“There are financial concerns that are unique to different stages of life,” Joel Ohman, CFP และผู้ก่อตั้งเว็ปไซส์ InsuranceProviders.com ได่กล่าวให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่งซึ่งผมเห็นว่าเป็นประโยชน์ในการนำมาขยายความต่อในผู้อ่านได้ทราบกันนะครับ

Joel มองว่า ทุกๆช่วงชีวิตของคน จะเจอปัญหาด้านการเงินที่แตกต่างกันไปตามวัย ดังนั้น เพื่อให้เราเตรียมรับมือได้อย่างถูกวิธี จึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากที่เราต้องเตรียมความพร้อมไว้ก่อนปัญหาจะเกิด

หนุ่มสาวในวัย 20-29 ปี : Spending more than you earn and not saving for retirement
เนื่องจากเป็นวัยที่เพิ่งออกมาหาประสบการณ์นอกรั่วมหาวิทยาลับ และยืนได้ด้วยลำแข้งของตัวเอง คนส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะใช้ชีวิตในแบบที่ตัวเองต้องการ โดยคิดว่า เรื่องของการใช้จ่าย และวางแผนไกลไปจนถึงตอนเกษียณ เป็นเรื่องที่สามารถรอไปก่อน แต่จากการศึกษาของนักวางแผนการเงินในปัจจุบัน เราก็พบอยู่แล้วว่า การวางแผนเกษียณตามระบบ ไม่ว่าจะจาก ประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนเพื่อการเกษียณอายุ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ มันไม่พอต่อค่าใช้จ่ายที่จะตามมาแน่นอน ดังนั้น การวางแผนตั้งแต่เนิ่นๆ เป็นสิ่งที่จำเป็นที่หนุ่มสาวลืมคิดไป

วัยทำงาน 30-39 ปี : Combining your finances and delaying insurance
วัยนี้ ส่วนใหญ่จะแต่งงานกันแล้ว (ส่วนใครที่ยังไม่แต่ง คุณก็เจอปัญหาอีกเรื่อง ก็คือ โดนกดดันจากสังคม 555+) ปัญหาของคู่สมรสในปัจจุบันก็คือ รวมสินทรัพย์ทุกอย่างเข้าด้วยไม่ว่าจะเป็น บัญชีเพื่อการใช้จ่ายปัจจุบัน พอร์ตการลงทุน ฯลฯ ปัญหาที่ตามมามักจะเกิดขึ้นตอนทำบัญชีรายรับรายจ่าย ซึ่งยุ่งยากต่อการเก็บข้อมูลมาก หากสามี หรือภรรยา เข้มงวดมากเกินกว่าที่อีกฝ่ายควรจะใส่ใจ ก็อาจเจอปัญหาทะเลาะกันในครอบครัว ด้วยข้อหา ใช้เงินแบบไม่คิด … นี่คือปัญหาหนึ่งที่เจอ
อีกปัญหาก็คือ เมื่อรวมสินทรัพย์ทุกอย่างไว้ด้วยกัน จะดูเหมือนครอบครัวมีความมั่งคั่งมากขึ้น จนเขาเหล่านั้นลืมเรื่องการวางแผนประกัน หรือเลื่อนการทำประกันไป เพราะคิดว่าไม่จำเป็น ทั้งๆที่ หากยืดระยะเวลาออกไป เมื่อถึงวันที่จำเป็นจริงๆ จะเจอ 2 ปัญหาแน่นอน นั้นก็คือ 1) ไม่มีเงินพอ และไม่ได้วางแผนตั้งแต่ต้น 2)เบี้ยประกันแพงขึ้นตามอายุที่สูง

