สร้างรายได้ต่อเนื่องพร้อมลดความผันผวน ไปกับกองทุนตราสารหนี้ ASP-DPLUS

ในช่วงนี้เป็นอีกช่วงเวลาหนึ่งของการลงทุนที่ถือได้ว่ายากลำบาก เพราะ ที่ผ่านมาไม่ว่าจะลงทุนในอะไรก็ถือได้ว่า มีความผันผวนไปมาซะหมด อีกทั้งตลาดหุ้นที่ดีดสวนทางขึ้นมา แบบที่เรียกได้ว่าอาจจะดูไม่ค่อยสมเหตุสมผลสักเท่าไร เพราะ สัญญาณการฟื้นตัวเศรษฐกิจก็ยังไม่ได้ชัดเจนขนาดนั้น

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากจะลงทุนในอะไรสักอย่าง แต่ก็ยังกล้า ๆ กลัว ๆ ลงทุนในหุ้น แต่อีกใจนึงก็ไม่อยากให้เงินเฟ้อกัดกินมูลค่าเงินที่คุณลำบากตรากตรำหามาลงทุนเก็บออมไว้ใช้สำหรับยามเกษียณ ผมอยากให้คุณลองพิจารณาสถานที่พักเงินที่ทำผลตอบแทนได้พอ ๆ กับเป้าหมายเงินเฟ้อในช่วงที่ผ่านมา และมีความผันผวนตํ่าถึงแม้ตราสารหนี้จะผันผวนอย่างมากตอนเกิดวิกฤติโควิด ซึ่งที่ ๆ ว่าก็คือกองทุนตราสารหนี้ ASP-DPLUS

สรุปจุดเด่นกองทุน ASP-DPLUS

1) ผลตอบแทนเสถียรไม่ผันผวน

แม้ช่วงวิกฤติที่ผ่านมาที่ตราสารหนี้นั้นมีการเทขาย แต่ผลตอบแทนของทางกองทุนเองก็ยังไม่ผันผวนมาก หรือเรียกได้ว่า ผ่านร้อนผ่านหนาว ได้ดี แม้จะมีวิกฤติเข้ามาแทรกแซง

2) มีการกระจายการลงทุนเพื่อลดความผันผวน

กองทุน ASP-DPLUS มีการกระจายการลงทุนทั้งในส่วนของพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้เอกชนรวมถึงเงินฝาก ซึ่งจะช่วยลดความผันผวนได้ในระยะยาว อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างผลตอบแทนให้ดียิ่งขึ้นได้จากการลงทุนในตราสารหนี้เอกชนต่าง ๆ ที่ให้ผลตอบแทนได้มากกว่า

3) ลงทุนอย่างมีคุณภาพความน่าเชื่อถือ “เกรดลงทุน”

ASP-DPLUS มีเครดิตความน่าเชื่อถือของสินทรัพย์ในพอร์ตเฉลี่ยอยู่ที่ A ถึง A- (TRIS Rating) ซึ่งอยู่ในระดับเกรดลงทุน (Investment grade) ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงในการเบี้ยวหนี้ที่น้อยกว่าการลงทุนในตราสารหนี้เกรดตํ่า ซึ่งมีความเสี่ยงที่สูงต่อการผิดนัดชำระหนี้

4) สัดส่วนเงินทุนที่เหมาะสม

กองทุน ASP-DPLUS เป็นกองทุนที่ให้ความสำคัญกับขนาดเงินทุนที่บริหารจัดการ เพื่อความคล่องตัวในการจัดการเงินทุน ซึ่งจะช่วยลดปัญหาทางด้านสภาพคล่องได้ แต่อาจมีการเพิ่มเติมให้เติบโตยิ่งขึ้น หากสถานการณ์เหมาะสม เพื่อให้นักลงทุนมีความเสี่ยงทางด้านสภาพคล่องที่น้อยลง

5) สภาพคล่องสูง

ด้วยการให้ความสำคัญกับการจัดการขนาดเงินทุนข้างต้น จึงทำให้นักลงทุนมั่นใจได้ว่ากองทุน ASP-DPLUS จะสามารถดูแลสภาพคล่องเงินทุนได้อย่างทั่วถึงเมื่อการซื้อขายมีความผันผวน

