ถ้าพูดถึง “เฮดจ์ฟันด์” เชื่อว่าคนที่อยู่ในแวดวงการลงทุนน่าจะต้องเคยได้ยินคำนี้ผ่านหูกันมาบ้าง แต่ก็เชื่ออีกว่าสำหรับหลายคนแล้ว คำคำนี้ดูเหมือนจะเข้าใจยากอยู่ไม่น้อย และถูกมองว่าเป็นเหมือน “กล่องดำ” ของการลงทุน ไม่ก็เป็นเครื่องมือต่อยอดความมั่งคั่งของบรรดามหาเศรษฐีระดับโลก

ถ้าจะพูดให้ใกล้ตัวเข้ามามากขึ้น เราขอพูดถึงชื่อของ Bridgewater Associates ที่มีจุดเริ่มต้นมาจากอพาร์ตเมนต์ขนาด 2 ห้องนอน ของ Ray Dalio นักลงทุนชื่อก้องโลกและเจ้าของงานเขียนชิ้นสำคัญอย่าง Principles ซึ่งบริษัทแห่งนี้เองก็คือบริษัทบริหารกองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่สร้างชื่อให้กับ Ray Dalio

ทำความรู้จักเฮดจ์ฟันด์

ที่จริงแล้ว กองทุนเฮดจ์ฟันด์มีลักษณะพื้นฐานแบบเดียวกับกองทุนรวม คือ เป็นการระดมเงินลงทุนก้อนใหญ่จากนักลงทุนหลายราย ทั้งประเภทรายย่อยและสถาบัน ทว่าเฮดจ์ฟันด์ก็มีจุดแตกต่างจากกองทุนรวมอยู่หลายประการด้วยกัน

ประเด็นแรก เฮดจ์ฟันด์อยู่ภายใต้ข้อกำหนดของหน่วยงานกำกับดูแลที่เข้มงวดน้อยกว่ากองทุนรวม เช่นในเรื่องของการปกป้องผู้ถือหน่วย การดำรงสภาพคล่อง และ ชนิดหลักทรัพย์ที่ลงทุน จึงทำให้เฮดจ์ฟันด์ต้องกำหนดวงเงินลงทุนขั้นต่ำเอาไว้ในระดับสูง ทำให้มีผู้เกี่ยวข้องในการลงทุนไม่มาก โดยถือว่าผู้ลงทุนมีความรู้ด้านการลงทุนสูงและยอมรับความเสี่ยงได้มาก

ประเด็นต่อมา เฮดจ์ฟันด์สามารถลงทุนในสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ได้อย่างกว้างขวาง เนื่องจากอยู่ภายใต้การกำกับดูแลที่น้อยกว่า เฮดจ์ฟันด์สามารถใช้ตราสารอนุพันธ์ได้อิสระ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาฟิวเจอร์ส (futures) สัญญาฟอร์เวิร์ด (forwards) และสัญญาสวอป (swaps) พูดให้เห็นภาพชัดขึ้น เฮดจ์ฟันด์สามารถใช้กลยุทธ์ Short และ Long เข้ามาใช้บริหารการลงทุนได้ ต่างจากกองทุนรวมที่มีข้อบังคับเรื่องสัดส่วนการใช้ตราสารอนุพันธ์ต่อมูลค่ากองทุน และที่สำคัญคือ เฮดจ์ฟันด์สามารถกู้เงินมาลงทุน (leverage) ได้ เพื่อเร่งผลตอบแทนที่สามารถทำได้ ต่างจากกองทุนรวมในไทยที่มีห้ามกองทุนกู้เงิน 

นอกจากนี้ เฮดจ์ฟันด์สามารถลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย เช่น ปริวรรตเงินตรา อสังหาริมทรัพย์ ไปจนถึงทรัพยากรธรรมชาติ ขณะที่กองทุนรวมมักจะลงทุนในสินทรัพย์ไม่กี่อย่าง เช่น หุ้น พันธบัตร และทองคำ เป็นต้น 

