"เอาชนะตลาดในความไม่แน่นอน": Case Study จากสงครามการค้า กับทางเลือกที่คุณกล้าพอไหม?

เมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีทรัมป์ แห่งสหรัฐอเมริกา ทวีตว่าสหรัฐฯ จะปรับขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจาก 10% เป็น 25% ครอบคลุมสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่า 200,000 ล้านดอลลาร์ สร้างความปั่นป่วนต่อตลาดหุ้นทั่วโลก

รูปที่ 1 : MSCI World Index และลำดับเหตุการณ์สงครามการค้า | ที่มา FINNOMENA

ส่งผลให้ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลงกว่า 6% สหรัฐฯ เอเซีย และยุโรป ปรับตัวลงมากกว่า 2% ภายในเวลาเพียง 3 วัน

คำถามคือเหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นในอดีตบ้างหรือไม่

แน่นอน ว่าเคยเกิดขึ้นมาแล้ว และที่สำคัญเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ นายโดนัลด์ ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ด้วยท่าทีอันแข็งกร้าว ที่มุ่งมั่นจะลดการขาดดุลทางการค้ากับคู่ค้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ยุโรป, แคนาดา, เม็กซิโก, ญี่ปุ่น และ คู่ค้าที่เกินดุลสูงสุดอย่างจีน ไปพร้อมๆ กับลดการเสียเปรียบตำแหน่งงาน และผู้อพยพจากประเทศต่างๆ

ซึ่งทุกครั้งที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ดำเนินการด้วยท่าทีแข็งกร้าวนั้น ล้วนแต่ส่งผลต่อตลาดการลงทุนทั่วโลกทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การประกาศล่วงหน้าผ่านทางทวิตเตอร์ส่วนตัวของเขาเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคู่กรณีที่มีขนาดเศรษฐกิจลำดับที่ 2 ของโลกอย่างประเทศจีน

ทำให้คำถามสำคัญต่อมาก็คือแล้วเหตุการณ์เช่นนี้ จะยังเกิดขึ้นในอนาคตอีกหรือไม่?

ใช่ เกิดขึ้นอีกในอนาคตแน่ๆ… คงเป็นคำตอบสั้นๆ ง่ายๆ และสื่อความหมายได้ดีที่สุด

เนื่องจากท้ายที่สุดแล้ว หนึ่งในความสามารถของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ทุกคนคงปฏิเสธไม่ได้นั้นก็คือ ความสามารถในการเจรจาทางการค้าของเขา ซึ่งพิสูจน์มาในหลากหลายเวที ทั้งในกรณีของการลดการขาดดุลกับประเทศญี่ปุ่น, การรื้อข้อตกลง NAFTA ที่มีอายุกว่า 20 ปี การคว่ำบาตรประเทศส่งออกน้ำมันรายใหญ่อย่างอิหร่าน รวมไปถึงกรณีสงครามการค้ากับจีนด้วย

ซึ่งการเจรจาของเขานี่เองที่ทำให้สหรัฐฯ ได้ข้อตกลงใหม่ๆ ที่ดีขึ้น (NAFTA) ลดการขาดดุลได้ (กรณีญี่ปุ่น) มีอำนาจในการกำหนดทิศทางราคาน้ำมันมากยิ่งขึ้น (กรณีอิหร่าน) และ มีโอกาสที่จะเข้าไปทำการค้าในประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศที่มีอำนาจการซื้อสูงเป็นอันดับ 2 ของโลกอย่างเท่าเทียม ซึ่งหมายถึงโอกาสการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้อีกมาก พร้อมกับการันตีเรื่องความปลอดภัยทางทรัพย์สินทางปัญญา ที่เดิมทีเคยเป็นประเด็นหลักที่นานาชาติโจมตีประเทศจีน ถ้าเช่นนั้นแล้วทรัมป์จะหยุดกดดันจีนทำไม?

