เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา มีข่าวใหญ่ในโลกอาหรับเกิดขึ้น และนำมาซึ่งความไม่แน่นอน เป็นความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์อีกหนึ่งประเด็นที่นักลงทุนควรจับตา นั้นก็คือ การที่ 5 ชาติในตะวันออกกลาง คือ ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บาห์เรน อียิปต์ เยเมน และรวมถึงเขตปกครองด้านตะวันออกของลิเบีย ร่วมกันตัดสินใจว่า จะตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับกาตาร์
นอกจากตัดความสัมพันธ์ทางการทูตแล้ว ยังประกาศระงับการติดต่อเชื่อมโยงกับกาตาร์ทุกทาง ทั้งทางบก ทางอากาศ และทางทะเลอีกด้วย ซึ่งพอไปดูแผนที่โลก ก็จะพบว่า ลำบากกาตาร์แน่นอน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งมีสายการบินแห่งชาติอย่าง Qatar Airways เป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ
อีกด้านที่กาตาร์ต้องคิดหาทางแก้ไขโดยเร็วก็คือ อุตสาหกรรมอาหาร เพราะ กาตาร์มีสถานะคล้ายๆเกาะ ฝั่งที่ติดกับแผ่นดินใหญ่ ก็คือ ที่ติดกับชายแดนของซาอุฯ และปัญหาคือ กว่า 40% ของการนำเข้าอาหารทั้งหมดของประเทศ ก็นำเข้าผ่านทางบก ด้านชายแดนซาอุฯนี่ละ โดยสิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ ยอดการนำเข้าของกาตาร์ มาจาก สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) มูลค่า $7.18 Billion มากเป็นอันดับ 3 ของการนำเข้ารองจากสหรัฐฯ และจีน ดังนั้นหากตั้งโต๊ะเจรจา หรือแก้ไขปัญหากันได้ช้า ก็จะส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
จากสำนักข่าว Bloomberg มีความเห็นจากนักวิเคราะห์ต่างๆ มองว่า การตัดความสัมพันธ์ครั้งนี้อาจทำให้กาตาร์ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลงอย่างน้อยๆก็ 1 ขั้น (ปัจจุบัน S&P ให้อยู่ที่ AA) สู่ระดับ AA- ซึ่งถึงแม้จะเกิดขึ้นจริง ก็ยังอยู่ในระดับที่ปลอดภัยในการลงทุน (Above Investment Grade) เพราะกาตาร์มีการกู้หนี้จากนอกประเทศเพียงแค่ 30% ของ GDP เท่านั้น ฐานะการเงินยังถือว่าแข็งแกร่งอยู่
หากคุณคิดจะลงทุนเพิ่มในกองทุนรวม นี้คือสิ่งที่คุณไม่อยากพลาด! สมัครสมาชิกตอนนี้เพื่อรับโพยกองทุนเด็ดที่แนะนำ อัพเดททุกเดือนจาก FINNOMENA
กดที่นี่เพื่อรับโพยกองทุนตอบโดยสรุปในแง่ของกำลังการผลิตนั้นมีไม่มาก เพราะ กาตาร์เป็นสมาชิกในกลุ่ม OPEC ก็จริง แต่มีกำลังการผลิตอยู่ที่ประมาณ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งปัจจุบันผลิตอยู่ที่ 600,000 บาร์เรลต่อวัน ตามนโยบายตรึงกำลังการผลิต โดยคิดเป็นเพียง 5% ของกำลังการผลิตในโอเปก ซึ่งถือว่าน้อยที่สุดในบรรดาสมาชิก OPEC เพราะฉะนั้น สมมติกาตาร์ใช้กลยุทธ์ผลิตน้ำมันเพิ่มเติม ไม่ยอมทำตามข้อตกลงตรึงกำลังการผลิตตามข้อตกลง OPEC จริง ก็แทบไม่มีผลอะไรมากกับ Supply ของน้ำมันดิบในตลาดนะครับ
อำนาจ หรือ ความสำคัญของกาตาร์ต่อนานาประเทศที่แท้จริง ไม่ใช่สายการบิน หรือ ผลิตน้ำมันดิบ แต่คือการเป็นผู้ส่งออก liquefied natural gas (ก๊าซ LNG) รายใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งมีลูกค้ารายใหญ่ก็คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน และอินเดีย ซึ่งหลักๆเป็นการขนส่งทางเรือ และยังไม่น่าจะได้รับผลกระทบระยะสั้นจากมาตรการตัดความสัมพันธ์รอบนี้ แต่หากมีมาตรการที่ตัดเส้นทางการเดินเรือละก้อ กาตาร์น่าจะเหนื่อยกว่านี้อีก และมีผลต่อประเทศผู้นำเข้าบ้าง
สำหรับใครที่มีการลงทุนในกองทุนรวม ซึ่งมี Exposure หรือสัดส่วนการลงทุนบางส่วน ไปฝากเงินกับธนาคารในกาตาร์ (ส่วนใหญ่คือ กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น) มุมมองส่วนตัวยังมองว่า เหตุการณ์นี้ไม่ได้กระทบกับความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นของเหล่าธนาคารในกาตาร์ และเชื่อว่า เหล่าผู้จัดการกองทุน จะปรับลดสัดส่วนลงในอนาคต และคอยติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดมากกว่าเราที่เป็นนักลงทุนรายย่อยอยู่แล้วครับ
ในฐานะนักลงทุน เราคงต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างห่างๆ และประเมินความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องนะครับ และทางเราก็จะติดตามและคอยอัพเดทสถานการณ์เช่นกัน
แหล่งข้อมูล :-
http://www.jbsolis.com/2017/06/food-prices-in-qatar-expected-to-rise.html
https://www.bloomberg.com/view/articles/2017-06-06/qatar-still-has-many-friends-in-energy-markets
คำเตือน
• การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
• ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต
• การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน
• การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง
• ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น
หากคุณคิดจะลงทุนเพิ่มในกองทุนรวม นี้คือสิ่งที่คุณไม่อยากพลาด! สมัครสมาชิกตอนนี้เพื่อรับโพยกองทุนเด็ดที่แนะนำ อัพเดททุกเดือนจาก FINNOMENA
กดที่นี่เพื่อรับโพยกองทุน