top-down-space-candle-stick-pattern

สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน หากท่านที่ติดตาม Top-down SPACE มาซักระยะ จะรู้ว่า อีกหนึ่งการวิเคราะห์ที่ผมมองว่านักลงทุนควรให้ความสำคัญ และเป็นที่ยอมรับในวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งต่างประเทศ และในประเทศไทยเองก็ตาม นั่นก็คือ การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis)

การวิเคราะห์ทางเทคนิค สามารถดูได้หลายเครื่องมือมากๆ บทความวันนี้ จะพาไปรู้จักกับอีกหนึ่งเครื่องมือ ที่เรียกว่า แท่งเทียน หรือ Technical Analysis ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบมากมากเกินกว่าที่เราจะจำกันได้หมด

แต่ถึงอย่างนั้น ก็มีแท่งเทียนบางรูปแบบที่หากเกิดขึ้น จะมีโอกาสบอกแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้สูงกว่ารูปแบบอื่นๆ ซึ่งผมคิดว่า ในฐานะนักลงทุนที่ทำการจัดพอร์ตการลงทุน และชื่นชอบการวิเคราะห์แบบ Top-down ก็ต้องรู้ไว้ มีทั้งหมด 3 รูปแบบ ตามนี้นะครับ

1. Doji

รูปแบบคือ ราคาเปิด กับ ราคาปิดของดัชนีวันนั้นอยู่ที่เดียวกัน โดยระหว่างวัน อาจจะแกว่งตัวเคลื่อนไหมผันผวนค่อนข้างมาก แต่ก็สามารถกลับมายืนได้ที่ระดับเดิม ถ้าเกิดรูปแบบนี้ แสดงว่า ตลาดมีโอกาสเปลี่ยนแนวโน้มจากที่เคยมาในอดีตค่อนข้างสูง

2. The Shooting Star

รูปแบบคือ สมมติว่า ตลาดหุ้นอยู่ในขาขึ้นมาตลอด แล้วเกิดรูปแบบคือ ราคาระหว่างวันปรับตัวขึ้นไปต่อ แต่เจอแรงขายทำให้ราคาไหลลงมาปิดต่ำกว่าราคาเปิด และใกล้เคียงกับจุดต่ำสุดของวัน ถ้าเจอรูปแบบนี้ แสดงว่า ตลาดมีโอกาสกลับตัวเป็นขาลงค่อนข้างสูงครับ

3. The Hammer หรือ รูปแบบค้อน

รูปแบบนี้จะเกิดตอนที่ดัชนีตลาดปรับตัวกลายเป็นขาลงมาซักระยะ และเมื่อวันหนึ่งที่มีแรงขายมากๆในช่วงแรกของการเทรด ปรากฏว่า กลับมีแรงซื้อกลับจนทำให้ราคาปิดสูงกว่าราคาเปิด และใกล้เคียงกับจุดสูงสุดของวัน ถ้าเจอสัญญาณนี้ ก็พอจะบ่งชี้ได้ว่า ตลาดหุ้นอาจจะกลับมาเป็นขาขึ้นได้

ลองย้อนกลับมาดูของจริงกับตลาดหุ้นไทยในปี 2016 ที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้นะครับ จริงๆ Doji เป็นรูปแบบที่มีโอกาสเกิดขึ้นยากมาก เพราะราคาเปิดและราคาปิดต้องเท่ากันหรือใกล้เคียงกันมากๆ แต่ในปีที่ตลาดหุ้นผันผวนเช่นปีนี้ เราก็เลยแทบไม่เจอรูปแบบ Doji เลยในกราฟรายวันของ SET Index หรือตลาดหุ้นไทย
จริงๆ หลักการดูง่ายๆ ก็คือ ถ้าพบรูปแบบที่ไส้เทียนยาวมากกว่าตัวแท่งเทียน ให้สังเกตว่า ตรงนั้น อาจเป็นจุดกลับตัวของแนวโน้มครับ

โดยสำหรับตลาดหุ้นไทย ถ้าลองสังเกตตั้งแต่ต้นปีก็จะพบว่า ตลาดหุ้นไทยอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นมาตลอดทั้งปี ดังนั้นรูปแบบการกลับตัวลงจึงเกิดขึ้นกว่า และในช่วงของการปรับฐาน เราก็พบรูปแบบการกลับตัวเป็นขึ้นผ่านทางแท่งเทียนด้วยรูปแบบ Hammer บ้างเหมือนกัน

โดยรูปแบบ Hammer นปีนี้ เกิดขึ้นในช่วงที่ตลาดเป็นขาลง ทั้งหมด 4 ครั้ง โดยตลาดสามารถเปลี่ยนแนวโมกลับมาเป็นขาขึ้นเป็นบวกได้เฉลี่ยอยู่ที่ 7.4% ในขณะที่ รูปแบบ Shooting Star เกิด 2 ครั้ง และตลาดกลับเป็นขาลง ลบ -3% และ -7%
ทั้งนี้จุดสังเกตที่หนึ่งคือ การเปลี่ยนแนวโน้ม ไม่จำเป็นว่าจะต้องเกิดรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งใน 3 รูปแบบที่ยกตัวอย่าง และบางที รูปแบบแท่งเทียนอื่นนอกเหนือจากนี้ก็ไม่สามารถจับการกลับตัวได้ ต้องใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่นๆประกอบกับวิเคราะห์ในมุมของ Fundamental และ Technical ด้วย

จุดสังเกตที่สองคือ หากแท่งเทียนมีลักษณะหางยาว (หรือไส้เทียนยาว แล้วแต่จะเรียกนะครับ) อย่างเช่นการเคลื่อนไหวของ SET Index ในวันที่ 12-13 ตุลาคม ที่ผ่านมา คือ ดัชนีมีการแกว่งตัวผันผวนรุนแรงผิดปกติ ปริมาณซื้อขายหนาแน่นผิดปกติ ก็เป็นอีกหนึ่งข้อสังเกตว่าตลาดอาจจะเปลี่ยนแนวโน้มระยะสั้นในอนาคตก็เป็นไปได้

ที่มาบทความ : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/639386