วโลก อีกทั้งยังสามารถสร้างกระแสเงินสดที่สม่ำเสมอได้ แต่ต่ำกว่าเป้าหมายที่ 3-3.5% เล็กน้อย 

พร้อมด้วยสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย และมีสภาพคล่องสูงอย่าง KFSPLUS นั้นพร้อมต่อการปรับเข้าสู่สินทรัพย์อื่นๆ ทำให้หาก FINNOMENA Investment Team ประเมินว่าความเสี่ยงลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อไหร่ พอร์ตจะสามารถปรับเปลี่ยนได้ทันต่อสถานการณ์ เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ใกล้เคียงเป้าหมายทั้งกระแสเงินสด และเงินต้น บนความเสี่ยงที่เหมาะสม จึงยังแนะนำคงสัดส่วนการลงทุนต่อ

GGG (Next-Generation Global Growth)

ถึงเวลาปรับพอร์ต: ปรับพอร์ตรับจีนเปิดเมือง

GGG ซึ่งเป็นพอร์ตที่แนวทางลงทุนหุ้น 100% ตลอดเวลา กระจายการลงทุนหลากหลายธีม ประเทศ และใช้ Min.Volatility Optimization เป็นแนวทางในการจัดสรรน้ำหนักเพื่อลดความเสี่ยง ได้ถูกตรวจสอบทั้งในเชิงโมเดลการลงทุน และ กองทุนรวมที่ถือครอง ซึ่งยังคงมีความเหมาะสมกับสถานการณ์การลงทุนปัจจุบัน FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำคงสัดส่วนการลงทุนเดิม

—————————————————————————————————————————

คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัว ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT