svi-opp

เวลาที่บริษัทเค้าบอกว่ามี Opportunity day มันคืออะไร ไปแล้วจะรู้อะไรไหม ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง วันนี้เราจะมาเล่าให้ฟังกัน ส่วนบริษัทที่เราจะพาทัวร์ในวันนี้คือ SVI ในช่วง Q4/2015 จ้า

บริษัทนี้ทำธุรกิจอะไร

บริษัททำธุรกิจ EMS (Electronics Manufacturing Services) รับผลิตตั้งแต่แผงวงจร PCB จนไปถึงรับงานตั้งแต่ออกแบบดีไซน์และผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปพร้อมส่งให้กับลูกค้า รวมไปถึงงานระบบขนาดใหญ่ บริษัทเน้นผลิตสินค้าให้ลูกค้าที่จับตลาดในกลุ่ม Niche Market และ Industrial เป็นหลัก

จากโรงงานหลักที่มีอยู่แห่งเดียวในนิคมอุตสาหกรรมบางกะดี ด้วยพื้นที่การผลิต 27,000 ตร.ม. สายการผลิตทั้งหมด 14 สาย ถูกไฟไหม้ไปหมดในช่วงปี2014 ทำให้ต้องย้ายมาเปิดโรงงานสำรองที่แจ้งวัฒนะ มีพื้นที่การผลิตแค่ 9,700 ตร.ม. ทำการผลิตส่งของให้ลูกค้าในช่วงสิ้นปี แต่ผลิตได้แค่สินค้าที่จำเป็นเท่านั้น เริ่มฟื้นฟูโรงงานหลักในช่วง Q1-Q2/2015

หลังจากนั้นบริษัทก็รีบฟื้นฟูกำลังการผลิตในส่วนโรงงานหลักมาเรื่อยๆ ตั้งแต่
– SVI 2B พื้นที่การผลิต 7,600 ตร.ม. สร้างเสร็จภายใน 2 เดือนกว่าๆ เน้นผลิตสินค้ากลุ่ม industrial ที่ทำได้ยากๆ เริ่มทยอยผลิตและส่งให้ลูกค้าไปก่อน
– ถัดมาเริ่มฟื้นฟูโรงงาน SVI 2A โรงงานเริ่มผลิตได้ในเดือนเม.ย. พื้นที่การผลิต 12,500 ตร.ม. เน้นผลิตสินค้าที่เป็น Hi-Volume ทำให้ยอดขายในช่วง Q2-Q3 ออกมาดีขึ้น ปัจจุบันกำลังการผลิตราวๆ 70%
– ก่อสร้าง SVI 2M ที่เป็นโรงงานใหม่ ขยายกำลังการผลิตเพิ่ม พื้นที่การผลิต 6,500 ตร.ม. สร้างเสร็จเดือนพ.ย. เริ่มผลิตในปี2016 อยู่ระหว่างดึงลูกค้าเข้ามา
– โรงงาน SVI-5 เพิ่งสร้างเสร็จช่วงต้นปี2016 มีพื้นที่การผลิต 18,000 ตร.ม. ตามแผนถ้าลงเครื่องจักรและผลิตได้เต็มสามารถรองรับยอดขายได้ 240m$ ต่อปี
– SVI AEC โรงงานใหม่ในกัมพูชา พื้นที่การผลิต 17,700 ตร.ม. ไว้เตรียมรองรับการผลิตสินค้าชนิดใหม่ (ได้สิทธิ GSP ใช้เป็นฐาน Distributor ได้) คาดว่าโรงงานสร้างเสร็จในช่วงปลายปี2016
– ในช่วง Q1/2016 ทำดีลซื้อกิจการทั้งหมดจากกลุ่ม Seidel Electronics จากที่เลือกมาทั้งหมด 10 บริษัท โดยให้ SVI EU ที่เป็นบริษัทลูกเข้าซื้อกิจการ