ทำให้คำถามสำคัญยิ่งกว่าสำหรับนักลงทุนก็คือ แล้วทำอย่างไรดี

คำตอบ ที่ทาง FINNOMENA Investment Team ให้ได้ ก็ยังคงเป็น คำตอบง่ายๆ ที่ใช้ได้ผลดีเสมอ ยามที่เกิดความไม่แน่นอนขึ้น ได้แก่

1. การกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยต่างๆ ส่วนหนึ่งของพอร์ต เพื่อลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนโดยรวมลง ซึ่งในที่นี้ FINNOMENA Investment Team ขอแนะนำ กองทุนรวมกลุ่มตราสารหนี้ทั่วโลก และ กองทุนทองคำ อย่าง UGIS-N และ TMBGOLDS

2. การย้ายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ปลอดภัยชั่วคราว จนกว่าสถานการณ์จะมีความชัดเจนมากขึ้นว่าการเจรจาการค้าจะมีทิศทางที่ดีขึ้นในอนาคตต่อๆ ไป โดยการย้ายไปยังสินทรัพย์ปลอดภัยในที่นี้ มีเป้าหมายหลักก็คือการรักษาอำนาจการซื้อของพอร์ตการลงทุนของท่านเอาไว้ เพื่อให้ท้ายที่สุดแล้ว เมื่อสถานการณ์ผ่านพ้นไป ท่านจะมั่นใจได้ว่าเงินทุนของท่านไม่ลดลงแต่อย่างใด ด้วยกองทุนตราสารหนี้ระยะกลางอย่าง KFAFIX

ทำไมต้อง 3 กองทุนนี้

รูปที่ 2 : กราฟ NAV กองทุน UGIS-N  | ที่มา FINNOMENA

ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

1. UGIS-N

กองทุนตราสารหนี้ชั้นดี จากบริษัทจัดการกองทุนระดับโลกภายใต้การก่อตั้งของ Bill Gross เจ้าของสมญานาม Bond King  ที่มีการบริหารแบบ Active ลงทุนในตราสารหนี้ชั้นดีที่มีการปรับสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งในปัจจุบันนั้นถือครองตราสารหนี้อันดับความน่าเชื่อถือเฉลี่ยถึง A-, ด้วยระดับ Current Yield ที่ 3.97% ภายใต้โอกาสความผันผวนที่ต่ำจาก Duration เพียง 1.82 ปีเท่านั้น เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนสูงสุด ไปพร้อมๆ กับการควบคุมความเสี่ยงให้ทุกท่านมั่นใจได้ว่า การลงทุนในตราสารหนี้ครั้งนี้จะช่วยลดความกังวลของทุกท่านได้อย่างแน่นอน

อ่านฉบับเต็มได้ที่ : https://www.finnomena.com/crisisman/ugis-n/

รูปที่ 3 : การเคลื่อนไหวราคาทองคำและกองทุน TMBGOLDS | ที่มา Bloomberg

ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

2. TMBGOLDS

กองทุนทองคำที่ลงทุนใน ETF ทองคำใหญ่ที่สุดในโลก พร้อมกับป้องกันความเสี่ยงทางด้านค่าเงิน 100% เต็ม เพื่อให้มั่นใจได้ว่า กองทุนทองคำของท่านนั้นจะเคลื่อนไหวล้อตามไปกับราคาทองคำในตลาดโลกอย่างแน่นอนซึ่งโดยทั่วไปแล้วทองคำนั้นมักปรับตัวขึ้น จากความสามารถในการรักษาอำนาจในการซื้อไว้นั่นเอง

อ่านฉบับเต็มได้ที่ : https://www.finnomena.com/tanhnanchya/tmbgolds/

รูปที่ 4 : กราฟ NAV กองทุน KFAFIX | ที่มา : FINNOMENA

ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

3. KFAFIX

กองทุนตราสารหนี้ระยะกลางแบบ Active ที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถลงทุนได้ทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งยังสามารถลงทุนในตราสารหนี้อายุตั้งแต่ 0-5 ปี เพื่อเปิดรับโอกาสทางการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ สอดคล้องกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยไทยและทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันนั้นมีการปรับอายุตราสารหนี้เฉลี่ยขึ้นเป็น 2.91 ปี เพื่อรับโอกาสทางด้านผลตอบแทนที่สูงจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยทรงตัวในระยะนี้ ทำให้มั่นใจได้ว่าอำนาจการซื้อของท่านจะอยู่ครบ หากต้องการที่หลบภัยจากความผันผวนสัก 6-12 เดือน

อ่านฉบับเต็มได้ที่ : https://www.finnomena.com/getwealthsoon/kfafix/

โดยสรุปแล้ว เมื่อเกิดสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน คาดการณ์ไม่ได้ พอร์ตการลงทุนที่มีการกระจายไปยังสินทรัพย์ปลอดภัยจะช่วยพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสครับ


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต / ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต |  ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน