RMF-high-dividend

ในยามหุ้นฝ่าพายุฝน มีกอง RMF ที่ผมคิดว่าน่าสนใจลงทุนมาก ๆ ซึ่งเหมาะสำหรับนักลงทุนที่อยากได้การลงทุนที่มีรายได้จากเงินปันผลสูง ๆ ขณะที่ความผันผวนของราคาน้อยกว่าหุ้น และต้องการประโยชน์จากการกระจายการลงทุนสำหรับพอร์ตการลงทุนในภาพรวม  ซึ่งที่ผ่านมาในยามที่หุ้นตกหนักกองทุนนี้สามารถสร้างผลตอบแทนในรูปเงินปันผลสูงถึงประมาณ 6 – 8% และยังสามารถสร้างผลตอบแทนรวม (เงินปันผล + Capital gain) นับแต่ต้นปีสูงถึง 15.3% (ข้อมูล ณ วันที่ 25 ธ.ค. 58) โดยรายละเอียดของกองทุนเป็นอย่างไร ไปชมกันครับ

กองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล พร็อพเพอร์ตี้ อินคัมเพื่อการเลี้ยงชีพ (CIMB-PRINCIPAL iPROPRMF)

ขอเรียกสั้น ๆ ว่า iPROPRMF ละกันครับ กองทุุนนี้เน้นลงทุนในกองทุนอสังหาฯ และ REIT ที่เสนอขายในบ้านเรา เริ่มต้นลองไปดูหน้าตาพอร์ตกันเลยครับ

ScreenHunter_552 Dec. 26 11.01

ที่มา บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล

Top Holdings ของกองทุนมีตั้งแต่ห้างสรรพสินค้าชั้นนำอย่าง Central, ห้างค้าปลีก Tesco Lotus, สนามบินสมุย, IMPACT Arena เมืองทองธานี ไปจนถึง Office Tower ของกลุ่ม CP โดยหลักการก็คือเมื่ออสังหาฯ ชั้นนำเหล่านี้ได้รับค่าเช่า ก็ทำการส่งต่อค่าเช่ามาในรูปเงินปันผล ทีเด็ดอยู่ตรงที่ว่าหากเราลงกองทุนอสังหาฯ หรือ REIT เหล่านี้โดยตรงเราจะโดนภาษีเงินปันผล 10% แต่เวลาลงผ่านกองทุน RMF กองทุนจะนำเงินปันผลที่ได้จากอสังหาฯ เหล่านี้ไปลงทุนต่อ (Reinvest) เท่ากับว่าเราไม่ต้องเสียภาษีเงินปันผลเหมือนเวลาลงทุนเองโดยตรงด้วยครับ เด็ดมั้ยล่ะ

ผลตอบแทน STRONG ในยามหุ้นฝ่าพายุฝน

ScreenHunter_551 Dec. 26 10.59

ที่มา บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล

ประโยชน์จากการกระจายการลงทุนหรือ Diversification เห็นได้ชัด ๆ เลยครับ ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาที่ตลาดหุ้นปรับลงมามาก กองทุนนี้กลับสร้างผลตอบแทนสูงถึงกว่า 15% (ข้อมูล ณ สิ้นเดือน พ.ย. 58) บอกได้คำเดียวว่า STRONG ! นอกจากนี้ทีมผู้จัดการกองทุนยังมีประสบการณ์บริหารกองนี้มาอย่างยาวนานเกิน 3 ปี โดยกลยุทธ์การลงทุนของ CIMB-Principal นั้นเป็นสไตล์แบบ Bottom Up เป็นรายตัว ซึ่งวิธีวิเคราะห์กองทุนอสังหาฯ และ REIT โดยมากจะต้องทำ Free Cash Flow Model เพื่อดูมูลค่าที่เหมาะสมของแต่ละกองทุนอีกที แน่นอนว่าสินทรัพย์บางตัวมีลักษณะเป็น Leasehold มีครบกำหนดอายุการลงทุนด้วย ซึ่งการใช้ FCF จะช่วยทำให้เราได้ทราบถึงมูลค่าแท้จริงของสินทรัพย์ประเภทนี้อีกด้วย นอกจากนี้หากมาดูกันที่ความผันผวนของกองทุนจะพบว่าต่ำกว่าหุ้นมากอีกด้วย

PFund Vs SET

ที่มา Reuters Bisnews Professional

ทีมผู้จัดการกองทุนที่มีประสบการณ์และแยกส่วนบริหารชัดเจน

หากดูกันที่่ทีมผู้จัดการกองทุนของ CIMB-Principal ซึ่งนำโดย CIO คุณวิน พรหมแพทย์, CFA ในสมัยที่อยู่ประกันสังคมก่อนคุณวินจะมาเป็นหัวหน้าทีมการลงทุนทั้งหมดคุณวินเคยทำงานในตำแหน่ง “หัวหน้างานลงทุนต่างประเทศและอสังหาริมทรัพย์” มาก่อนซึ่งแน่นอนว่าประสบการณ์ของ CIO คนนี้ผมเชื่อว่าจะสามารถช่วยนำทีมได้อย่างยอดเยี่ยม ขณะที่คุณวิทยา เจนจรัสโชติ หัวหน้าทีม ก็มีประสบการณ์ในการลงทุนในสินทรัพย์ประเภท REIT และ Property Fund มาอย่างยาวนาน  นอกจากนี้ยังมี Fund Manager อีก 2 ท่านคือคุณ วรวิทย์ และคุณสิริอนงค์ รวมเป็น 4 คนเลยทีเดียวสำหรับการบริหารกองทุนนี้ ซึ่งน่าจะมีประสิทธิภาพดีสำหรับการดูแลการลงทุนรายตัวได้อย่างครบถ้วนสำหรับการลงทุนกองนี้

ขณะที่หลาย ๆ บลจ. จะใช้ทีมงานในฝ่ายกองทุนหุ้น มาดูกองทุนลักษณะนี้ แต่ที่ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิลเค้าลงทุน โดยตั้งแผนกแยกต่างหากจากฝ่ายหุ้น และฝ่ายตราสารหนี้ มาดูการลงทุนทางเลือกรวมไปถึงการลงทุนต่างประเทศโดยตรง เพื่อให้ทีมงานมี focus ชัดเจน จึงเป็นอีกจุดแข็งที่สำคัญที่ผมตัดสินใจเลือกกองทุนนี้เป็นอีกกองทุน RMF แนะนำครับ

 

ทั้งหมดนี้ก็เป็นกองทุน RMF ที่ผมแนะนำ โดยกอง CIMB Principal Property Income RMF เหมาะกับนักลงทุนที่อยากได้รับเงินปันผลสูง ๆ ขณะที่ความผันผวนต่ำกว่าหุ้น รวมถึงได้ประโยชน์จากการกระจายการลงทุน เหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง หรือนักลงทุนที่ใกล้จะเกษียณหรือมีแนวโน้มจะถอนเงินในระยะเวลาอันใกล้ ขณะที่นักลงทุนที่อยากเน้นเรื่องโอกาสสร้างผลตอบแทนในระยะยาวโดยพร้อมจะทนความผันผวนระยะสั้นแนะนำอ่าน กองทุน RMF แนะนำ สำหรับโอกาสเติบโตแบบ STRONG !!  สำหรับวันนี้สวัสดีครับ