Healthcare

กองทุน ‘Healthcare Sector’ พุดขึ้นมาเยอะทีเดียวในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา นี่คือครั้งแรกที่กองทุนประเภทนี้ เจอแรงเสียดทาน ซึ่งจะว่าไปแล้ว นี่เป็นแรงเสียดทานครั้งที่แรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2008 เลยทีเดียว (ดูจากกราฟดัชนี S&P500 Healthcare Sector ด้านล่างดูครับ

sc

Q : กลุ่ม Healthcare Sector ปรับตัวลงเพราะอะไร?

A : สำหรับผม มันมีหลายเหตุผลมากๆนะครับ

  1. Healthcare Sector ของโลก ถือเป็น 1 ใน 3 อุตสาหกรรมที่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นดีที่สุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา นั้นแปลว่า คนที่ลงทุนมาตลอดทาง เขากำไรมาอื้อซ่าแล้ว ดังนั้นการขายปรับพอร์ต หรือ Take Profit มันเป็นความเสี่ยงที่เราต้องระลึกรู้อยู่แล้วว่ามีโอกาสเกิดขึ้นไม่วันใดก็วันหนึ่ง (แล้ววันนั้นก็มาถึง)
  2. Valuation ที่อยู่ในระดับที่สูงมากๆของกลุ่ม Biotechnology สูงขนาดที่ เทรดที่ PE ประมาณ 30x เท่ามาตลอด 3 ปีหลัง จนกระทั่ง Janet Yellen ยังพูดเองในการแถลงต่อสภาคองเกรสเมื่อต้นปีว่า ราคาหุ้นในตลาดหุ้นสหรัฐฯนั้นดูจะแพงเกินพื้นฐานไป โดยเฉพาะกลุ่ม Biotechnology
  3. ความกังวลมันมาสุกงอมเมื่อ Hillary Clinton ผู้ที่กำลังจะชิงเก้าอี้ประธานาธิปดีของสหรัฐฯ จากพรรค Democrats เสนอนโยบายว่า ถ้าได้รับเลือกมาดำรงตำแหน่ง จะพยายามกำหนดเพื่อจำกัดไม่ให้เหล่าบริษัทในอุตสาหกรรม Healthcare ขึ้นราคาสูงเกินไปอย่าเช่นในอดีต ประเด็นคือ ตอนนี้ เหมือนชาวอเมริกันอยากได้ Hillary Clinton มาเป็นผู้นำ พอรู้ว่านโยบายมันจะเป็นแบบนี้ เลยมีกลุ่มคนที่ขายทำกำไรกันออกมาทันที

Q : ลงแรงขนาดไหน?

A : จริงๆก็ไม่แรงเท่าที่อื่น เพียงแต่ นักลงทุนไทย ไม่เคยเห็นหุ้นกลุ่มนี้ลงแรงมาก่อน ก็อย่างที่บอก เป็นขาขึ้นมาตั้งแต่ปี 2008 จะไปเจอได้ยังไง เบ็ดเสร็จแล้ว จนถึงสัปดาห์ที่แล้ว กลุ่ม Healthcare ปรับตัวไปราวๆ -13% จากจุดสูงสุดเดือน ส.ค. แต่ถ้านับตั้งแต่ต้นปี ยังบวกอยู่ 8% ครับ

Q : จะมีโอกาสกลับมาเป็นขาขึ้นอีกไหม?

A : มีครับ ในระยะยาว กลุ่ม Healthcare Sector ยังถือว่าเป็นกลุ่มที่มี EPS Growth ดีที่สุดในโลก ดังนั้นจึงอย่าแปลกใจว่าทำไมถึงเทรดกันที่ PE สูง ก็เพราะ การเติบโตมันสูงนั้นล่ะ ส่วนเรื่องที่ Hillary Clinton หาเสียงนั้น กว่าจะถึงวันเลือกตั้งปี 2016 จริง มันยังมีเวลาอีกเยอะ อีกอย่าง สภาคองเกรสเอง ณ ปัจจุบัน พรรค Republicans ซึ่งดันกฎหมายสนับสนุน Healthcare ครองเสียงข้างมากในสภา การที่เจ๊ Clinton จะทำอย่างที่ตั้งใจ ไม่ได้ง่ายขนาดนั้นหรอกครับ

Q : ถ้าอย่างงั้น ควรเข้าไปซื้อตอนไหน?

A : ดูกราฟ Daily Chart ด้านล่าง จะพบ Bullish Divergence อันสวยงาม หากดัชนีผ่านเส้นค่าเฉลี่ย 15 วัน ขึ้นมาได้ ก็ถือว่าน่าสนใจ การปรับฐานอาจจะจบไปแล้ว แต่อยากให้สังเกตุดูนะครับว่า ตอนเดือน ก.ย. ดัชนีเคนดันตัวเองขึ้นไปทดสอบเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน แต่ก็ไม่ผ่าน ดังนั้น การจะยืนยันว่ากลับเป็นขาขึ้นนั้น คงต้องรออีกซักระยะเลย แต่ใครสนใจมีเงินเหลือ หรืออยากจะซื้ออยู่แล้ว มาวันนี้ ซื้อได้บางส่วนแล้วครับ

sc (1)

Q : ทำไมไม่ให้ซื้อหมด?

