รีวิวกองทุน AFMOAT-H: กองทุนปราการเหล็ก ทนทานทุกสภาวะตลาด

ในช่วงที่สภาวะตลาดกลืนไม่เข้าคายไม่ออกที่เราหันไปหาเงินฝากผลตอบแทนก็ต่ำเตี้ยเรี่ยดินเสียเหลือเกิน ในขณะที่หากเราต้องการหาผลตอบแทนที่มากขึ้นผ่านการลงทุนในสินทรัพย์อย่างหุ้นก็กลัวการปรับฐาน เพราะ มูลค่าก็ดูแพงหลุดโลก

กองทุน AFMOAT-H จึงเป็นกองทุนที่น่าจะตอบโจทย์ภาวะดังกล่าว เพราะ ลงทุนในธุรกิจที่มีปราการเหล็กแข็งแกร่งอย่าง Moat หรือคูเมืองทางธุรกิจที่ยากจะโค่นล้มไม่ว่าในอนาคตจะเกิดวิกฤตขั้นรุนแรงใด ๆ มาดูกันว่า AFMOAT-H มีดีอะไร ทำไมถึงน่าลงทุน

โปรโมชั่นพิเศษสำหรับลูกค้าใหม่ เปิดบัญชีลงทุนครั้งแรกกับ FINNOMENA รับหน่วยลงทุน PCASH มูลค่า 100 บาท ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค. – 31 พ.ค. 65 คลิก https://finno.me/havefund-promotion

สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนในกองทุน AFMOAT-H สามารถซื้อขายผ่านแอป FINNOMENA ได้แล้ววันนี้ในรูปแบบสะสมมูลค่า AFMOAT-HA

รีวิวกองทุน AFMOAT-H: กองทุนปราการเหล็ก ทนทานทุกสภาวะตลาด

 

Moat คืออะไร? ทำไมหุ้นสุดแข็งแกร่งต้องมี

Moat หากแปลตรง ๆ ก็คือ “คูเมือง” ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยปกป้องเมืองในยุคโบราณ เพราะ ช่วยให้ข้าศึกบุกเข้าประชิดกำแพงเมืองได้ยากซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นในหนังสงครามย้อนยุคทั่วไปที่ผู้คนมักจะขุดหลุมรอบเมืองทำเป็นคูให้น้ำไหลผ่านหรือเป็นหลุมที่ทำไม้แหลม ๆ ดักรอไว้ให้ยากต่อการเข้าใกล้ตัวเมืองของข้าศึก

ในเชิงธุรกิจบริษัทที่มี Moat เปรียบได้กับบริษัทที่มีข้อได้เปรียบที่ยากจะเลียนแบบ เช่น Coca Cola ที่มีสูตรการผลิตเฉพาะตัวซึ่งต่อให้จะมี Pepsi หรือบริษัทอื่น ๆ ที่จะหันมาทำโคล่าแข่งก็สามารถทำได้ยาก เพราะ มีสูตรลับจดเป็นสิทธิบัตรและถึงแม้คนจะรู้กระบวนการทำอย่างละเอียดก็ไม่สามรถนำมาก้อปปี้ดื้อ ๆ ได้เช่นกัน

เพราะฉะนั้นธุรกิจเหล่านี้จึงมีความแข็งแกร่ง สร้างรายได้ได้ต่อเนื่องจากการที่คู่แข่งเข้ามาเจาะทำลายธุรกิจได้ยากนั่นเอง

รีวิวกองทุน AFMOAT-H: กองทุนปราการเหล็ก ทนทานทุกสภาวะตลาด

Moat ทางธุรกิจมีในรูปแบบไหนบ้าง

ในที่นี้ขออนุญาตใช้ Moat ตามความหมายของ Morningstar นะครับ เนื่องจากผมมองว่าค่อนข้างตอบโจทย์สำหรับหุ้นสมัยใหม่

รูปแบบที่ 1: Switching Cost (ต้นทุนในการเปลี่ยนใจ)

