จากการเริ่มงานการจัดการกองทุนกับ Fidelity Fund ในเดือน พ.ค. 1977 ตอนนั้นกองทุนมีขนาดเพียง 20 ล้านเหรียญ แต่พอย่างเข้าปี 1980 Fidelity Fund ได้กลายเป็นกองทุนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งสามารถเอาชนะตลาดได้เฉลี่ย 13.4% ต่อปี ถัดมาอีกเป็นเวลากว่า 20 ปี และนั้นก็ทำให้ ผู้จัดการกองทุนหนุ่มที่ชื่อ Peter Lynch (ปีเตอร์ ลินซ์) ได้กลายเป็นผู้จัดการกองทุนที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกคนหนึ่ง
Peter Lynch ประสบความสำเร็จด้านการลงทุนได้โดยการใช้หลักการการลงทุนเบื้องต้นที่เข้าใจง่าย ซึ่งเขายินดีที่จะแบ่งกันให้กับนักลงทุนทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่า จากหนังสือที่เขาเขียนหลายเรื่อง และหนึ่งเล่มที่ถือเป็นคัมภีร์สำหรับนักลงทุนแนว Value Investor ก็คือ “One up on Wallstreet” ลินซ์เชื่อมั่นว่า “นักลงทุนรายย่อยมีข้อได้เปรียบเหนือกว่านักลงทุนสถาบัน” เพราะกองทุนขนาดใหญ่ไม่สามารถจะลงทุนได้อย่างเต็มที่ในบริษัทเติบโตดีแต่มีขนาดเล็กซึ่งข้อจำกัดเรื่องสัดส่วนการถือครองหุ้น โดยที่หุ้นเหล่านี้ สุดท้ายเมื่อผลประกอบการแสดงชัดขึ้น ขนาดของกิจการขยายใหญ่ขึ้น ก็จะทยอยเข้าาตานักวิเคราะห์ของนักลงทุนสถาบันในเวลาต่อมา และสุดท้ายจะกลายเป็นหุ้นบลูชิพ ที่สร้างผลตอบแทนอย่างยั่งยืนให้กับนักลงทุนจริงๆ

แต่ถึงอย่างนั้น กองทุน Fedelity ของเขา ก็สามารถสร้างผลตอบแทนในระยะเวลาที่ทำให้นักลงทุนรายสงสัย และกลับมามองตัวเองว่า แล้วปัจจัยใดที่ทำให้ กองทุนของเขา สามารถผลตอบแทนได้ดี ทั้งๆทีมีข้อจำกัดอย่างที่เขาบอก
อย่างที่บอกว่า ปีเตอร์ ลินซ์ ได้เขียนหนังสือเพื่อแบ่งปันแนวคิดของเขาไว้หลายเล่ม เพื่อที่จะเข้าใจหลักการการลงทุนของเขา จริงๆแล้ว สามารถสรุปได้ 3 ข้อหลักๆ ตามนี้
1. Only Buy What You Understand 
เครื่องมือที่ลินซ์ใช้ในการค้นหาหุ้นมี 3 สิ่ง ก็คือ ตา หู และสามัญสำนึก
ลินซ์ภาคภูมิใจอย่างมากที่จะบอกว่า หุ้นห่านทองคำหลายตัวของเขาถูกค้นพบหลังจากที่เขาเดินไปตามร้านขายของชำ และได้พูดคุยกับเพื่อนฝูง หรือคนในครอบครัว นั้นหมายความว่า นักลงทุนรายย่อยอย่างเราๆ ก็สามารถจะวิเคราะห์และค้นหาหุ้นได้ในเบื้องต้นจากการดูทีวี ฟังวิทยุ อ่านหนังสือพิมพ์ ติดตามเพจการลงทุนทาง Facebook หรือ เมื่อขับรถไปเที่ยวในวันหยุดสุดสัปดาห์ เราก็จะได้ไอเดียใหม่ๆจะผุดขึ้นมาเรื่อยๆ หรือ อาจกล่าวได้ว่าหุ้นทั้งหมดในตลาดหลักทรัพย์ มันก็คือนธุรกิจที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้บริการผู้บริโภครายย่อยเช่นเรานั้นเอง ถามว่า ทำให้ วิธีการเลือกหุ้น ถึงง่ายเช่นนี้ ก็ต้องบอกว่า “ถ้ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งประทับใจเราในฐานะที่เป็นผู้บริโภค แน่นอนว่าในฐานะของนักลงทุนก็ต้องประทับใจด้วยเช่นกัน”
2. Always Do Your Homework 

การเฝ้าสังเกตและรวบรวมความรู้เกี่ยวกับหุ้นที่เราลงทุนเป็นการเริ่มต้นที่ดี เพราะไอเดียดีๆ ความคิดที่ตกตะกอน จนทำให้เราเชื่อมั่นใจหุ้นตัวนั้น มันมาจากการค้นคว้าอย่างชาญฉลาด แต่คิดแค่ว่า เดินไปเจอสินค้าในร้านสะดวกซื้อที่เราชอบบั๊บ แล้วเราจะกลับมาซื้อและถือหุ้นตัวนั้นได้ชั่วกัปชั่วกัลป์ เมื่อมาถึงขั้นตอนการวิเคราะห์จริงๆ นักลงทุนจะต้องละเอียดและแม่นยำ ทำการบ้านอย่างหนัก และนั้นก็คือกุญแจดอกสำคัญในการไขไปสู่ความสำเร็จของลินซ์

