รู้จักกับ FINT Halving เตรียมตัวให้พร้อมเมื่อปริมาณการผลิตของ FINT จะลดลงครึ่งหนึ่ง

ไม่น้อยหน้า Bitcoin กันเลยทีเดียว เพราะ FINT Token เองก็มีกลไกในการลดปริมาณการผลิตลงเรื่อย ๆ เหมือนกัน ซึ่งสิ่งนี้จะส่งผลให้ FINT หายากขึ้นในอนาคต!

แล้วปรากฏการณ์นี้จะส่งผลต่อนักลงทุนอย่างไรบ้าง มีอะไรที่ควรรู้ก่อน มาติดตามกันได้ในบทความนี้เลยครับ

อ่านเพิ่มเติม FINT คืออะไร? 5 เรื่องไม่รู้ไม่ได้ กับเหรียญ FINT โดย FINNOMENA พร้อมคุณประโยชน์จุก ๆ สำหรับนักลงทุน

มาทำความรู้จักกันก่อนว่า Halving คืออะไร?

Halving แปลว่า “ลดลงครึ่งหนึ่ง”

อยากให้ทุกคนลองจินตนาการว่าถ้าอยู่ ๆ วันหนึ่งบริษัท Apple ประกาศว่าจะลดกำลังการผลิต iPhone 14 ลงครึ่งหนึ่ง ทั้ง ๆ ที่จำนวนคนอยากได้ iPhone ยังมีเท่าเดิมหรือเพิ่มมากขึ้น ก็จะทำให้มูลค่าหรือราคาของ iPhone เพิ่มสูงขึ้นทันที เพราะหายากขึ้นนั่นเอง

การทำ Halving เป็นแนวคิดในเชิงเศรษฐศาสตร์ที่ถูกคิดค้นและริเริ่มใช้งานครั้งแรกในปี ค.ศ. 2009 โดยสกุลเงินดิจิทัล (cryptocurrency) สกุลแรกของโลกอย่างบิทคอยน์ (Bitcoin)

สำหรับการทำ Halving ในสกุลเงินดิจิทัล (cryptocurrency) คือ การลดจำนวนอุปทาน (supply) ของเหรียญลง โดยการปรับลดอัตราการสร้างเหรียญลงครึ่งหนึ่ง หลาย ๆ ท่านคงจะคุ้นเคยกับคำว่า Bitcoin Halving หรือก็คือการลดจำนวน BTC ที่จะถูกสร้างออกมาลงครึ่งนึงทุก ๆ 4 ปี เริ่มจาก 50 BTC → 25 BTC → 12.5 BTC → 6.25 BTC ตามลำดับ

เครือข่ายบิทคอยน์จะให้รางวัลตอบแทนแก่นักขุดบิทคอยน์ หรือ Miner เพื่อตอบแทนที่ช่วยตรวจสอบธุรกรรมที่เกิดขึ้นในเครือข่าย ซึ่งหากย้อนกลับไปเมื่อ 15 ปีที่แล้ว บิทคอยน์เริ่มต้นด้วยการแจกรางวัลต่อการสร้างบล็อก 1 ครั้งเท่ากับ 50 BTC แต่ปัจจุบันรางวัลที่นักขุดบิทคอยน์ได้รับจะมีเพียง 6.25 BTC ลดลงตามกลไกการ Halving

แต่ถึงแม้จำนวน Bitcoin ที่นักขุด Miner ได้รับจะลดลงมาก (จาก 50 → 6.25 BTC) แต่ในทางกลับกันมูลค่าของ Bitcoin กลับสูงขึ้นมากเช่นกัน

เพื่อสนับสนุนให้มูลค่าของเหรียญ FINT คงอยู่ได้อย่างยั่งยืน FINT จึงได้รับแรงบันดาลใจจาก Bitcoin ในการออกแบบกลไกในการจัดการอุปทานของโทเคน โดยการประยุกต์ใช้แนวคิดการทำ Halving หรือการลดปริมาณโทเคนด้วยเช่นเดียวกัน

แล้ว FINT Halving คืออะไร?