Switching costs (ต้นทุนในการเปลี่ยนใจ) คือ ต้นทุนที่ผู้บริโภคสินค้าหรือใช้บริการต้องเจอเมื่อตัดสินใจที่จะเปลี่ยนใจไปใช้สินค้าหรือบริการของเจ้าอื่น และด้วยสภาวะที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจได้ลำบาก (อาจจะต้นทุนสูงถ้าเปลี่ยนไปใช้อย่างอื่นหรือปัญหาเยอะวุ่นวาย) จึงทำให้บริษัทมีข้อได้เปรียบในทางด้านราคา

ตัวอย่างบริษัทที่มีความได้เปรียบด้าน Switching cost

Salesforce ผู้ให้บริการระบบจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM) ผ่านระบบคลาวด์ซึ่งต้องใช้เวลาในการวางระบบ ดังนั้นหากผู้ใช้บริการต้องการเปลี่ยนจากการใช้ Salesforce ไปใช้เจ้าอื่นที่ให้บริการคล้าย ๆ กัน ผู้ใช้บริการก็อาจจะต้องเผชิญต้นทุนต่าง ๆ ทั้งที่เป็นตัวเลขและไม่ใช่ตัวเลขเช่น เสียเวลาวางระบบใหม่ เสียค่าบริการในวางระบบใหม่หรือเสียผลิตภาพ (Productivity) ที่ควรทำได้ในช่วงที่กำลังวางระบบ

อีกหนึ่งตัวอย่างก็คือเคสสุดคลาสสิคอย่าง Gillette ที่ขายมีดโกนหนวดที่มีความเฉพาะตัวและมีการจดสิทธิบัตร ซึ่งหากลูกค้าท่านไหนได้ซื้อมีดโกนของ Gillette มาลองสัมผัสก็อาจจะติดใจด้วยคุณภาพหรือแบรนด์ก็ตามแต่ มันก็อาจจะเป็นการยากที่จะทำให้ลูกค้าเปลี่ยนไปใช้มีดโกนเจ้าอื่นแล้วหันมาซื้อใบมีดของ Gillette เปลี่ยนแล้วใช้ซ้ำ ๆ แทน

ดังนั้นธุรกิจที่มี Swithcing cost จึงมีอำนาจต่อรองทางด้านราคา เพราะ การเปลี่ยนไปใช้อย่างอื่นมีต้นทุนที่ผู้ใช้งานอาจจะต้องแบกรับและทำใจได้ลำบากหากต้องการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นทางด้านจิตใจหรือตัวเลขที่สะท้อนความเป็นจริง

รีวิวกองทุน AFMOAT-H: กองทุนปราการเหล็ก ทนทานทุกสภาวะตลาด

 

รูปแบบที่ 2: Intangible Assets (สินทรัพย์ไม่มีตัวตน)

Intangible assets (สินทรัพย์ไม่มีตัวตน) คือ สินทรัพย์ต่าง ๆ ที่อาจจะจับต้องไม่ได้ เช่น สิทธิบัตร (Patent) แบรนด์ เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ ใบอนุญาตพิเศษต่าง ๆ และอื่น ๆ ซึ่งอาจจะตีมูลค่าเป็นตัวเงินได้ยาก เพราะ สิ่งที่ว่าอาจอยู่ในจิตใจหรือสมองของลูกค้า

ตัวอย่างบริษัทที่มีความได้เปรียบด้าน Intangible assets

Apple บริษัทที่สร้างมูลค่าในเชิงแบรนด์ได้อย่างแข็งแกร่งและเป็นบริษัทที่มี Intangible assets มากที่สุดในโลกถึง 2.15 ล้านล้านเหรียญตามการรายงานเมื่อปี 2020 ซึ่งตัวอย่างก็สังเกตได้ง่าย ๆ ผ่านการตั้งราคาของ ทิม คุก ในระดับที่สูงมากแล้วคนยังยอมใจจนถึงขนาด อีลอน มัสก์ ยังต้องแซว