วัยแห่งการสะสม 40-49 ปี : Funding college accounts over retirement accounts and not saving enough
พอใช้ชีวิตมาระยะเวลาหนึ่ง แน่นอนว่า ทุกคนย่อมอยากหาความสุขให้ตัวเอง คนในวัยนี้ จะเริ่มสะสม และใช้เงินกับสิ่งที่ตัวเองรักอย่างจริงๆจังๆ เช่น หมดไปกับการเที่ยวรอบโลก ซื้อรถคันใหม่ ซื้อบ้านหลังที่สอง ฯลฯ หรือถ้ามีลูก ก็เริ่มเก็บเงินเพื่อการศึกษาของบุตร ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีครับ แต่พวกเขาลืมไปว่า สิ่งที่สำคัญกว่า ก็คือ Retirement Plan หรือ วางแผนเกษียณ เพราะหากไม่วางแผน ณ ตอนนี้ ก็ช้าไปแล้วแน่นอน สิ่งที่ต้องทำก็คือ เริ่มทำบัญชีเพื่อการเกษียณ แบ่งออกมาอย่างชัดเจนซะ ไม่อย่างนั้น แย่แน่นอน !!

วัยใกล้เกษียณ 50-59 ปี : Getting too defensive with savings
ถึงวัยนี้ ทุกคนจะคิดถึงตอนเกษียณอย่างจริงจัง แต่สิ่งที่เขาคิด มักคิดผิดๆเหมือนกันตามมา นั้นก็คือ “เหลือเวลาเก็บเงินอีกไม่มาก ฉะนั้น ฉันไม่ควรลงทุนอะไรที่เสี่ยงเกินไป!!” พอคิดได้ดังนี้ เกือบทุกคนที่เริ่มออมหลังเกษียณ ก็เก็บเงินของตัวเองไว้ในเงินฝาก ไม่ก็ตราสารหนี้ที่ผลตอบแทนต่ำ ทั้งๆที่เหลือเวลาอีกเป็น 10 ปีกว่าจะเกษียณ ทำให้พลาดโอกาสสร้างผลตอบแทนขึ้น คิดดูอย่างนี้ครั้ง ถ้าเราเอาเงินทั้งหมด 10,000,000 บาท ไปลงทุนพันธบัตรทั้งหมดกินดอกเบี้ยปีละ 3% ผ่านไป 10 ปี ผ่านไป 10 ปี เราจะมีเงินต้นบวกผลตอบแทนเท่ากับ 13,439,163 บาท แต่ถ้าแบ่งบางส่วนซัก 10% ของพอร์ต หรือ 1,000,000 บาท มาลงทุนในหุ้น ซึ่งไม่ถือว่าเป็นสัดส่วนที่เยอะเลย และทำให้ผลตอบแทนโดยรวมเพิ่มขึ้นเป็น 4% ในปีที่ 10 เราจะมีเงินลงทุนเพิ่มเป็น 14,802,442 บาท หรือ เพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 1,363,279 บาท ทีเดียว และยิ่งถ้าขยับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็น 20% ของพอร์ต และทำให้ผลตอบแทนโดยรวมได้ขึ้นไปที่ 5% ก็จะได้เงินต้นพร้อมผลตอบแทน ณ ปีที่ 10 เพิ่มขึ้นไปอีกเป็น 16,288,946 บาท ทีเดียว เห็นแบบนี้ อย่าคิดว่า เหลือเวลาไม่มากแล้วเสี่ยงต่ำอย่างเดียวนะครับ แบ่งเงินซักก้อนกลับมาลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ก็จะทำให้เราเกษียณอย่างมีความสุขมากขึ้นทีเดียว

รู้ปัญหา และป้องกัน ก่อนปัญหาจะมาถึง คือวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดนะครับ

ที่เราตั้งหน้าตั้งตา ใช้ชีวิตเพื่อหาเงิน จนเป็นปัญหาอยู่ทุกวันนี้
ก็เพื่อที่วันหนึ่ง เราจะมีเงินมากพอจนไม่ต้องกังวลกับการหามันนะครับ

วางแผนให้ดีตั้งแต่วันนี้ อย่าตกเป็นทาสของเงิน แต่จงให้เงินเป็นทาสของเรา