6) รางวัลบอกคุณภาพจาก Morningstar

เพิ่มความมั่นใจในการลงทุนด้วยการรับรางวัล Over All Morning Star 4 ดาว ในกลุ่ม Short Term Bond ที่ผ่านการประเมินความเสี่ยงเทียบผลตอบแทน (Risk-adjusted return) กับกองทุนในหมวดหมู่เดียวกัน

ทำไมเราถึงต้องลงทุนในตราสารหนี้

1) หยั่งถึงแต่ไม่อาจหยั่งรู้ เราไม่อาจคาดการณ์ได้ทุกเรื่อง

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าไม่มีใครที่รู้อนาคตได้อย่างแน่นอนและแม่นยำตลอดเวลา และยิ่งเป็นช่วงเวลาที่ภาวะตลาดมีความผันผวน และความไม่แน่นอน อย่างเช่น ปัจจัยเรื่องโรคระบาดที่หากจะให้นักลงทุนหลาย ๆ ท่านมาวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ก็ดูจะไม่สมเหตุสมผลเอาซะเลย

เราศึกษาการวิเคราะห์ธุรกิจ เศรษฐกิจรวมถึงปัจจัยทางเทคนิคต่าง ๆ มันคงจะดูแปลกเอามาก ๆ ที่จะบอกว่าเราสามารถรู้ได้ว่าสถานการณ์โรคระบาดในตอนนี้จะออกมาเป็นหน้าไหน

จริงอยู่ที่เราอาจจะมีความเห็นส่วนตัวแต่อย่างไรก็ตามมันก็คงไม่อาจเท่ากับผู้เชี่ยวชาญอย่างบุคลากรทางการแพทย์ที่คงทำได้ดีกว่าเรา

ในเมื่อเรารู้ว่ามีสิ่งที่เราไม่รู้ สิ่งที่ดีที่สุดก็คือปรับพอร์ตการลงทุนของเราให้เข้ากับสถานการณ์และการลงทุนในตราสารหนี้ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยลดความผันผวนของพอร์ต ในสถานการณ์ที่น่าแคลงใจเช่นนี้

2) ทางเลือกในการสร้าง Passive Income

เมื่อเรานึกถึงการสร้าง Passive Income ในมุมมองของการลงทุน เราอาจจะนึกถึงหุ้นปันผลที่มีความแข็งแกร่ง พื้นฐานบริษัทดี รายได้เติบโตต่อเนื่อง รวมถึงจ่ายเงินปันผลให้กับเราได้สมํ่าเสมอ

แต่ถึงอย่างนั้นเมื่อขึ้นชื่อว่า “หุ้น” แล้วคงไม่มีใครปฏิเสธว่า ความผันผวนนั้นมีมากกว่าตราสารหนี้ ดังนั้นตราสารหนี้จึงอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับนักลงทุนที่ต้องการสร้างกระแสเงินสดมาใช้จ่าย ต่อเนื่อง โดยมีความผันผวนที่น้อยกว่า ซึ่งตราสารหนี้เองก็มีสิ่งที่คล้ายกับพี่ ๆ น้อง ๆ ของเงินปันผล ซึ่งก็คือ “การจ่ายดอกเบี้ยตอบแทน”

สัดส่วนการลงทุนหลักของ ASP-DPLUS

สร้างรายได้ต่อเนื่องพร้อมลดความผันผวน ไปกับกองทุนตราสารหนี้ ASP-DPLUS

ภาพแสดงสัดส่วนพอร์ตการลงทุนกองทุน ASP-DPLUS ที่มา: Asset Plus Fund Management

จากภาพจะเห็นได้ว่าสัดส่วนการลงทุนมีการกระจายขอบเขตอย่างทั่วถึงไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในส่วนของตราสารหนี้ภาคเอกชน (หุ้นกู้เอกชน) ในประเทศไทย รวมถึงมีการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่มีความเสี่ยงและความผันผวนน้อยกว่า เพื่อกระจายความเสี่ยง

อีกทั้งยังมีการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศโดยลงทุนในธนาคารชั้นนำต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างผลตอบแทนของพอร์ตให้งอกเงยได้ดียิ่งขึ้นไปอีก

ดังนั้นเราอาจจะเรียกได้ว่าพอร์ตการลงทุนของกองทุน ASP-DPLUS มีส่วนผสมที่ลงตัวทั้งตราสารหนี้ที่มีโอกาสเติบโต รวมถึงการลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐที่จะช่วยลดความผันผวนยามวิกฤติ เพื่อที่จะเสริมสร้างผลตอบแทนที่คงที่ต่อเนื่องได้ในระยะยาว