Starbucks บริษัทผู้นำด้านกาแฟแบบค้าปลีกที่มีสาขาถึงกว่า 30,000 สาขาทั่วโลก มีจุดเด่นด้าน Intangible assets อย่างแบรนด์ที่แข็งแกร่งพิสูจน์ผ่านการขยายสาขาได้ในระดับนานาชาติรวมถึงมีศักยภาพในการตั้งราคาที่สูงเช่นเดียวกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่วัดไม่ได้ด้วยตัวเลขแต่เป็นภาพลักษณ์ที่อยู่ในหัวทุกคน

สินทรัพย์ไม่มีตัวตนเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความพิเศษและสร้างความได้เปรียบให้บริษัทอยู่เหนือคู่แข่ง  ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของสิ่งที่จับต้องไม่ได้แต่มีมูลค่าต่อจิตใจเช่นเดียวกัน

*ที่มา: thestreet.com ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2020

**ที่มา: statista.com ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2021

รูปแบบที่ 3: Network Effect (ผลจากความเชื่อมโยง)

Network effect คือ ปรากฎการณ์ที่เกิดจากการที่มูลค่าของสินค้าหรือบริการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหากจำนวนผู้ใช้งาน (Users) เติบโตขึ้นไปด้วย ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบที่เห็นได้ชัดในหุ้นเทคโนโลยีต่าง ๆ ในปัจจุบันที่ทำสงครามโกย Users ให้เข้ามาใช้งานผ่านฟีเจอร์หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ก้าวหน้าขึ้นทุกวัน ๆ

ตัวอย่างบริษัทที่มีความได้เปรียบด้าน Network effect

Facebook หนึ่งในบริษัทกรณีศึกษาที่ดีด้าน Network effect เพราะหากย้อนไปสัก 10 ปีที่แล้ว ใครหลาย ๆ คนอาจเห็นคนใช้ Facebook มากขึ้นแล้วมากับประโยคที่ว่า “นี่ยังไม่เล่นเฟสอีกเหรอ” ซึ่งสิ่ง ๆ นี้เป็นสิ่งที่อธิบายเรื่อง Network effect ได้ดี เพราะ ยิ่งประโยคนี้แพร่กระจายไปหาคนมากขึ้นเท่าไร Facebook ก็มีแต่จะเติบโตขึ้นเท่านั้น เพราะยิ่งมีคนใช้งานมากขึ้นคนอื่นก็อยากใช้ตามมากขึ้นเพราะคงไม่มีใครอยากหลุดออกจากวงโคจรของสังคม

Alphabet หรือ Google บริษัทที่สร้างปรากฎการณ์ Search engine ให้กับโลกจนมีประโยคอย่างเช่น “อันนี้คืออะไรเหรอ? หาในกูเกิ้ลสิ” หรือ “ทำงานแล้วลืมเซฟเหรอใช้ Google Doc สิ” ซึ่งเป็นกรณีคล้าย ๆ กับ Facebook ที่คนไปชวนคนอื่นเรื่อย ๆ

สรุปแล้ว Network effect เป็นสิ่งที่ช่วยให้ธุรกิจโตต่อแบบก้าวกระโดดโดยที่บริษัทอาจไม่ต้องพยายามโกยลูกค้าแบบเหนื่อยหนักเท่าคนอื่น เพราะถ้าของเราดีเดี๋ยวคนก็ไปบอกต่อ ๆ กันเอง

รีวิวกองทุน AFMOAT-H: กองทุนปราการเหล็ก ทนทานทุกสภาวะตลาด

รูปแบบที่ 4: Cost Advantage (ความได้เปรียบทางด้านราคา)

Cost advantage คือ สิ่งที่แสดงถึงบริษัทต่าง ๆ ที่มีข้อได้เปรียบทางด้านราคาผ่านต้นทุนที่ต่ำกว่าคู่แข่งจนทำให้มีอัตราการทำกำไรที่สูงกว่า และอาจนำไปสู่การตั้งราคาในระดับที่ได้เปรียบหรือถูกกว่าคู่แข่ง

