Krungthai Belief Allocation ปรับพอร์ตเดือน ม.ค. 2022 : สวัสดีปีเฟ้อ

สรุป 5 สมมุติฐานสำคัญต้นปี 2022

1) Omicron ไม่ค่อยรุนแรง แม้ยังไม่ชัด 100% แต่ความเห็นเบื้องต้นจากหลายผู้เชี่ยวชาญระบุอาการป่วย “ไม่ค่อยรุนแรง” วัคซีนที่มีอยู่ปัจจุบันน่าจะช่วยลดความเสี่ยงได้ อาจมีมาตรการคุมโรคเข้มงวดขึ้นบ้างทว่า ประเทศส่วนใหญ่ไม่น่าล็อกดาวน์

2) เศรษฐกิจสหรัฐยังเติบโตได้ดี ตลาดแรงงานแกร่ง ยอดผู้ขอสวัสดิการว่างงานใกล้จุดต่ำสุดครึ่งทศวรรษ US treasury yield curve “ชันขึ้น” ส่วนต่างยีลด์ 10 ปี – 2 ปี (10Y-2Y spread) ฟื้นจากจุดต่ำสุดในรอบกว่า 1 ปี

Krungthai Belief Allocation ปรับพอร์ตเดือน ม.ค. 2022 : สวัสดีปีเฟ้อ

3) เงินเฟ้อสหรัฐสูงลากยาว รายการที่ไม่โดนผลกระทบชั่วคราวจากโควิดก็ราคาพุ่ง สะท้อนความหนึบ (stickiness) ของเงินเฟ้อ ผลสำรวจ ธ.ค. ผู้บริโภคอเมริกันคาดเงินเฟ้อเฉลี่ย 1 ปี 4.8% ใกล้จุดสูงสุดตั้งแต่ปี 2008 ความคาดหวังระยะยาว 5-10 ปี 2.9% เงินเฟ้อสูง” ซึมเข้าไปถึง “ทัศนคติ” ส่งผลต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับราคาในระยะยาวของครัวเรือนและธุรกิจแล้ว เราจึงไม่เห็นด้วยกับมุมมองแบบผิวเผินที่ว่า “ฐานราคาสูงเมื่อปีก่อนจะทำให้เงินเฟ้อ (YoY) ลดลงเองในปีนี้”

4) เฟดพยายามคุมเงินเฟ้อจริงจัง (แต่ยัง behind the curve ไล่ไม่ทันเงินเฟ้อ) QE tapering ถูกเร่งให้จบเร็วกว่าเดิม เตรียมขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้งปีนี้และอีก 3 ครั้งปีหน้า ทว่าดอกเบี้ยแท้จริงและยีลด์แท้จริงยังติดลบหนัก กระตุ้นการเติบโตและเงินเฟ้ออยู่ดี

5) จีนลดหนี้เสร็จแล้วหันมาผ่อนคลาย สนับสนุนการเติบโต PBOC ลดอัตรากันสำรอง (RRR) 0.5% (15 ธ.ค.) ปล่อยสภาพคล่องระยะยาว 1.2 ล้านล้านหยวน เพื่อประคองเศรษฐกิจพร้อมเลี่ยงความเสี่ยงเชิงระบบจากการผิดนัดชำระหนี้อสังหาฯ ณ เวลาที่ credit impulse ต่ำใกล้ “จุดกลับตัว” หลายครั้งในอดีต “วัฏจักรลดหนี้” (deleveraging cycle) คงสิ้นสุดลงแล้วเริ่มเข้าสู่โหมด re-leveraging สินเชื่อใหม่น่าจะเร่งขึ้นในระยะถัดไปเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตตามทิศทางของรัฐบาล

Krungthai Belief Allocation ปรับพอร์ตเดือน ม.ค. 2022 : สวัสดีปีเฟ้อ

“สมมุติฐานเงินเฟ้อ” สำคัญมากต่อการวางกลยุทธ์ เราเลือกข้าง inflationista “เงินเฟ้อสูงลากยาว” แม้เฟดเร่งลด QE ขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้งก็ยังตามหลังเงินเฟ้ออยู่ดี แต่ไม่คิดว่าเป็น stagflation เพราะตลาดแรงงานสหรัฐแข็งแกร่ง นโยบายจีนหันมาผ่อนคลายสนับสนุนการเติบโต สถานะลงทุนหลักๆจึงออกแนว reflation รับประโยชน์จากเงินเฟ้อโดยใช้ KT-FINANCE, KT-JAPAN-A และ KT-JPFUND-A เป็นหลัก ส่วนหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีเลือก KT-EUROTECH-A เนื่องจาก ECB น่าจะขึ้นดอกเบี้ยช้ากว่าเฟด ตลาดยูโรโซนจึงมี “สภาพคล่อง” เหนือกว่าตลาดสหรัฐ เป็นปัจจัยหนุนระดับราคาหุ้นยุโรปในเชิงเปรียบเทียบ (หุ้นยุโรปควรแพงกว่าหุ้นสหรัฐถ้าตัวแปรอื่นๆเท่ากัน)

สับเปลี่ยนออก KT-WTAI-A, KT-CLIMATE-A ทั้งหมด

สับเปลี่ยนเข้า KT-EUROTECH-A เพิ่มอีก 5% เป็น 15%

สับเปลี่ยนเข้า KT-FINANCE 15%

Krungthai Belief Allocation ปรับพอร์ตเดือน ม.ค. 2022 : สวัสดีปีเฟ้อ

คำเตือน: ความเห็นส่วนบุคคล ไม่ใช่คำแนะนำการลงทุน

Krungthai Asset Management

สำหรับลูกค้าที่ลงทุนใน Krungthai Belief Allocation สามารถดูพอร์ตการลงทุนได้ตามช่องทางนี้
ผ่านมือถือ/Tablet >>แอปฯ FINNOMENA
ผ่านคอมพิวเตอร์ >>  เว็บไซต์ FINNOMENAสำหรับลูกค้าที่สนใจลงทุนใน Krungthai Belief Allocation คลิกที่นี่เพื่อสร้างแผนการลงทุน

โปรดทราบ สำหรับลูกค้าฟินโนมีนาที่ลงทุนใน FINNOMENA PORT และได้รับบทความนี้ แต่ยังไม่ได้รับอีเมลและ/หรือ Notification ในการแจ้งสัดส่วนเงินในการเข้าลงทุน อาจเกิดจาก

1) ท่านอยู่ระหว่างการทำรายการซื้อขายกองทุน ซึ่งทางฟินโนมีนาจะแจ้งเตือนอีกครั้งภายใน 1 สัปดาห์หลังจากการทำรายการซื้อขายเสร็จสิ้น
2) ท่านมีจำนวนเงินลงทุนต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่แนะนำ

หมายเหตุ หากท่านไม่ประสงค์ที่จะรอรับการแจ้งเตือน ท่านสามารถดูรายละเอียดของพอร์ตการลงทุนที่แนะนำผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นของฟินโนมีนาพร้อมปรับพอร์ตเข้าลงทุนได้ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID: @FINNOMENAPORT


คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน |  ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด มหาชน หรือ บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”