ผลตอบแทนที่นิ่งดั่งสายนํ้า ไม่ผันผวนมากแม้ตราสารหนี้ถูกเทขาย

ในส่วนของผลตอบแทนย้อนหลังก็ถือได้ว่าทำได้อย่างคงที่สมํ่าเสมอ ถึงแม้ช่วงวิกฤติที่ผ่านมาตราสารหนี้ต่าง ๆ จะถูกเทขายออกมาอย่างหนัก ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมาหลังตลาดตราสารหนี้นั้นผันผวนเป็นอย่างมาก แต่กองทุน ASP-DPLUS นั้นกลับมีความผันผวนน้อยกว่าแสดงให้เห็นถึงความคงที่ของผลตอบแทน ถึงแม้จะต้องผ่านวิกฤติร้อนหนาวก็ตาม

สร้างรายได้ต่อเนื่องพร้อมลดความผันผวน ไปกับกองทุนตราสารหนี้ ASP-DPLUS

ภาพแสดงผลตอนแทนกองทุน ASP-DPLUS ที่มา: FINNOMENA Fund (วันที่ 22 มิถุนายน 2020)

ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

สร้างรายได้ต่อเนื่องพร้อมลดความผันผวน ไปกับกองทุนตราสารหนี้ ASP-DPLUS

ภาพแสดงพันธบัตรรัฐบาล 1 ปีช่วงที่ถูกเทขาย ที่มา: World Government Bond (วันที่ 22 มิถุนายน 2020)

นอกจากนั้นหากว่ากันในระยะยาวแล้วกองทุน ASP-DPLUS เองก็ถือได้ว่าทำผลตอบแทนได้เหนือเงินฝากปกติ โดยนับตั้งแต่กองทุนมีการจัดตั้งขึ้นมานั้นสามารถสร้างผลตอบแทนได้ถึง *6.42% หรือคิดเฉลี่ยกลม ๆ เป็นปีละเกือบ ๆ 2% นั่นเอง

*ข้อมูลผลตอบแทน ณ วันที่ 18 มิถุนายน 2020

ภาวะดอกเบี้ยตํ่าอาจทำให้เงินฝากของคุณถูกลดมูลค่าโดยไม่รู้ตัว

ในช่วงนี้หลาย ๆ ประเทศรวมถึงไทยเราเองได้มีการลดดอกเบี้ยกระตุ้นเศรษฐกิจกันชุดใหญ่ ซึ่งการลดดอกเบี้ยก็จะทำให้ ดอกเบี้ยเงินฝากลดลงตามไปด้วยเช่นกัน จึงอาจทำให้การฝากเงินแบบปกติในช่วงนี้ได้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างน้อย

สร้างรายได้ต่อเนื่องพร้อมลดความผันผวน ไปกับกองทุนตราสารหนี้ ASP-DPLUS

ภาพแสดงอัตราดอกเบี้ยประเทศไทยที่ 0.50% ที่มา: Tradingeconomics

ภาวะเงินฝืด… โอกาสที่ดีในการหาสินทรัพย์ลงทุน

ถ้าจะอธิบายง่าย ๆ ภาวะเงินฝืดก็คือภาวะที่เงินเฟ้อ (ทำให้มูลค่าของเงินลดลง แต่ทำให้เศรษฐกิจเกิดการซื้อขายสินค้ากัน) อยู่ในระดับตํ่านั่นเอง ซึ่งถ้าจะมองในแง่ร้ายก็คงทำให้เศรษฐกิจฝืดเคืองคนไม่จับจ่ายใช้สอยกัน แต่ถึงอย่างนั้นในทุกวิกฤติก็ย่อมมีโอกาส ข้อดีของภาวะเงินฝืดก็คือหากเราหาจังหวะเข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนได้สมํ่าเสมอก็จะทำให้เราสร้างผลตอบแทนได้มากขึ้นเข้าไปอีก จากการที่เงินเฟ้อนั้นอยู่ในระดับตํ่า

จึงทำให้การลงทุนในกองทุน ASP-DPLUS ที่สร้างผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีเกือบ 2% ยิ่งมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นไปอีก

สร้างรายได้ต่อเนื่องพร้อมลดความผันผวน ไปกับกองทุนตราสารหนี้ ASP-DPLUS

ภาพแสดงการประมาณการเงินเฟ้อ Core Inflation ของประเทศไทย ที่มา: BOT

จากภาพข้างต้นหากคิดง่าย ๆ ก็คือ นำผลตอบแทนเฉลี่ยของกองทุน ASP-DPLUS ที่เกือบ 2% ลบกับเงินเฟ้อที่ -0.1% จากการประมาณการของแบงก์ชาติในปี 2020 ก็จะเห็นได้ว่าเราสามารถสร้างผลตอบแทนได้ถึง 2.03% ในการลงทุน!