ตัวอย่างบริษัทที่มีความได้เปรียบด้าน Cost Advantage

Walmart บริษัทค้าปลีกอันดับ 1 ในสหรัฐฯ ที่มีจุดเด่นอย่างการขายสินค้าที่มีราคาถูกมาก ๆ จนคู่แข่งรายอื่น ๆ แข่งขันได้ยาก ทำราคาได้อย่างยืดหยุ่นและทำให้คนยอมรถติดออกจากบ้านมาซื้อของได้อยู่เพราะราคาถูก ท่ามกลางการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ

รูปแบบที่ 5: Efficient Scale Leads to Natural Monopoly (การประหยัดต่อขนาดซึ่งนำไปสู่การผูกขาดโดยธรรมชาติ)

Efficient scale leads to natural monopoly คือ ธุรกิจที่อยู่ในวงการที่เข้ามาแข่งขันได้ยาก เพราะ ถ้าเข้ามาแข่งแล้วอาจจะสู้เรื่องต้นทุนไม่ได้จนทำให้คู่แข่งเข้ามาแข่งขันได้ยาก โดยคนที่เข้ามาแข่งด้วยอาจต้องยอมทำธุรกิจเท่าทุนหรือยอมขาดทุนจากขนาดตลาดที่ค่อนข้างเล็กและเอื้อให้กับผู้เล่นไม่กี่ราย

ตัวอย่างบริษัทที่มีความได้เปรียบด้าน Efficient Scale Leads to Natural Monopoly

American Airlines สายการบินขนาดใหญ่ในอเมริกาซึ่งหากหน้าใหม่ต้องการเข้ามาแข่งขันก็อาจต้องพบกับการวางระบบเส้นทางที่ถูกต้อง รวมถึงอาจจะต้องพบกับปริมาณเที่ยวบินที่มีอยู่จำกัดซึ่งหากคนคิดเข้ามาเปิดแข่งก็อาจจะไม่คุ้ม เพราะ หากแบ่งรายได้กับเจ้าเดิมที่มีอยู่แล้วอาจทำให้ขาดทุน

รู้จักกองทุน AFMOAT-H กองทุนคัดหุ้นปราการแกร่ง

ทำไมกองทุน AFMOAT-H ถึงน่าลงทุน

  • ลงทุนในบริษัทสหรัฐฯ ที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันหรือมี “Moat”
  • วิเคราะห์หุ้นและเน้นคัดบริษัทที่มี Moat ที่แข็งแกร่งสร้างความได้เปรียบในการสร้างผลตอบแทนในระยะยาวได้ถึงกว่า 20 ปี
  • ให้ความสำคัญในการซื้อหุ้นที่มีมูลค่าต่ำกว่าตามการประมาณการของดัชนีจาก Morningstar
  • มีผลตอบแทนทั้งในช่วงขาขึ้นและขาลงของตลาดโดดเด่น

รีวิวเซ็กเตอร์หลักที่ลงทุนของกองทุน AFMOAT-H

รีวิวกองทุน AFMOAT-H: กองทุนปราการเหล็ก ทนทานทุกสภาวะตลาด

รีวิวกองทุน AFMOAT-H: กองทุนปราการเหล็ก ทนทานทุกสภาวะตลาด

ภาพแสดงสัดส่วนเซ็กเตอร์หลักที่ลงทุนของกองทุน VanEck Morningstar Wide Moat ETF ที่มา: VanEck Fund Factsheet วันที่: 31 ตุลาคม 2021