รู้จักกับ FINT Halving เตรียมตัวให้พร้อมเมื่อปริมาณการผลิตของ FINT จะลดลงครึ่งหนึ่ง

FINT Halving คือ การลดจำนวน FINT ที่จะแจกในโครงการ Invest-to-Earn ลงครึ่งหนึ่ง ปัจจุบัน FINT ถูกแจกเป็นรางวัลตอบแทนให้แก่นักลงทุนที่ซื้อกองทุนผ่าน FINNOMENA โดยเมื่อลงทุน 5,000 บาท ก็จะได้รับ 1 FINT

แต่ด้วยกลไกของ FINT Halving จะทำให้จำนวน FINT ที่จะแจกนั้นลดลงครึ่งหนึ่ง แปลง่าย ๆ ก็คือในอนาคตถ้าลงทุน 5,000 บาทเท่าเดิม จะได้รับ 0.5 FINT แทน

แล้วทำไมต้องมี FINT Halving ด้วยล่ะ?

จากปัญหาของสกุลเงินในปัจจุบันที่ไม่สามารถคงมูลค่าเอาไว้ได้ในระยะยาว เนื่องจากการรวมศูนย์ (centralized) เช่น การที่หน่วยงานกลางพิมพ์เงินใหม่มาโดยไม่มีสินทรัพย์มาพยุงมูลค่าเอาไว้ ทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อตามมา และสุดท้ายส่งผลให้มูลค่าของสกุลเงินนั้นลดลงในระยะยาว

FINT เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว และให้ความสำคัญอย่างมากกับการคงมูลค่าของเหรียญ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเดียวกันกับที่สกุลเงินพบเจอ จึงเป็นที่มาของการประยุกต์ใช้กลไกที่ชื่อว่า Halving

วัตถุประสงค์ของการทำ FINT Halving คือ เพื่อคงมูลค่าของ FINT ให้คงอยู่เอาไว้ได้ในระยะยาว และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการการเฟ้อของเหรียญ FINT (anti-inflation)

กลไกของ FINT เหมือนกับ Bitcoin ไหม?

กลไกการ Halving ของ FINT จะมีความแตกต่างจาก Bitcoin อยู่นิดนึง เนื่องจากโมเดลในการแจกรางวัลของ FINT และ Bitcoin แตกต่างกัน

Bitcoin ใช้ระบบที่ชื่อว่า Proof-of-Work เพื่อหาผู้ที่จะได้รับรางวัลเป็น BTC ส่วน FINT ใช้ระบบที่ชื่อว่า “Proof-of-Investment” เพื่อหาผู้ที่จะได้รับรางวัลเป็น FINT

โดยกลไกของ Bitcoin จะยึดตาม “รอบเวลา” ทุก ๆ 4 ปี จะทำการลดจำนวน BTC ที่จะผลิตลงครึ่งหนึ่ง

ตัวอย่างเช่น

  • ปี 2008 ได้ 50 BTC
  • ปี 2012 จะได้ 25 BTC
  • ปี 2016 จะได้ 12.5 BTC

แล้วกลไก Halving ของ FINT ทำงานอย่างไร?

ส่วนของ FINT จะเป็นกลไกที่ยึดตามจำนวน FINT ที่ถูกแจกออกไปจากระบบ Proof-of-Investment

FINT ที่จะถูกแจกในระบบ Proof-of-Investment หรือ Invest-to-Earn จะมีทั้งหมด 75,000,000 FINT หรือ 25% ของจำนวนอุปทานทั้งหมด (total supply)

ตัวอย่างเช่น

  • 30,000,000 FINT แรก จะได้รับ 1 FINT ต่อการลงทุน 5000 บาท
  • 22,500,000 ล้าน FINT ต่อไป จะได้รับ 5 FINT ต่อการลงทุน 5000 บาท
  • 15,000,000 ล้าน FINT ต่อไป จะได้รับ 25 FINT ต่อการลงทุน 5000 บาท
  • 7,500,000 ล้าน FINT สุดท้าย จะได้รับ 125 FINT ต่อการลงทุน 5000 บาท

โดยจะขึ้นอยู่กับจำนวน FINT ที่ถูกแจก แต่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาเหมือนกับของ Bitcoin

ใครได้ประโยชน์จาก FINT Halving บ้าง?

