หลายคนยังถามเรื่อยๆเนื่องจากไม่มั่นใจสถานการณ์การลงทุนรอบโลก
สาเหตุหนึ่งก็เพราะ เศรษฐกิจหุ้นไทย และข่าวไม่ดีในประเทศมันอาจทำให้เราจิตตกลงไปจนลืมนึกไปว่า โลกการลงทุนมันเปิดกว้างมากกว่าแค่จะเอาเงินอยู่ในปู่เซตที่เดียว

ต้นปีนี้ตลาดหุ้นทั่วโลกพุ่งขึ้นสวยหรูแต่จบไตรมาสสองด้วยภาพที่ตรงกันข้าม จาก 2 ประเด็นหลัก คือ ปรับฐานในตลาดหุ้นจีน และการเจรจาหนี้กรีซ ซึ่งตามมาหลังจากเดือน พ.ค. ที่มีแรงเทขายออกจากตราสารหนี้ทั่วโลกในจำนวนไม่น้อย

ถ้ามองไปข้างหน้าจนถึงสิ้นปีนี้ จะพบว่า Major Issue ที่เหลืออยู่ก็คือ จังหวะการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ว่าจะขึ้นเดือน ก.ย. หรือ ธ.ค. ดีกว่ากัน แต่ถ้าในเชิงกลยุทธ์ผมขอให้มองข้ามเรื่อง Timing ไปเลยครับ เพราะประธานเฟดพูดชัดแล้วว่ายังไงก็ขึ้น และขึ้นปีนี้อย่างน้อย 1 ครั้งแน่นอน ดังนั้น สิ่งที่สำคัญกว่า ก็คือ “ผลของการขึ้นดอกเบี้ย การลงทุนใดจะให้ประโยชน์?”

Badตราสารหนี้ ถ้าเป็นพวก Investment Grade มองยังไงก็ไม่ดี เพราะเชื่อว่าอัตราผลตอบแทนตจะขยับขึ้นตามดอกเบี้ยเฟดแน่นอน หลังปัญฆากรีซจบลงไปแล้ว และกว่าที่เราจะพูดถึงกรีซกันอีกทีน่าจะเป็นปีหน้าเลย แต่

Goodตรงกันข้ามกับเหล่า High Yield Bond (โดยฉพาะในสหรัฐฯ) ที่ดูเหมือนจะดีในช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังจะดีขึ้น เพราะเหล่า Turn around company ที่ดี อาจได้รับการ Upgrade Credit Rating เมื่อฐานะการเงินดีขึ้น ทำให้ราคาน่าจะมี Upside ที่เปิดกว้าง ประกอบกับ Coupon ที่จ่ายไม่ต่ำกว่า 5%-7% นั้น ถือว่า ไม่เลวเลยสำหรับภาวะที่อัตราดอกเบี้ยต่ำๆและถึงขึ้น ก็ขึ้นแบบช้าๆอย่าง ณ ตอนนี้

Goodตราสารทุน ผมยังเชื่อว่าจะ Outperform เมื่อเทียบกับ Asset Class หลักๆของโลก โดยมีปัจจัยสนับสนุนคือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ กับการขยับเพิ่มขึ้นของกำไรสุทธิของหุ้นในยุโรปและญี่ปุ่น การที่ Bond Yield มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นช้าๆ เหล่านี้ คือ สภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ราคาหุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่แข็งแกร่งทั่วโลกมี Upside ข้างบนอีกไม่น้อย ผมชอบ ยุโรป ญี่ปุ่น และอินเดีย (จีน เล่นแค่เพื่อเก็งกำไร) ส่วนหุ้นไทยทยอยเก็บไปครับ 1,400-1,440 จุด หลุดมาก็ซื้อเพิ่ม แล้วไปหวังซักอีก 2-3 ปีข้างหน้าตอนเราได้รัฐบาลใหม่ และมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่เป็นรูปเป็นร่างมากกว่าวันนี้ ตอนนี้เป็นช่วงเก็บของสำหรับนักลงทุนระยะยาว แต่เป็นช่วงพอร์ตว่างของนักลงทุนระยะสั้นครับ

Badสินค้าโภคภัณฑ์ ถึงแม้ดอกเบี้ยสหรัฐฯจะขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่า เงินเฟ้อโลกจะขยับขึ้นตาม เพราะ Demand มันไม่โตไปพร้อมๆกันเหมือนก่อนวิกฤตปี 2008 แล้ว ดังนั้น Commodities ทั้งหลาย ยังอยู่ในขาลง และยังไม่สดใสเท่าที่ควร รวมถึงราคาทอง และราคาน้ำมันนะครับ แต่สำหรับราคาน้ำมัน ผมมองว่า ผ่านจุดต่ำสุดของรอบไปแล้ว เพียงแต่ว่า อาจยังขึ้นได้ไม่แรง Sideway อยู่ข้างล่างนี้ หลังจากที่ Supply จากอิหร่านกำลังเข้ามา และปรากฏว่า เหล่า Shale Oil Shale Gas สามารถลดต้นทุนการผลิตลงมาได้และผลิตแข่งกับกลุ่ม OPEC ในช่วงที่ Demand ยังไม่มีสัญญาณฟื้นที่ชัดเจน

Goodค่าเงิน ผมมองค่าเงิน USD มีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่องเมื่อเทียบกับญี่ปุ่น และยุโรป แต่ที่ต้องดูหน่อยก็คือ ถ้าค่าเงินเยนอ่อนค่ารุนแรงเกินไปจนนักลงทุนมองว่า อ่อนเร็วกว่าที่ควรจะเป็น เมื่อนั้น ต่อให้ใช้ QE อัดเพิ่ม ตลาดก็อาจขาดความเชื่อถือในค่าเงินเยน ซึ่งตรงนี้จะเห็นว่า เป็นผลดีต่อค่าเงิน USD ครับ ประเด็นที่จะทำให้ USD อ่อนในระยะสั้น ยังหาไม่ค่อยเจอครับ ยกเว้นเศรษฐกิจยุโรปมันดีผิดหูผิดตาขึ้นทันทีใน 3-6 เดือนข้างหน้า สำหรับ THB ปีนี้มีสิทธิเห็น 36 บาท/ดอลล่าร์ฯนะครับ เคยบอกว่า น่าจะเห็น 35 ปีนี้ ปรากฏครึ่งปีผ่านมา ค่าเงินอ่อนเร็วกว่าคาด ผมขออนุญาตขยับเป้าไปอีกแล้วกัน

โดยสรุปคือ ปัจจัยสนับสนุนตลาดครึ่งปีหลังก็คือ
1. Political Risk และปัญหาหนี้กรีซ กับยูโรโซนที่เบาบางลง จะส่งผลดีต่อตลาดทุนโดยรวมแน่นอน
2. การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯที่มาพร้อมกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อยหนึ่งครั้งในปีนี้ ถือว่า เป็นสภาพแวดล้อมที่หุ้นตกยาก

ส่วนเรื่องความเสี่ยง ผมมอง 2 ประเด็นเช่นกัน
1. ยุโรปจะฟื้นได้จริงไหมในช่วงเวลาที่ไม่มีเหตุการณ์ปัญฆาหนี้จากกลุ่มสมาชิก
2. ความผันผวนในตลาดหุ้นจีน จะยังมีอีกหรือเปล่าในช่วงที่เหลือของปี ถ้ายังมีอยู่ แปลว่า ตลาดฝั่งเอเชีย รวมญี่ปุ่น อาจจะสะดุดแบบครึ่งปีแรก

Mr.Messenger