สัดส่วนเซ็กเตอร์เน้นหนักไปที่หุ้นเทคโนโลยีซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงจากเรื่องเพ้อฝันที่ใครหลาย ๆ คนพูดถึงในอดีตและกลายเป็นเรื่องใกล้ตัว อีกทั้งยังเป็นกลุ่มหุ้นที่เติบโตได้ดีรวดเร็วด้วยโมเดลธุรกิจที่คล่องตัว ตามมาด้วยกลุ่มเฮธ์แคร์ที่มีความกึ่ง ๆ เทคโนโลยีและเป็นเซ็กเตอร์การลงทุนในเชิงรับอีกรูปแบบหนึ่งจากการที่ของทางการแพทย์ที่ไม่ว่าเศรษฐกิจจะแย่แค่ไหนก็ยังต้องใช้ ตามมาด้วยหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ฟื้นตัวได้ดีในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวได้เช่นตอนนี้ และตบท้าย 2 กลุ่มสุดท้ายจาก 5 กลุ่มหลักด้วย กลุ่มสินค้าจำเป็น (Consumer staples) ที่ได้ประโยชน์จากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจตามด้วยกลุ่มการเงิน (Financials) ที่เป็นของจำเป็นสำหรับโลกทุนนิยมและอาจได้ประโยชน์หากมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยในอนาคต

รีวิวหุ้นหลักของกองทุน AFMOAT-H

รีวิวกองทุน AFMOAT-H: กองทุนปราการเหล็ก ทนทานทุกสภาวะตลาด

ภาพแสดงสัดส่วนหุ้นหลักกองทุน VanEck Morningstar Wide Moat ETF ที่มา: VanEck Fund Factsheet วันที่: 31 ตุลาคม 2021

Wells Fargo (สัดส่วน 2.94%)

*thebankrate.com ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2021

Cheniere Energy (สัดส่วน 2.92%)

  • บริษัท ผู้บุกเบิกการส่งออกก๊าสธรรมชาติเป็นรายแรกในสหรัฐฯ เป็นผู้ผลิตก๊าสธรรมชาติแบบเหลว (LNG) ซึ่งมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น นำไปเป็นแก๊สทำอาหาร รวมถึงผลิตไฟฟ้า มีลูกค้าจากทั้งบริษัทพลังงาน สาธารณูปโภค รวมถึงบริษัทซื้อขายพลังงานทั่วโลก

Salesforce.com (สัดส่วน 2.92%)

  • บริษัท ให้บริการซอฟต์แวร์จัดการความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM) ช่วยให้บริษัททำงานได้อย่างลื่นไหลรวมข้อมูลไว้ที่เดียวสามารถตรวจสอบได้ไม่มีผิดเพี้ยนและยังสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ผู้บริโภคได้อีกด้วย ให้บริการผ่านระบบคลาวด์ในรูปแบบการ Subscribe ช่วยให้บริษัทจัดการได้อย่างคล่องตัว ลดต้นทุนและสร้างรายได้ได้สม่ำเสมอ

Microsoft (สัดส่วน 2.91%)

  • หนึ่งในบริษัทบิ๊กเทคแห่งยุคมีซอฟต์แวร์ที่ใช้กันทั่วบ้านทั่วเมืองอย่าง Microsoft Office รวมถึงมี Azure แพลตฟอร์มให้บริการคลาวด์กับองค์กรที่จะช่วยในการจัดการฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์และเครือข่ายให้มีความลื่นไหล ทำงานกันได้สะดวกและอื่น ๆ อีกมากมาย

Tyler Technologies (สัดส่วน 2.89%)

  • ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ให้กับรัฐบาลกลางสหรัฐฯ โดยเน้นไปที่ภาคท้องถิ่นเป็นหลักจึงถือเป็นหุ้นอีกหนึ่งตัวที่ไม่ควรพลาดหากมีมูลค่าต่ำกว่าความเป็นจริง เพราะ ถ้าจะให้รัฐรื้อซอฟต์แวร์ย้ายเจ้าจากระบบทั้งหมดในปีหรือสองปีคงเป็นไปได้ยาก

ผลตอบแทนย้อนหลังเป็นอย่างไร?