A : โลกยังมีความเสี่ยงหลายประเด็นที่อาจกระทบกับ Healthcare Sector ทั้งทางตรง และทางอ้อม

  1. หาก IMF ปรับประมาณการณ์เศรษฐกิจโลก และนำมาซึ่งการปรับฐานในตลาดโลกใน 1-2 สัปดาห์ข้างหน้าอีกรอบ ยังไงกลุ่ม Healthcare ก็ไม่รอด
  2. ถึงแม้โอกาสที่เจ๊ Clinton จะได้รับเลือก และดันกม. จะมีไม่มาก แต่จากสถิติย้อนหลังในปีที่มีการเลือกตั้ง 10 ครั้งในอดีตที่ผ่านมา (ตั้งแต่ปี 1972 ถึง 2012) พบว่า กลุ่ม Healthcare ทำผลตอบแทนได้ไม่ดี คือ มีโอกาสแพ้ดัชนี S&P500 ถึง 60% ทีเดียว ไม่เหมือนกลุ่ม Financials และ Telecom Services ที่ผลตอบแทนโดดเด่นในช่วงปีที่มีการเลือกตั้ง ดังนั้น ต้องระวังการทำ Sector Rotation (ย้ายเงินจากกลุ่มอุตสาหกรรมหนึ่ง ไปอีกกลุ่มหนึ่ง) นะครับHH
  3. ในช่วงที่สหรัฐฯกำลังจะขึ้นดอกเบี้ยแบบช่วงนี้ สถิติย้อนหลัง นับจากวันที่สหรัฐฯขึ้นดอกเบี้ยไป 6 เดือน พบว่า กลุ่ม Heathcare ก็แพ้ S&P500 เช่นเดียวกันRate Hike

ข้อ 1. เดี๋ยวเราก็รู้ในสัปดาห์ข้างหน้า ส่วนข้อ 2. ข้อ 3. เนี่ย อีกซักระยะเลยครับ ยิ่งตอนนี้ เริ่มมีคนพูดกันว่าเฟดอาจขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ไม่ได้แล้ว ก็ยิ่งกลายเป็นว่า ดูค่อนข้างยากแล้ว

Q : ขอข้อดีเพิ่มอีกหน่อยได้ไหม? อ่านแล้วกลัว – -“

A : มีครับ นั้นก็คือ Fund Flow ของ ETF

ETF

รูปข้างบน เห็นเส้นสีเทาไหมครับ? นั้นคือยอดเงินลงทุนในกองทุน ETF กลุ่ม Healthcare จะพบว่า มีแรงขายมาตั้งแต่เดือน ก.ค. แล้ว แต่ถ้าเปรียบเทียบ Fund Flow ทั้งกลุ่มจะพบว่า เงินลงทุนใน Healthcare Sector ลดลงเพียงเล็กน้อย นั้นหมายความว่า เหล่า Active Fund ยังมีเงินเข้าไป แสดงให้เห็นว่า มีนักลงทุนที่เชื่อมั่นในอุตสาหกรรมนี้อยู่ไม่น้อยครับ ส่วน Flow จาก ETF ผมเชื่อว่า เป็นการขายลดพอร์ตตามการ Re-balancing หลังตลาดหุ้นโลกปรับฐาน มากกว่าจะเกิดจากการขายเพราะจะเลิกเล่นกลุ่มนี้แล้วครับ แต่เพราะโลกในเมืองนอก เป็น ETF World กันไปแล้ว ดังนั้น Fund Flow ของ ETF จึงมีผลต่อการกำหนดทิศทางราคาหุ้นในระยะสั้นพอสมควร ความผันผวนของตลาดจึงสูงขึ้นโดยปริยาย

สรุปคือ ยังมีคนเก็บ Healthcare แต่ความผันผวนน่าจะสูงขึ้นในช่วงหลังจากนี้ กลยุทธ์การทยอยสะสมเวลาราคาลงมาหนักๆจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ และติดตามเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐฯ + ทิศทางว่าเจ๊ Clionton จะคว้าชัยหรือเปล่า ถ้าคว้า ก็มีความเสี่ยงที่พวกกองทุน Healthcare จะเริ่ม Underperform เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นบ้างแล้ว

ปล. Underperform ไม่ได้แปลว่าจะขาดทุนแน่ๆ แต่แปลว่า อาจจะแพ้คนอื่นครับ

Mr.Messenger รายงาน