Relative Strength Index หรือ RSI ถือเป็น momentum oscillator หรือ เครื่องมือทางเทคนิคที่ใช้ในการวัดแรงซื้อแรงขาย ณ ระดับราคาปัจจุบันที่มีความนิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง จนถือเป็น Default ของนักลงทุนสายเทคนิคไปแล้ว

ค่า RSI จะอยู่ระหว่าง 0 ถึง 100 ดังนั้น จุดกลางของค่า RSI ก็คือ 50 นั้นเอง

ค่า RSI คำนวนมาจากอะไร?
มาจาก RSI = 100 – 100/(1 + RS*)

โดยที่ RS (ไม่ใช่ค่ายเพลงนะจ๊ะ) คือ ค่าเฉลี่ยของวันก่อนหน้าที่ดัชนีปิดลบ หารด้วย ค่าเฉลี่ยของวันที่ดัชนีปิดบวก

ค่ากลางที่โดยปกติจะถูกตั้งเป็น Default ของ RSI คือ ใช้ค่าเฉลี่ย 14 วัน

ดูจากสูตรก็พอจะรู้กันเลยทันทีว่า หากว่าดัชนี หรือหลักทรัพย์ที่เราสนใจ กำลังอยู่ในช่วงขาลง ค่า RSI จะค่อยๆลดลงในทิศทางเดียวกัน
และหากดัชนี หรือหลักทรัพย์อยู่ในทิศทางขาขึ้น ค่า RSI จะค่อยๆเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกัน

แล้วใช้ RSI ยังไง?
1. ดูการกลับตัว หรือ Divergence (ใครไม่รู้จัก แนะนำกลับไปดูโพสก่อนหน้าครับ ผมเขียนไว้แล้วครั้งเนิง http://www.iammrmessenger.com/?p=421)
2. ดู Overbought และ Oversold หรือเรียกเป็นภาษาไทยคือ ดูว่า ณ ตอนนั้น ดัชนี หรือหลักทรัพย์ที่เราสนใจ เข้าเขต “ซื้อมากเกิน” หรือ “ขายมากเกิน” หรือยัง
ซึ่งโดยภาวะตลาดปกติ เขต Overbought นั้น RSI จะอยู่ที่ 70 ขึ้นไป ส่วน Oversold จะอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 30 ลงมา
ยกตัวอย่าง หุ้น Texas Instruments เมื่อปี 2008 ตามภาพ
 จะเห็นว่า หุ้น Texas นั้น RSI ไปแตะที่ระดับ 70 จำนวนสองครั้งด้วยกัน โดยครั้งที่สอง ครั้งแรก ยังมีแรงซื้อกลับมาดันราคาหุ้นทำ Higher High แต่ RSI ไม่ทำจุดสูงสุดใหม่ (เกิด Bearish Divergence) และเมื่อลงมาต่ำกว่า 70 อีกครั้ง ก็แปลว่า หุ้นเตรียมเปลี่ยนแนวโน้มจากขาขึ้นสู่ขาลง

3. เอาไว้ยืนยันแนวโน้มว่าอยู่ในแนวโน้มอะไร ขาขึ้น? หรือขาลง?
โดยปกติ หุ้นหรือดัชนีที่อยู่ในขาขึ้น ค่า RSI จะเทรดอยู่ในช่วง 40-80 จุด แต่ถ้าเป็นขาลง จะอยู่ใน 20-60 จุด
ดังนั้น Overbought ในช่วงหุ้นขาขึ้น จะเป็นระดับที่ RSI อยู่สูงกว่า  80 จุดขึ้นไป ในขณะที่ต่ำกว่า 40 จุด ก็หมายถึง Oversold ในช่วงขาขึ้นแล้ว
และเช่นเดียวกัน Overbought ในช่วงหุ้นขาลง ก็คือระดับ RSI ที่เกิน 60 จุดขึ้นไป ส่วนเมื่อไหร่ที่ต่ำกว่า 20 ถึงจะค่อยเป็น Oversold ในช่วงขาลงครับ

หลักการข้อที่ 3. นี่ ถือเป็นสิ่งที่นักเทคนิคที่เพิ่งเริ่มต้นสนใจ มักจะลืมนึกถึง หรือไม่ระวัง เพราะโดยปกติ ทั้งหน้าจอ Bloomberg Reuters BISNEWS APAC หรือ E-Finance มักจะตั้งค่า Default ของ Overbought และ Oversold ไว้ที่ 70 และ 30 ตามลำดับ และก็ทำให้นักเทคนิคมือใหม่ ไปเข้าใจว่า นั้นไง เลย 70 ปั๊บ ต้องจับตา เตรียมขาย เพราะเข้าเขตซื้อมากเกินไปแล้ว ซึ่งสุดท้าย กลายเป็นตกรถไปซะงั้น แล้วพาลมาคิดว่า RSI เป็นเครื่องมือที่ใช้ได้ไม่จริง

แต่ก็มีข้อยกเว้นในการใช้ RSI พิจารณาเหมือนกันนะครับ ผมลองพาไปดูกราฟหุ้นไทยใน www.stockcharts.com

จะเห็นว่า ในช่วงตั้งแต่เดือน ธ.ค. ปีที่แล้ว จนถึงกลางเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา RSI ของ SET Index พุ่งขึ้นไปเหนือ 80 จุด แต่ดัชนีก็ยังเดินหน้าขึ้นไปเรื่อยๆต่อเนื่อง ดังนั้น ในฐานะนักลงทุน ผมแนะนำว่า RSI ก็เป็นแค่เครื่องมือในการดูประกอบการพิจารณาเท่านั้น การใช้ RSI ในการกำหนดจุดซื้อหรือจุดขาย เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก และไม่มีนักเทคนิคคนไหนเขาใช้กันแค่เครื่องมือตัวเดียวนะครับ

ส่วนเรื่องความชำนาญในการใช้ เรื่องนี้ต้องใช้ประสบการณ์แล้วครับ มั่นดูกราฟเยอะๆ ศึกษารูปแบบของหุ้น จำภาพการเคลื่อนไหวในอดีตไว้ในหัวเยอะๆ พอเราเจอรูปแบบ หรือแนวโฯ้มอะไรที่คุ้นตา สมองจะขุดมันขึ้นมาประกอบต่อกันให้เราเห็นเป็นลายแทงได้เอง ส่วนจะเป็นภาพที่แม่นยำจริงๆขนาดไหน ก็ต้องไปพิสูจน์กันอีกที แต่สำหรับผมแล้ว ถ้าจะดูกราฟเทคนิค ไม่ว่าจะดัชนี หรือ หลักทรัพย์ตัวใดก็ตาม RSI ถือเป็น Indicator ที่สำคัญ ไม่ดูไม่ได้เลยทีเดียว 🙂