KAsset Global Perspective Portfolio

ปรับพอร์ต Global Perspective ในไตรมาสที่สาม 2024

KAsset Global Perspective Portfolio

ที่มา: บลจ. กสิกรไทย วันที่ได้รับเอกสาร: วันที่ 26 มิถุนายน 2024

น้ำหนักในพอร์ต Global Perspective เมื่อเทียบกับ Benchmark

KAsset Global Perspective Portfolio

 ที่มา: บลจ. กสิกรไทย วันที่ได้รับเอกสาร: วันที่ 26 มิถุนายน 2024

กลยุทธ์การลงทุนในส่วนของ Core Port เพื่อลงทุนระยะยาว

ตราสารหนี้ Overweight

  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับขึ้นมาพอสมควรจากเดือนก่อน จาก 2 ปัจจัย 1. โอกาสลดดอกเบี้ย ถูกเลื่อนออกไป หรือเกิดขึ้นได้น้อยลงในปีนี้ 2. การขาดดุลเพิ่มเติมเพื่อโครงการ digital wallet ของภาครัฐ ยังมองว่าเป็นโอกาสสะสม
  • กรอบตราสารหนี้ไทย พันธบัตรรัฐบาล 10 ปี อยู่ที่ 2.55 – 2.90% คาดว่า ธปท. จะลดดอกเบี้ย 1 ครั้งในช่วงปลายปี
  • สำหรับตราสารหนี้ไทย ระยะยาว แนะนำสะสม K-FIXED-PLUS

ตราสารทุน Overweight

  • มีการปรับเพิ่มน้ำหนักสำหรับอินเดียเป็น Overweight หลังจากการเลือกตั้งที่พรรค BJP ยังได้คะแนนเสียงข้างมาก
  • กำไรของบริษัทจดทะเบียนในทั้งอเมริกา ยุโรป และอินเดีย ออกมาแข็งแกร่ง ทำให้เรายังคงแนะนำทยอยลงทุน
  • เปลี่ยนกอง K-EUX เป็น K-EUROPE จากการที่กองทุนเริ่มให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า และสร้าง aIpha ได้
  • ลดน้ำหนักญี่ปุ่นในพอร์ต เนื่องจากค่าเงินเยนอ่อนที่เริ่มทำให้ตลาดกังวล และการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียนที่เริ่มแผ่ว
  • คงน้ำหนักหุ้นจีน underweight จากนโยบายของภาครัฐที่ยังไม่เพียงพอ และภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่ฟื้นตัว

สินทรัพย์ทางเลือก Neutral

  • แนะนำลงทุนใน K-GOLD และ K-PROPI 3% ในพอร์ตเพื่อกระจายความเสี่ยง

ดู Fund Fact Sheet กองทุนที่เพิ่มน้ำหนัก/ปรับเข้า

กลยุทธ์การลงทุน ในส่วนของ Satellite Port ปรับพอร์ตในไตรมาสาม

Return Seeking เพื่อหาผลตอบแทนเพิ่มเติมในระยะสั้น

  • ขาย K-SF-A เข้า K-GLOBE ซึ่งเป็นดัชนีหุ้นโลก (แบบไม่ป้องกันความเสี่ยง) เรามองว่า บรรยากาศการลงทุนยังเป็น Risk on แต่ควรกระจายความเสี่ยงเนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนจากการเลือกตั้งเข้ามาค่อนข้างมาก
  • คง K-VIETNAM ไว้ตามเดิม และมองว่าจังหวะที่ตลาดปรับฐาน เป็นโอกาสเข้าซื้อ ด้วย Earnings growth ที่สูงประมาณ 20% และเป็นกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวกับผู้บริโภคที่เติบโตได้ดี และ valuation ยังที่ไม่แพง

Diversifier เพื่อกระจายความเสี่ยงจาก Core Portfolio

  • K-GHEALTH คงเดิม แนะนำเข้าลงทุน หรือทยอยสะสม เพื่อกระจายความเสี่ยงได้
  • K-HIT คงเดิม แนะนำเข้าลงทุน หรือทยอยสะสม เพื่อกระจายความเสี่ยงได้

ดู Fund Fact Sheet กองทุนที่เพิ่มน้ำหนัก/ปรับเข้า

Asset Allocation

KAsset Global Perspective Portfolio ปรับพอร์ตเดือนกรกฎาคม 2024 KAsset Global Perspective Portfolio ปรับพอร์ตเดือนกรกฎาคม 2024