สำหรับลินซ์ เมื่อไอเดียดีๆ ผุดขึ้นมาแล้ว เขาจะมองหามูลค่าพื้นฐานผ่านทางตัวเลขหลายๆตัว ที่สะท้อนถึงคุณลักษณะของหุ้นที่มีคุณค่าในมุมมองของเขา นั้นก็คือ

 – เปอร์เซ็นต์ยอดขาย ถ้าหากมีสินค้าตัวใดเตะตาคุณ ต้องแน่ใจว่าเปอร์เซ็นต์ยอดขายนั้นสูงมากพอ ถ้าสินค้าดีแต่มียอดขายไม่ถึง 10% ก็จะไม่ส่งผลต่อยอดกำไรสุทธิของบริษัท และไม่มาสะท้อนในราคาหุ้นแน่นอน
– PEG Ratio หรือ (price/earnings to growth ratio) อัตราส่วนนี้เป็นการประเมินอัตราการเติบโตของผลกำไรกับการคาดหวังของนักลงทุน บนพื้นฐานที่ว่า หุ้นที่เรามองหาจะต้องมีการเติบโตที่แข็งแกร่ง และเราจะเข้าซื้อในระดับราคาที่เหมาะสม หุ้นแข็งแกร่งที่เติบโตจนมี PEG Ratio มากกว่า 2 แสดงว่าผลกำไรได้สะท้อนไปในราคาหุ้นแล้ว เหลือช่องว่างให้ผิดพลาดได้เพียงเล็กน้อย โดยส่วนใหญ่ PEG Ratio ที่ไม่เกิน 1 เท่า แปลว่า หุ้นตัวนั้น มีความน่าสนใจลงทุน วิธีคำนวน
ค่า PEG Ratio หาได้โดยนำค่า P/E มาหารด้วย เปอร์เซ็นต์การเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS Growth)
– สนใจบริษัทที่มีกระแสเงินสด (Cash Flow) แข็งแกร่ง และสัดส่วนของหนี้ต่อทรัพย์สินน้อย (Debt to Asset Ratio) การบริหารจัดการทรัพย์สินอย่างมีวินัย ไม่เสี่ยงจนเกินตัว และมีกระแสเงินสดมากพอ จะช่วยให้บริษัทสามารถดำเนินกิจการอยู่ในตลาดได้ทุกสภาพเศรษฐกิจ
3. Invest for the Long Run 
ลินซ์เคยกล่าวไว้ว่า ตลอดเวลา 20 กว่าปีที่ผ่านมา เขาเข้าใจแล้วว่า ถ้าอยากจะรู้ว่าราคาหุ้นจะสูงหรือต่ำในอีก 23 ปีข้างหน้านั้น ไม่ยากเลย ที่คุณทำก็แค่เพียง โยนเหรียญหัวก้อยเท่านั้น!!
สิ่งที่ลินซ์พูด แปลว่าอะไร?
ลินซ์ กำลังบอกเราว่า ปรัชญาการลงทุนของเขา ก็คือ เกาะติดสถานการณ์ มีความรู้เข้าใจในบริษัทที่ลงทุน และตราบเท่าที่สิ่งที่นักลงทุนมองไว้ มันยังไม่เปลี่ยนแปลง นักลงทุนที่มีเหตุผล ก็ไม่ควรจะขายหุ้นนั้นออกจากพอร์ต ด้วยหลักการเช่นนี้ ทำให้ ลินซ์เป็นหนึ่งในผู้จัดการลงทุนที่ไม่เชื่อเรื่องการ TIming หรือ การพยายามจับจังหวะตลาด หรือพยายามคาดการณ์ทิศทางของเศรษฐกิจ เพราะ ถ้าบริษัทแข็งแกร่งจริง กำไรสุทธิก็จะสูง และหุ้นก็จะมีราคาสูงตามไปด้วย เพราะฉะนั้น งานที่สำคัญที่สุดของเขาก็คือ “การค้นหาบริษัทที่ยิ่งใหญ่ให้เจอ”
ลินซ์ ยังได้ย้ำให้เห็นที่จุดอ่อนของการมองสิ่งใดเพียงแต่ในระยะสั้นๆ ยกตัวอย่าง ผู้จัดการกองทุนหลายๆคนที่เป็นเพื่อนร่วมอาชีพของเขา มักจะขายหุ้นตัวดีๆ เพียงแค่ใช้เหตุผลว่า มันวิ่งมาเยอะแล้ว แล้วเอาเงินที่ได้จากการขายไปถือหุ้นแย่ๆ เข้ามาในพอร์ต ด้วยเหตุผลที่ว่า ราคามันยังถูกแสนถูก
ซึ่งวิธีนี้ ลินซ์ เรียกว่า pulling the flowers and watering the weeds (เด็ดดอกไม้มาเชยชม แต่ก็ต้องระทม เริ่มต้นปลูกใหม่)
 โดยสรุป วิธีการลงทุนของลินซ์นั้น มีทั้งในส่วนที่ง่าย และส่วนที่ยาก ซึ่งมันก็แน่นอนอยู่แล้วว่า ทางสู่ความสำเร็จ มันไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป แต่สิ่งหนึ่งที่ลินซ์มั่นใจก็คือ เหมือนนักลงทุนเริ่มต้นด้วยหลักการที่ถูกต้องแล้ว ไม่ช้าก็เร็ว ความสุขจากการเห็นหุ้นในพอร์ตเติบโตเรื่อยๆ จะมาถึงไม่ช้าก็เร็ว ส่วนระหว่างทาง คุณจะได้อะไรไป สิ่งนั้นก็คือ “ความสนุก” นั้นเอง