ดังนั้นจะเรียกได้ว่า ASP-DPLUS นั้นเป็นกองทุนที่เป็นเพื่อนคู่ใจ สำหรับการปกป้องมูลค่าเงินเก็บในกระเป๋าของคุณจากเงินเฟ้อ ที่จะลดคุณค่าของเงินที่คุณได้หามาอย่างยากลำบาก ก็คงจะไม่ผิดนัก

Credit rating ป้ายบอกคุณภาพตราสารหนี้

หากพูดถึงคุณภาพของสินค้าที่ เครื่องใช้ประจำวัน เราคงนึกถึงเครื่องหมาย อย. หรือ มาตรฐานการผลิตตาม ISO ซึ่งเป็นตัวอย่างง่าย ๆ และถ้าหากทุกคนนึกก็คงจะเห็นภาพตาม ๆ กันว่าเป็นเครื่องยืนยันคุณภาพของสินค้าได้ในระดับหนึ่ง

ในส่วนของตราสารหนี้ต่าง ๆ เองก็มีเครื่องชี้วัดคุณภาพเช่นเดียวกัน ว่าบริษัทหรือรัฐบาลที่ออกพันธบัตรในประเทศนั้น ๆ มีสุขภาพทางการเงินที่แข็งแกร่งเพียงพอที่จะจ่ายดอกเบี้ยให้กับนักลงทุนทุกท่านได้ตรงตามเวลาหรือไม่

กองทุน ASP-DPLUS เองก็มีการลงทุนในตราสารหนี้ที่ดูรวม ๆ แล้วถือว่าอยู่ในเกรดลงทุน (Investment Grade) โดยมี Credit ratings ตามการประเมินของ TRIS Rating อยู่ที่ A หรือ A- หากเฉลี่ยกับตราสารหนี้ทั้งหมดในพอร์ต ซึ่งเรียกได้ว่า “มีคุณภาพดี”

ซึ่งการลงทุนในตราสารหนี้นั้นคงคล้าย ๆ กับการที่เราให้คนแปลกหน้านั้นยืมเงินเรา ดังนั้นการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความน่าเชื่อถือในระดับที่เรียกได้ว่า “เกรดลงทุน” นั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการให้เงินคนที่มีเงินและศักยภาพมากพอในอนาคตที่จะจ่ายผลตอบแทนให้กับเราได้แบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยตรงเวลา ต่างกับการที่เราถือตราสารหนี้เกรดตํ่าเป็นหลัก ซึ่งสถานะการเงินกระท่อนกระแท่น สร้างความเดือดเนื้อร้อนใจให้กับเรา เหมือนกับตอนที่เราให้คนอื่นยืมเงินแล้วลีลาไม่ยอมคืน

เจาะลึกสถานการณ์ตราสารหนี้รูปแบบต่าง ๆ

ในส่วนถัดไปจะเป็นการให้มุมมองสินทรัพย์ต่าง ๆ ว่าตอนนี้สถานการณ์เป็นเช่นไร และมันใช่แล้วหรือยังในตอนนี้

พันธบัตรรัฐบาลกับภาวะดอกเบี้ยตํ่า

หลาย ๆ คนอาจสงสัยว่าหากลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลช่วงนี้ เรายังจะสร้างผลตอบแทนได้อีกหรือไม่ เพราะ การลดดอกเบี้ยเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ราคาพันธบัตรรัฐบาลเติบโต

แต่หากเทียบกับเงินเฟ้อในระดับตํ่าตอนนี้เเล้ว ก็มีโอกาสสูงมากที่ในอนาคตทางแบงก์ชาติจะลดดอกเบี้ยเพิ่มเติม และทำให้ราคาตราสารหนี้ปรับตัวขึ้นมาได้ และกองทุน ASP-DPLUS เองก็มีการลงทุนในส่วนของพันธบัตรรัฐบาลเช่นเดียวกัน ดังนั้นนี่จะเรียกได้ว่าเป็นโอกาสที่มีความเป็นไปได้ในอนาคตอันใกล้นี้ ก็คงจะไม่ผิดนัก

ตราสารหนี้ภาคเอกชนตอนนี้ใช่จังหวะที่จะลงทุนหรือไม่?

