บทความนี้จะชวนมาทำความรู้จักกับ HFUT (High Frequency Unintentional Trader) มาดูกันว่า HFUT ส่งผลกระทบต่อตลาดและผู้ลงทุนรายบุคคลอื่นๆ อย่างไรบ้าง? HFUT น่ากลัวขนาดไหน? แล้วเราควรรับมืออย่างไร?

The Rise of HFUT = วิกฤตนักลงทุนบุคคล? [EP. 1-6]

The Rise of HFUT = วิกฤตนักลงทุนบุคคล ? Episode 1

ตั้งแต่ประมาณ 4-5 ปีที่แล้ว มีผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ อ้างว่า HFT (High Frequency Trader) จะเป็นผู้สร้างสภาพคล่อง (Liquidity Provider) กับทุกๆ ตลาดฯ จะเพิ่มจากการซื้อขาย 10% ของตลาดฯ เพิ่มเป็น 60% ของตลาด

…ผมกลัวว่า สัดส่วน ที่เพิ่มเกิดจาก นักลงทุนบุคคลที่ถูกเอาเปรียบเลิกเล่นมากกว่า

… โดยเฉพาะ จากพวก HFUT (High Frequency Unintentional Trader) คือ พวกไม่คิดจะเก็งกำไรจริง เอาเปรียบด้วยความเร็วอย่างเดียว จนสัดส่วนนักลงทุนบุคคลลดลงไปอย่างเห็นได้ชัด

The Rise of HFUT = วิกฤตนักลงทุนบุคคล ? Episode 2 :

ขณะนี้ ทุกโบรกเกอร์ที่ดูแลนักลงทุนบุคคล เริ่มได้รับเสียงบ่นมากขึ้น “หุ้นเล่นยาก” “เก็งกำไรไม่ได้” “ถูกตัดหน้าตลอด” จนจะเลิกเล่นกันหมดแล้ว

ผลคือ สัดส่วน HFT มากขึ้นจริง และ เป็น HFUT (High Frequency Unintentional Trader) จำนวนมาก แต่ทิศทางที่ทุกคนเห็นคือ นักลงทุนนักเก็งกำไรบุคคลมีสัดส่วนลดลง แต่มูลค่าการซื้อขายรวมก็ยิ่งลดลง วงการหุ้นต้องคิดกันว่า HFT โดยเฉพาะ HFUT เป็นผู้สร้างสภาพคล่องได้จริงหรือ ? หรือ เป็นผู้กินสภาพคล่องของตลาดหุ้นไป ?

The Rise of HFUT = วิกฤตนักลงทุนบุคคล ? Episode 3 :

HFT กำลังมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจริง โดยเฉพาะใน 3 ปีที่ผ่านมา พร้อมกับการลดลงของสัดส่วนนักลงทุนบุคคล !

แต่มูลค่าการซื้อขายรวมทั้งตลาดฯ จากเดิม ตลาดฯมีมูลค่าระดับ 6 หมื่นล้านบาท เหลือ 4.5 หมื่นล้านบาท นักลงทุนบุคคลจาก 60% เหลือระดับ 36% มูลค่านักลงทุนบุคคล จึงลดลง จากระดับ 2.8 หมื่นล้านบาทลดลงเหลือ 1.6 หมื่นล้านบาทในปัจจุบัน

และที่น่ากลัวคือ สิงคโปร์ที่ล้ำหน้ากว่าเรา เคยเป็น Hub ของตลาดทุนใน ASEAN กำลังมีมูลค่าการซื้อขายน้อยกว่าเรา เขาเปิดประตูให้ HFT และ HFUT เข้ามาก่อนเรา นักลงทุนประเภทบุคคลกำลังหายไปเลย แล้วตลาดทุนที่ไม่มีนักเก็งกำไรบุคคล จะดีจริงหรือ ? … คนเริ่มถามว่า มนตรี ล้าหลังหรือเปล่า ?

ผม #สนับสนุนROBOTที่สร้างสรรค์ แต่ #ต่อต้านROBOTที่เอาเปรียบมนุษย์ ที่มีค่าเพียงเอาเปรียบ เป็นสภาพคล่องลวง กับ ROBOT ที่ล่อแมงเม่าครับ … โปรดติดตามตอนต่อไป

The Rise of HFUT = วิกฤตนักลงทุนบุคคล ? Episode 4 :

ผมเชื่อว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ ควรพร้อมรองรับให้ทันต่อพัฒนาการของเทคโนโลยี

1. พฤติกรรมการซื้อขายของ ROBOT ที่มี “ความเร็ว” เหนือมนุษย์ เป็นเรื่องที่รับได้

2. การใช้ข้อมูลกว้างขวางแบบ ROBOT เพื่อใช้ข้อมูลที่กว้างขวางตัดสินใจลงทุนเป็นเรื่องที่ดี

3. แต่ พฤติกรรมการ ซื้อๆ ขายๆ ในหุ้นเดียวกัน จำนวนเดียวกัน ราคาใกล้ๆ กัน หลายๆ ครั้ง ได้กลายเป็นวิธีใหม่ในการ “ปิดกั้น” โอกาสนักลงทุน และ “ลัดคิว” เอาโอกาสที่จะเก็งกำไรได้ของนักเก็งกำไรบุคคลไป

(ถ้านักเก็งกำไรมนุษย์หมดไป ตลาดฯ ดีจริงหรือ ? ทุกวันนี้ ROBOT มาทดแทนสภาพคล่องได้จริงหรือ ?)