 ที่มา: บลจ. กสิกรไทย วันที่ได้รับเอกสาร: วันที่ 26 มิถุนายน 2024

Know The Markets : Monthly Best Idea โดย KAsset และ JPMAM

Know The Markets : Monthly Best Idea

ECB เริ่มลดดอกเบี้ยตามคาด…แต่ยังไม่สามารถประกาศชัยชนะเหนือเงินเฟ้อ

ECB มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ตามที่ตลาดคาด ท่ามกลางเงินเฟ้อที่ชะลอตัวช้าลง

Know The Markets : Monthly Best Idea

 ที่มา: บลจ. กสิกรไทย วันที่ได้รับเอกสาร: วันที่ 26 มิถุนายน 2024

  • ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงตามที่สื่อสารก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก (Deposit Facility Rate) หนึ่งในดอกเบี้ยนโยบายของ ECB ปรับลงมาอยู่ที่ 3.75% จากเดิม 4.0% ซึ่งเป็นการลดดอกเบี้ยครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2019 และเป็นการเริ่มลดดอกเบี้ยนำหน้าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) อีกด้วย
  • หากดูอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของยูโรโซนจะพบว่า เริ่มปรับลดลงในอัตราที่ข้ากว่าในช่วงก่อนหน้านี้ หลังจากลดลงมาค่อนข้างเร็วจากจุดสูงสุดที่ 10.6% ในเดือนต.ค. 2022 โดยล่าสุดเงินเฟ้อเดือน พ.ค. 2024 กลับมาขยายตัวเร่งขึ้นที่ 2.0% จาก 2.4% ในเดือน เม.ย. และมากกว่าที่ตลาดคาด ทำให้ ณ ตอนนี้อาจจะยังเร็วเกินไปที่ ECB จะประกาศได้ว่ามีชัยชนะเหนือเงินเฟ้อ
  • ด้วยภาพเช่นนี้ ECB จึงได้มีการปรับประมาณการเงินเฟ้อสำหรับปี 2024 และ 2025 ขึ้นเล็กน้อยเป็น 2.5% และ 2.2% ตามลำดับ สะท้อนว่าเงินเฟ้อมีแนวโน้มจะอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายของ ECB ที่ 2% ไปจนถึงปีหน้า

ทิศทางการดำเนินนโยบายของ ECB ต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร ?

เรามองว่า ECB มีแนวโน้มลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้อีก 1- 2 ครั้งในช่วงการประชุมรอบเดือน ก.ย. ถึง ธ.ค. แต่ต้องจับตาพัฒนาการด้านเงินเฟ้อ

Know The Markets : Monthly Best Idea

 ที่มา: บลจ. กสิกรไทย วันที่ได้รับเอกสาร: วันที่ 26 มิถุนายน 2024

  • นางคริสตีน ลาการ์ด ประธาน ECB กล่าวหลังการประชุมเดือน มิ.ย ว่ายังคงต้องดำเนินนโยบายการเงินอย่างระมัดระวัง และขึ้นอยู่กับข้อมูลเศรษฐกิจ (Data Dependent) เป็นสำคัญ ซึ่งหมายถึงจะพิจารณาข้อมูลเศรษฐกิจเป็นรายเดือนไปและไม่จำเป็นที่จะต้องลดดอกเบี้ยลงอย่างต่อเนื่อง โดยบางการประชุมอาจมีมติคงดอกเบี้ยไว้ก่อนก็เป็นได้
  • นอกจากนี้ ECB ไม่ได้มีการให้ Forward Guidance หรือการส่งสัญญาณให้ตลาดรับรู้ถึงแนวโน้มการลดดอกเบี้ยในอนาคต เหมือนอย่างในช่วงก่อนหน้า เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบาย
  • สำหรับในระยะถัดไป เรามองว่า ECB มีแนวโน้มลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้อีก 1-2 ครั้งในการประชุมรอบเดือน ก.ย. และ ธ.ค. แต่ยังมีความเสี่ยงที่จะเลื่อนออกไป หากเงินเฟ้อชะลอลงข้า หรือการเติบโตของค้าจ้างแรงงานยังค้างอยู่ในระดับสูงนานกว่าที่คาด