สรุปแล้ว เฮดจ์ฟันด์เป็นการระดมเงินลงทุนก้อนใหญ่จากนักลงทุนหลายราย มีแนวทางการบริหารการลงทุนแบบ Aggressive โดยการใช้เครื่องมือทางการเงินที่หลากหลาย เช่น การใช้กลยุทธ์ Short และ Long หรือการทำ Leverage ต่างจากกองทุนรวมที่มีแนวทางแบบ Conservative มากกว่า

ตัวอย่างกลยุทธ์การลงทุนในเฮดจ์ฟันด์หลากหลายรูปแบบ

  • Long/Short Equity เปิดตำแหน่งซื้อในบริษัทผลงานดีและขายในบริษัทที่มีผลงานไม่ดีในอุตสาหกรรมเดียวกัน
  • Market Neutral รักษาสัดส่วนการลงทุนฝั่งซื้อและขายให้สมดุลกันเพื่อลดความเสี่ยง
  • Merger Arbitrage ทำกำไรจากการควบรวมกิจการด้วยการซื้อหุ้นบริษัทที่โดนเสนอซื้อและ Short บริษัทที่เสนอซื้อ
  • Convertible Arbitrage ทำกำไรจากหุ้นกู้แปลงสภาพที่มีราคาต่างกับหุ้นทั่วไปมาก
  • Fixed-Income Arbitrage ใช้กลยุทธ์ long/short ทำกำไรจากส่วนต่างระหว่างคู่ของตราสารหนี้
  • Global Macro ลงทุนตามแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค
  • Quantitative ใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณ โมเดลทางสถิติ ไปจนถึงอัลกอริทึมในการลงทุน

คำถามคือ แล้วการลงทุนในเฮดจ์ฟันด์มีประโยชน์ต่อนักลงทุนอย่างไรบ้าง?

คำตอบก็คือ ในแง่ของการจัดพอร์ตการลงทุนแล้ว การลงทุนในเฮดจ์ฟันด์จะช่วยในการกระจายความเสี่ยง ลดความผันผวนโดยรวมของพอร์ตลง

ด้วยการที่เฮดจ์ฟันด์สามารถใช้เครื่องมือทางการเงินในการลงทุนได้อย่างหลากหลาย เช่น การใช้ตราสารอนุพันธ์เพื่อการทำกำไรจากการซื้อขายสกุลเงิน เป็นต้น ผลลัพธ์ก็คือผลตอบแทนของเฮดจ์ฟันด์มักจะไม่สัมพันธ์กับสินทรัพย์ทั่วไปมากเท่าผลจากส่วนต่างที่เกิดจากกลยุทธ์การลงทุนของตัวเฮดจ์ฟันด์เอง ซึ่งเรื่องนี้ก็สะท้อนชัดจากค่า correlation ของการลงทุนในเฮดจ์ฟันด์เทียบกับสินทรัพย์ทั่วไปอย่างหุ้นและตราสารหนี้

ตารางแสดงผลตอบแทนต่อปีย้อนหลังและ Correlation ต่อสินทรัพย์พื้นฐานของกองทุนตัวอย่างที่ลงทุนใน Hedge Fund แต่ละประเภท Source: FINNOMENA as of 8/2/2023

ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

*กองทุนหลักตัวอย่างอาจหมายถึงกองทุนหลักในต่างประเทศหรือกองทุนอื่นที่บริหารจัดการด้วยผู้จัดการกองทุนรายเดียวกันด้วยกลยุทธ์ที่เหมือนหรือใกล้เคียงกับกองทุนหลักที่เข้าไปลงทุน แต่อาจมีผลการดำเนินการที่ยาวกว่าหรือ share class ต่างกัน โดยพยายามคัดสรรตัวอย่างจากทางเลือกที่ให้ track record ของผลตอบแทนในอดีตที่ยาวที่สุด ผลตอบแทนในสกุลเงินของกองทุนหลักตัวอย่าง และยังไม่รวมค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่นๆของระดับกองทุนในไทย