หากพูดถึงตราสารหนี้ภาคเอกชน (หุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัท) ถ้านึกย้อนถึงช่วงที่ผ่านมาหลาย ๆ คนก็คงไม่อยากได้ยินชื่อนี้กันสักเท่าไรนัก เพราะ มีความผันผวนจากการเทขาย

แต่ในช่วงนี้หลังมีมาตรการเข้าช่วยต่าง ๆ อาธิ กองทุน BSF ที่จะช่วยเข้าซื้อตราสารหนี้ที่ขาดสภาพคล่องตามหลักเกณฑ์ของ ธปท. อีกทั้งประเทศไทยนั้นยังควบคุมโรคระบาดได้ดีเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก จึงอาจทำให้ภาคธุรกิจกลับมาดำเนินการแบบเต็มประสิทธิภาพได้โดยไว ซึ่งจะทำให้ความกังวลของนักลงทุนเรื่องการล้มละลายของบริษัทนั้นมลายหายไป และไม่รีบขายหุ้นกู้ด้วยความตื่นตระหนก อีกทั้งอาจมีการเข้าซื้อเพิ่มด้วยซํ้าไป หากมีความมั่นใจมากขึ้น

ดังนั้นจะบอกได้ว่าตราสารหนี้ภาคเอกชนตอนนี้ กำลังกลับเข้าสู่ภาวะปกติก็คงจะไม่ผิดนัก… และอาจจะเรียกได้ว่าเป็นโอกาสก็ว่าได้

เงินฝาก/ตราสารหนี้ ต่างประเทศดีกว่าในประเทศจริงหรือ?

สร้างรายได้ต่อเนื่องพร้อมลดความผันผวน ไปกับกองทุนตราสารหนี้ ASP-DPLUS

สร้างรายได้ต่อเนื่องพร้อมลดความผันผวน ไปกับกองทุนตราสารหนี้ ASP-DPLUS

สร้างรายได้ต่อเนื่องพร้อมลดความผันผวน ไปกับกองทุนตราสารหนี้ ASP-DPLUS

ภาพธนาคารต่างประเทศที่คาดว่าจะลงทุน ที่มา: สไลด์นำเสนอการขาย บลจ. Asset Plus

จะเห็นได้ว่าธนาคารที่ทางกองทุนเองมีแนวโน้มที่จะลงทุนนั้นหลัก ๆ อยู่ในประเทศจีนและประเทศในตะวันออกกลาง ซึ่งอาจจะทำให้หลาย ๆ คนเกิดความสงสัยว่าทำไมถึงไม่เป็นธนาคารในยุโรปและอเมริกาเป็นหลัก

ในส่วนถัดไปนี้จึงจะเป็นการแจกแจงว่าทำไมการฝากเงินและการซื้อตราสารจากธนาคารในจีนและตะวันออกกลางถึงเป็นโอกาสที่มีความน่าสนใจ

ประเทศจีนแข็งแกร่งอย่างไร

1) ฟื้นตัวได้ไวจากวิกฤติโควิด

คงไม่มีใครปฏิเสธว่าจีนเป็นประเทศที่สามารถควบคุมโรคระบาดได้อย่างรวดเร็ว จนเป็นแบบอย่างให้กับประเทศอื่น ๆ อย่างเช่นการใช้มาตรการปิดเมือง จึงอาจทำให้ระบบการเงินของจีนในตอนนี้กลับมาดำเนินการได้ตามปกติ จากการที่ภาคส่วนต่าง ๆ กลับมาทำหน้าที่ได้อีกครั้ง

2) เครดิตประเทศในระดับที่ดี

ประเทศจีนนั้นเป็นหนึ่งในประเทศยักษ์ใหญ่ที่หลาย ๆ คนกล่าวขานว่ามีศักยภาพที่จะเติบโตมาเป็นประเทศผู้นำโลกได้ในอนาคต แต่นั้นก็คงจะเป็นคำพูดลอย ๆ หากไม่มีการประเมินอะไรใด ๆ มายืนยันเพิ่มเติม ซึ่งสิ่งที่ยืนยันความน่าเชื่อถือของประเทศก็คงหนีไม่พ้น Credit ratings เครื่องหมายการวัดความน่าเชื่อถือเช่นเคย

