เมื่อช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นอเมริกาได้ปรับตัวทำ new high กันถ้วนหน้า ท่ามกลางความกังวลในเรื่องของภาวะเศรษฐกิจถดถอยจึงเป็นเรื่องที่น่าแปลกว่า ตลาดปรับตัวถึงขนาดดันทำ new high ได้อย่างไร? ซึ่งหนึ่งในสาเหตุนั้นอาจมาจากการทำ QE อย่างลับๆ ของ Fed ผ่านตลาด Repo แล้วมันคืออะไร ทำไมสิ่งนี้อาจเป็นสาเหตุ เราลองไปค้นหาและทำความเข้าใจกัน
หากย้อนกลับไปในอดีตนับตั้งแต่ปี 2008 ตลาดหุ้นมีการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องหลังการทำ QE ในทุกๆครั้ง โดยหากแบ่งเป็นช่วงดังภาพเป็น QE1,QE2, และ QE3 ผลหลังจากการ QE ก็จะเป็นดังนี้
จนเมื่อช่วงปลายปี 2017 ถึงปลาย 2018 ตลาดมีการปรับตัวลงหลังจากการทำ QT หรือพูดอย่างง่ายคือ การนำเงินออกจากระบบ ก่อนจะปรับตัวขึ้นหลังทาง Fed กลับมาลดอัตราดอกเบี้ย
ก่อนจะมีการดีดตัวปริศนาอย่างรุนแรงและทำ new high ไปในที่สุด จึงมีความเป็นไปได้ว่า QE นั้นเหมือนเป็นยาแรงที่เข้าไปผลักดันตลาดในวันที่ตลาดไม่เป็นใจและในหลายๆครั้งวิธีการนี้ก็ดูเหมือนจะได้ผล
จึงเป็นคำถามต่อไปว่าตลาดเสพติดการทำ QE หรือการอัดฉีดเงินหรือไม่? แต่ก่อนอื่นเราไปดูกันว่านอกจากสหรัฐฯ แล้ว ยังมีที่ไหนอีกบ้างที่อัดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจอีกบ้าง
ซึ่งถ้าหากมาดูทางด้านของ ECB และ BOJ ก็มีการทำ QE ต่อเนื่องเช่นเดียวกัน สังเกตได้จาก Balance sheet หรือขนาดสินทรัพย์ที่ธนาคารเหล่านั้นถือครองปรับตัวขึ้น แสดงถึงการเข้าซื้อสินทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นตราสารหนี้หรือหุ้น เพื่ออัดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจ
หากมาดูทางด้าน Balance sheet ของ Fed เอง ก็จะเห็นได้ว่ามีการดีดตัวขึ้นอย่างน่าสงสัยสอดคล้องกับ คำถามที่ว่า Fed ทำ QE ตอนไหน? หรือใช้อะไรเพื่อเพิ่มขนาด Balance sheet?
หากเรามาดูที่ Overnight repo rate ซึ่งเป็นต้นทุนทางการเงินข้ามคืน (Overnight) ของธนาคารพาณิชย์ จะเห็นได้ว่ามีการดีดตัวขึ้นอย่างมีนัยยะ และเมื่อต้นทุนทางการเงินของสถาบันทางการเงินเพิ่มขึ้นในระดับหนึ่ง ก็อาจสร้างความตึงเครียดให้ระบบการเงินทั้งระบบได้
เหตุที่ Overnight repo rate ดีดตัวขึ้นระบบการเงินของสหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณการขาดสภาพคล่อง หากพูดอย่างง่ายก็คือการที่ธนาคารมีเงินมาหมุน (Money Supply) ไม่พอกับความต้องการเงิน (Money demand) ที่มีสูงกว่า ด้วยความต้องการเงิน (Demand) ที่มากกว่าปริมาณเงินในระบบ (Supply) จึงทำให้อัตราดอกเบี้ยพุ่งสูงขึ้นตามกลไกตลาด
หากคุณคิดจะลงทุนเพิ่มในกองทุนรวม นี้คือสิ่งที่คุณไม่อยากพลาด! สมัครสมาชิกตอนนี้เพื่อรับโพยกองทุนเด็ดที่แนะนำ อัพเดททุกเดือนจาก FINNOMENA