ปกติแล้วในการวัดว่าราคาของสินทรัพย์หนึ่งเคลื่อนไหวสัมพันธ์กับอีกสินทรัพย์มากแค่ไหนจะต้องดูจากค่า Correlation ที่มีค่าระหว่าง -1 ถึง 1 หากสินทรัพย์ทั้งสองเคลื่อนไหวสอดคล้องกันโดยสมบูรณ์ (เช่น เมื่อสินทรัพย์ A ราคาขึ้น 1 หน่วย สินทรัพย์ B ก็มีราคาขึ้น 1 หน่วย) ก็จะมีค่านี้เท่ากับ 1 โดยหากมีค่ายิ่งเข้าใกล้ 0 ก็หมายถึงสินทรัพย์เคลื่อนไหวไม่สอดคล้องกัน และถ้ามีค่าเข้าใกล้ -1 เท่าไหร่ ก็หมายถึงสินทรัพย์เคลื่อนไหวตรงข้ามกันเท่านั้น

จากตารางแสดงผลตอบแทนและ Correlation ต่อสินทรัพย์พื้นฐานของกองทุนตัวอย่างที่ลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกข้างบนจะเห็นว่าการลงทุนในเฮดจ์ฟันด์ (คอลัมน์ที่ 3) และการลงทุนในสกุลเงินโดยเฮดจ์ฟันด์ (คอลัมน์ที่ 4) มีค่า Correlation เข้าใกล้ 0 หรือแม้แต่เข้าใกล้ -1 เลยทีเดียว หมายความว่ากองทุนตัวอย่างที่ลงทุนในเฮดจ์ฟันด์ให้ผลตอบแทนไม่สอดคล้องหรือสวนทางกับสินทรัพย์ทั่วไป ซึ่งหมายความว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่กระทบตลาดการลงทุนกระแสหลัก เช่น หุ้น และ ตราสารหนี้ ผลตอบแทนจากเฮดจ์ฟันด์จะช่วยบรรเทาความผันผวนที่เกิดขึ้นกับพอร์ตโฟลิโอได้

อยากลงทุนในเฮดจ์ฟันด์ ต้องทำอย่างไร

สำหรับนักลงทุนที่สนใจเพิ่มเฮดจ์ฟันด์เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของพอร์ตการลงทุนเพื่อกระจายการลงทุนและลดความผันผวนของผลตอบแทน สามารถลงทุนได้ผ่านกองทุน UI หรือกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ (Ultra Accredited Investor Mutual Fund) ซึ่งเปิดโอกาสให้นักลงทุนสามารถเข้าถึงสินทรัพย์ทางเลือกอย่างเฮดจ์ฟันด์ได้

รู้จักกับกองทุน UI เพิ่มเติม
https://www.finnomena.com/fruhling/get-to-know-ui-funds/

นอกจากนี้ กองทุน UI ยังช่วยให้นักลงทุนเข้าถึงสินทรัพย์ทางเลือกอื่น ๆ เช่น อสังหาริมทรัพย์นอกตลาด การซื้อขายกรมธรรม์ประกันชีวิต ไปจนถึงหุ้นนอกตลาด 

เปิดประสบการณ์การลงทุนเหนือระดับ ในสินทรัพย์ทางเลือกใหม่ เอกสิทธิ์เฉพาะนักลงทุนรายใหญ่พิเศษ
👉 ลงทะเบียน คลิก >>> https://finno.me/ui-fund

อ้างอิง


คำเตือน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุน UI จะเสนอขายเฉพาะผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษเท่านั้น โดยกองทุนประเภทนี้เป็นกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน และไม่ถูกจำกัดความเสี่ยงด้านการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนรวมทั่วไป จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่รับผลขาดทุนได้ในระดับสูงเท่านั้น ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนทำการลงทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”