การลดดอกเบี้ยของ ECB เป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นยุโรป แต่ยังคงให้น้ำหนักการลงทุนเป็น Neutral

กำไรบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นยุโรปเริ่มถูกปรับประมาณการขึ้น และในระยะยาว ผลตอบแทนตลาดหุ้นจะเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับคาดการณ์กำไร

Know The Markets : Monthly Best Idea

ที่มา: บลจ. กสิกรไทย วันที่ได้รับเอกสาร: วันที่ 26 มิถุนายน 2024

  • จากสถิติในอดีต พบว่า ในช่วง 6 เดือน หลังการลดดอกเบี้ยนโยบายของ ECB ตลาดหุ้นยุโรปมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ และจะสามารถปรับตัวขึ้นได้ต่อเนื่อง หากเศรษฐกิจขยายตัวดี และไม่เผชิญภาวะถถอย ทำให้เรามองว่าปัจจุบันตลาดหุ้นยุโรปมีความน่าสนใจมากขึ้น ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ส่วน Valuation อยู่ในระดับใกล้เคียงค่าเฉลี่ยในอดีตที่ราว 13-14 เท่า
  • อย่างไรก็ดี เรายังคงแนะนำน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นยุโรปเป็น Neutral จากทิศทางการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียนในปี 2507 ที่แม้จะมีแนวโน้มถูกปรับคาดการณ์ขึ้น แต่ยังขยายตัวในระดับที่ต่ำกว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่เราให้น้ำหนักเป็น Overweight (EPS Growth ปี 2024 ของตลาดหุ้นยุโรปคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 5% เทียบกับสหรัฐฯ 11%) ซึ่งในระยะยาว ผลตอบแทนของตลาดหุ้นจะสอดคล้องกับการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียน
  • นอกจากนี้ หากเปรียบเทียบ ROE หรืออัตราการทำกำไรต่อทุน จะพบว่าบริษัทในตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยรวม มี ROE ที่สูงกว่าบริษัทในตลาดหุ้นยุโรป รวมทั้งมีอัตราการทำกำไร (Proft Margin) ที่สูงกว่าด้วย

Earning Growth

Know The Markets : Monthly Best Idea

ที่มา: บลจ. กสิกรไทย วันที่ได้รับเอกสาร: วันที่ 26 มิถุนายน 2024

จากภาพจะเห็นว่า Earning ของประเทศต่าง ๆ มีแนวโน้มที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

Global equities: Valuations

Know The Markets : Monthly Best Idea

ที่มา: บลจ. กสิกรไทย วันที่ได้รับเอกสาร: วันที่ 26 มิถุนายน 2024

จากภาพ จะเห็นว่า Valuation ของประเทศสหรัฐฯ อยู่ในระดับสูง เราจึงแนะนำให้กระจายความเสี่ยงบ้าง

CORE-SATELITE PORTFOLIO : สรุปมุมมองไตรมาส 3/2024 ของบลจ. กสิกรไทย

  • ยังคงมีมุมมองที่ดีสำหรับตลาดหุ้นโลก จากเศรษฐกิจในประเทศฝั่ง Developed market ที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจไปในทิศทางเดียวกัน
  • เรามุมมองที่ดีขึ้นสำหรับยุโรป (ปรับจาก underweight เป็น neutral) จาก valuation ที่ต่ำ และกำไรที่มีการปรับประมาณการณ์ขึ้น และการที่ธนาคารกลางเริ่มต้นการลดดอกเบี้ย
  • เน้นการให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นโลก และตราสารหนี้ และมองว่าเศรษฐกิจจะยังขยายตัวได้ต่อเนื่องจากปี 2024 และ 2025
  • ความเสี่ยงคือผลการเลือกตั้งในประเทศต่าง ๆ ที่ผลอาจจะออกมาไม่เหมือนที่ตลาดคาด ทำให้เกิด ความผันผวนระยะสั้น

 

สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน KAsset Global Perspective Portfolio สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >> แอปฯ Finnomena
ผ่านคอมพิวเตอร์ >>  เว็บไซต์ Finnomena สำหรับลูกค้าที่สนใจลงทุนใน KAsset Global Perspective Portfolio คลิกที่นี่เพื่อสร้างแผนการลงทุน


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด มหาชน หรือ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299 | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299