Krungsri The Masterpiece อัปเดตมุมมองเดือนเมษายน 2020: ยังคงให้น้ำหนักการลงทุนส่วนใหญ่ในสินทรัพย์เสี่ยง

มุมมองตลาดปัจจุบัน

สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงระบาดรุนแรงในหลายประเทศ โดยจำนวนผู้ที่ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ส่งผลให้หลายประเทศประกาศปิดประเทศชั่วคราว เพื่อสกัดการระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นผลให้เศรษฐกิจของหลายประเทศรวมถึงประเทศที่มีความเกี่ยวข้องทางเศรษฐกิจหยุดชะงักในหลาย ๆ ด้าน ทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ  ในขณะที่รัฐบาลและธนาคารกลางของหลายประเทศพยายามลดผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยการใช้ทั้งมาตรการทางการเงินและการคลัง อาทิเช่น ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศลดดอกเบี้ยลงรวม 1.5% ในการประชุมฉุกเฉิน 2 ครั้ง ภายใน 2 สัปดาห์ และประกาศ QE แบบไม่จำกัดวงเงิน ธนาคารกลางยุโรป และธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบจำนวนมาก เป็นต้น

การระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ขยายตัวไปในหลายภูมิภาค กอปรกับการที่กลุ่มโอเปกและรัสเซียเริ่มสงครามราคาน้ำมันหลังจากที่รัสเซียปฏิเสธที่จะปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกดิ่งลงอย่างรุนแรง ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลกกลับพุ่งขึ้นในช่วงกลางเดือนมีนาคม และราคาทองคำยังคงมีความผันผวนสูง สะท้อนว่านักลงทุนมีความไม่มั่นใจต่อสถานการณ์โดยรวม โดยนักลงทุนส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงความเสี่ยงและหันมาถือเงินสดมากขึ้น

ทั้งนี้ หลายฝ่ายเห็นตรงกันว่าการระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นปัจจัยชั่วคราว แต่ความไม่แน่นอนว่าปัจจัยชั่วคราวจะยาวนานเพียงใด ซึ่งอาจยาวนานถึงช่วงสิ้นปีนี้ ส่งผลให้ตลาดยังคงมีความผันผวนสูง อย่างไรก็ดี การที่มีข่าวการค้นพบวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง เป็นสัญญาณที่ดีว่าปัญหาการระบาดของไวรัสโควิด-19 จะเบาบางลงในอนาคต

ดังนั้น การที่ตลาดหุ้นและตราสารหนี้ปรับตัวลดลงอย่างมาก โดยตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงเฉลี่ยราว 20% ในขณะที่ตลาดหุ้นไทยร่วงลงถึง 30% (ณ วันที่ 27 มีนาคม 2563) ส่งผลให้ตลาดหุ้นมีความน่าสนใจมากขึ้นและมีโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวมากขึ้น โดยหากปัญหาการระบาดของไวรัสโควิด-19 คลี่คลายลง ราคาหุ้นและตราสารหนี้จะกลับมาสะท้อนปัจจัยพื้นฐาน ท่ามกลางนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษ  ทั้งนี้ บลจ. กรุงศรีฯ คาดว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกจะหดตัวรุนแรง และยังคงหดตัวในไตรมาส 2 และ 3 ของปีนี้

ในส่วนของตราสารหนี้ ผู้จัดการกองทุนมีมุมมองเชิงบวกมากขึ้นต่อการลงทุนตราสารหนี้ระยะกลาง-ยาว เนื่องจากภาวะดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำทั่วโลก และทิศทางการดำเนินนโนบายของธนาคารกลางที่ยังคงเอื้อต่อการลงทุน โดยในช่วงที่ผ่านมาอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้พุ่งขึ้นแรง จึงเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าลงทุน

ในภาพรวม ทีมผู้จัดการกองทุนยังคงให้น้ำหนักการลงทุนส่วนใหญ่ในสินทรัพย์เสี่ยง ที่มีโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีมากขึ้น ในขณะที่โอกาสในการรับผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้ปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ดี คาดว่าความผันผวนในตลาดอาจยังคงมีอยู่อีกอย่างน้อย 2 – 3 เดือน

พอร์ตการลงทุน

Krungsri The Masterpiece อัปเดตมุมมองเดือนเมษายน 2020: ยังคงให้น้ำหนักการลงทุนส่วนใหญ่ในสินทรัพย์เสี่ยง

Krungsri The Masterpiece อัปเดตมุมมองเดือนเมษายน 2020: ยังคงให้น้ำหนักการลงทุนส่วนใหญ่ในสินทรัพย์เสี่ยง

กองทุนแนะนำสำหรับการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์/ภูมิภาค

กองทุนตราสารหนี้ในประเทศ

KFAFIX-A:

  • ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาการลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลางถึงยาวได้รับประโยชน์อย่างมากจากการปรับตัวลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ภายหลังธนาคารแห่งประเทศไทยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง นอกจากนั้นผลกระทบจากปัญหาการระบาดของไวรัสต่อเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มจะยืดเยื้อและรุนแรงกว่าที่เคยคาดไว้ จนทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ จัดประชุมวาระพิเศษเพื่อปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง ร้อยละ 5 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ที่ผ่านมา บลจ.กรุงศรีมีมุมมองในช่วงเวลา 3 เดือนข้างหน้าว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายทั้งของสหรัฐฯ และไทยมีแนวโน้มจะลดลงได้อีก โดยเฉพาะหากปัญหาการระบาดของไวรัสยังมีแนวโน้มควบคุมไม่ได้ อย่างไรก็ดีเนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของไทยและสหรัฐฯ ได้ปรับตัวลดลงค่อนข้างมากแล้วจึงคาดว่าตลาดตราสารหนี้จะมีความผันผวนสูงขึ้นตามสถานการณ์ บลจ. จึงแนะนำให้จัดสรรเงินลงทุนในกองทุนประเภทนี้เฉพาะเงินลงทุนระยะยาวที่ไม่ต้องการสภาพคล่องในระยะสั้น
  • กองทุนตราสารหนี้ระยะกลาง-ยาว: เพื่อโอกาสในการรับผลตอบแทนที่ดีขึ้นจากการลงทุนในตราสารหนี้ จึงควรลงทุนในกองทุนที่มีการบริหารเชิงรุก (Active Management) โดยการปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับภาวะตลาดในแต่ละช่วง โดยแนะนำกองทุน KFAFIX ซึ่งมีนโยบายการลงทุนที่มีความยืดหยุ่นเพิ่มมากขึ้น สำหรับ นักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้ระดับสูง

กองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ

KF-SINCOME/ KF-CSINCOM:

  • การลดลงของอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ญี่ปุ่นและอังกฤษ เช่นเดียวกันกับตราสารหนี้สหรัฐฯ ส่งผลเสียต่อสถานะขายสุทธิของกองทุนบนตราสารหนี้กลุ่มดังกล่าว เช่นเดียวกันกับ Credit spread ที่ปรับตัวกว้างขึ้นส่งผลลบต่อตราสารหนี้ภาคเอกชนในกองทุนเช่นกัน อย่างไรก็ตามทรัพย์สินคุณภาพสูงของกองทุนมีส่วนช่วยลดปัจจัยลบดังกล่าว และการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจช่วยคลายความกังวลของตลาด และอาจส่งผลทางอ้อมให้ Credit spread ปรับตัวแคบลงได้ในอนาคต
  • ขยายโอกาสการลงทุนด้วยการเพิ่มความยืดหยุ่นในการกระจายการลงทุนในตราสารหนี้หลากหลายประเภทที่มีศักยภาพทั่วโลก มุ่งเน้นรายได้ที่สม่ำเสมอจากการลงทุนเป็นตัวขับเคลื่อนผลตอบแทน ทั้งนี้กองทุนKF-SINCOME เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มองหาแหล่งสร้างผลตอบแทนในรูปแบบรายได้ประจำ และ KF-CSINCOM เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการสะสมความเติบโตของผลตอบแทนไว้ในกองทุน

กองทุนตราสารทุนในประเทศ

KFENS50-A:

กองทุนเน้นการลงทุนในตราสารทุนของบริษัทจดทะเบียนที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี SET 50

กองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ

Developed market equity

KFGBRAND:

  • กองทุนปรับตัวลงตามตลาดหุ้นโลก ถือเป็นโอกาสที่ดีในการซื้อ เนื่องจากความผันผวนในตลาดหุ้น ทำให้นักลงทุนต้องการถือครองสินทรัพย์ที่ปลอดภัย รวมทั้งหุ้นที่มีคุณภาพสูง ดังนั้นการลงทุนในหุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วโลกที่มีแบรนด์ที่แข็งแกร่ง เติบโตสม่ำเสมอในระยะยาว ทนทานในทุกวัฏจักรเศรษฐกิจ ดูมีความน่าสนใจในตลาดที่ผันผวนแบบนี้
  • กองทุนหลักเน้นลงทุนในบริษัทชั้นนำระดับโลก โดยมุ่งเน้นการลงทุนในบริษัทที่มีคุณภาพสูง มีแบรนด์ที่แข็งแกร่ง มีแหล่งรายได้กระจายอยู่ทั่วโลก ซึ่งจะได้ประโยชน์จากการที่ผู้บริโภคมีความสามารถในการใช้จ่ายมากขึ้น             ตามเศรษฐกิจที่ดีขึ้น