FINT Halving จะส่งผลโดยตรงต่อจำนวนอุปทาน (supply) ของ FINT ซึ่งจำนวนอุปทานก็ส่งผลโดยตรงต่อมูลค่าของ FINT ในระยะยาว ดังนั้นกลไก FINT Halving จะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อผู้ถือโทเคน เพราะยิ่งเวลาผ่านไป FINT ก็ยิ่งหายากมากขึ้นเรื่อย ๆ

ดังนั้นยิ่งถือเหรียญ FINT ไว้นานเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสได้รับประโยชน์จากกลไก FINT Halving มากเท่านั้น

โดยสรุปแล้ว…

การทำ Halving เป็นหนึ่งในกลไกที่สำคัญมากในโลกคริปโตฯ เพราะจะช่วยรักษามูลค่าของสกุลเงินดิจิทัลให้คงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ทีมงาน FINT Token เองก็ให้ความสำคัญกับมูลค่าของโทเคนในระยะยาว จึงได้ประยุกต์ใช้แนวคิดนี้เข้ามาประกอบในการออกแบบ Tokenomics ของ FINT Token ด้วยอุปทานที่มีจำกัด และกลไกที่ช่วยให้มูลค่าของโทเคนคงอยู่อย่างยั่งยืน เพราะฉะนั้น Halving จึงเป็นกลไกที่สำคัญมากต่อ FINT ครับ

FINT Token Team

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://docs.fint.finance/fint-token/earn-fint-fint/purchasing-mutual-funds

เปิดบัญชีกับ FINNOMENA เดือนมีนานี้รับฟรี 100 FINT

*เงื่อนเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด :
ทางบริษัทขอสงวนสิทธิในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข หรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ อ่านเพิ่มเติม https://www.fint.finance/terms

ข้อสงวนสิทธิ

  1. บริษัท ฟินท์ โทเคนส์ จำกัด (“บริษัท“) เป็นผู้ออกเหรียญ FINT โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ถือเหรียญที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมของบริษัท หรือกิจกรรมอื่นใดตามเงื่อนไขที่บริษัทระบุเท่านั้น
  2. เหรียญ FINT ไม่มีมูลค่าเป็นเงินตรา ไม่อาจก่อตั้งสิทธิในทรัพย์สินของผู้ถือและไม่สามารถซื้อ ขาย โอน หรือแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ ไม่ว่าภายใต้เหตุการณ์ใดเหรียญ FINT จะไม่สามารถซื้อ ขาย โอน แลกเปลี่ยนหรือให้แก่ผู้ใช้ สำหรับการให้ที่มีมูลค่า เป็นเงินตรา หรือการกระทำอื่นใดในลักษณะเดียวกัน
  3. ผู้ถือจะต้องดำเนินการศึกษาข้อมูลของเหรียญ FINT ชนิดดังกล่าวก่อนการดำเนินการรับ หรือใช้สิทธิประโยชน์อย่างใดก็ตามอย่างครบถ้วน ทั้งนี้หากเกิดข้อบกพร่อง ผิดพลาด จากการกรณีที่ศึกษาข้อมูล หรือเข้าใจวัตถุประสงค์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญบิดเบือนจากข้อเท็จจริงดังกล่าว บริษัทจะไม่รับผิดชอบในความประมาทของผู้ถือแต่อย่างใด
  4. บริษัทขอสงวนสิทธิในการยกเลิก แก้ไขเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข หรือสิทธิประโยชน์ต่างๆ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า และให้ถือว่าการตัดสินใจใดๆ ของบริษัทถือเป็นที่สุด