Trade War: จีน/สหรัฐฯ ใครได้ ใครเสีย

Trade War มิใช่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยสหรัฐฯ เคยได้รับบทเรียนจาก Smoot Hawley Tariff Act เมื่อปี 1932 

โดยสภาคองเกรสโหวตตั้งกำแพงภาษีกับประเทศต่าง ๆ ดังรูป ผลลัพธ์คือการส่งออกและเศรษฐกิจสหรัฐฯ ร่วงลงอย่างไม่เป็นท่าในปีต่อมา

จนกระทั่ง ประธานาธิบดี แฟรงกิน รูสเวลท์ ได้เซ็นออกกฎหมาย Reciprocal Trade Agreements Act (RTAA) ในปี 1934 โดยให้อำนาจต่อประธานาธิบดีในการเจรจาเพื่อลดกำแพงภาษีนำเข้ากับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จนสหรัฐฯ ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ยึดถือนโยบายการค้าเสรีมาโดยตลอด จนประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ มาใช้ในการเพิ่มกำแพงภาษีนำเข้าเป็นครั้งแรกกับหลายต่อหลายประเทศ ดังจนเป็นข่าว Trade War ในขณะนี้

ในภาพใหญ่ตอนนี้ ทรัมป์อาศัยจังหวะตอนเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เข้มแข็งในตอนนี้ชิงความได้เปรียบออกมาตรการ Trade War ทว่าหาก Trade War ไปไกลจนเศรษฐกิจสหรัฐฯ เกิด recession ในปีหน้าจนต้องลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และ QE ที่มากไปกว่านั้น หากจีนเกิดตัดสินใจขายพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ถือครองเป็นสำรองเงินตราระหว่างประเทศออกมาอีก รับรองได้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีโอกาสเสียหายแน่

หากพิจารณาในแง่ของความเป็นไปได้และความได้เปรียบจาก Player ของ Trade War เป็นไปดังนี้

ทำไมสหรัฐฯ จ้องเล่นงานจีน

Made in China หรือ中国制造2025 (AI, robotics, semiconductor และ electric car) ดังรูป เป็นข้ออ้างที่ทรัมป์นำมาใช้ในการห้ามมิให้จีนลงทุนในบริษัทไฮเทคของสหรัฐฯ เหมือนกับตอนกล่าวหาข้ออ้างว่าญี่ปุ่นจะครองครองโลก (megalomaniac) ต่อญี่ปุ่นสมัยยุคทศวรรษ 1980 เพื่อกันท่า Sony และบริษัทอุตสาหกรรมชั้นนำของญี่ปุ่นในตอนนั้น ซึ่งทางด้านจีนและชาวโลกรู้ดี

โดยหากสังเกตให้ดี ทางรัฐบาลเยอรมันก็มีการออกโครงการ Industry 4.0 ที่คล้ายคลึงกับ Made in China 2025 แต่ทางสหรัฐฯ ก็ไม่ได้ออกมาตรการปกป้องอุตสาหกรรมไฮเทคต่อเยอรมัน

ไพ่ที่จีนได้เปรียบสหรัฐฯ

เกาหลีเหนือ คือ ไพ่ที่จีนได้เปรียบสหรัฐฯ เนื่องจากจีนให้การสนับสนุนเกาหลีเหนือมาโดยตลอดและสหรัฐฯ ไม่มีเงินทุนหนาพอจะช่วยคิม หากจำเป็นจริงๆ เกาหลีเหนือคือไพ่ที่จีนเล่นได้เสมอ นอกจากนี้ยังมองว่า ทรัมป์ มีจุดด้อย ตรงที่เล่นงานไปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ยุโรป จีนเลยสบช่องร้องเรียนผ่าน WTO เสมือนเป็นการโดดเดี่ยวสหรัฐฯ

น่าสังเกตว่านักเศรษฐศาสตร์เก่ง ๆ ของสหรัฐฯ ไม่ค่อยอยากจะร่วมกับทรัมป์ เนื่องจากทราบดีว่า Trade War นั้นเกิดจากเหตุผลทางการเมือง โดยที่ทราบดีว่า แท้จริงแล้ว ‘เทคโนโลยี’ ไม่ใช่ จีนซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุที่ขาดดุลการค้า และส่งผลให้ชาวอเมริกันตกงาน เพราะจีนไม่มี lobbyist สำหรับประเด็นการค้า รวมถึงความกลัวต่างชาติของชาวอเมริกันที่ทำให้มาตรการ Trade War โดนใจชาวอเมริกันผิวขาวชนชั้นล่าง และมองว่าเทคโนโลยีที่มาแย่งงานเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ

ไพ่ที่สหรัฐฯ เหนือกว่าจีน

สถานะของดอลลาร์เป็นสกุลเงินหลักของโลกในตอนนี้ กับ มี venture capital ในซิลิกอนวัลเลย์ที่เข้มแข็ง และมีโอกาสสูงที่หวัง ฉี ซานจะลงมาดูแล ประเด็น Trade War เนื่องจากหลิว เฮ่อดูจะอ่อนให้สหรัฐฯ มากเกินไป

ผมมองว่าในขณะที่ทรัมป์มีเวลาเหลือราว 2 ปีก่อนเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งใหม่ ขณะที่สีมีเวลา 10 กว่าปี ดังนั้น แม้เป็นเกมช่วงสั้นสัก 1 ปี จากผลกระทบ Trade War ทรัมป์ก็สามารถรับผลกระทบได้ไม่มากนัก โดยขณะที่ชาวจีนรับรู้และยอมรับหากต้องรับภาระบางส่วนในช่วงสั้นจาก Trade War ส่วนชาวสหรัฐฯ สามารถระบายผ่านคูหาเลือกตั้ง อย่างไรก็ดี สหรัฐฯ เหนือกว่าจีนตรงสถานะของดอลลาร์เป็นสกุลเงินที่มีความพิเศษซึ่งทุกประเทศใช้เป็นเงินสกุลหลักและเป็นสำรองเงินตราระหว่างประเทศในตอนนี้ กับ มี venture capital ในซิลิกอนวัลเลย์ที่เข้มแข็ง โดย ช่วงเวลาที่สหรัฐ/จีน จะสู้หรือถอย เป็นดังตาราง

โดยสรุป สำหรับ Trade War หากยื้อกันแค่หลักเดือน ฝั่งโดนัลด์ ทรัมป์ ถือว่าได้ประโยชน์ทางการเมือง แต่หากยืดเยื้อกันไปเป็นหลักปี โดนัลด์ ทรัมป์ มีโอกาสเสียประโยชน์ทางการเมืองสูงมาก

ที่มาบทความ: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/645058