4. ตลาดหลักทรัพย์เคยเป็นห่วง Bid/ถอน ซื้อและขายในจำนวนเดียวกัน ราคาเดียวกัน ยิ่งมีผลสร้างภาพตลาดลวง

The Rise of HFUT = วิกฤตนักลงทุนบุคคล ? Episode 5 :

ติดตามมาถึง Episode นี้ อาจมีคนเริ่มถามว่า “มนตรี ล้าหลังไปหรือเปล่า ?” ผมยืนยันว่า ผมชอบเทคโนโลยี ผมรักตลาดทุน แต่เทคโนโลยี ต้องใช้ด้วยความรับผิดชอบ ขณะนี้ มีเทคโนโลยี ประเภท ROBOT 3 ประเภท คือ

1. ประเภท ที่น่าสนับสนุน : คือ ใช้ ROBOT ในการรับข้อมูล Big Data, Data Analytic ที่ไวต่อสถานการณ์

2. ประเภท ที่น่าระวัง : คือ อ้าง ROBOT ให้ชาวบ้าน แต่ทำเพียง “Back Test” แต่พอใช้จริง เป็นแบบ “ล่อแมงเม่า” (Episode 6-7)

3. ประเภท ที่อันตราย : คือ ROBOT แบบ HFUT ไม่คิดอะไรมาก ส่งเร็ว ส่งถี่ ถึงก่อน ตัดโอกาสเก็งกำไร ซื้อตัดหน้า และ ขายตัดหน้ามนุษย์ เท่านั้น ทำลายบรรยากาศเก็งกำไรที่เป็นธรรมของมนุษย์ (Episode 8-10) แล้ว ผมจะเสนอทางออก ด้วยใน Episode ต่อๆ ไป

The Rise of HFUT = วิกฤตนักลงทุนบุคคล ? Episode 6 :

มี ROBOT แนะนำการลงทุนให้ชาวบ้าน ด้วยข้อมูล “ราคาซื้อขายหุ้นในอดีต” โดยทำเพียง “Back Test” และ อ้างว่า ทดสอบย้อนหลัง 2 ปีบ้าง 3 ปีบ้าง ได้ผลตอบแทนกว่า 30-40% เพียง 2-3 ปีก็มูลค่าเพิ่มเป็นเท่าตัว

แต่พอใช้จริง เป็นแบบ “ล่อแมงเม่า” ล่าสุด ผมเห็นโปรแกรมใหม่ แนะนำหุ้นที่ได้คะแนนสูงสุด 3 หุ้นที่น่าลงทุน แต่ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หุ้นหนึ่งคือ “BE….” ซึ่งแนะนำตั้งแต่ตอนเปิดตลาด ซึ่งวันนั้นเปิดสูง และ ปิดลดลงถึง -15.24% !

แต่การแนะนำโดยหุ่นยนต์เช่นนี้ มักจะมีเพียง “Back-Test” ไม่มี “Forward-Test” ซึ่งหลายๆ ตัวแปรที่ใช้สร้างความสัมพันธ์ อาจไม่มีหลักการว่า จะเชื่อมโยงอดีต กับ อนาคตอย่างไร ทำให้การแนะหุ้นโดยหุ่นยนต์เช่นนี้ แม้จะมีบางครั้งที่ได้ผลบ้าง แต่บางครั้งจะมีหุ้นแปลกๆ ออกมา เพราะ การทำ Back-Test เป็นเพียงเหมือนการเห็นข้อสอบก่อนจนถึงวันสุดท้ายของ Back-Test แต่เมื่อใช้จริงหลังจากนั้น คือ ไม่เห็นข้อสอบแล้ว ก็อาจจะตอบไม่ถูกแล้ว

มีบางคนที่คิดเรื่องนี้ยอมรับว่า “จริง” ข้อมูลที่คิดจากปี 16 ใช้กับ 17 ไม่ได้ ข้อมูลที่คิดจากปี 17 ใช้กับปี 18 ไม่ได้ และ ข้อมูลที่คิดจากอดีต หากไร้เหตุผลเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ ก็มักจะใช้กับอนาคตไม่ได้

ข้อแนะนำคือ หน่วยงานกำกับดูแล กำหนดให้แต่ละบริษัทที่จะเสนอ รายงานผลงานนั้น จะมีเฉพาะ Back-Test ไม่ได้ ต้องบอกว่า (1) Back-Test ในช่วงใด ถึงช่วงใด (2) ต้องทำ Forward-Test โดยเอา Parameter ที่ได้จากช่วง Back-Test เท่านั้น จะได้ผลดีเช่นเดียวช่วง Back Test หรือไม่ ? นักลงทุนจะได้รับข้อมูลที่มีความหมายมากขึ้น

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับ The Rise of HFUT = วิกฤตนักลงทุนบุคคล? [EP. 1-6] ติดตามบทความตอนต่อไปได้เร็วๆ นี้ครับ

#ทำไมเก็งกำไรยาก
#ร่วมปกป้องนักลงทุนบุคคล
#ใครเอาเปรียบนักลงทุนบุคคล
#ROBOTต้องช่วยมนุษย์
#ROBOTไม่ใช่เอาเปรียบ

โดย มนตรี ศรไพศาล