KF-HUSINDX:

  • การระบาดของ COVID-19 ในสหรัฐฯ ทำให้ตลาดกังวลเรื่องผลกระทบที่จะมีต่อเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ทาง FED, การลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.5% ในการประชุมในนัดพิเศษ และคาดว่าจะมีการปรับลดอีกครั้งในเดือน มี.ค. นี้ ซึ่งอาจเป็นแรงส่งให้ตลาดสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม การระบาดที่สหรัฐฯ เพิ่มเริ่มขึ้นและคาดว่าจะเห็นตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอาจเพิ่มความผันผวนให้ตลาด
  • กองทุนหลักเน้นลงทุนใน iShares Core S&P500 ETF ซึ่งจะมีผลการดำเนินงานที่ใกล้เคียงกับการเคลื่อนไหวของดัชนี โดยคาดการณ์การเติบโตยังคงมีอย่างต่อเนื่องจากปัจจัยพื้นฐานที่ปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับนโยบายต่าง ๆ ของภาครัฐ เช่น การปฎิรูปภาษี การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น

KF-EUROPE/ KF-HEUROPE:

  • ตลาดยุโรปได้รับแรงกดดันหลังจากที่ COVID-19 ระบาดไปในหลายพื้นที่ยุโรปซึ่งมีจุดเริ่มต้นขึ้นที่อิตาลี นักลงทุนกังวลเรื่องความสามารถของยุโรปในการควบคุมโรค อีกทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจ โดยตลาดคาดว่าทางธนาคารกลางยุโรปจะมีการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือภาคเศรษฐกิจ
  • กองทุนหลักเน้นลงทุนในหุ้นของยุโรปที่ได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง โดยนักลงทุนอาจพิจารณาลงทุนใน KF-HEUROPE เพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

Emerging market equity

KFACHINA-A:

  • การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในประเทศจีนมีทิศทางชะลอลง โดยตลาดคาดหวังว่าจะเริ่มเห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากจีนมากขึ้น ทั้งการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมและกระตุ้นจากภาครัฐ ซึ่งจะเป็นเป็นผลดีต่อตลาด โดยที่ผ่านมาจีนมีการลดดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นและระยะกลางลง อีกทั้งมาตรการเงินกู้ให้กับภาคที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19
  • กองทุนหลักเน้นลงทุนในหุ้นจีน A-Shares ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการอุปโภคบริโภคและภาคบริการที่มีแนวโน้มได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและการปฏิรูปเศรษฐกิจในระยะยาว

Multi-Asset  

KFAINCOM:

  • ในช่วงที่ภาวะตลาดทุนมีแนวโน้มผันผวนจากการระบาดของ COVID-19 การลงทุนแบบ Multi-Asset Income Fund ซึ่งเป็นกระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ ทั้งหุ้น ตราสารหนี้และสินทรัพย์ทางเลือกจะช่วยลดความเสี่ยงในช่วงที่ตลาดปรับตัวผันผวน ขณะที่ยังคงได้รับผลตอบแทนในระดับที่น่าสนใจ
  • กองทุนหลักเน้นการกระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ โดยผู้จัดการกองทุนหลักจะมีการปรับสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ ทั้งนี้ กองทุนหลักเน้นการลงทุนในภูมิภาคเอเชียเป็นหลัก เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ไม่ประสงค์จะกระจายการลงทุนด้วยตนเอง

Krungsri Asset Management

Krungsri The Masterpiece อัปเดตมุมมองเดือนเมษายน 2020: ยังคงให้น้ำหนักการลงทุนส่วนใหญ่ในสินทรัพย์เสี่ยง


หมายเหตุ:

  • กองทุน KFGBRAND, KF-EUROPE, KFACHINA-A ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
  • กองทุน KF-SINCOME, KF-CSINCOM, KFAINCOM, KF-HUSINDX, และ KF-HEUROPE ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน

คำเตือน  ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต  กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน อาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน  ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้   กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน อาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น   กองทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้  (non-investment grade) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) ผู้ลงทุนจึงอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ย  เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูลแต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด โทร  0 2657 5757