จากภาพก็จะเห็นได้ว่าประเทศจีนนั้นมีระดับความน่าเชื่อถือที่ดีกว่าไทยในระดับหนึ่ง โดยประเทศจีนนั้นมีความน่าเชื่อถือของประเทศอยู่ที่ A+* ในขณะที่ประเทศไทยนั้นอยู่ที่BBB+* จึงอาจเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ ASP-DPLUS มีการลงทุนในประเทศจีน

3) อุตสาหกรรมธนาคารที่มีขนาดใหญ่และมั่นคง

ธนาคารในประเทศจีนที่ทางกองทุน ASP-DPLUS มีแนวโน้มที่จะเข้าไปลงทุนนั้นล้วนแต่มีขนาดที่ใหญ่กว่าธนาคารในไทยทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็น Bank of China ที่มีขนาดสินทรัพย์ที่ใหญ่กว่าธนาคารไทยถึง 5.37 เท่า และมีกำไรสุทธิมากกว่า 4.99 เท่า ของอุตสาหกรรมธนาคารไทย หรือจะเป็น Industrial and Commercial Bank of China ธนาคารพาณิชย์อันดับ 1 ในจีนที่มีกำไรสุทธิมากกว่า 8.5 เท่าของอุตสาหกรรมธนาคารไทย รวมถึงสินทรัพย์ที่มากกว่า 7.11 เท่า เช่นกัน

อีกทั้งยังมีความจริงที่ว่าธนาคารของจีนนั้นยังเป็นของรัฐและถูกจดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นฮ่องกงอีกด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือและมั่นคงที่มากกว่าธนาคารพาณิชย์ทั่ว ๆ ไป

กลุ่มประเทศตะวันออกกลางมีข้อดีอย่างไร?

เมื่อนึกถึงกลุ่มประเทศตะวันออกกลางหลาย ๆ คนอาจจะนึกถึงความไม่แน่นอนทางการเมือง รวมถึงแคลงใจถึงสถานะการเงินของประเทศ แต่หากเรามาดูข้อมูลสนับสนุนกันก่อน เราอาจจะมองการลงทุนกลุ่มประเทศนี้เป็นอีกมุมหนึ่งก็เป็นได้

1) Credit ratings ในระดับที่ดีกว่า

ในส่วนของ Credits ความน่าเชื่อถือนั้นกลุ่มประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นั้นอยู่ที่ AA* ซึ่งอยู่ในอันดับที่ดีกว่าไทยที่ BBB+*

2) กองทุนความมั่นคงแห่งชาติที่พร้อมสนับสนุนเงินทุนยามวิกฤติ

ในช่วงนี้กลุ่มประเทศตะวันออกกลางอาจประสบปัญหาทางด้านแรงกดดันจากราคานํ้ามัน แต่ถึงอย่างนั้น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีกองทุนความั่นคงแห่งชาติที่มีเงินทุนสนับสนุนสำรองถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ ราว ๆ 34 ล้านล้านบาท (ตามอัตราแลกเปลี่ยนวันที่22 มิถุนายน 2020 เวลา 09.45 นาฬิกา) ซึ่งคิดเป็น 230% ของ GDP ประเทศไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมั่นคงที่มากกว่ายามเกิดวิกฤติ

*Credit ratings ใช้เกณฑ์เทียบเคียงของ S&P

ทำไมถึงต้องลงทุนในกองทุน ASP-DPLUS

1) ทางเลือกในการสร้างกระแสเงินสดที่มีความมั่นคง

สำหรับนักลงทุนที่มีเงินทุนขนาดใหญ่ และต้องการสร้างกระแสเงินสด ในความผันผวนที่น้อยกว่า

2) หนึ่งในตัวช่วยลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุน

พิสูจน์ด้วยช่วงก่อนหน้าที่ราคาตราสารหนี้มีความผันผวน แต่ ASP-DPLUS ก็ยังผันผวนน้อยกว่า ดังนั้นจึงอาจใช้เป็นหนึ่งในตัวเลือกสำหรับการจัดการพอร์ตการลงทุน ยามที่ตลาดไม่สมเหตุสมผลและผันผวนรุนแรง