บริษัทเอาเงินไปใช้อะไรบ้างนะ

เหตุผลที่ตัดสินใจซื้อกิจการ Seidel (มีโรงงานผลิต 3 แห่งในออสเตรีย ฮังการีและสโลวาเกีย, ศูนย์ออกแบบผลิตภัณฑ์ 2 แห่งในเวียนนาและสโลวาเนีย) ***ผู้บริหารไม่ได้ระบุว่าซื้อมาราคาเท่าไร***
– ต้องการขยายฐานลูกค้าใหม่ที่อยู่ในเยอรมันและประเทศที่ใช้ภาษาเยอรมันสื่อสารเป็นหลัก (ลูกค้ากลุ่ม Automotive, Medical, Transportation)
– บริษัทในเยอรมันก็มีกฏหมายด้านแรงงานที่เข้มงวด เทียบกับบริษัทในสวิตฯหรือออสเตรียที่เข้มงวดน้อยกว่า
– มีธุรกิจที่ใกล้เคียงกับ SVI และมีพนักงานทีพร้อมจะ ramp-up ได้ทันที โดย SVI จะส่งงานที่เป็น high margin แต่ผลิตจำนวนน้อยให้ Seidel ผลิต ส่วนสินค้าที่เน้นใช้แรงงานคนเยอะจะแบ่งมาทำที่ไทยหรือ SVI AEC ผลิตแทน)
– ช่วยเสริมในด้าน Marketing Strategy ในการเจาะตลาด EU ทำให้บริษัทมีฐานโรงงานอยู่ใกล้กับลูกค้า สินค้าขนาดใหญ่สามารถผลิตและขนส่งได้, งานที่เน้น Hi-Premium grade หรือที่มีกำหนดว่าต้องผลิตใน EU เท่านั้นบริษัทก็เริ่มเข้าไปบิดแข่งได้เช่นกัน
– ดีลนี้ส่งผลให้ SVI มีฐานการผลิตให้ลูกค้าใน EU ได้ครบวงจร (ตั้งแต่งานออกแบบ, ทำการผลิต พร้อมขนส่งให้ลูกค้า)ส่งผลให้โรงงานของ SVI เป็นโรงงานและเครื่องจักรที่ทันสมัยที่สุด ไม่มีความจำเป็นต้องขยายโรงงานเพิ่มในอีก 4-5 ปีข้างหน้า ส่วนโรงงานสำรองที่แจ้งวัฒนะ เก็บไว้รอขายหากได้ราคาดี

เป้าหมายบริษัทในปี2016 มีอะไรบ้าง

– บริษัทยังเหลือเรียกเงินค่าประกันจากเหตุไฟไหม้อีกราวๆ 1,300 ลบ. จากส่วน Business Interruption และค่าประกันเครื่องจักร
– Q1 เริ่มรับรู้รายได้จาก SVI EU แค่เดือนมี.ค. เดือนเดียว
– ช่วง Q2 จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มจากการผลิตสินค้า prototype ให้ลูกค้าตรวจสอบก่อนสั่งซื้อจริง ปกติใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ทำให้ NPM ช่วงนี้จะต่ำกว่าปกติ
– NPM จะเริ่มฟื้นกลับมาในช่วง Q3-Q4 และดีกว่าที่บริษัทเคยทำได้ แต่จะไม่เกิน 10% ตามลักษณะธรรมชาติของธุรกิจ EMS
– ค่าประกันภัย บริษัทจ่ายอยู่เดือนละราวๆ 2 ลบ. (จากก่อนไฟไหม้ทั้งปีจ่ายแค่ 2 ลบ.) ยังอยู่ในการต่อรองราคาขอลดค่าประกัน
– ตามแผนงานรายได้ในปี2016 อยู่ที่ 370-400m$ (โรงงานในไทย 270m$, SVI EU 100m$ ส่วนที่เหลือเป็นลูกค้าใหม่ที่จะมาเพิ่มในปีนี้)
– CAPEX ปีนี้เน้นลงทุนในยุโรปและกัมพูมชาเป็นหลัก ประมาณ 600 ลบ. และพยายามจะรักษาระดับ CAPEX ให้อยู่ที่ปีละ 400 ลบ. ในปีต่อๆไป

เป้าหมายของผู้บริหาร

– เน้นลงทุนยกระดับ Technology ของบริษัทให้เหนือกว่าบริษัทในเอเชียทั่วไป วางแผนยกระดับขึ้นไปเทียบเท่ากับของญี่ปุ่น พยายามสร้างความแตกต่างให้คู่แข่งได้เห็นอย่างชัดเจนหากคิดจะเข้ามาแข่งกับบริษัท
– ไม่รับงานแบบผลิตเน้นวอลุ่มเยอะๆ กำไรบางๆ แต่มุ่งเน้นรับงานที่เป็น Hi-Technology, Hi-Margin เป็นหลัก
– วางแผนภายใน 5 ปีเพิ่มยอดขายไปแตะ 1,000 m$
– ลักษณะของธุรกิจ EMS อัตรากำไรสุทธิจะไม่เกิน 10% (สูงกว่านี้ลูกค้าจะเริ่มบ่น) สิ่งที่บริษัทจะพัฒนาต่อไปคือเพิ่มในส่วน Desire Offering ทำให้ NPM สูงขึ้นได้
– ที่ผ่านมา GPM ของ SVI อยู่ระหว่าง 11-14% เชื่อว่าหลังมีการ Synergy กับ SVI EU ผู้บริหารเชื่อว่า GPM จะขึ้นมาที่ 14% แล้วจะรักษาระดับ NPM ให้ได้เฉลี่ยที่ 9-10% (NPM จะดีขึ้นอีกถ้างานส่วน Desire Offering ทำได้ตามแผน)

svi1 svi2 svi3 svi4 svi5 svi6 svi7

พามาทัวร์แบบนี้น่าจะพอเห็นกันคร่าวๆแล้วนะครับว่าการไป opportunity day มีความสำคัญกับนักลงทุนยังไง ต่อไปถ้ามีคำถามจะไปถามผู้บริหาร หรือ อยากฟังแผนการของบริษัทที่เราลงทุนไปว่าจะไปต่อทิศทางไหนก็เข้าไปฟังกันได้แบบไม่ต้องเขินแล้วนะครับ