กดที่นี่เพื่อรับโพยกองทุนการที่จะลดอัตราดอกเบี้ยแบบข้ามคืน (Overnight) ในสถานการณ์นั้น จะต้องเพิ่มปริมาณเงินเข้าระบบ ทาง Fed จึงเพิ่มปริมาณเงินผ่านตลาด Repo ซึ่งก็คือตลาดปล่อยกู้ในระยะสั้นเพื่อนำเงินเข้าสู่ระบบ โดยเลือกเพิ่มเงินทั้งกับ Repo ข้ามคืน (Overnight) และ เป็นช่วงระยะเวลา (Term) ซึ่งหลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ย Repo ก็ลดลงสู่ระดับเดิม
จากภาพด้านบนจะสังเกตได้ว่าในส่วนของ Liquidity facilities ที่มี Repo เป็นส่วนหนึ่งในนั้นมีปริมาณเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับ Balance sheet ที่เพิ่มขึ้น หรือถ้าจะเปรียบเทียบอย่างง่ายการทำ Repo ก็ไม่ต่างอะไรกับการ QE หรือการอัดฉีดเงินเข้าระบบนั่นเอง
ในส่วนของการทำ Repo แบบมี Term กำหนดเงื่อนไขระยะเวลา จะเห็นได้ว่าในช่วงกลางเดือนธันวาคม ทาง FED มีการทำ Repo ในปริมาณที่เพิ่มอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจะสังเกตได้จากรูปทางซ้ายมือ
ในขณะเดียวกันการทำ Repo แบบ overnight rate ข้ามคืน ก็มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงต้นเดือนมกราคมซึ่งจะสังเกตได้จากรูปทางด้านขวา
หากเทียบกับข้อมูลก่อนหน้าที่มีการทำ Repo ในช่วงเดือนธันวาคมและต้นเดือนมกราคม จะสังเกตได้ว่าเป็นเวลาเดียวกับที่ดัชนี S&P 500 มีการดีดตัวขึ้น ซึ่งสอดคล้องกันและสื่อเป็นนัยยะว่าการทำ Repo อาจจะเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ สำหรับการดีดตัวของตลาดรอบนี้
ในเมื่อการทำ Repo คือการซื้อคืน US Treasuries เพื่อให้เงินเข้าสู่ระบบ จากภาพได้บนจะเห็นได้ว่า ปริมาณ Repo ในระบบและ US Treasuries เพิ่มขึ้นสอดคล้องซึ่งกันและกัน เป็นอีกหนึ่งเครื่องยืนยันว่า Fed น่าจะมีการทำ Repo เพิ่มขึ้นจริงๆ
จากกำหนดการมีความเป็นไปได้ว่า Fed จะมีการทำ Repo ต่ออย่างต่อเนื่องทั้งในรูปแบบ term และ overnight เป็นที่น่าสงสัยว่าตลาดหุ้นจะดันขึ้นไปได้อีกไหมหลังทำจุดสูงสุดใหม่ไปเรียบร้อยแล้ว
นอกจากนั้นยังมีอีกข้อสงสัยว่าตลาดได้เสพติดการอัดเงินเข้าระบบโดยการ Repo ไปแล้วหรือเปล่า? ทาง Fed จะหยุดทำ Repo เมื่อไร? ตลาดจะปรับตัวลงมาไหมหลังจากหยุดทำ? ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าจับตามองในช่วงนี้ เพราะทั้งหมดที่ Fed ทำนั้นเหมือนกับว่าทางธนาคารพาณิชย์อาจจะไม่รอดแล้วหรือเปล่าจนถึงขนาดให้ทาง Fed เข้ามาช่วยอุ้ม
หากคุณคิดจะลงทุนเพิ่มในกองทุนรวม นี้คือสิ่งที่คุณไม่อยากพลาด! สมัครสมาชิกตอนนี้เพื่อรับโพยกองทุนเด็ดที่แนะนำ อัพเดททุกเดือนจาก FINNOMENA
กดที่นี่เพื่อรับโพยกองทุนAdvance, Article, Knowledge, Long Content, Picture Slide