3) ผลตอบแทนอันดับ 1 ในหมวดตราสารหนี้ระยะสั้น

กองทุน ASP-DPLUS สามารถสร้างผลตอบแทนได้เป็นอันดับ 1 ในหมวดหมู่ตราสารหนี้ระยะสั้น

แสดงให้เห็นถึงผลตอบแทนที่เหนือกว่ากองทุนอื่น ๆ ในหมวดหมู่เดียวกัน

สร้างรายได้ต่อเนื่องพร้อมลดความผันผวน ไปกับกองทุนตราสารหนี้ ASP-DPLUS

ข้อมูลภาพจาก FINNOMENA Fund วันที่ 21 มิถุนายน 2020

ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

จากภาพจะเห็นได้ว่าผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปีของ ASP-DPLUS  นั้นอยู่ที่อันดับ 1 ในหมวดหมู่ตราสารหนี้ระยะสั้นนับ ซึ่งทางกองทุนเองได้จัดตั้งมาเพียง 3 ปีเศษเท่านั้น

ข้อควรระวังก่อนลงทุน

1) ภาวะดอกเบี้ยตํ่า

ภาวะดอกเบี้ยตํ่าในตอนนี้อาจส่งผลให้ราคาตราสารหนี้ในบางส่วนอาจไม่เติบโต แต่ถึงอย่างนั้นก็จะถูกชดเชยด้วยอัตราผลตอบแทน (Yield) ที่สูงขึ้น (แต่ทำให้ผลตอบแทนในเรื่องของราคาลดลงเช่นกัน) อีกทั้งการกระจายการลงทุนไปในตราสารหนี้เอกชนที่ช่วงก่อนหน้านั้นมีอัตราผลตอบแทนที่สูง ก็อาจชดเชยผลตอบแทนที่อาจถูกลดหลั่นจากภาวะดอกเบี้ยตํ่าลงไปได้

2) การลงทุนในกลุ่มธนาคาร

เนื่องมาจากสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในรอบนี้ยังไม่ชัดเจน จึงอาจทำให้การลงทุนในตราสารรวมถึงเงินฝากในกลุ่มธนาคารมีความเสี่ยงได้ เนื่องมาจากธุรกิจกลุ่มธนาคารต้องการแรงหนุนจากการกู้ยืมของผู้คน

และอาศัยการขึ้นดอกเบี้ย เพื่อที่จะทำส่วนต่างกำไรได้เพิ่มมากขึ้นได้ อีกทั้งยังต้องการดอกเบี้ยที่มากขึ้นจึงจะสามารถดึงดูดปริมาณการฝากเงินจากผู้คน แต่ด้วยภาวะเงินฝืดในตอนนี้อาจทำให้เกิดการปรับขึ้นดอกเบี้ยได้ค่อนข้างยาก และอาจทำให้การลงทุนในกลุ่มธนาคารได้รับผลกระทบ

3) ความเสี่ยงทางด้านสภาพคล่อง

การลงทุนในเงินฝากธนาคารอาจทำให้เกิดปัญหาทางด้านสภาพคล่องได้ เนื่องจากมีระยะเวลากำหนดฝากเงิน รวมถึงเป็นการลงทุนในเงินฝากต่างประเทศซึ่งใช้ระยะเวลาดำเนินการไถ่ถอนที่นานกว่า ดังนั้นหากมีการถอนทุนจำนวนมากอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในส่วนนี้

Jessada Sookdhis

Investment Analyst (IA)

ตรวจทานบทความ

คำเตือน

ทำความเข้าใจลักษณะสินค้าเงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

ผลการดำเนินงานในอดีตและผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย

บทความดังกล่าวถูกเขียน และเรียบเรียงโดยใช้ดุลยพินิจ ของบลจ.ฟินโนมีนา และอ้างอิงข้องมูลบางส่วนจากทาง บลจ. แอสเซท พลัส

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แอสเซทพลัส จำกัด และ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

References

https://www.bot.or.th/Thai/FinancialMarkets/Pages/BSF.aspx

https://www.bot.or.th/thai/statistics/_layouts/application/interest_rate/in_rate.aspx

https://tradingeconomics.com/thailand/interest-rate

http://www.worldgovernmentbonds.com/bond-historical-data/thailand/1-year/