รีวิวกองทุน AFMOAT-H: กองทุนปราการเหล็ก ทนทานทุกสภาวะตลาด

ภาพแสดงผลตอบแทนย้อนหลังกองทุน VanEck Morningstar Wide Moat ETF ที่มา: เว็บไซต์ vaneck.com วันที่: 30 กันยายน 2021

ผลตอบแทนย้อนหลังหากเทียบกับดัชนีหุ้นอย่าง S&P 500 นั้นถือได้ว่าส่วนใหญ่โดดเด่นทุกช่วงเวลาทั้งช่วงขาขึ้นและขาลงของตลาด

ความโดดเด่นเฉพาะทางอื่น ๆ ของกองทุน AFMOAT-H

รีวิวกองทุน AFMOAT-H: กองทุนปราการเหล็ก ทนทานทุกสภาวะตลาด

ภาพแสดงศักยภาพกองทุน VanEck Morningstar Wide Moat ETF หากเทียบกับกองทุนรูปแบบ Active อื่น ๆ ที่มา: เอกสารการขายกองทุน AFMOAT-H บลจ. ทาลิส

ปิดท้ายด้วยผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งติดอันดับหัวตารางกลุ่มควอไทร์แรก (กลุ่มที่มีผลงานดีเป็นกลุ่มแรก) ในช่วง 3 ปี 5 ปี 7 ปีและนับตั้งแต่จัดตั้ง ชี้ให้เห็นว่ากองทุนนี้ระยะยาวถือได้ว่าทำผลงานได้ดีมาก ๆ ในขณะที่ช่วง 1 ปีย้อนหลังกองทุนก็ยังอยู่กลุ่มที่มีผลงานดีอันดับต้น ๆ เช่นเดียวกัน

รีวิวกองทุน AFMOAT-H: กองทุนปราการเหล็ก ทนทานทุกสภาวะตลาด

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน AFMOAT-H

  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end fee)                                    o.90% (พิเศษคิด 0.75% ตั้งแต่ช่วง IPO จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2021 สำหรับกองทุน AFMOAT-HA)
  • ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back-end fee)                              ยกเว้น
  • ค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยนเข้า (Swtiching-in fee)                0.90%
  • ค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยนออก (Swtiching-out fee)            ยกเว้น
  • ค่าธรรมเนียมรวมรายปี                                                               1.86715%
  • ลงทุนขั้นต่ำครั้งแรก                                                                    1,000 บาท
  • ลงทุนขั้นต่ำครั้งถัดไป                                                                 1 บาท

*กองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน: ป้องกันความเสี่ยงค่าเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ (ทั้งหมด/เกือบทั้งหมด)

ขอให้ทุกคนโชคดีครับ

Mr. Serotonin

สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนในกองทุน AFMOAT-H สามารถซื้อขายผ่านแอป FINNOMENA ได้แล้ววันนี้ในรูปแบบสะสมมูลค่า AFMOAT-HA

สร้างแผนและเปิดบัญชีกองทุนรวมกับ FINNOMENA สะดวก รวดเร็ว เปิดออนไลน์ ไม่ต้องส่งเอกสารให้ยุ่งยาก พร้อมเลือกซื้อกองทุนกว่า 1,000 กอง จาก 22 บลจ. ครอบคลุมทุกบลจ. ในประเทศไทย สร้างแผนและเปิดบัญชี คลิก: https://finno.me/open-plan

คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต |  ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน |  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

References

https://www.talisam.co.th/wp-content/uploads/2021/12/FFS-AFMOAT-HA.pdf

https://www.thedailystar.net/shout/echoes/gillette-two-part-pricing-success-1390285

https://www.vaneck.com/us/en/education/investment-ideas/moat-investing/

https://www.vaneck.com/us/en/investments/morningstar-wide-moat-etf-moat-fact-sheet.pdf

เอกสารนำเสนอกองทุน AFMOAT-H บลจ. ทาลิส

รีวิวกองทุน AFMOAT-H: กองทุนปราการเหล็ก ทนทานทุกสภาวะตลาด

iran-israel-war